1856 1049 1220 1204 1713 1035 1636 1628 1266 1996 1107 1387 1386 1799 1003 1726 1484 1500 1195 1319 1218 1442 1624 1108 1768 1486 1682 1017 1119 1562 1768 1982 1063 1957 1185 1167 1632 1257 1680 1146 1470 1323 1506 1220 1156 1748 1069 1176 1211 1390 1410 1801 1166 1297 1424 1293 1076 1045 1957 1208 1047 1036 1686 1248 1347 1294 1196 1798 1153 1208 1538 1471 1117 1197 1783 1186 1361 1946 1436 1945 1834 1540 1333 1391 1432 1063 1101 1585 1051 1292 1187 1664 1702 1595 1805 1922 1778 1667 1799 ก้าวไกลครองแชมป์! ย้อนดู 30 คดีจากการแสดงความคิดเห็นของ ส.ส. สภาประยุทธ์2 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ก้าวไกลครองแชมป์! ย้อนดู 30 คดีจากการแสดงความคิดเห็นของ ส.ส. สภาประยุทธ์2

 

รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล กลายเป็นนักการเมืองรายล่าที่สุดที่ถูกดำเนินคดีจากการแสดงความคิดเห็นจากการอภิปรายพาดพิงอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กรณีกล่าวถึงความเชื่อมโยงกับธุรกิจผิดกฎหมายของนายทุนต่างชาติ เป็นข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
 
โดยรังสิมันต์ กลายเป็น “ขาประจำ” ที่ถูกดำเนินคดีจากการกล่าวในอภิปรายในสภา ก่อนหน้านี้ก็ถูกบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ “Gulf” ยื่นฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายชัยวุฒิ ธนาคมนานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในสภาฯ รวมถึงการโพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กพาดพิง Gulf
 
Gulf เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงการเมืองครั้งแรกเมื่อ เบญจา แสงจันทร์ ส.ส. พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อกุมภาพันธ์ ปี 2564 ว่า การเติบโตที่รวดเร็วของกลุ่มบริษัท กัลฟ์ มีความเชื่อมโยงกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ดำเนินนโยบายด้านพลังงานเอื้อต่อกลุ่มทุนเอกชนมากเกินปกติ ยิ่งไปกว่านั้น กัลฟ์ยังมีประวัติเคยบริจาคเงินให้มูลนิธิป่ารอยต่อเป็นเงินจำนวน 5 ล้านบาท ภายหลังการอภิปราย กัลฟ์ได้มอบอำนาจให้ทนายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับเบญจา ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา โดยไม่ได้มีการให้คำอธิบายหรือข้อเท็จจริงใดๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ ส.ส.เบญจาได้อภิปรายไว้ในสภา 
 
เช่นเดียวกับกรณีของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี ที่ถูกดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายทางแพ่งเป็นเงินจำนวน 100 ล้านบาท จากกรณีไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวกล่าวหาว่า กัลฟ์กำลังจะเข้ามาผูกขาดกิจการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ผ่านการประกาศรับซื้อหุ้นของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) รวมทั้งจะเข้าประมูลสัมปทานดาวเทียม และกล่าวหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าล็อคสเปกให้ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานดังกล่าว
 
นี่เป็นส่วนหนึ่งของการใช้กฎหมาย “หมิ่นประมาท” ดำเนินคดีต่อนักการเมืองที่ทำหน้าที่อภิปรายตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และการทุจริตประพฤติมิชอบ
 
 
2808
 
 
“เอกสิทธิ์ ส.ส.” ไม่คุ้มครองถ้าวิจารณ์คนนอกสภา
 
สำหรับกรณีของ สส.เบญจา และรังสิมันต์ แม้เป็นการกล่าววาจาในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งรัฐธรรมนูญให้ “เอกสิทธิ์” คุ้มครองในการกล่าวถ้อยคำหรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ โดยไม่ถูกฟ้องร้องคดีจากผู้อื่น ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 124 และเคยถูกบัญญัติในลักษณะคล้ายกันไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ด้วย แต่ความคุ้มครองตามหลักการดังกล่าวต้องพิจารณาก่อนว่ามีขอบเขตจำกัด ไม่ได้ครอบคลุมถึงการกล่าวถ้อยคำหรือแสดงความคิดเห็นของสมาชิกสภาใน “ทุกกรณี” 
 
โดย ส.ส. ที่จะได้รับเอกสิทธิ์คุ้มกันในการแสดงความคิดเห็น ต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 
 
1) การกล่าวถ้อยคำหรือแสดงความคิดเห็น เกิดขึ้นในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของทั้งสองรัฐสภา หากเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ไม่ได้เกิดขึ้นในที่ประชุมสภา ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง สำหรับความหมายของ “ที่ประชุม” บทความเรื่อง “เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560” ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้ความหมายไว้ว่า “ห้องประชุมที่สมาชิกสภาใช้ประชุมกัน ไม่รวมถึงสถานที่อื่นที่ไม่ใช่ห้องประชุม แม้อยู่ในบริเวณรัฐสภาก็ตาม เช่น ห้องแถลงข่าว ห้องโถง ห้องอาหาร ลานจอดรถ” หากสมาชิกสภาคนใดกล่าวถ้อยคำหรือแสดงความคิดเห็นในสถานที่ดังกล่าวย่อมทำให้ผู้กล่าวไม่ได้รับความคุ้มครอง
2) การประชุมไม่มีการถ่ายทอดทางวิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ตหรือสื่ออื่นใด หากไม่มีการถ่ายทอด สมาชิกสภาจะได้รับความคุ้มครองทันที แต่หากมีการถ่ายทอดออกไปให้คนภายนอดได้รับรู้ด้วย แม้จะเป็นการกล่าวในที่ประชุมสภา ก็ยังอาจไม่ได้รับความคุ้มครอง
3) การกล่าวถ้อยคำหรือแสดงความคิดเห็นไม่พาดพิงบุคคลอื่น หากเป็นการกล่าวพาดพิงบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกสภาหรือรัฐมนตรีจะทำให้ผู้กล่าวถ้อยคำไม่ได้รับความคุ้มครอง ในทางกลับกัน หากไม่ได้พาดพิงบุคคลภายนอก หรือพาดพิงเพียงแค่สมาชิกสภาหรือรัฐมนตรี ผู้กล่าวย่อมได้รับการคุ้มครอง
 
สำหรับคดีหมิ่นประมาทระหว่าง “กัลฟ์” และ “รังสิมันต์” เห็นได้ว่ากรณีนี้ “กัลฟ์” เป็นนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ “สมาชิกสภา” หรือ “รัฐมนตรี” แม้ว่าการอภิปรายของรังสิมันต์จะเกิดขึ้นในที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่การอภิปรายพาดพิงถึงบุคคลอื่นนอกจากสมาชิกสภาหรือรัฐมนตรี ทำให้รังสิมันต์ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก “เอกสิทธิ์” ต่อความเสียหายที่เกิดแก่บุคคลที่พาดพิงนั้น 
 
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาและตัดสินคดีนี้จะเป็นไปในทิศทางใด อาจจะอยู่ที่การสู้คดีของทั้งสองฝ่ายในประเด็นว่าจะสามารถนำสืบพิสูจน์องค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาของรังสิมันต์ได้หรือไม่ หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตที่ได้รับการคุ้มครอง
 
 
 
2807
 
 
คดี “หมิ่น” ของนักการเมืองมีเพียบ ในรัฐบาลประยุทธ์2
 
นอกจากคดีของรังสิมันต์แล้ว ตั้งแต่เลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2562 จนถึงวันก่อนเลือกตั้งในปี 2566 มีการดำเนินคดีเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นที่มีจำเลยเป็นนักการเมืองในสภาหรือบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับพรรคการเมืองแล้วอย่างน้อย 30 คดี แบ่งเป็น คดีที่มีผู้ต้องหาหรือจำเลยเกี่ยวข้องกับพรรคฝ่ายรัฐบาล 9 คดี พรรคฝ่ายค้าน 16 คดี และไม่ใช่ฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน 4 คดี โดยใน 16 คดีของฝ่ายค้าน มีถึง 13 คดีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเกี่ยวเนื่องกับพรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกล ซึ่งมี 2 คดีที่เป็นข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 
 
ข้อมูลโดยสรุปของทั้ง 29 คดีมีดังนี้ 
 
ลำดับ วันที่ ข้อหา ผู้กล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา พฤติการณ์ ความคืบหน้า
1 12 ก.พ. 62

(วันไต่สวนมูลฟ้อง)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา พรรณิการ์ วานิช
อดีตส.ส.พรรคอนาคตใหม่
ปารีณา ไกรคุปต์
อดีตส.ส.พรรคพลังประชารัฐ
ปารีณาโพสเฟสบุ๊กกล่าวหาว่า พรรณิการ์และธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรค เชื่อมโยงกับเหตุระเบิดในหลายพื้นที่ของกทม. และความไม่สงบภายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
14 มิถุนายน 2565 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้ปารีณามีความผิด จำคุก 8 เดือน ปรับ 66,000 บาท ให้รอการลงโทษ 2 ปี 
2
14 พ.ย. 62
(วันเกิดเหตุ)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
ส.ส. พรรคเสรีรวมไทย
สิระ เจนจาคะ
อดีตส.ส.พรรคพลังประชารัฐ
สิระให้สัมภาษณ์กับรายการโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เพราะเข้าร่วมการรัฐประหารปี 2549  26 กรกฎาคม 2565 ศาลพิพากษาว่า สิระมีความผิด จำคุก 8 เดือน ปรับ 40,000 บาท ให้รอการลงโทษ 2 ปี 
3 27 ก.พ. 62
(วันฟังคำสั่งอัยการ)
พ.ร.บ.คอม
พิวเตอร์ฯ
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่,ไกลก้อง ไวทยาการ อดีตนายทะเบียนพรรค และจารุวรรณ ศรัณย์เกตุ อดีตกรรมการบริหาร ธนาธร, ไกลก้อง และจารุวรรณร่วมกันจัดรายการคืนวันศุกร์ให้ประชาชนผ่านไลฟ์เฟสบุ๊กเพจอนาคตใหม่ – The Future We Want วิพากษ์วิจารณ์การ “ดูด” ตัวนักการเมืองของ คสช. พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562
4 21 พ.ย. 62
(วันยื่นฟ้อง)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา วทันยา วงษ์โอภาสี หรือ “มาดามเดียร์” อดีตส.ส.พรรคพลังประชารัฐ  พรรณิการ์ วานิช อดีตส.ส.พรรคก้าวไกล พรรณิการ์แถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 กล่าวหา วทันยาว่าเคยถือหุ้นสื่อเครือเนชั่น ซึ่งต่อมาได้ลาออกและให้สามีดำรงตำแหน่งผู้บริหารแทน ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้ง โจทก์ถอนฟ้อง เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2564
5 22 พ.ย. 62 (วันเกิดเหตุ) หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส. พรรคเสรีรวมไทย สนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สนธิญาแจ้งข้อความต่อ ปารีณา ไกรคุปต์ เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2562 กล่าวหา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ว่า ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทำการทุจริตอาทิ โครงการเช่าซื้อรถยนต์, สั่งการโดยใช้ถ้อยคำมิบังควรต่อสถาบันฯ, บุกรุกป่าเพื่อสร้างรีสอร์ต สนธิญาให้การรับสารภาพ ศาลมีคำพิพากษาแล้วเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 พิพากษาว่าสนธิญา มีความผิด ลงโทษ จำคุก 6 เดือนและปรับ 20,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 เดือนและปรับ 10,000 บาท รอการลงโทษ 1 ปี
6
27 พ.ย. 62
(วันที่ยื่นฟ้อง)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา “เครือเนชั่น” บริษัท เนชั่น  บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พรรณิการ์ วานิช อดีตส.ส.พรรคก้าวไกล พรรณิการ์แถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 เกี่ยวกับกรณีถือหุ้นสื่อของวทันยา วงษ์โอภาสี และกล่าวหาเครือเนชั่นว่ามีการกระทำอันเป็นคุณต่อและเป็นโทษพรรคการเมืองบางพรรค โจทก์ถอนฟ้อง เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564 
7
6 ธ.ค. 62
(วันยื่นฟ้องต่อศาล)
หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา วทันยา วงษ์โอภาสี หรือ “มาดามเดียร์” อดีตส.ส.พรรคพลังประชารัฐ  อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.กระทรวงสาธารณสุขและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย อนุทินนำข้อความที่ พรรณิการ์ วานิชแถลงข่าวกล่าวหา วทันยา มีหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชน มาโพสเผยแพร่ในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมระบุข้อความ "เชียร์ช่อ" ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วยกฟ้อง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563
8
3 ก.พ. 63
(วันไต่สวนมูลฟ้อง)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา สิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส. พรรคเสรีรวมไทย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์กล่าวหาสิระว่าเป็น ส.ส. ที่มาจากการซื้อเสียง เป็นเศษสวะ ก่อนการประชุมคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (กมธ.ปปช.)  ไม่มีข้อมูล
9
6 มี.ค. 63
(วันรับทราบข้อกล่าวหา)
พ.ร.บ คอม
พิวเตอร์ฯ 
กองบัญชาการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) พรรณิการ์ วานิช อดีตส.ส.พรรคอนาคตใหม่ พรรณิการ์โพสข้อความผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ระบุว่า “เห็นประโยคนี้แล้วโดน ต้องเอามาแชร์ ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย อันมี….อาวุธ”  นัดสืบพยานโจทก์-จำเลย ในวันที่ 21-23 มีนาคม 2566
10 11 มิ.ย. 63
(วันรับทราบข้อกล่าวหา) หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ปารีณา ไกรคุปต์ อดีตส.ส.พรรคพลังประชารัฐ พรรณิการ์ วานิช อดีตส.ส.พรรคอนาคตใหม่ พรรณิการ์ กล่าวหาว่า ปารีณา ทำให้สังคมแตกแยก เมื่อ 7 สิงหาคม 2562 อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน
11 6 ก.ค. 63 (วันเกิดเหตุ) หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา พรรณิการ์ วานิช โฆษกคณะก้าวหน้า นพ.วรงค์ เดชวิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี และบุญเกื้อ ปุสสเทโว โฆษกกลุ่มไทยภักดี นพ.วรงค์ และบุญเกื้อ กล่าวหาว่าพรรณิการ์และคณะก้าวหน้าอมเงินในโครงการ “เมย์เดย์-เมย์เดย์ เราช่วยกัน”  15 มีนาคม 2565 ศาลพิพากษายกฟ้อง ระบุว่า เงินบริจาคประมาณ 7.2 ล้าน เป็นเงินของประชาชนจำนวนมาก คณะก้าวหน้าเป็นกลุ่มการเมือง ประชาชนตั้งข้อสังเกตตรวจสอบได้
12 ธันวาคม 2563 (วันแจ้งความ) หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส. พรรคเพื่อไทย สามารถ แก้วมีชัย อดีตส.ส.พรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน สามารถพิมพ์ข้อความลงในแอปพลิเคชั่นไลน์ กลุ่ม อาสาประชา มีเนื้อหาพาดพิงถึง ส.ส. เชียงรายคนหนึ่งที่กรีดข้อมือตัวเองในช่วงที่มีการเลือกตั้ง อบจ. เชียงราย อยู่ระหว่างการสืบพยาน
13 20 ม.ค. 64 (วันแจ้งความ) หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ อภิวัฒน์ ขันทอง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) รับมอบอำนาจจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ธนาธรไลฟ์ผ่านเฟสบุ๊กในหัวข้อ “วัคซีนพระราชทาน ใครได้ใครเสีย?” เมื่อ 18 มกราคม 2564 วิพากษ์วิจารณ์นโยบายจัดหาวัคซีนโควิด-19 และความกังวลต่อการถือหุ้นของพระมหากษัตริย์ ในบริษัทที่ผลิตวัคซีน นัดสืบพยานโจทก์และจำเลย 20-23, 27-30 มิถุนายน 2566
14 11 ก.พ. 64 (วันยื่นฟ้อง) หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา พรรคก้าวไกล นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี นพ.วรงค์ แถลงข่าวและโพสต์เฟสบุ๊กเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 พาดพิงพรรคก้าวไกลว่ากระทำผิดกฎหมายพรรคการเมือง  นัดสืบพยานโจทก์และจำเลย วันที่ 27-28 เมษายน และ 2-3 พฤษภาคม 2566
15 11 ก.พ. 64 (วันยื่นฟ้อง) หมิ่นประมาทและแจ้งความเท็จ พรรคก้าวไกล ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ณฐพรยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวหาว่าพรรคก้าวไกลละเมิด พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง อยู่ระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง
16 18 ก.พ. 64
(วันยื่นฟ้อง) หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำ กปปส. สุทิน คลังแสง ส.ส. พรรคเพื่อไทย สุทินอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2564 มีเนื้อหาพาดพิงสุเทพเรื่องโครงการโฮปเวลล์ อยู่ระหว่างการสืบพยาน
17
27 มี.ค. 64
(รับทราบข้อกล่าวหา)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และดูหมิ่นเจ้าพนักงานฯ  อภิวัฒน์ ขันทอง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) รับมอบอำนาจจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
ส.ส.พรรคก้าวไกล
อมรัตน์โพสข้อความลงในทวิตเตอร์ มีเนื้อหาพาดพิง พล.อ.ประยุทธ์ จำนวน 3 ข้อความ ได้แก่ เป็นข้อความที่อมรัตน์อภิปรายในสภาฯ ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน
18
2 เม.ย. 64
(วันยื่นฟ้อง)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา รังสิมันต์ โรม ส.ส. พรรคก้าวไกล สิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ และชัยยันต์ ผลสุวรรณ์ ส.ส. พรรคเพื่อไทย สิระและชัยยันต์ร่วมแถลงข่าวเมื่อวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2564 กล่าวหารังสิมันต์ ว่าข่มขู่และขับไล่ชาวบ้านพื้นที่เกาะงำ จ.ภูเก็ต  อยู่ระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง
19
4 เม.ย. 64
(วันยื่นฟ้อง)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เบญจา แสงจันทร์ ส.ส. พรรคก้าวไกล เบญจาอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564 มีเนื้อหาบางส่วนพาดพิง บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง
20
23 เม.ย. 64
(วันแจ้งความ)
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย มงคคลกิตต์ สุขสินธารา ส.ส. พรรคไทยศรีวิไลย์ มงคลกิตติ์ไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2564 กล่าวหาศักดิ์สยามว่า ไปเที่ยวผับในย่านทองหล่อ และทำให้เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 คลัสเตอร์ทองหล่อ ผู้ต้องหาเข้ารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว
21
26 เม.ย. 64
(วันยื่นฟ้อง)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.พรรคเสรีรวมไทย สิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ, นายชัยยันต์ ผลสุวรรณ์ ส.ส. พรรคเพื่อไทย และนายอดิศร นุชดำรงค์ อธิบดีกรมป่าไม้ สิระพาสื่อมวลชนไปที่บ้านพักของ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธ์และกล่าวหา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ว่าสร้างท่าเทียบเรือรุกลำน้ำ (แม่น้ำเจ้าพระยาตะวันตก) โดยไม่ได้ขออนุญาตกรมป่าไม้ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ  7 มิถุนายน 2565 ศาลพิพากษายกฟ้องและระบุเหตุผลว่า การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความเห็น วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต ไม่เป็นความผิด
22
26 เม.ย. 64
(วันยื่นฟ้อง)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส. พรรคเสรีรวมไทย สิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ สิระกล่าวหา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ ว่าเป็นเฒ่าทารก สร้างข่าวเท็จว่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงที่ จ.นครศรีธรรมราช ไม่มีข้อมูล
23 3 พ.ย. 64
(วันยื่นฟ้อง) หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี
นพ.วรงค์ ไลฟ์สดผ่านเพจเฟสบุ๊ก 
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 64 กล่าวหากัลฟ์ว่ากำลังจะเข้ามาผูกขาดกิจการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ผ่านการประกาศรับซื้อหุ้นของบริษัทอินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) รวมทั้งจะเข้าประมูลสัมปทานดาวเทียม
นัดตรวจสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานโจกท์และจำเลย วันที่ 14 พฤศจิกายน  2565
24 24 ม.ค. 65 (วันยื่นฟ้อง) หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา สิระ เจนจาคะ อดีตส.ส. พรรคพลังประชารัฐ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.พรรคก้าวไกล และกรุณพลเทียนสุวรรณ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ซ่อม เขต 9 พรรคก้าวไกล พรรคก้าวไกลนำรูปของสิระไปตัดต่อในลักษณะล้อเลียน คู่กับภาพของกรุณพล พร้อมกับเขียนข้อความว่า “ตามหาอาสาสมัครช่วยเพชร กรุณพล หาเสียง-จับโกงเลือกตั้ง ไม่จำกัดเพศ วัย ขอแค่ใจรักประชาธิปไตยก็พอ” ไม่มีข้อมูล
25 23 ก.พ. 65 (วันได้รับหมายเรียก) หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด รังสิมันต์ โรม ส.ส. พรรคก้าวไกล รังสิมันต์อภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2563 กล่าวหาว่าใช้มูลนิธิเป็นสถานที่นัดพบเครือข่ายอำนาจทางการเมือง ทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ ข้าราชการ ตำรวจและทหาร อยู่ในระหว่างรอฟังคำสั่งพนักงานอัยการ
26 11 มี.ค. 65 (วันอัยการสั่งฟ้อง) ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พรรณิการ์ วานิช โฆษกคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความลงเฟสบุ๊กส่วนตัวระหว่างปี 56-62 มีเนื้อหาพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ ศาลฎีกา รับคำร้องเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 และกำหนด นัดพิจารณาครั้งแรกในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565
27
3 พ.ค. 65
(วันยื่นฟ้อง)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา “กระติก” อิจศรินทร์ จุฑาสุขสวัสดิ์ ผู้ต้องหาในคดี “แตงโม นิดาเสียชีวิต” “เต้” มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.พรรคไทยศรีวิไลย์ มงคลกิตต์โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับคดี “แตงโม นิดา เสียชีวิต” โดยให้ความเห็นว่าเป็นคดีฆาตกรรมอำพรางและผู้ตายถูกถีบ ผลักหรือโยนลงจากเรือ ไม่มีข้อมูล
28
20 มิ.ย. 65
(วันรับทราบข้อกล่าวหา)
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ  เทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระ  ปิยบุตร กนกกุล อดีตส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ปิยบุตรโพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน
29
1 ส.ค. 65
(วันไต่สวนมูลฟ้อง)
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) รังสิมันต์ โรม
ส.ส.พรรคก้าวไกล  รังสิมันต์อภิปรายไม่ไว้วางใจนายชัยวุฒิ ธนาคมนานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) รวมถึงโพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กพาดพิง Gulf จากการอภิปราย นัดตรวจสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานโจกท์และจำเลย วันที่ 10 ตุลาคม 2565
30 17 ก.พ. 66 (วันยื่นฟ้อง) หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา อุปกิต ปาจรียางกูร ส.ว. รังสิมันต์ โรม
ส.ส.พรรคก้าวไกล  รังสิมันต์อภิปราย เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 กรณีธุรกิจสีเทาของนายทุนต่างชาติ ซึ่งกล่าวหาว่าอุปกิตเกี่ยวข้องกับกิจการฟอกเงิน  อยู่ระหว่างนัดไต่สวนมูลฟ้อง