1153 1151 1442 1389 1370 1865 1951 1540 1364 1998 1895 1770 1542 1238 1349 1162 1576 1745 1369 1775 1599 1200 1505 1561 1039 1484 1064 1071 1134 1208 1613 1986 1685 1207 1863 1792 1621 1011 1733 1996 1131 1707 1733 1804 1088 1349 1382 1890 1064 1120 1078 1389 1906 1826 1973 1411 1300 1300 1896 1899 1115 1684 1583 1565 1670 1574 1598 1448 1363 1141 1095 1440 1670 1428 1845 1550 1575 1458 1808 1805 1709 1226 1341 1810 1949 1039 1504 1439 1220 1741 1193 1024 1525 1926 1506 1810 1108 1522 1711 คุยกับผู้ต้องหาประชามติ: เหน่อ ภานุวัฒน์ กับคืนวันที่ซ้ำร้าย | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

คุยกับผู้ต้องหาประชามติ: เหน่อ ภานุวัฒน์ กับคืนวันที่ซ้ำร้าย

"เหน่อ" ภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นักศึกษาหนุ่มไฟแรงจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ผู้โชคร้าย ก่อนหน้าที่เหน่อจะถูกตั้งข้อหา "พ.ร.บ.ประชามติฯ" เขาก็มีคดีติดตัวอยู่แล้วหนึ่งคดีจากโทษฐานที่มา "ถ่ายรูปรวมกับชาวบ้าน" เพื่อเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติที่จังหวัดราชบุรี
 
เหน่อ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่เขาจะมาถูกตั้งข้อหาที่สอง เขาเป็นคนที่สนใจเรื่องสังคมการเมืองมาตั้งแต่เด็ก พอเข้ามหาวิทยาลัยก็เคลื่อนไหวเรื่องความรุนแรงในกิจกรรมรับน้อง หรือเรื่องมหาวิทยาลัยนอกระบบ จนกระทั้งมาถึงช่วงการลงประชามติ
 
"ตอนเป็นเด็กผมไปทั้งม็อบเสื้อเหลือง เสื้อแดง ก็เลยพอรู้จัก ลุงๆ ป้าๆ ที่สนใจการเมืองอยู่บ้าง แล้วเขาก็เลยมาช่วยว่าไปศูนย์ปราบโกงประชามติกันมั้ย เราก็เลยตั้งใจไปสังเกตการณ์ดูหน่อย ไม่ได้อะไรมาก เขาก็ให้เสื้อมาตัวหนึ่ง ข้าวกล่องกล่องหนึ่ง แล้วก็ถ่ายรูป ไม่เกิน 15 นาที แล้วก็กลับบ้าน" เหน่อเล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ก่อนจะมาเป็นข้อหาแรกในชีวิตของเขา
 
คดีที่สองเริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาเดินทางไปสถานีตำรวจภูธรบ้านโป่งตามหมายเรียกจากข้อหา "ชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน" จากกรณีเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ และในวันเดียวกันนี้เองที่เขาต้องมาโดนคดีที่สองกับกลุ่มนักกิจกรรมซึ่งมาให้กำลังใจเขาพร้อมกับนักข่าวประชาไทในข้อหา "พ.ร.บ.ประชามติฯ"
 
"ตำรวจนัดให้ไปโรงพัก แล้วพี่แมนก็มาให้กำลังใจตอนเช้า แถลงข่าวตอนเช้าก็อยู่ด้วยกัน ก็เลยเป็นเหตุให้มาถูกดำเนินคดีไปด้วยในข้อหานี้ คือเขา(ตำรวจ)เป็นคนค้นรถแล้วก็เจอเอกสาร มันก็ไม่น่าเกี่ยวอะไรกับเรา แล้วผมก็กลับบ้าน"
 
"พอกลับบ้านมันมีอะไรผิดสังเกต คือมีรถผู้ใหญ่บ้านมาคอยสังเกตการณ์ ซึ่งผมรู้สึกแล้วมันผิดสังเกตก็เลยปิดบ้าน สักพักมีรถตามมาอีกคันแล้วก็มาอีกเยอะเลย เป็นสิบคัน แล้วผู้ใหญ่บ้านอีกหมู่บ้านหนึ่งก็มาหาแต่สนิทกัน ก็คุยกัน แล้วเจ้าพนักงานก็มาขอเชิญตัวไปโรงพักกับค้นบ้านว่ามีเอกสารรณรงค์ประชามติอยู่ในการครอบครองหรือเปล่า"
 
"คือเจ้าหน้าที่ทหารจะเข้าบ้านผมหมดทุกคน แต่ผมไม่ให้เขา ก็เลยขอให้ทหารสัญญาบัตรแค่คนเดียวเขามาได้และอยู่กับผมตลอด แต่พอค้นทั้งหมดก็ไม่เจออะไร แล้วก็การมาค้นก็ไม่ได้บอกว่าใช้อำนาจอะไร ไม่มีหมายค้น ไม่มีหมายจับ แต่เราก็ไม่กล้าถามมาก เล่นพาคนมาเยอะขนาดนี้"
 
ก่อนจะโดนข้อหา เหน่อบอกเราว่า บรรยากาศการรณรงค์ประชามติในช่วงนั้นเต็มไปด้วยความสับสน เพราะไม่มีความชัดเจนว่าการรณรงค์แบบไหนทำได้หรือไม่ได้ เพราะผู้นำรัฐบาลก็ให้สัมภาษณ์สลับไปสลับมา ไม่ว่าจะเป็นพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ นอกจากนี้ เขายังบอกว่า บรรยากาศในช่วงนั้นค่อนข้างน่ากลัว 
 
"คือนอกจากการให้สัมภาษณ์ที่น่ากลัวแล้วมันยังชวนให้สับสน แล้วพอชาวบ้านเขามาเปิดศููนย์ปราบโกง ก็มีข่าวจับชาวบ้านที่นู่นที่นี่อีก คือมันเป็นบรรยากาศที่น่ากลัว ไม่มีใครกล้าแสดงจุดยืนว่าตัวเองคิดอย่างไร ไม่ต้องพูดถึงการเชิญชวนให้คนไปรับหรือไม่รับเลยนะ แค่แสดงตัวก็ไม่กล้ากันแล้ว"
 
เราถามเหน่อต่อว่า แล้วบรรยากาศแบบนี้ส่งผลอย่างไรต่อการลงประชามติในสายตาเขาบ้าง เหน่อรีบตอบเสียงดังฟังชัดว่า "มันส่งผลอยู่แล้ว"
 
"คือเราเรียนมา จอห์น ล็อก รุสโซ ว่า กฎหมายคือสัญญาประชาคม แล้วรัฐธรรมนูญมันคือสิ่งพื้นฐานสุดๆ ที่คนต้องมีส่วนร่วม ถ้ามีกฎหมายออกมาขัดขวางหรือสร้างความกลัวที่จะไปออกสิทธิออกเสียงนั้น มันจะเป็นสัญญาประชาคมไปได้ยังไง"
 
เราถามเหน่อต่อว่า รัฐอ้างว่าต้องมีกฎหมายมาควบคุม ไม่ให้คนถูกชี้นำ ไม่ให้ก่อความวุ่นวาย เหน่อคิดอย่างไร เขาตอบว่า "ผมกำลังงงว่ารัฐกำลังจะประกาศใช้อะไร คือมันก็ต้องชี้นำกันอยู่แล้ว เพราะกฎหมายต้องตีความ แล้วเราก็เชื่อว่าประชาชนมีวิจารณญาณ"
 
"คือถ้าพูดกันจริงๆ หลายอย่างที่รัฐทำก็ตีความเกินความจริงไปเยอะ ของเรานี่ง่ายมากเลยที่มารณรงค์กัน เช่น เรื่องเรียนฟรี คือมันก็เห็นได้ง่ายๆ เอาตัวบทมาดูกัน คือรัฐตีความเกิน แต่ห้ามประชาชนตีความ สรุปนี่รัฐจะประกาศใช้กฎกระทรวงหรือรัฐธรรมนูญ" เขาตอบพร้อมกับขำในลำคอ
 
"แล้วรัฐไม่ชี้นำหรอ ไม่แจกเอกสารฉบับเต็ม(ร่างรัฐธรรมนูญ) แต่มาแจกอะไรไม่รู้ แบบนี้ชี้นำมั้ย เราคิดว่ามันต้องชี้นำได้ ในขณะที่คนอื่นก็ต้องชี้นำได้ คือถ้าเราแสดงความคิดเห็นได้ คนอื่นก็ต้องทำได้ แล้วมาคัดง้างกัน"
 
พอเราวนกลับมาถามเรื่องคดีอีกครั้ง เหน่อถอนหายใจแล้วพูดกับเราแบบหน้าซังกะตายว่า 
 
"โอ้ย มันเศร้านะ คือเราโดนคดีเดียวเราก็เศร้าแล้ว ที่บ้านปั่นป่วนไปหมด คือมันเป็นการติดคุกครั้งแรกในชีวิต และมันยิ่งเห็นว่า การลงประชามติครั้งนี้ไม่ใช่การลงประชามติ การลงประชามติครั้งนี้ไม่มีความชอบธรรมเลย"
 
"ตอนผมเดินมาถึงโรงพัก ขึ้นบันไดโรงพักกำลังจะเข้าประตู แล้วมีคนที่เขาตามๆ มา ให้กำลังใจร้องเพลงสามัญชน 'กี่ลมฝันที่พัดละออง โปรยอ่อนอยู่ในกรงขัง' ผมเดินไปตอนนั้น แมร่งน้ำตาไหลหยดหนึ่ง แล้วเราก็ปาด คือจังหวะนั้นมันก็เศร้าเหมือนกันนะ แล้วเจ็บใจนะ พี่แมนมาให้กำลังใจเรา มาติดคุกไปด้วย"
 
เราถามเขาเป็นคำถามสุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือ เขาคิดว่าคดีของเขาสำคัญอย่างไรต่อสังคมไทย เหน่อสูดลมหายใจเขาอีกครั้ง เขาตอบด้วยสีหน้าจริงจังว่า "คดีผมจะเป็นบรรทัดฐานของสังคมไทย"
 
"คดีของผมควรจะเป็นบรรทัดฐานต่อไป ถ้าจะมีการใช้กฎหมายแบบเดียวกันในการลงประชามติ ผมไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้(พ.ร.บ.ประชามติฯ) กฎหมายนี้มันเปิดช่องให้ตีความกว้างฉิบหายเลย อะไรคือเป็นเท็จ อะไรคือบิดเบือน"
 
"แล้วกฎหมายนี้ ตำรวจจับ ทั้งที่ กกต. บอกว่ายังไม่ผิด แล้วแบบนี้ตำรวจมีหน้าที่อะไร นี่ก็บรรทัดฐานหนึ่ง แล้วกระบวนการสมานฉันท์ปรองดอง ศาลก็แนะนำว่าถ้ารับสารภาพโทษก็จะเบา นี่คืออะไร ปรองดองอะไรมาให้รับสารภาพ"
 
"ถ้าศาลบอกว่า คดีของผมผิด พ.ร.บ.ประชามติฯ มันจะมีผลต่อ พ.ร.บ.ประชามติฯ อื่นๆ อีก ทั้งที่คดีผมไม่มีอะไรเลย ใช้คำกล่าวหาว่า คาดว่าน่าจะแจกก็โดนแล้ว มันก็ไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว ต่อไปคุณก็ประกาศรัฐธรรมนูญมาเลย ไม่ต้องมีช่องโหวตโน" เหน่อกล่าวอย่างคนเตรียมใจ ก่อนที่เขาจะต้องเดินทางไปศาลจังหวัดราชบุรีในวันที่ 21-24 มีนาคมนี้ เพื่อเข้าร่วมการสืบพยานในชั้นศาล
ชนิดบทความ: