1329 1429 1501 1762 1206 1797 1326 1711 1741 1984 1744 1868 1450 1955 1598 1340 1742 1224 1740 1134 1896 1746 1101 1966 1546 1909 1874 1782 1363 1639 1657 1888 1749 1642 1097 1435 1708 1215 1636 1652 1130 1471 1336 1327 1990 1660 1946 1046 1659 1183 1465 1751 1798 1983 1146 1616 1195 1279 1340 1231 1573 1977 1439 1213 1712 1855 1014 1349 1571 1247 1967 1993 1951 1694 1880 1621 1816 1972 1621 1353 1581 1508 1813 1408 1190 1099 1518 1319 1365 1760 1938 1697 1979 1008 1853 1931 1569 1028 1297 “เราช่วยรัฐ แล้วรัฐช่วยอะไร?” | ส่องข้อเรียกร้อง 'ปัญหาปากท้อง' จาก 6 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการโควิด-19 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

“เราช่วยรัฐ แล้วรัฐช่วยอะไร?” | ส่องข้อเรียกร้อง 'ปัญหาปากท้อง' จาก 6 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการโควิด-19

“เราช่วยรัฐ แล้วรัฐช่วยอะไร?”

ส่องข้อเรียกร้อง 'ปัญหาปากท้อง' จาก 6 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการโควิด-19

 

การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นและแพร่กระจายเป็นวงกว้างหลายจังหวัดทั่วประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคม 2564 ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตการควบคุมพฤติกรรมของประชาชนอย่างเข้มงวดอีกครั้ง ตามข้อกำหนดเพิ่มเติมฉบับที่ 16  https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/16-030164.pdf

มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มกราคม 2564 สำหรับจังหวัดที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/1-2564.pdf

และกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืน คือ จำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.          ห้ามใช้อาคารหรือสถานที่โรงเรียน สถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอนหรือทำกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก

2.          ห้ามจัดกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เช่น การประชุม สัมมนา การจัดเลี้ยง

3.          ปิดสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ

4.          ร้านอาหาร เครื่องดื่มให้จัดระเบียบการเข้าใช้บริการตามแนวปฏิบัติและแนวทางป้องกันโรค

5.          ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน

6.          ห้างสรรพสินค้า, ร้านสะดวกซื้อ, ซูปเปอร์มาร์เก็ต, ศูนย์ประชุม ให้เปิดได้ตามปกติภายใต้มาตรการควบคุมโรค

 

ถึงแม้ว่าจะมีประกาศข้อกำหนดเพิ่มเติมฉบับที่ 18 ออกมาผ่อนคลายการคุมเข้มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา แต่มาตรการคุมเข้มกว่า 28 วันรวมถึงผลกระทบจากมาตรการโควิดในรอบก่อนได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ร้านค้า นักเรียน นักศึกษา ลูกจ้าง และแรงงานหาเช้ากินค่ำต่างได้รับผลกระทบจากปัญหากันถ้วนหน้า อาทิเช่น รายได้ที่ลดลง, การถูกเลิกจ้าง, การเรียนการสอนที่ไม่มีประสิทธิภาพ, ความลำบากในการเลี้ยงดูบุตรหลานที่ไม่ได้ไปโรงเรียน, ภาวะจำเป็นที่ต้องหยุดกิจการ เป็นต้น  จึงทำให้ตั้งแต่เดือนมกราคมเรื่อยมามีกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการโควิด-19 ออกมาส่งเสียงเรียกร้องการเยียวยาแก้ปัญหาจากภาครัฐเป็นจำนวนมาก

 

1669

 

1.เสียงของแรงงาน: พักงาน เลิกจ้าง เสี่ยงอันตราย

 

ตลอดเดือน มกราคม จนถึงต้นเดือน กุมภาพันธ์ 2564 มีกลุ่มแรงงาน, ผู้ทำงานโรงงาน, กลุ่มพยาบาล, และอีกหลายกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรค ออกมาเรียกร้องยื่นหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องให้ช่วยเยียวยาแก้ปัญหาปากท้องอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น

 

  • เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน รวมตัวเรียกร้อง 3 ครั้ง ในวันที่ 18 มกราคม 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล, 26 มกราคม 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล, 3 กุมภาพันธ์ 2564 ที่หน้ารัฐสภา (เกียกกาย)

 

  • กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล

 

ปัญหาของกลุ่มแรงงานผู้ออกมาเรียกร้องมีหลายประการ ดังนี้

 

ปัญหาจากการจ้างงาน

1. การถูกลดเงินเดือนจากการประกาศพักงานของนายจ้าง โดยนายจ้างจะจ่ายเงินค่าจ้างเพียงร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ตามมาตรา 75 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

2. การถูกเลิกจ้าง

3. หญิงมีครรภ์ที่ถูกเลิกจ้างหรือถูกกดดันให้ออกจากงาน

 

ปัญหาความปลอยภัยและสุขอนามัย

1. การเปลี่ยนอาชีพมาทำงานรับจ้างอิสระที่ไม่มีความมั่นคงและไม่มีสวัสดิการ

2. บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างหนัก และเสี่ยงอันตราย

3. ความเสี่ยงในการติดโรคจากที่ทำงาน

4. ความต้องการทำแท้งปลอดภัยเพราะไม่สามารถแบกรับภาระเลี้ยงดูบุตรได้

 

ปัญหาภาระในชีวิตส่วนตัวที่เพิ่มขึ้น

1. การทำงานที่บ้านไปพร้อมกับการดูแลบุตรหลานที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้

2. ภาระหนี้สิน กับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

 

โดยการยื่นหนังสือของกลุ่มเครือข่ายแรงงานฯ มีข้อเรียกร้องสำคัญๆ ดังนี้

 

เยียวยาค่าใช้จ่าย

 

1. เรียกร้องให้รัฐบาลเยียวยาแรงงานถ้วนหน้าทุกภาคส่วนเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือนจนถึงช่วงรับวัคซีน เพื่อให้สะดวกต่อการเข้าถึงสำหรับประชาชนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนหรืออินเทอร์เน็

 

2. สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 กรณีที่นายจ้างสั่งหยุดงานชั่วคราว ตามมาตรา 75 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน สำหรับสถานประกอบการที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างแค่ 75% นั้น ให้รัฐจ่ายเงินส่วนต่างให้แก่ลูกจ้างอีก 25%

 

3. อุดหนุนค่าเช่าสถานที่ประกอบการที่สั่งงด เช่น ผับ บาร์ โรงมหรสพ โรงละคร ในช่วงการใช้มาตรการโควิด 3 เดือน

 

เร่งออกมาตรการด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย

 

1. รัฐบาลต้องจัดหาอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานสากลในการป้องกัน Covid-19 ให้กับบุคคลากรทางการแพทย์ทุกคนที่ทำงานเกี่ยวข้อง และต้องจัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น หน้ากากอนามัย ให้กับประชาชนทุกคนอย่างเพียงพอ โดยรัฐบาลต้องจัดส่งให้ประชาชนถ้วนหน้า

 

2. รัฐต้องจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กสำหรับลูกของคนงานในย่านอุตสาหกรรม และชุมชนอุตสาหกรรมโดยไม่ต้องคำนึงถึงการมีทะเบียนบ้านในพื้นที่ อีกทั้งต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณการศึกษา อุปกรณ์ และอาหาร จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในช่วงที่รัฐบาลประกาศปิดศูนย์เลี้ยงเด็กระหว่างมีโรคระบาด Covid-19

 

3. มาตรการทำแท้งปลอดภัยภายใต้สถานการณ์โควิดด้วยการให้บริการการทำแท้ง ผ่านระบบการปรึกษาทางไกล

 

4. ประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนไทยหรือแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ต้องเข้าถึงการตรวจโรคฟรี รวมถึงได้รับวัคซีนฟรีเมื่อแสดงเจตจำนงที่โรงพยาบาล

 

5. ออกมาตรการช่วยเหลือแรงงานกลุ่มที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด (essential workers) ในระหว่างที่มีการระบาดของโควิด-19  โดยเฉพาะแรงงานในธุรกิจส่งอาหารตามสั่ง ส่งพัสดุ พนักงานทำความสะอาด พนักงานนวด ฯลฯ ที่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจแพลตฟอร์ม (platform business) ที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงของการระบาดฯ แต่แรงงานกลุ่มนี้ขาดความมั่นคงในการทำงาน เป็นแรงงานรับจ้างทำงานรายชิ้นที่บริษัทเรียกอย่างผิดๆ ว่า “พาร์ทเนอร์” จึงไม่ได้เป็นผู้ประกันตนที่ธุรกิจร่วมจ่ายเงินสมทบในฐานะนายจ้าง และไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการ

 

ทั้งยังมีข้อเสนอให้รัฐบาลลดงบประมาณภาครัฐในส่วนอื่นๆ เช่น งบประมาณกองทัพ หรืองบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อนำมาจัดสรรเยียวยาให้กับประชาชนที่เดือดร้อน

 

#ข้อมูลประกอบ



ผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี
 
ผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 แล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมด้วยตัวเองแทน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน  อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ




ผู้ประกันตนตาม มาตรา 40 คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 จึงไม่มีนายจ้างแต่ก็ประกอบอาชีะและมีรายได้จึงต้องการเป็นสมาชิกในระบบสวัสดิการ ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมตามมาตรา 40 ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี

 

 

1670

 

 2.เรียนออนไลน์หน้ากระทรวง: ไม่ใช่ทุกคนที่พร้อมเรียนออนไลน์

 

หนึ่งในมาตรการควบคุมโรคตามข้อกำหนดฉบับที่ 16 ข้อที่ 1 คือ การห้ามใช้อาคารหรือสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน หรือทำกิจกรรมรวมตัว ซึ่งต่อมาผ่อนคลายลงในหลายสถาบันการศึกษา ภายใต้การที่ต้องเรียีนหนังสือจากที่บ้านมีข้อกังวลด้านความพร้อมของอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมที่บ้านที่เอื้อต่อการเรียนสำหรับนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ

 

วันที่ 8 มกราคม 2564 เวลา 16.00-18.00 น. นักเรียนเลว จัดกิจกรรมเรียนออนไลน์หน้ากระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสะท้อนปัญหาจากการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิดและการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นของระบบการศึกษาที่ไม่อำนวยให้ทั้งครูและนักเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การดำเนินกิจกรรมเป็นการเรียนออนไลน์ในวิชาต่างๆ โดยการฉายโปรเจคเตอร์วีดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์และเทปบันทึกการสอนไปที่กำแพงบริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ และมีนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมนั่งเรียนโดยมีการเว้นระยะห่าง มีทั้งอาจารย์ นักกิจกรรม เป็นผู้ให้ความรู้ และยังมีกิจกรรมที่เชิญชวนผู้ชุมนุมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์โดยนำชอล์กเขียนระบายความในใจลงบนพื้นถนนบริเวณหน้ากระทรวง เช่น “ไม่ใช่ทุกคนที่พร้อมเรียนออนไลน์”

 

1671

3. สวัสดิการชิงโชค: 'คนละครึ่ง' ที่ไม่ใช่ของทุกคน

 

22 มกราคม 2564 เวลา 10.00 น. กลุ่มนักศึกษาเครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตยได้นัดทำกิจกรรมหน้ารัฐสภาเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรช่วยส่งเสียงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อมาตรการเยียวยาจากสถานการณ์โควิด-19 ถึงรัฐบาลของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีกิจกรรมการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์โปรยกระดาษจากกล่อง “สวัสดิการชิงโชค” สะท้อนถึงปัญหาของโครงการ “คนละครึ่ง” ที่เยียวยาไม่ทั่วถึง

 

โครงการคนละครึ่ง คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะช่วยจ่ายค่าซื้อสินค้าให้ 50% ของมูลค่าสินค้า แต่ไม่เกินวันละ 150 บาท และตลอดทั้งโครงการให้สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน และในเฟส 2 เพิ่มวงเงินเป็น 3,500 บาทต่อคน ผู้ต้องการรับสิทธิต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ และใช้จ่ายผ่านแอพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ในโทรศัพท์มือถือเป็นรูปแบบเงินอิเล็กทรอนิก

 

หลังจากmujการเปิดให้ประชาชนได้ลงทะเบียนก็เกิดปัญหาจำนวนมากเกิดขึ้นกับผู้ลงทะเบียน อาทิเช่น การกดรับสิทธิไม่ทัน, ปัญหาของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ล่าช่าในการส่งรหัสยืนยัน หรือ “OTP”, อุปสรรคของผู้สูงอายุที่ไม่การใช้งานแอพพลิเคชั่น, การเข้าไม่ถึงสิทธิของคนที่ไม่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

 

โดยกลุ่มนักศึกษาได้ชี้ปัญหาที่เกิดขึ้นว่าโครงการนี้เป็นการเยียวยาที่ไม่ทั่วถึงและไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนที่ขาดแคลนอุปกรณ์และเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี พร้อมอ่านแถลงการณ์โดยมีข้อเรียกร้องเกี่ยวกับมาตรการเงินเยียวยา ดังนี้

 

1. ประชาชนทุกสาขาอาชีพจะต้องได้รับการเยียวยาอย่างเสมอภาค และมีความรวดเร็วในการดำเนินการ

2. การเยียวยาช่วยเหลือประชาชนจะต้องเป็นเงินสด ที่ประชาชนสามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อบรรเทาตามความเดือดร้อนของทุกคน

 

หลังการอ่านแถลงการณ์ของกลุ่มนักศึกษา สมบูรณ์ อุทัยเวียงกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ออกมารับหนังสือจากกลุ่มนักศึกษาพร้อมทั้งกล่าวว่า ประธานสภาเข้าใจถึงปัญหาความเดือดร้อน และขอบคุณนักศึกษาที่เป็นปากเสียงให้กับประชาชนจะนำข้อเรียกร้องไปเสนอถึงประธานสภาได้รับทราบต่อไป

 

1672

4. ประชาชนเบียร์: มาตการควบคุมโรคแต่กระทบธุรกิจแอลกอฮอล์

 

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 สมาคมคราฟท์เบียร์และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 30 คนนัดรวมตัวที่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อยื่นหนังสือขอให้ สคบ. ร้องขอให้รัฐผ่อนคลายมาตรการให้สามารถจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบนั่งดื่มที่ร้านได้ หลังจากได้เข้ายื่นหนังสือครั้งแรกที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 25 มกราคม 2564 โดยครั้งนี้มีไฮไลท์สำคัญอยู่ที่การเทเบียร์หมดอายุเพื่อสื่อถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ

 

ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายและผู้นำเข้าคราฟท์เบียร์เป็นกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการโควิดตามข้อกำหนดฉบับที่ 16 ที่มีข้อห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน, การสั่งปิดสถานบริการผับ, บาร์ และกฎหมายที่ควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภายใต้คำสั่งดังกล่าว ทำให้ร้านคราฟท์เบียร์ไม่สามารถทำธุรกิจได้ตามปกติ รายได้ลดลงกว่าร้อยละ 90 เนื่องจากรายได้หลักของผู้ประกอบการร้านคราฟท์เบียร์มาจากการบริโภคภายในร้านเป็นหลัก ในขณะที่ต้นทุนและค่าใช้จ่ายไม่ได้ลดลง ผลกระทบดังกล่าวนี้ส่งผลต่อร้านคราฟท์เบียร์ไม่น้อยกว่า 500 ร้านทั่วประเทศ และมีผู้ประกอบการ รวมทั้งพนักงานที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่า 5,000 คน

 

โดยปัญหาที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญคือ

 

1. คราฟท์เบียร์สดเป็นสินค้ามีอายุการเก็บรักษาน้อย ประมาณ 2-3 เดือน ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายและผู้นำเข้าไม่สามารถระบายสินค้าเบียร์สดได้ทัน ซึ่งเป็นสินค้าที่มีต้นทุนสูง ต้องภาษีในอัตราสูงและมีอายุสินค้าสั้น

 

2. ร้านค้าไม่สามารถจำหน่ายเบียร์สดในบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เพื่อให้ลูกค้านำกลับไปบริโภคที่บ้านได้เนื่องจากผิด พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตมาตรา 157 ที่ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุราเพื่อการค้า เว้นแต่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาต ให้ผลิตสุรา หรือเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 2

 

3. ร้านค้าไม่สามารถจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เนื่องจากผิดกฎหมายห้ามซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางออนไลน์ ตามประกาศของสำนักนายกฯ ออกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 เนื่องจากมีการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออนไลน์มากขึ้นในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรกโดยอ้างว่า “ยากที่จะเข้าไปดูแลให้การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบ” กฎหมายนี้มีปัญหาที่ความคลุมเครือ ไม่สามารถให้คำนิยามคำว่าอิเล็กทรอนิกส์ได้ อีกทั้งยังไม่มีคู่มือให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

 

4. มาตรา 32 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ห้ามมิให้โฆษณาสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทาง Social Media รวมไปถึงการเขียนถึงสินค้าแม้จะไม่มีรูปประกอบ ซึ่งอาจจะเข้าข่ายความผิดตามวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่

 

สมาคมคราฟท์เบียร์แห่งประเทศไทยได้เข้าร้องทุกข์เพื่อเสนอมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการร้านอาหารที่จำหน่ายคราฟเบียร์หลายครั้งตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกใหม่นี้โดยมีข้อข้อเรียกร้องหลักๆ คือ

 

1. ขอผ่อนปรนให้ขายเบียร์แบบนั่งรับประทานในร้านได้ถึงสามทุ่มอย่างมีเงื่อนไข เช่น ออกกฎหมายห้ามแชร์แก้วเบียร์ดื่ม การเว้นระยะห่างของโต๊ะ-ที่นั่ง การจำกัดคนเข้า
 

2. ทบทวนมาตรการผ่อนปรนการขายออนไลน์เฉพาะช่วงเวลานี้ โดยเสนอว่า แอพพลิเคชันสมัยนี้มีระบบคัดกรองอายุ ตรวจสอบบัตรประชาชน รวมถึงการกำหนดเวลาซื้อ-ขาย ซึ่งตอบโจทย์ความมุ่งหมายภาครัฐที่ไม่อยากให้เยาวชนเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ง่ายเกินไปได้ ทั้งยังสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะคนไม่ต้องขับรถออกมาหาที่นั่งดื่ม 

 

ต่อมารัฐบาลผ่อนคลายให้ร้านอาหารสามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ไม่เกินเวลา 5 ทุ่ม เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป แต่ไม่ได้มีมาตรการเยียวยาเป็นพิเศษย้อนหลังให้กับผู้ประกอบการ

 

1673

5. นักร้อง นักดนตรีอิสระ: ขาดรายได้ แต่รายจ่ายยังมี

 

กลุ่มนักร้อง นักดนตรีอิสระรวมตัวยื่นหนังสือเรียกร้องสิทธิและการเยียวยาจากรัฐที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำนักนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้รัฐบาลปรับมาตรการและเยียวยานักร้อง นักดนตรีอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการว่างงานในช่วงการระบาดระลอกใหม่จากมาตรการการปิด ผับ บาร์ และการจำกัดเวลานั่งทานอาหารในร้านอาหาร ทำให้ไม่สามารถกลับไปทำงานได้อย่างปกติ

 

ทั้งยังพบปัญหาเงินเยียวยาผ่านแอพลิเคชั่นไม่ตอบโจทย์ค่าใช้จ่ายต่อเดือนซึ่งจะหนักไปที่ค่าเช่าที่พักอาศัย ซึ่งไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่จะใช้แอพลิเคชั่นจ่ายได้ โดยเข้ายื่นหนังสือร้องเรียน 2 ครั้งในวันที่ 8 มกราคม 2564 และวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

 

มีข้อเรียกร้องคือ

 

1. ขอให้รัฐบาลเยียวยา 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน และเยียวยาเพิ่มอีก 1 เดือนหากสถานการณ์โรคติดต่อยังไม่ดีขึ้น

 

2. ขอพักชำระหนี้ต่างๆ ทั้งไฟแนนซ์ ที่อยู่อาศัย โดยขอให้รัฐบาลออกหนังสือรับรองให้เป็นบุคคลกรณีไร้รายได้ฉุกเฉิน เนื่องจากการถูกสั่งไม่ให้ทำงานเพราะสถานที่ทำงานเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคจึงถูกปิด และให้สามารถพูดคุยกับผู้ประกอบการสถานที่เช่าพักอาศัยเพื่อขอลดราคาค่าเช่า โดยการตกลงยินยอมทั้งสองฝ่ายทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่าโดยมาตรการรับรองจากรัฐบาล

 

3. ขอผ่อนปรนใบอนุญาตการแสดงดนตรีของสถานประกอบการให้ร้านอาหารสามารถทำการแสดงดนตรีได้ตามมาตรการควบคุมโรค

 

4. ขอให้ภาครัฐช่วยเหลือการจัดจ้างงานให้กับกลุ่มอาชีพนักร้องนักดนตรีซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการแสดงดนตรีกับองค์กรหรือผู้บริหารที่สนใจจะนำการแสดงดนตรีไปส่งเสริมการขายสินค้าในช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาคธุรกิจขายสินค้า ห้างร้านต่างๆ หรือหน่วยงานราชการ รวมไปถึงการใช้แสดงดนตรีในการสนับสนุนหรือรณรงค์เรื่องต่างๆ ด้วย

 

1675

6.กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน: คืนเงินสมทบชราภาพก่อนไม่มีโอกาสได้ใช้

 

กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน คือกลุ่มแรงงานผู้ประกันตนตาม มาตรา 33, 39 และ 40 และผู้ประกันตนที่มีเงินสะสมในเงินสมทบชราภาพในระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากข้อบังคับของประกันสังคม นำโดย น.สพ.บูรณ์ อารยพล หรือ ‘หมอบูรณ์’

 

มีข้อเรียกร้องหลัก คือ

1. รณรงค์เรียกร้องกดดันให้ภาครัฐปรับสิทธิประโยชน์จาก พ.ร.บ.ประกันสังคม คืนเงินสมทบชราภาพ 30-50%

2. แก้ไขกฎหมายให้สามารถเบิกเงินสมทบชราภาพออกมาได้ ก่อนอายุ 55 ปี

3. เงินสมทบชราภาพ ต้องเลือกได้ว่าจะรับบำเหน็จหรือบำนาญ

 

เงินสมทบกรณีชราภาพมาจากส่วนหนึ่งของเงินประกันสังคมที่ผู้ประกันตนจะถูกหัก 5% ของอัตราเงินเดือนที่ได้รับในทุกๆ เดือน ซึ่งแบ่งเป็นสามส่วนคือ 1.) เงินสมทบกรณีรักษาพยาบาล 1.5% 2.) เงินสบทบกรณีว่างงาน 0.5% 3.) เงินสบทบกรณีชราภาพ 3% ของเงินเดือน โดยเงื่อนไขของการได้เงินสมทบกรณีชราภาพนั้นผู้ประกันตนจะสามารถใช้ได้ต่อเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไป ในรูปแบบของเงินบำเหน็จหรือบำนาญเท่านั้น

 

กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทานมองว่า ขณะนี้มีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจมาก บางคนลำบากถึงขั้นอาจจะอดตาย ดังนั้น ผู้ประกันตนมีสิทธิที่จะขอนำเงินก้อนนี้ออกมาใช้ก่อนไม่เช่นนั้นอาจจะอดตายก่อนถึงวันได้ใช้สิทธิที่ตนควรจะได้รับ ทั้งยังมองว่าการที่ประชาชนต้องจ่ายเงินสบทบกองทุนชราภาพมีปริมาณมหาศาลแต่ผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นตกถึงประชาชนจริงหรือไม่ กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทานได้เดินหน้าเรียกร้องมาตลอดตั้งแต่หลังการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรก
 

ล่าสุดในวันที่ 22 มกราคม 2564 สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ชี้แจงกรณีที่กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทานเข้าร้องเรียนอย่างต่อเนื่องว่า สำนักงานประกันสังคมกำลังดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เป็นเรื่องเร่งด่วนทันทีเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนแล้ว โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการรับฟังความคิดเห็น

https://www.matichon.co.th/politics/news_2543396

 


 

 ข้อมูลการชุมนุมจาก https://www.mobdatathailand.org/

 

ชนิดบทความ: