1952 1685 1933 1740 1898 1894 1854 1017 1884 1490 1954 1211 1435 1593 1283 1360 1917 1049 1477 1224 1131 1396 1288 1681 1478 1215 1972 1983 1686 1218 1245 1203 1624 1011 1041 1476 1352 1158 1284 1813 1008 1194 1454 1387 1752 1109 1184 1160 1566 1911 1407 1781 1257 1400 1777 1303 1240 1766 1674 1836 1759 1423 1257 1753 1755 1430 1048 1922 1149 1848 1535 1712 1648 1470 1630 1747 1250 1332 1754 1330 1747 1670 1972 1101 1914 1046 1098 1224 1235 1068 1000 1253 1986 1759 1670 1247 1850 1212 1510 สถานที่เอกชน บ้าน, ที่ทำงาน, ที่พัก จัดกิจกรรมได้ ไม่อยู่ใต้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สถานที่เอกชน บ้าน, ที่ทำงาน, ที่พัก จัดกิจกรรมได้ ไม่อยู่ใต้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ

 

1394

 

พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ออกมาใช้ควบคุมการชุมนุมใน "ที่สาธารณะ" โดยกำหนดให้ผู้จัดการชุมนุม และผู้เข้าร่วมการชุมนุมมีหน้าที่เฉพาะ ที่สำคัญ คือ กำหนดให้ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งการชุมนุมล่วงหน้าต่อตำรวจในท้องที่ เปิดช่องให้ตำรวจเข้ามาแทรกแซงและกำหนดเงื่อนไขของกิจกรรมได้ แต่กฎหมายนี้ไม่ได้ใช้กับการรวมตัวกันของคนทุกประเภทกิจกรรม และทุกสถานที่เสมอไป
 
ข้อยกเว้นหลักๆ ของกิจกรรมที่ไม่อยู่ภายใต้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ อยู่ในมาตรา 3 ได้แก่
(1) การชุมนุมเนื่องในงานพระราชพิธีและงานรัฐพิธี
(2) การชุมนุมเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือกิจกรรมตามประเพณีหรือตามวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น
(3) การชุมนุมเพื่อจัดแสดงมหรสพ กีฬา ส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือกิจกรรมอื่นเพื่อประโยชน์ทางการค้าของผู้จัดการชุมนุมนั้น
(4) การชุมนุมภายในสถานศึกษา
(5) การชุมนุมหรือการประชุมตามกฎหมาย หรือการประชุมสัมมนาทางวิชาการ
(6) การชุมนุมสาธารณะในการหาเสียงเลือกตั้ง
 
นอกจากนั้นกิจกรรมใดที่จะเข้าข่ายของกฎหมายนี้ ยังต้องดูในบทนิยามด้วย ซึ่งมาตรา 4 กำหนดว่า
 
“การชุมนุมสาธารณะ” หมายความว่า การชุมนุมของบุคคลในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้อง สนับสนุนคัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป และบุคคลอื่นสามารถร่วมการชุมนุมนั้นได้ ไม่ว่าการชุมนุมนั้นจะมีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายด้วยหรือไม่
 
“ที่สาธารณะ” หมายความว่า ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือที่หน่วยงานของรัฐมิได้เป็นเจ้าของแต่เป็นผู้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์ บรรดาซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ รวมตลอดทั้งทางหลวงและทางสาธารณะ
 
กิจกรรมที่จะเข้านิยามว่าเป็น "การชุมนุมสาธารณะ" มีองค์ประกอบ คือ จะต้องเป็นการชุมนุมกัน
1) ใน "ที่สาธารณะ"
2) เพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3) ต้องแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป
4) บุคคลอื่นสามารถร่วมการชุมนุมได้
 
ถ้าหากขาดองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ใช่ "การชุมนุมสาธารณะ" และไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ เช่น การจัดกิจกรรมแม้จะมีคนจำนวนมากมาเดินขบวนร่วมกัน แต่ถ้าหากเดินในสถานที่ปิด เช่น หอประชุม ไม่ใช่ที่สาธารณะก็ไม่อยู่ภายใต้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ หรือหากเป็นการจัดกิจกรรมร่วมกันของคนที่นัดหมายกันมา 4-5 คน ไม่ให้คนอื่นเข้าร่วม แม้จะทำในที่สาธารณะก็ไม่อยู่ภายใต้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ
 
เมื่อพิจารณานิยามของคำว่า "ที่สาธารณะ" หมายถึง ที่ดินของรัฐที่ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ซึ่งรวมทั้งถนน สวนสาธารณะ สถานที่ราชการ ฯลฯ และรวมทั้งที่ดินที่หน่วยงานรัฐไม่ได้เป็นเจ้าของโดยตรงแต่เป็นผู้ครรอบครองใช้ประโยชน์อยู่ โดยประชาชนสามารถเข้าไปได้
 
ดังนั้น "ที่เอกชน" หรือที่ดินของเอกชนจึงไม่มีลักษณะเป็น "ที่สาธารณะ" ถ้าหากจัดกิจกรรมรวมตัวกันแสดงออกในที่ดินของเอกชน เช่น บ้าน สำนักงาน โรงงาน สถานประกอบการ ไร่ นา สวน หรือที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่เอกชนเป็นเจ้าของ จะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ รวมทั้งสถานที่เอกชนบางแห่งที่มีผู้คนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามกีฬาของเอกชน พื้นที่กลางของหมู่บ้าน หรือคอนโดมิเนียม ก็ไม่อยู่ภายใต้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ
 
อย่างไรก็ดี ที่ดินของเอกชนอยู่ในการดูแลของเจ้าของที่ดินนั้นๆ และเจ้าของที่ดินนั้นๆ เป็นผู้มีสิทธิที่จะอนุญาตให้บุคคลใดใช้ทำกิจกรรมใดหรือไม่ก็ได้ ถ้าหากทำกิจกรรมในสถานที่ที่เจ้าของที่ดินไม่อนุญาต ก็อาจเป็นความผิดฐานบุกรุกได้