1626 1108 1961 1436 1957 1443 1603 1464 1539 1225 1673 1876 1899 1702 1093 1217 1417 1743 1354 1501 1441 1145 1316 1416 1680 1556 1983 1089 1763 1762 1653 1575 1304 1447 1497 1969 1893 1982 1723 1062 1038 1755 1050 1902 1636 1670 1642 1358 1562 1605 1754 1997 1687 1855 1376 1811 1536 1436 1410 1400 1000 1335 1314 1588 1499 1936 1766 1900 1911 1862 1671 1702 1238 1794 1474 1695 1263 1116 1723 1454 1898 1476 1322 1115 1129 1519 1650 1008 1358 1536 1996 1306 1260 1835 1127 1205 1678 1688 1056 116 The Stories: เรื่องเล่าจากคน "ปลุกปั่น" : ธเนตร คน "ตัวเล็กๆ" ที่ไม่อาจข้ามไป ! | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

116 The Stories: เรื่องเล่าจากคน "ปลุกปั่น" : ธเนตร คน "ตัวเล็กๆ" ที่ไม่อาจข้ามไป !

 
"ถูกปิดตา และเปลี่ยนรถ 4 ครั้ง เลยไม่รู้ว่าตอนนั้นถูกพาตัวไปที่ไหน "
ธเนตรเปิดเผยกับเราเมื่อแรกบทสนทนาถามถึงสถานที่ และสภาพความเป็นอยู่ขณะถูกควบคุมตัว ตลอด 5 วัน ..
 
21 ธันวาคม 2558 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ไอลอว์ มีโอกาส พูดคุยกับธเนตร หรือตูน นักกิจกรรม วัย 25 ปี ที่ตกเป็นผู้ต้องหาคดี ยุยงปลุกปั่น ให้เกิดความกระด้างกระเดื่องฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และถูกจับกุมเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2558 ขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และควบคุมตัวในสถานที่ปิดลับ กระทั่งถูกพาตัวมาแจ้งข้อหาก่อนที่สุดท้ายจะได้ประกันตัว 
 
[ดูข้อมูลคดีของ ธเนตร ได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/case/698] 
 
วันนี้ธเนตรมาพบกับทนายความ เพื่อทำเรื่องขอเลื่อนการไปรับทราบข้อกล่าวหา ในคดีที่สอง ที่เขาถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน เขาและนักกิจกรรมรวม 11 คน ถูกตั้งข้อหา จากกิจกรรมนั่งรถไฟไปส่องทุจริตอุทยานราชภักดิ์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2558 
 
หลังเสร็จธุระ เขาเริ่มจากเล่าถึงบรรยากาศระหว่างถูกควบคุมว่า ตอนถูกพาตัวไปเขาถูกปิดตา และเปลี่ยนรถ 4 ครั้ง เลยไม่รู้ว่าตอนนั้นถูกพาตัวไปที่ไหน จากนั้นพาไปในห้องสี่เหลี่ยม ที่แทบพอจะเห็นแสงสว่างแค่ตอนถูกซักถาม เจ้าหน้าที่ พยายามแจ้งกับเขาขณะสอบสวน ว่า เขาเป็นคนทำภาพแผนผังเครือข่ายทุจริตอุทยานราชภักดิ์ ให้คนนำไปเผยแพร่บนโลกออนไลน์ รวมถึงเอารูปภาพไปแชร์เพื่อกล่าวหาว่าร้ายกองทัพบก 
 
ธเนตรสาธยายถึงสภาพในห้องควบคุมตัวว่า มีทีวีและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์อื่นๆ ที่ใช้การไม่ได้ แม้เจ้าหน้าที่ที่มาคุยจะใช้คำพูดที่ไม่สุภาพบ้าง แต่เรื่องอาหารการกินและยาที่เขาต้องรับประทานระหว่างนั้น ถือว่าเจ้าหน้าที่ก็ดูแลดี แต่ก็ยังรู้สึกถึงบรรยากาศคุกคาม ไม่มีความปลอดภัยอยู่ทุกขณะ เมื่อจะเปลี่ยนสถานที่ควบคุมตัว เขาจะถูกปิดตาเสมอขณะพาขึ้นรถ และได้ยินเสียง คนเฝ้าเวรยามอยู่เป็นระยะๆอย่างน้อย 2 คน เขาต้องอยู่ในสภาพเช่นนี้จนกระทั่งครบกำหนดเวลาควบคุมตัว 7 วัน ตามประกาศหัวหน้าคสช. 3/2558
 
ธเนตร ย้ำถึง เหตุการณ์ตอนถูกจับตัว ว่า ตอนนั้นกำลังจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลสิรินทร ไม่มีเจตนาหลบหนี และรู้อยู่เเล้วว่าถูกออกหมายจับ และรู้ด้วยว่ามีเจ้าหน้าที่คอยดักอยู่หน้าห้องผู้ป่วย ตั้งแต่เข้ารักษาตัว เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558 และพร้อมจะมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ หลังรักษาตัวเสร็จสิ้น 
377 ภาพธเนตร
 
เมื่อถามถึง ฐนกร ผู้ถูกดำเนินคดีตาม 112 และ 116 ที่พฤติการณ์มีลักษณะคล้ายกันเพราะถูกจับจากเรื่องภาพแผนผังเครือข่ายทุจริตอุทยานราชภักดิ์เหมือนกัน ธเนตรบอกว่า ไม่รู้จักกับฐนกรเป็นการส่วนตัวเลย และเขาเองไม่มีส่วนรู้เห็นกับการทำผังทุจริตอุทยานราชภักดิ์ เขาเป็นเพียงคนเล็กๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกเวลา มีจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง
 
ย้อนไปก่อนหน้านี้ ธเนตร หนุ่มจากจังหวัดอุทัยธานี มีบ้านอยู่อ.หนองขาหย่าง เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนพุทธมงคลวิทยา อ.เมือง วิชาประวัติศาสตร์ คือ สิ่งที่เขาสนใจ แม้จะไม่มีบุคคลไหนเป็นแรงบันดาลใจขณะทำกิจกรรมเคลื่อนไหว แต่เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 ก็เป็นสิ่งที่เขาพอซึมซับบรรยากาศมาบ้าง หลังเรียนจบ ธเนตรเข้ากรุงเทพฯ ทำงานรับจ้างทั่วไป เช่น เด็กส่งน้ำแข็ง ส่วนงานก่อสร้าง คือสิ่งที่เขาถนัดที่สุด 
 
ช่วงเวลาที่เขาอยู่กรุงเทพเราจะพบเจอเขาได้ตามงานกิจกรรมทางการเมืองเสมอๆ ธเนตร เป็นคนตัวเล็ก สูงประมาณ 150 เซ็นติเมตร รูปร่างผอม ผิวสีดำแดง แต่บุคลิกแข็งแรงและคล่องแคล่ว เขาจะอยู่แถวหน้าในการเดินขบวน คอยทำหน้าที่โบกรถ ยกข้าวของ คอยตะโกนสื่อสารเรื่องต่างๆ กับคนที่มาร่วมกิจกรรม ธเนตรเป็นคนเข้าร่วมที่กระตือรือร้นพยายามเข้ามีส่วนร่วมเท่าที่สามารถช่วยได้ ทั้งที่จริงๆ เขาไม่ได้เป็นแกนนำหรือคนที่จัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นเอง
 
ว่าด้วยแนวคิดทางการเมือง ธเนตรบอกว่า กลุ่มไหนเป็นประชาธิปไตยเขาเอาด้วยหมด เขาเคยร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่ม นปช.และถูกจับกุมจาก พรก.ฉุกเฉินเมื่อปี 2553 
 
เหตุผลที่มาเคลื่อนไหวกับนักศึกษาและ กลุ่มประชาธิปไตยใหม่นั้น เพราะเห็นด้วยกับแนวทางการต่อสู้ และอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย เขายังกล่าวด้วยว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลและเผด็จการแบบ คสช. 
 
"เมื่อได้เลือกเส้นทางนี้แล้ว ก็ไม่ได้หวังจะดัง หรือเป็นแกนนำใหญ่อะไร แค่อยากรู้ว่าประชาธิปไตยในไทยจะเกิดขึ้นได้หรือไม่" ธเนตรกล่าว
 
ธเนตร เล่าว่า ในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองก็มีการถูกคุกคามบ้าง เหตุการณ์ช่วงก่อนถูกจับขณะอยู่โรงพยาบาลจะรุนแรงที่สุด เขายังไม่ทราบเหมือนกันว่ามีเจ้าหน้าที่ไปตามหาเขาที่บ้านที่จังหวัดอุทัยธานีบ้างหรือเปล่า และถึงแม้พ่อเขาจะรู้สึกเป็นห่วง แต่ก็มาห้ามเขาไม่ให้ทำกิจกรรมไม่ได้ ถึงตอนนี้เขาและกลุ่มเพื่อนนักกิจกรรมเห็นตรงกันว่า ช่วงระหว่างปีใหม่นี้คงเพลากิจกรรมลงบ้าง เพื่อพักผ่อนร่างกาย
 
สำหรับคดีความผิดฐาน ยุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 ที่ต้องขึ้นศาลทหารนั้น ธเนตร กล่าวว่า ยังไม่ได้คิดต่อว่าจะเอาอย่างไรดี แต่การมีคดีติดตัวก็จะทำให้ชีวิตเขาลำบากขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะข้อหานี้ที่ทำให้ถูกมองว่าเป็นเสมือนผู้ก่อการร้าย ทั้งที่ไม่ใช่ เขารู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ให้เกียรติเขาสูงเกินไป ที่ผลักให้เขาเป็นแกนนำกิจกรรมเคลื่อนไหว ทั้งที่จริงๆ เป็นแค่คนธรรมดา ไม่ได้เป็นระดับแกนนำหรือเลขาธิการกลุ่มประชาธิปไตยใหม่อย่างที่ถูกกล่าวหา
 
ก่อนลาจาก ธเนตร กล่าวทิ้งท้ายฝากไปถึง หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศว่า ควรให้ความเป็นธรรมกับคนกลุ่มเล็กๆ ที่ออกมาแสดงสิทธิเสรีภาพและเคลื่อนไหวด้วย และควรจะแสดงจุดยืนอะไรบางอย่างในทันที เมื่อประชาชนถูกละเมิด