พนักงานอัยการ v.s. วิภาส

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

วิภาส ร.

สถานะคดี

ชั้นสืบสวนสอบสวน

คดีเริ่มในปี

2553

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

พ.ต.ท.สุภัทธ์ ธรรมธนารักษ์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 สำนักงานอัยการสูงสุด

สารบัญ

วิภาส ถูกกล่าวหาว่าใช้เฟซบุ้คส่วนตัวโพสต์ข้อความที่ไม่เหมาะสมและมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ถูกกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตร่วมกันรายงานและถูกดีเอสไอจับกุมในที่สุด 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

วิภาส ร. เป็นนักธุรกิจจากจังหวัดระยอง

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 14 (5) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

วิภาสถูกกล่าวหาว่าโพสต์ภาพและข้อความที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมและอาจเข้าข่ายการกระทำผิดฐาน ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี และตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา112รวมทั้งอาจกระทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
 

พฤติการณ์การจับกุม

30 เมษายน 2553

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ แถลงข่าวการจับกุมนายวิภาส ร. เจ้าของกิจการอพาร์ตเมนต์ ผู้ต้องหาเผยแพร่ข้อความบนเฟซบุค ที่มีลักษณะไม่เหมาะสม เข้าข่ายเป็นความผิดต่อความมั่นคง โดยมุ่งร้ายต่อสถาบัน

นายธาริต กล่าวว่า ดีเอสไอตรวจพบการเผยแพร่คลิปวิดีโอ รูปภาพ เสียง บทความ หรือข้อความไม่เหมาะสม ที่มุ่งจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น โดยมีเครือข่ายผู้ร่วมกระทำความผิด สอดคล้องกับแผนผังรวบรวมเครือข่ายกลุ่มบุคคลที่มีความคิดและพฤติกรรมล้มล้างสถาบันเบื้องสูงของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จากนั้นดีเอสไอขออนุมัติหมายจับจากศาล และนำกำลังชุดสืบสวนสะกดรอยเข้าจับกุมนายวิภาส ได้ที่บ้านเลขที่ 8 ถนนคลองขุด ต.ท่าประดู่ อ.เมือง จ.ระยอง พร้อมด้วยของกลางคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร และโทรศัพท์มือถือหลายรายการ นำส่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษดำเนินคดี และจะนำตัวผู้ต้องหาไปฝากขังต่อศาลอาญา

"นายวิภาสเป็นนักธุรกิจใน จ.ระยอง ที่มีความฝักใฝ่ และมุมมองแนวคิดทางการเมืองคล้ายคนเสื้อแดง และเข้าร่วมเป็นสมาชิกคนเสื้อแดง ดีเอสไอตรวจสอบพบความผิดในลักษณะเดียวกับนายวิภาสเพิ่มมากขึ้นอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น จึงขอฝากเตือนไปยังประชาชน โดยเฉพาะผู้บริสุทธิ์ที่พบเห็นข้อความ หรือภาพที่ไม่บังควร ต้องหยุดพฤติกรรม ไม่ส่งต่อข้อความ เพราะมีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี" นายธาริตกล่าว

อธิบดีดีเอสไอ กล่าวต่อว่า ในวันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม  เวลา 14.00 น. คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) จะประชุมเพื่อพิจารณารับคดีความมั่นคง มุ่งร้ายต่อสถาบัน หรือคดีล้มเจ้า เป็นคดีพิเศษ ซึ่งในการสอบสวนของดีเอสไอ จะขยายผลถึงเครือข่ายผู้กระทำความผิดตามแผนผังที่ศอฉ.นำมาเผยแพร่ แตกต่างจากการสอบสวนคดีหมิ่นเบื้องสูงอื่นๆ ที่จะเน้นการดำเนินคดีความผิดเป็นรายบุคคล

ด้าน พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวว่า ผลการสอบสวนเบื้องต้นผู้ต้องหายังให้การภาคเสธ แต่ยอมรับว่าเป็นกลุ่มที่มีความคิดเห็นทางการเมืองสนับสนุนคนเสื้อแดงจริง แต่มิได้เป็นผู้โพสต์ข้อความที่มีลักษณะหมิ่น และมุ่งร้ายสถาบันลงในเว็บไซต์ และต้องการให้ทนายความส่วนตัวเข้าร่วมรับฟังการสอบสวน

จากนั้น พ.ต.ท.สุภัทธ์ ธรรมธนารักษ์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ควบคุมตัวนายวิภาส มายังศาลอาญา เพื่อยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาล เป็นเวลา 12 วัน ไปจนถึงวันที่ 11 พ.ค. เนื่องจากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 10 ปาก รวมทั้งพยานผู้เชี่ยวชาญ และรอผลการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหา พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา เนื่องจากเกรงว่า หากได้รับการปล่อยตัวจะไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน

 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

จับเสี่ยระยอง หมิ่นสถาบัน. หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 (อ้างอิงเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2555)
 

ไม่มีข้อมูล

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

ดา ตอร์ปิโด