1276 1305 1527 1566 1634 1297 1898 1004 1099 1984 1083 1434 1261 1498 1954 1612 1522 1982 1900 1104 1281 1504 1853 1097 1638 1181 1951 1162 2000 1892 1693 1183 1421 1263 1712 1854 1770 1171 1866 1575 1348 1223 1371 1510 1045 1324 1907 1953 1673 1649 1585 1376 1860 1978 1816 1228 1308 1463 1838 1049 1376 1621 1882 1610 1791 1939 1761 1731 1862 1345 1261 1842 1024 1248 1279 1745 1672 1937 1941 1107 1805 1107 1360 1185 1547 1900 1103 1377 1047 1990 1923 1982 1101 1147 1465 1774 1300 1835 1719 ความยุติธรรมโดยทหารของสหรัฐอเมริกา: กระบวนการพิเศษย้อนหลังสำหรับผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ความยุติธรรมโดยทหารของสหรัฐอเมริกา: กระบวนการพิเศษย้อนหลังสำหรับผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย

 
ศาลทหารทั้ง 3 ประเภทกำลังถูกใช้อยู่ในคดีที่จำเลยเป็นทหาร รวมถึงคดีของเชลซี แมนนิ่ง และเบิร์กดาลห์ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวาง ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน รัฐสภาของสหรัฐฯ ได้ให้อำนาจคณะกรรมาธิการทหารในการไต่สวนผู้ต้องสงสัยคดีก่อการร้าย ทั้งในคดีที่เกิดขึ้นก่อนการออกกฎหมาย โดยปราศจากหลักกระบวนการอันควรตามกฎหมาย
 
594
ที่มาภาพ jeff_golden
 
 
ที่มาของกระบวนการยุติธรรมโดยทหารของสหรัฐฯ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ ประมวลกฎหมายยุติธรรมทหาร (Uniform Code of Justice - UCMJ) ประมวลกฎหมายนี้เป็นเสมือนประมวลกฎหมายทางอาญาสำหรับกองทัพอเมริกา โดยประมวลกฎหมายนี้ได้บัญญัติถึงความผิดทั่วไป ซึ่งสามารถถูกลงโทษภายใต้กฎหมายของพลเรือน เช่น การข่มขืน การฆาตกรรม และก็ยังบัญญัติความผิดเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ทหารโดยเฉพาะ เช่น การหนีทหาร การไม่เคารพต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูง ให้เป็นอาชญากรรม เพื่อเป็นการสร้างระเบียบและวินัยให้แก่เจ้าพนักงาน
 
บุคคลผู้อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายนี้ได้แก่ สมาชิกกองทัพซึ่งยังคงปฏิบัติงานอยู่ สมาชิกกองกำลังสำรองทั้งที่ปฏิบัติหรือหมดหน้าที่แล้ว นักเรียนนายทหาร นักเรียนนายเรืออากาศ นักเรียนทหารเรือ และสมาชิกของสมาคมกองเรือสำรองกับสมาชิกของกองนาวิกโยธินสำรอง นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ซึ่งเกษียณอายุราชการจากกองทัพแล้วแต่ยังได้รับการพยาบาลจากกองทัพและองค์กรอื่นๆ ที่ทำงานให้กับกองทัพ ก็อยู่ภายใต้การบังคับใช้ประมวลกฎหมายนี้ด้วยเช่นกัน ประมวลกฎหมายยุติธรรมทางทหารนี้ยังสามารถบังคับใช้กับบุคคลเหล่านี้ได้ในทุกสถานที่ ไม่ว่าภายในและภายนอกอาณาเขตของสหรัฐฯ (กล่าวคือมีเขตอำนาจศาลครอบคลุมทั่วโลก)
 
ศาลทหาร ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางตามวาระทางการเมือง
 
ผู้ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับตามประมวลกฎหมายยุติธรรมทางทหาร และไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ จะถูกไต่สวนในศาลทหาร ตามคู่มือของศาลทหาร (Manual for the Court Martial) เป็นกฎเกณฑ์ซึ่งระบุกระบวนการของศาลทหารทั้งหมด โดยศาลทหารมิใช่ศาลถาวร และจะถูกเรียกตัวมาด้วยเหตุตามความจำเป็น รัฐสภาแห่งสหรัฐฯ ได้แต่งตั้งคณะผู้มีอำนาจในการเรียกตัว (ผู้บัญชาการหรือเจ้าหน้าที่) เป็นผู้มีอำนาจในการออกระเบียบจัดตั้งศาลทหารประเภทต่างๆ ขึ้น ตามแต่ข้อกล่าวหาในแต่คดี
 
ศาลทหารชั้นต้นมี 3 ประเภท คือ ศาลทหารแบบรวบรัด (Summary Court-Martial) ศาลทหารพิเศษ (Special Court-Martial) และศาลทหารทั่วไป (General Court-Martial) ศาลทหารแบบรวบรัดทำหน้าที่สอบสวนการกระทำผิดที่โทษไม่หนัก ในศาลนี้ ประกอบด้วยนายทหารพระธรรมนูญ 1 นาย มีเพียงทนายที่เป็นพลเรือนเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนของผู้ต้องหาได้ ศาลทหารแบบรวบรัดสามารถสั่งลงโทษได้ด้วยการกักขังไม่เกิน 1 เดือน การหักเงินเดือนจำนวน 2 ใน 3 เป็นเวลา 1 เดือน และการลดเงินเดือนถึงขั้นต่ำที่สุด ในการนี้ ศาลแบบรวบรัดจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหาในการดำเนินการพิจารณาคดีด้วย
 
ส่วนศาลทหารพิเศษประกอบด้วยสมาชิกศาล (ลูกขุน) อย่างน้อย 3 คน หรือตุลาการทหาร 1 นายพร้อมกับสมาชิกศาลอย่างน้อย 3 คน หรือผู้ต้องหาสามารถยื่นคำร้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือเพื่อขอตุลาการทหารเพียง 1 คนและตุลาการทำการอนุมัติได้ ศาลทหารพิเศษสามารถตัดสินโทษได้โดยการกักขังไม่เกิน 12 เดือน การหักเงินเดือนไม่เกิน 12 เดือน การปลดเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หรือการลดเงินเดือนถึงขั้นต่ำสุด
 
ศาลทหารทั่วไปเป็นศาลทหารขั้นต้นที่มีอำนาจมากที่สุดในศาลทหารชั้นต้นทั้งหมด ก่อนที่ข้อกล่าวหาจะถูกส่งไปยังศาลทหารทั่วไป การสอบสวนและการไต่สวนมูลฟ้องจะต้องมีขึ้นก่อน ศาลประกอบด้วยตุลาการทหาร 1 นายและสมาชิกศาลอย่างน้อย 5 คน ทนายตัวแทนผู้ต้องหาสามารถเป็นได้ทั้งทหารหรือพลเรือน ศาลทั่วไปสามารถตัดสินด้วยบทลงโทษใดๆ ตามที่ประมวลกฎหมายยุติธรรมทหารอนุญาต รวมถึงโทษประหารชีวิตด้วย
 
 

591

ที่มาข้อมูล เว็บ innocentworrior ปีงบประมาณ 2011
 
 
ตัวอย่างคดีที่มีชื่อในศาลทหารคือคดีของโบว์ เบิร์กดาห์ล และคดีของเชลซี แมนนิ่ง 
 
สิบเอกเบิร์กดาห์ลถูกตั้งข้อหาว่า หนีทหารและความประพฤติไม่สมควรต่อหน้าศัตรู และการพิจารณาคดีจะเกิดขึ้นในศาลทหารทั่วไป ความโด่งดังของคดีมาจากการที่เบิร์กดาห์ลจงใจหนีจากฐานทัพในอัฟกานิสถานในปี 2009 และถูกจับโดยกลุ่มตาลีบันจนกระทั่งถูกปล่อยตัวใน 5 ปีต่อมา หลังจากการทำงานของโอบามาที่ตกลงแลกเปลี่ยนนักโทษตาลีบัน 5 คนกับอิสรภาพของเบิร์กดาห์ล การพิจารณาคดีของเขาจะเริ่มในวันที่ 15 พฤษภาคม 2017 ข้อโต้เถียงของคดีนี้อยู่ที่ข้อตกลงการแลกนักโทษ และการที่เรื่องนี้ถูกทำให้เป็นประเด็นทางการเมืองในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 
 
อีกหนึ่งตัวอย่าง คือ คดีของเชลซี แมนนิ่ง ผู้เผยเอกสารลับทางราชการสหรัฐฯ กว่า 700,000 ฉบับแก่วิกิลีกส์  หนึ่งในเอกสารที่ถูกเปิดเผยนั้นเป็นวีดิโอซึ่งแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของลูกเรือเฮลิคอปเตอร์ที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ด้วยการที่ลูกเรือเหล่านั้นส่งเสียงหัวเราะระหว่างปฏิบัติการทางอากาศในแบกแดด อันเป็นผลให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมากในเดือนกรกฎาคม 2007 เอกสารชิ้นอื่นๆ ยังชี้ให้เห็นถึงการกระทำที่ไม่เหมาะสมของกองทัพอเมริกัน เช่น การฆ่าพลเรือนที่ไม่ได้ติดอาวุธในอัฟกานิสถาน และความล้มเหลวของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ในการสอบสวนรายงานกว่าร้อยฉบับเรื่องการข่มเหง การทรมาน การข่มขืน และการฆาตกรรม 
 
ในปี 2013 แมนนิ่งถูกพิพากษาว่ามีความผิดฐานฝ่าฝืนรัฐบัญญัติการจารกรรม (Espionage Act) ด้วยการคัดลอกและการเผยแพร่เอกสารลับทางราชการ เธอถูกตัดสินด้วยโทษจำคุก 35 ปี มีการโต้เถียงเกี่ยวกับคำตัดสินของคดี ภาคประชาสังคม เช่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล คัดค้านคำวินิจฉัยนี้และเรียกร้องให้ปล่อยตัวแมนนิ่ง และร้องเรียนให้เจ้าหน้าที่อเมริกันสอบสวนประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแทนประเด็นการเผยแพร่เอกสาร ในที่สุด คำตัดสินของแมนนิ่งได้รับการลดโทษในช่วงท้ายของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของโอบามา และเธอจะได้รับการปล่อยตัวในเดือนพฤษภาคม 2017 
 
เป็นที่น่าสังเกตว่า ศาลทหารในสหรัฐฯ ไม่ได้ถูกยกมาเป็นข้อถกเถียงโดยตัวของศาลทหารเอง ในทางกลับกัน ประเด็นของแต่ละคดีในศาลทหารได้เป็นต้นเหตุของข้อถกเถียง อย่างไรก็ดี คณะตุลาการของทหารที่กลายข้อถกเถียง คือ คณะกรรมาธิการทหารซึ่งได้รับการแต่งตั้งเพื่อไต่สวน ‘ผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย’ ภายหลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน ข้อกังวลที่มีขึ้น คือ หลักกระบวนการอันควรตามกฎหมายที่มีอย่างจำกัด และความสามารถของคณะกรรมาธิการในการดำเนินการพิจารณาคดีให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 
593
ที่มาภาพ USDAgov
 
คณะกรรมาธิการทหารซึ่งได้รับการแต่งตั้งเพื่อไต่สวนศัตรูภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน
 
ในสหรัฐอเมริกา คำศัพท์ว่า คณะกรรมาธิการทหาร (Militray Commission) ปรากฏอยู่บนเอกสารลายลักษณ์อักษรในช่วงสงครามกลางเมือง (ปี 1861 – 1865) คณะกรรมาธิการทหารเกิดขึ้นเพื่อจัดการกับดินแดนขนาดใหญ่ซึ่งถูกศัตรูครอบครองและบทบัญญัติว่าด้วยระเบียบวินัยกองทัพ (Article of War) ที่ยังไม่เพียงพอในเวลานั้น โดยในแรกเริ่ม คณะกรรมาธิการทหารถูกออกแบบเพื่อดำเนินคดีกับพลรบที่ทำผิดกฎหมาย และในระหว่างสงครามกลางเมือง คณะกรรมาธิการกว่า 2,000 คนถูกตั้งขึ้น คณะกรรมาธิการทหารยังถูกใช้อย่างมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่แทบไม่ถูกตั้งขึ้นอีกเลย จนกระทั่งเหตุการณ์ 11 กันยายน 
 
หลังจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ลงมติผ่านกฎหมายให้อำนาจการใช้กองกำลังทางทหาร (Authorization for the Use of Military Force - AUMF) เพื่อตอบโต้กับเหตุการณ์ดังกล่าว กฎหมายนี้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้ ‘กำลังตามความจำเป็นและเหมาะสมเพื่อต่อต้านชาติ องค์กร หรือบุคคล’ ซึ่งจัดหาทรัพยากรและแหล่งพักพิงให้แก่ผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 ด้วยการใช้อำนาจนี้ สหรัฐฯ ได้ประกาศสงครามกับทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐและมิใช่รัฐเพื่อกวาดล้างการก่อการร้ายให้หมดสิ้นไป 
 
คณะกรรมาธิการทหารเป็นการปฏิบัติงานทางกฎหมายอย่างหนึ่ง ในความพยายามตัดทอนการก่อการร้าย ภายใต้ร่างกฎหมายการให้อำนาจการใช้กองกำลังทางทหาร ประธานาธิบดีได้ลงนามคำสั่งให้การพิจารณาคดีสำหรับศัตรูผู้ต้องสงสัยเป็นการจัดการของคณะกรรมาธิการทหาร คณะกรรมาธิการได้จำกัดการเข้าถึงสิทธิตามกระบวนกันอันควรอย่างมีนัยสำคัญ และหลักฐานจากการบังคับและการทรมานเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้  คณะกรรมาธิการทหารโดยคำสั่งของบุชดำรงตำแหน่งได้ไม่นาน กระทั่งศาลฎีกาตัดสินในปี 2006 ว่า คณะกรรมาธิการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยการทำงานของบุชนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่มีการอนุมัติจากรัฐสภา และคำสั่งนี้ยังขัดต่อประมวลกฎหมายยุติธรรมทหารและอนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions)  ด้วย
 
ภายหลังคำสั่งของบุชสิ้นผลไป รัฐสภาได้ลงมติผ่านรัฐบัญญัติคณะกรรมาธิการทหารปี 2006 (Military Commission Act of 2006) ฉบับแก้ไข เพื่อเป็นการตอบรับกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกา  ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2007 คำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีที่ 13425 ได้สถาปนาคณะตุลาการนี้ขึ้น  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้มีอำนาจในการตั้งคณะกรรมาธิการทหาร ในปี 2009 ประธานาธิบดีโอบามาเข้าดำรงตำแหน่งและระงับคณะกรรมาธิการเป็นระยะเวลาชั่วคราวในช่วงสัปดาห์แรกของการดำรงตำแหน่ง เขาพยายามย้ายนักโทษกวนตานาโมที่เหลืออยู่ไปยังศาลรัฐบาลกลาง แต่ท้ายที่สุด โอบามาก็เลิกแผนการนี้และกลับไปใช้คณะกรรมาธิการทหารต่อในปีเดียวกัน  รัฐบัญญัติคณะกรรมาธิการทหารปี 2009 เป็นฉบับที่ดีขึ้นจากฉบับ 2006 ด้วยการเพิ่มหลักกระบวนการอันควรของผู้ต้องหา รวมทั้งเพิ่มเรื่องการอำนาจศาลในการสั่งให้ปล่อยตัวบุคคลที่ถูกคุมขังโดยมิชอบ (Habeas Corpus)
 
คู่มือของคณะกรรมาธิการทหาร  ได้วางระเบียบกระบวนการไว้ว่า องค์ประกอบของคณะกรรมาธิการทหารประกอบด้วย ตุลาการทหาร 1 นาย และสมาชิกศาล (ลูกขุน) อย่างน้อย 5 คน แต่หากเป็นคดีที่มีโทษประหารชีวิต ศาลจำเป็นต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 12 คน สมาชิกที่ยังคงปฏิบัติงานอยู่ในกองทัพมีคุณสมบัติเหมาะสมในการเป็นสมาชิกของศาล บุคคลซึ่งถูกพิจารณาคดีในศาลได้คือศัตรูต่างชาติ บุคคลผู้เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนศัตรูของสหรัฐอเมริกาหรือการร่วมมือของศัตรูนั้น หรือเป็นสมาชิกของกลุ่มอัลกออิดะฮ์ ความผิดที่อยู่ในอำนาจลงโทษของคณะกรรมาธิการ ประกอบด้วย การฆ่า การทำร้ายพลเรือน การจับตัวประกัน การสมคบคิด การใช้อาวุธพิษ และความอื่นๆ ตามที่กฎหมายเกี่ยวกับสงครามกำหนด
 
ถึงแม้ว่ารัฐบัญญัติคณะกรรมาธิการทหารฉบับแก้ไขจะห้ามการรับฟังพยานหลักฐานอันมาจากการบังคับหรือทรมาน แต่หลักกระบวนการอันควรตามกฎหมายก็ยังคงขาดหายอยู่ หนึ่งในประเด็นพิเศษในรัฐบัญญัตินี้ คือ อำนาจย้อนหลังของรัฐบัญญัติเอง กรรมาธิการทหารมีเขตอำนาจศาลที่จะไต่สวนการกระทำความผิดอันมีโทษใดๆ ตามที่รัฐบัญญัติระบุไว้ ที่เกิดขึ้นทั้งในเวลาก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ หรือหลังเกิดเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน โดยทั่วไป รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาห้ามกฎหมายที่มีผลย้อนหลัง ดังนั้น ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของรัฐบัญญัตินี้จึงยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ 
 
คณะกรรมาธิการทหารสามารถกำหนดเขตอำนาจศาลของตัวเองได้อีกด้วย และอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการทหารคือคุณสมบัติของทนายฝ่ายจำเลย ผู้ต้องหาสามารถว่าจ้างทนายที่ถือสัญชาติอเมริกันหรือผู้ที่เป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตของสหรัฐฯ เท่านั้น สิทธิระหว่างทนายและลูกความไม่ถูกกล่าวถึงไว้ การไต่สวนมูลฟ้องไม่มีในกระบวนการของคณะกรรมาธิการทหาร พยานบอกเล่าสามารถเป็นพยานที่รับฟังได้เมื่อมีเหตุสมควรและตุลาการเห็นว่าคำพูดนั้นน่าเชื่อถือ 
 
ตั้งแต่คุกกวนตานาโมเปิดในปี 2002 มีชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่กว่า 779 คนถูกกักขัง ณ ที่แห่งนั้น ข้อมูลเมื่อเดือนกันยายน 2016 ระบุว่ามีนักโทษแค่ 30 คนถูกดำเนินคดี ในจำนวนนั้น เพียง 8 คนถูกตัดสินว่า มีความผิด ส่วนอีก 7 คดี ในจำนวนนั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณา 
 
 
 
 
 
 
ชนิดบทความ: