ส. ศิวรักษ์: Seeds of Peace

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

สุลักษณ์ ศิวรักษ์

สถานะคดี

อัยการสั่งไม่ฟ้อง

คดีเริ่มในปี

2548

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

พ.ต.อ. จรัญ ชิตะปัญญา รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 (ขณะนั้น)

สารบัญ

วันที่ 17 ธันวาคม 2547 เวลา 16.00 น. ถึง 18.00 น. ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตามวันเวลาที่เกิดเหตุ นายสุลักษณ์ ได้รับเชิญอภิรายเรื่อง “สังคมไทยทางรอดที่ควรเลือก เหลียวหลังแลหน้าจากราชดำเนินถึงตากใบ” ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างการอภิปรายผู้ต้องหาได้ประชาสัมพันธ์หนังสือวารสาร Seeds of Peace ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2548 เป็นวารสารภาษาอังกฤษ มีบรรณาธิการคือ ผู้ใช้นามแฝงว่า S.Jayanama (ส.ชัยนาม). B J (บี.เจ.) และLapapan Supamanta (ลพาพรรณ ศุภมนต์) และผู้ต้องหาเป็นผู้พิมพ์โฆษณา ซึ่งได้วางจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปที่มาฟังร่วมงานเสวนาอยู่หน้าห้องอภิปราย ในราคาฉบับละ 200 บาท วารสารฉบับดังกล่าวมีบทความในหน้าที่ 6-9 เรื่อง SIAM of the Forgotten Monarch: The True Life Sequel to the King and the Land of Smile ที่เขียนโดยผู้ใช้นามแฝงว่า บี.พี. มีเนื้อหากล่าวถึงการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในฐานะผู้ต้องสงสัย นายพุ่มพงศ์ สุวรรณเลิศ เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติไปฟังการเสวนาได้ซื้อวารสารมาอ่านพบบทความดังกล่าว จึงได้รายงานผู้บังคับบัญชาและแจ้งเรื่องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบ จึงมีการตั้งคณะทำงานสอบสวน โดยมี พล.ต.ต.ชัชวาล สุขสมจิตร์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน พ.ต.อ.จรัญ ชิตะปัญญา ผู้กล่าวหาเป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน ผลการสอบสวนพบว่า วารสารฉบับดังกล่าวนี้มิได้มีการจดแจ้งต่อนายทะเบียนการพิมพ์กรุงเทพมหานคร และข้อความในวารสารเข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จึงได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา

อัยการสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ เนื่องจากพิจารณาเห็นแล้วว่า จากคำให้การของพยานบุคคลจำนวนหลายคน ซึ่งมีหลายอาชีพ แสดงความคิดเห็นว่าเมื่ออ่านบทความที่ปรากฎในวารสารที่ผู้ต้องหาเสนอขาย พยานทั้งหลายไม่ยืนยันไปในทางเดียวกันว่า บทความดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบกับไม่มีพยานยืนยันว่าผู้ต้องหาเป็นผู้เขียนบทความ เป็นเพียงผู้เสนอขายวารสารที่ปรากฎบทความเท่านั้นจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหามีเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือที่รู้จักกันในนามปากกาว่า ส. ศิวรักษ์ เป็นนักคิด- นักเขียนผู้ได้รับฉายานามว่า ปัญญาชนสยาม  มีผลงานการเขียนมากมายครอบคลุมหลายด้าน เช่น พุทธศาสนา สังคม การเมือง รูปแบบการปกครอง เป็นต้น

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

วันที่ 17 ธันวาคม 2547 เวลา 16.00 น. ถึง 18.00 น. ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตามวันเวลาที่เกิดเหตุ นายสุลักษณ์ ได้รับเชิญอภิรายเรื่อง “สังคมไทยทางรอดที่ควรเลือก เหลียวหลังแลหน้าจากราชดำเนินถึงตากใบ” ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างการอภิปรายผู้ต้องหาได้ประชาสัมพันธ์หนังสือวารสาร Seeds of Peace ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2548 เป็นวารสารภาษาอังกฤษ มีบรรณาธิการคือ ผู้ใช้นามแฝงว่า S.Jayanama (ส.ชัยนาม). B J (บี.เจ.) และLapapan Supamanta (ลพาพรรณ ศุภมนต์) และผู้ต้องหาเป็นผู้พิมพ์โฆษณา ซึ่งได้วางจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปที่มาฟังร่วมงานเสวนาอยู่หน้าห้องอภิปราย ในราคาฉบับละ 200 บาท วารสารฉบับดังกล่าวมีบทความในหน้าที่ 6-9 เรื่อง SIAM of the Forgotten Monarch: The True Life Sequel to the King and the Land of Smile ที่เขียนโดยผู้ใช้นามแฝงว่า บี.พี. มีเนื้อหากล่าวถึงการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในฐานะผู้ต้องสงสัย นายพุ่มพงศ์ สุวรรณเลิศ เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติไปฟังการเสวนาได้ซื้อวารสารมาอ่านพบบทความดังกล่าว จึงได้รายงานผู้บังคับบัญชาและแจ้งเรื่องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบ จึงมีการตั้งคณะทำงานสอบสวน โดยมี พล.ต.ต.ชัชวาล สุขสมจิตร์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน พ.ต.อ.จรัญ ชิตะปัญญา ผู้กล่าวหาเป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน ผลการสอบสวนพบว่า วารสารฉบับดังกล่าวนี้มิได้มีการจดแจ้งต่อนายทะเบียนการพิมพ์กรุงเทพมหานคร และข้อความในวารสารเข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จึงได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา

พฤติการณ์การจับกุม

ไม่มีข้อมูล

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล

อัยการสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ เนื่องจากพิจารณาเห็นแล้วว่า จากคำให้การของพยานบุคคลจำนวนหลายคน ซึ่งมีหลายอาชีพ แสดงความคิดเห็นว่าเมื่ออ่านบทความดังกล่าวที่ปรากฎในวารสารที่ผู้ต้องหาเสนอขาย พยานทั้งหลายไม่ยืนยันไปในทางเดียวกันทั้งหมดว่า บทความดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีพยานหลายรายเห็นว่า บทความดังกล่าวเป็นเนื้อหาเชิงวิชาการ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าบทความดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ประกอบกับไม่มีพยานยืนยันว่าผู้ต้องหาเป็นผู้เขียนบทความดังกล่าว โดยเป็นเพียงผู้เสนอขายวารสารที่ปรากฎบทความดังกล่าวเท่านั้นจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหามีเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา ประกอบกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการที่ปรึกษาคดีเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามหนังสือลับ ด่วนที่สุด ที่ ยธ ๐๒๐๐/๑๓๒๘ ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ มีความเห็นว่าผู้ต้องหาไม่มีเจตนากระทำผิด อีกทั้งมีพยานยืนยันว่า ผู้ต้องหามีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จากพยานหลักฐานดังกล่าว ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหามีเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา