พฤทธิ์นรินทร์: คดี 112 จากการโพสต์เฟซบุ๊ก

อัปเดตล่าสุด: 04/06/2564

ผู้ต้องหา

พฤทธื์นรินทร์

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2555

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.)

สารบัญ

พฤทธิ์นรินทร์เป็นนักดนตรีชาวจังหวัดอุบลราชธานี ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กสามบัญชี รวมเก้าข้อความ เป็นความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ รวมเก้า กรรม 

ศาลจังหวัดพิพากษาอุบลราชธานีพิพากษาจำคุกพฤทธิ์นรินทร์ตามมาตรา 112 ข้อความละสามปี รวม 27 ปี และตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ข้อความละสี่เดือน รวม 36 เดือน รวมทั้งสิ้นเป็น 27 ปี 36 เดือน ก่อนลดเหลือ 13 ปี 24 เดือนเนื่องจากพฤทธิ์นรินทร์รับสารภาพ 

พฤทธิ์นรินทร์ได้รับหารปล่อยตัวในวันที่ 1 กันยายน 2560 หลังถูกคุมขังในเรือนจำรวม 1266 วันตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2557 

คดีนี้เป็นคดีแรกที่ศาลวางบทลงโทษตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แยกออกจากกันทำให้จำเลยต้องรับโทษมากขึ้น ขณะที่คดีอื่นๆ ศาลจะพิจารณาว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา112 ซึ่งเป็นบทหนักสุดเพียงบทเดียว

 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

พฤทธิ์นรินทร์ เป็นนักดนตรีชาวจังหวัดอุบลราชธานี

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

พฤทธิ์นรินทร์ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยใช้บัญชีเฟซบุ้คจำนวนสามบัญชี ในการโพสต์เก้าข้อความ คิดเป็นความผิดรวมเก้ากรรม

พฤติการณ์การจับกุม

16 มีนาคม 2555 
 
เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งจากหน่วยสืบสวนของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) และตำรวจภูธรในพื้นที่อุบลราชธานี จำนวนหลายสิบนาย ซึ่งมีหมายจับจากศาลจังหวัดอุบลราชธานี เข้าจับกุมพฤทธิ์นรินทร์ที่บ้าน พร้อมยึดคอมพิวเตอร์ที่เขาใช้ไป  
 
ทนายประเวศ ประภานุกูล เล่าว่า พฤทธิ์นรินทร์อ้างว่าเจ้าหน้าที่มีการใช้สายลับมาติดตามความเคลื่อนไหวของเขา โดยใช้ชื่อในเฟซบุ๊กว่า Tangmo Momay เข้ามาตีสนิท ยั่วยุให้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่ และมีการโทรศัพท์พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดย"จักราวุธ"อ้างว่าได้เห็นบันทึกการพูดคุยทางโทรศัพท์นั้นถูกถอดเทป และนำมาใช้เป็นหลักฐานของเจ้าหน้าที่
 
 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

 
 
 

หมายเลขคดีดำ

1578/2557

ศาล

ศาลจังหวัดอุบลราชธานี

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
16 มีนาคม 2555
 
พฤทธิ์นรินทร์ถูกจับกุมตัวที่บ้าน
 
17 มีนาคม 2555
 
พนักงานสอบสวนควบคุมตัว พฤทธิ์นรินทร์ไปที่ศาลจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อขออำนาจศาลฝากขังระหว่างสืบสวนผลัดแรก โดยศาลอนุญาตให้ฝากขัง พฤทธิ์นรินทร์ยืนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในวันเดียวกันโดยใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสด 100,000 บาทบวกกับตำแหน่งข้าราชการของพ่อของพฤทธิ์นรินทร์ โดยศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว
 
8 มิถุนายน 2555
 
นับจากวันที่ 17 มีนาคมเป็นต้นมา พนักงานสอบสวนขออำนาจศาลฝากขัง ในชั้นสอบสวนทั้งสิ้นเจ็ดผลัดหรือ 84 วัน โดยระหว่างนี้พฤทธิ์นรินทร์ได้รับการประกันตัวมาโดยตลอด 
 
วันที่ 8 มิถุนายน 2555 เป็นวันครบกำหนดฟ้อง แต่อัยการยังไม่ยื่นฟ้องคดีต่อศาล ศาลจึงมีคำสั่งให้ปล่อยตัวพฤทธิ์นรินทร์จนกว่าจะมีการยื่นฟ้อง 
 
จากคำบอกเล่าของแม่ของพฤทธิ์นรินทร์ ระหว่างที่เขาได้รับการประกันตัวในชั้นสอบสวน ตำรวจมีจดหมายและโทรศัพท์มาเรียกให้พฤทธิ์นรินทร์ไปพบและส่งตัวเขาไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการทางจิต
 
1 มิถุนายน 2557
 
หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งเรียกบุคคลเข้ารายงานตัว ซึ่งมีชื่อของพฤทธิ์นรินทร์รวมอยู่ด้วย โดยคำสั่งดังกล่าวกำหนดให้เขาเข้ารายงานตัวที่หอประชุมกองทัพบกในวันที่ 3 มิถุนายน 2557 
 
3 มิถุนายน 2557
 
วันที่กำหนดให้เข้ารายงานตัวตามคำสั่งคสช.ฉบับที่ 44/2557 พฤทธิ์นรินทร์ยังไม่ได้เข้ารายงานตัวในวันนี้
 
13 มิถุนายน 2557
 
พฤทธิ์นรินทร์เดินทางเข้ารายงานตัวตามคำสั่งและถูกควบคุมตัวภายใต้กฎอัยการศึกเป็นเวลาสามคืน
 
16 มิถุนายน 2557
 
พนักงานอัยการส่งตัว พฤทธิ์นรินทร์ฟ้องต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี โดยบรรยายฟ้องว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 ถึง เดือนมีนาคม 2555 เขาใช้บัญชีเฟซบุ้ครวมสามบัญชี โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เก้าครั้ง โดยเป็นการกระทำความผิด ต่างกรรมต่างวาระกัน
 
หลังอัยการส่งฟ้องต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี พฤทธิ์นรินทร์ถูกควบคุมตัวระหว่างการพิจารณาคดีที่เรือนจำจังหวัดอุบลราชธานี
 
17 มิถุนายน 2557
 
แม่ของพฤทธิ์นรินทร์ยื่นคำร้องขอประกันตัวพฤทธิ์นรินทร์ แต่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง 
 
30 มิถุนายน 2557
 
นัดพร้อม สอบคำให้การจำเลย ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยาน
 
เนื่องจากพฤทธิ์นรินทร์ให้การรับสารภาพต่อศาล จึงไม่ต้องมีการสืบพยาน ทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาเพื่อเขียนคำแถลงการณ์ประกอบคำรับสารภาพ โดยให้เหตุผลว่าพฤทธิ์นรินทร์ทำไปด้วยความคึกคะนอง นอกจากนี้ในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนได้ส่งตัวพฤทธิ์นรินทร์ให้แพทย์ตรวจและแพทย์มีความเห็นว่าพฤทธิ์นรินทร์มีอาการทางจิตชนิดไม่จำเพาะเจาะจง มีความคิดหลงผิด 
 
ทนายจำเลยยื่นความเห็นแพทย์ผู้ทำการรักษาเพื่อประกอบการทำคำพิพากษา แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฎตามเอกสารดังกล่าวไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน ศาลจึงเห็นควรให้มีการไต่สวนแพทย์เพื่อประกอบการทำคำพิพากษา และนัดไต่สวนแพทย์ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 9.00 น.
 
16 กรกฎาคม 2557
 
นัดไต่สวนแพทย์ผู้ทำการรักษา
 
ไต่สวนแพทย์ผู้ทำการรักษา นายแพทย์เจษฎา ทองเถาว์
 
ทนายจำเลยเดินทางมาถึงศาลเวลาประมาณ 9.00 น. ในห้องพิจารณาคดีนอกจากพฤทธิ์นรินทร์และทนายประเวศแล้วก็มีแม่ของพฤทธิ์นรินทร์อยู่รอฟังการพิจารณา ส่วนพ่อของเขานั่งอยู่หน้าห้องพิจารณาคดี เมื่ออัยการมาถึงห้องพิจารณาคดีได้เข้าพูดคุยกับแม่และทนายของพฤทธิ์นรินทร์โดยพูดถึงแนวทางการพิจารณาคดีที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากพฤทธิ์นรินทร์มีอาการป่วยทางจิตและอาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ซึ่งทางทนายจำเลยยืนยันว่าพฤทธิ์นรินทร์สามารถสู้คดีได้ เวลาประมาณ 9.30 น. ศาลขึ้นบัลลังก์แต่พิจารณาคดีอื่นก่อน
 
ก่อนเริ่มการพิจารณา ศาลพูดคุยกับเจษฎาอย่างไม่เป็นทางการ โดยถามถึงลักษณะอาการของโรค สาเหตุแห่งอาการ และวิธีการรักษา รวมถึงขอข้อมูลสำหรับติดต่อแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในภายหลังอีกด้วย
 
ในระหว่างการพูดคุย ศาลถามว่าเจษฎาเคยมาให้การต่อศาลเป็นพยานในคดีอื่นๆหรือไม่ เจษฎาตอบว่าครั้งนี้เป็นครั้งแรก
 
ในระหว่างรอกระบวนพิจารณา พ่อของพฤทธิ์นรินทร์ซึ่งนั่งอยู่นอกห้องพิจารณาคดีอุ้มเด็กเล็กเข้ามา แต่เด็กร้องเสียงดัง แม่ของพฤทธิ์นรินทร์จึงต้องอุ้มเด็กออกไป ก่อนจะกลับเข้ามาในภายหลัง
 
ในเวลา 11.30 น. เริ่มกระบวนพิจารณา ศาลถามความเห็นเจษฎาว่า พฤทธิ์นรินทร์สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ เจษฎาเบิกความตอบศาลว่า พฤทธิ์นรินทร์สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลถามต่อว่า สามารถยืนยันได้หรือไม่ว่า ขณะกระทำความผิด พฤทธิ์นรินทร์มีอาการป่วยหรือไม่ เจษฎาเบิกความตอบว่า ไม่สามารถยืนยันได้ ต่อมาศาลเปิดโอกาสให้อัยการและทนายจำเลยถามคำถาม 
 
ตอบอัยการถาม
 
อัยการถามถึงความต่อเนื่องของอาการทางจิตว่า ลักษณะอาการของจำเลยที่ตรวจในปี 2557 เหมือนกับอาการของจำเลยที่เข้ารับการตรวจในปี 2555 หรือไม่ และระดับความรุนแรงของอาการป่วยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เจษฎาตอบว่า อาการทางจิตที่พบในปัจจุบันเหมือนตอนปี 2555 และอาการประเภทนี้ไม่มีระดับของความรุนแรง แต่อาการอาจแย่ลงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 
 
ตอบทนายจำเลยถาม
 
ทนายจำเลยถามว่า อาการทางจิตนี้ มีความเป็นไปได้หรือไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนเข้ารับการตรวจในปี 2555 เจษฎาตอบว่าไม่สามารถยืนยันได้ว่าจำเลยมีอาการป่วยมาก่อนหรือไม่ 
 
หลังเสร็จสิ้นการไต่สวน ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 เวลา 10.00 น.
 
 
31 กรกฎาคม 2557
 
นัดฟังคำพิพากษา
 
ทนายประเวศ ประภานุกูล ทนายจำเลยแจ้งว่า ศาลจังหวัดอุบลราชธานีพิพากษาว่า พฤทธิ์นรินทร์มีความผิด ให้ลงโทษจำคุกรวม 27 ปี 36 เดือน  
 
พฤทธิ์นรินทร์ให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุกรวม 13 ปี 22 เดือน (ทนายจำเลยระบุว่า หากบวกลบจริงๆโทษควรจะเป็น 13 ปี 24 เดือน แต่ศาลอ่านคำพิพากษาเป็น 13 ปี 22 เดือน)  
 
สำหรับแนวทางคดีหลังศาลมีคำพิพากษา ทนายจำเลยเปิดเผยว่าจะหารือกับพ่อและแม่ของพฤทธิ์นรินทร์ว่าจะอุทธรณ์คดี หรือยุติคดีและขอพระราชทานอภัยโทษ ทนายจำเลยแจ้งด้วยว่าในวันนี้ไม่มีผู้สังเกตการณ์ภายนอก มีเพียงญาติจำเลยมาฟังคำพิพากษาเท่านั้น
 
ก่อนหน้าที่จะมีคำพิพากษา ศาลเคยนัดไต่สวนแพทย์ผู้ให้การรักษาอาการทางจิตของพฤทธิ์นรินทร์เพื่อนำไปประกอบการเขียนคำพิพากษา ในกรณีที่จำเลยมีอาการป่วยทางจิตและแพทย์มีความเห็นว่าต้องทำการรักษา ศาลอาจวินิจฉัยให้รอการลงโทษเป็นกรณีพิเศษได้ แม้โทษของพฤทธิ์นรินทร์จะสูงกว่าเกณฑ์ที่ศาลจะรอลงอาญา แต่ในท้ายที่สุดก็ไม่มีการรอการลงโทษแต่อย่างใด
 
1 กันยายน 2560
 
หลังถูกควบคุมตัวเป็นคุมขังเป็นเวลา 1266 วันตั้งแต่ถูกฝากขังต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2557 พฤทธิ์นรินทร์ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำกลางจังหวัดอุบลราชธานีเนื่องจากครบกำหนดโทษ โดยพฤทธิ์นรินทร์ได้รับการลดโทษในวโรกาสและโอกาสสำคัญต่างๆจนครบกำหนดโทษในวันนี้ 
 
อย่างไรก็ตามหลังได้รับการปล่อยตัว พฤทธิ์นรินทร์ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจอายัดตัวจากเรือนจำในทันทีเนื่องจากเขาเป็นบุคคลตามหมายจับศาลทหารกรุงเทพในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเรียกบุคคลรายงานตัวของคสช. พฤทธิ์นรินทร์ถูกนำตัวจากเรือนจำกลางอุบลราชธานีไปตั้งข้อกล่าวหาที่กองบังคับการปราบปรามโดยเขาถูกนำตัวมาถึง กรุงเทพในช่วงค่ำวันเดียวกันและถูกควบคุมตัวที่กองปราบปรามเป็นเวลาหนึ่งคืน

2 กันยายน 2560

16 มีนาคม 2555
 
พฤทธิ์นรินทร์ถูกจับกุมตัวที่บ้าน
 
17 มีนาคม 2555
 
พนักงานสอบสวนควบคุมตัว พฤทธิ์นรินทร์ไปที่ศาลจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อขออำนาจศาลฝากขังระหว่างสืบสวนผลัดแรก โดยศาลอนุญาตให้ฝากขัง พฤทธิ์นรินทร์ยืนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในวันเดียวกันโดยใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสด 100,000 บาทบวกกับตำแหน่งข้าราชการของพ่อของพฤทธิ์นรินทร์ โดยศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว
 
8 มิถุนายน 2555
 
นับจากวันที่ 17 มีนาคมเป็นต้นมา พนักงานสอบสวนขออำนาจศาลฝากขัง ในชั้นสอบสวนทั้งสิ้นเจ็ดผลัดหรือ 84 วัน โดยระหว่างนี้พฤทธิ์นรินทร์ได้รับการประกันตัวมาโดยตลอด 
 
วันที่ 8 มิถุนายน 2555 เป็นวันครบกำหนดฟ้อง แต่อัยการยังไม่ยื่นฟ้องคดีต่อศาล ศาลจึงมีคำสั่งให้ปล่อยตัวพฤทธิ์นรินทร์จนกว่าจะมีการยื่นฟ้อง 
 
จากคำบอกเล่าของแม่ของพฤทธิ์นรินทร์ ระหว่างที่เขาได้รับการประกันตัวในชั้นสอบสวน ตำรวจมีจดหมายและโทรศัพท์มาเรียกให้พฤทธิ์นรินทร์ไปพบและส่งตัวเขาไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการทางจิต
 
1 มิถุนายน 2557
 
หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งเรียกบุคคลเข้ารายงานตัว ซึ่งมีชื่อของพฤทธิ์นรินทร์รวมอยู่ด้วย โดยคำสั่งดังกล่าวกำหนดให้เขาเข้ารายงานตัวที่หอประชุมกองทัพบกในวันที่ 3 มิถุนายน 2557 
 
3 มิถุนายน 2557
 
วันที่กำหนดให้เข้ารายงานตัวตามคำสั่งคสช.ฉบับที่ 44/2557 พฤทธิ์นรินทร์ยังไม่ได้เข้ารายงานตัวในวันนี้
 
13 มิถุนายน 2557
 
พฤทธิ์นรินทร์เดินทางเข้ารายงานตัวตามคำสั่งและถูกควบคุมตัวภายใต้กฎอัยการศึกเป็นเวลาสามคืน
 
16 มิถุนายน 2557
 
พนักงานอัยการส่งตัว พฤทธิ์นรินทร์ฟ้องต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี โดยบรรยายฟ้องว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 ถึง เดือนมีนาคม 2555 เขาใช้บัญชีเฟซบุ้ครวมสามบัญชี โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เก้าครั้ง โดยเป็นการกระทำความผิด ต่างกรรมต่างวาระกัน
 
หลังอัยการส่งฟ้องต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี พฤทธิ์นรินทร์ถูกควบคุมตัวระหว่างการพิจารณาคดีที่เรือนจำจังหวัดอุบลราชธานี
 
17 มิถุนายน 2557
 
แม่ของพฤทธิ์นรินทร์ยื่นคำร้องขอประกันตัวพฤทธิ์นรินทร์ แต่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง 
 
30 มิถุนายน 2557
 
นัดพร้อม สอบคำให้การจำเลย ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยาน
 
เนื่องจากพฤทธิ์นรินทร์ให้การรับสารภาพต่อศาล จึงไม่ต้องมีการสืบพยาน ทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาเพื่อเขียนคำแถลงการณ์ประกอบคำรับสารภาพ โดยให้เหตุผลว่าพฤทธิ์นรินทร์ทำไปด้วยความคึกคะนอง นอกจากนี้ในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนได้ส่งตัวพฤทธิ์นรินทร์ให้แพทย์ตรวจและแพทย์มีความเห็นว่าพฤทธิ์นรินทร์มีอาการทางจิตชนิดไม่จำเพาะเจาะจง มีความคิดหลงผิด 
 
ทนายจำเลยยื่นความเห็นแพทย์ผู้ทำการรักษาเพื่อประกอบการทำคำพิพากษา แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฎตามเอกสารดังกล่าวไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน ศาลจึงเห็นควรให้มีการไต่สวนแพทย์เพื่อประกอบการทำคำพิพากษา และนัดไต่สวนแพทย์ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 9.00 น.
 
16 กรกฎาคม 2557
 
นัดไต่สวนแพทย์ผู้ทำการรักษา
 
ไต่สวนแพทย์ผู้ทำการรักษา นายแพทย์เจษฎา ทองเถาว์
 
ทนายจำเลยเดินทางมาถึงศาลเวลาประมาณ 9.00 น. ในห้องพิจารณาคดีนอกจากพฤทธิ์นรินทร์และทนายประเวศแล้วก็มีแม่ของพฤทธิ์นรินทร์อยู่รอฟังการพิจารณา ส่วนพ่อของเขานั่งอยู่หน้าห้องพิจารณาคดี เมื่ออัยการมาถึงห้องพิจารณาคดีได้เข้าพูดคุยกับแม่และทนายของพฤทธิ์นรินทร์โดยพูดถึงแนวทางการพิจารณาคดีที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากพฤทธิ์นรินทร์มีอาการป่วยทางจิตและอาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ซึ่งทางทนายจำเลยยืนยันว่าพฤทธิ์นรินทร์สามารถสู้คดีได้ เวลาประมาณ 9.30 น. ศาลขึ้นบัลลังก์แต่พิจารณาคดีอื่นก่อน
 
ก่อนเริ่มการพิจารณา ศาลพูดคุยกับเจษฎาอย่างไม่เป็นทางการ โดยถามถึงลักษณะอาการของโรค สาเหตุแห่งอาการ และวิธีการรักษา รวมถึงขอข้อมูลสำหรับติดต่อแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในภายหลังอีกด้วย
 
ในระหว่างการพูดคุย ศาลถามว่าเจษฎาเคยมาให้การต่อศาลเป็นพยานในคดีอื่นๆหรือไม่ เจษฎาตอบว่าครั้งนี้เป็นครั้งแรก
 
ในระหว่างรอกระบวนพิจารณา พ่อของพฤทธิ์นรินทร์ซึ่งนั่งอยู่นอกห้องพิจารณาคดีอุ้มเด็กเล็กเข้ามา แต่เด็กร้องเสียงดัง แม่ของพฤทธิ์นรินทร์จึงต้องอุ้มเด็กออกไป ก่อนจะกลับเข้ามาในภายหลัง
 
ในเวลา 11.30 น. เริ่มกระบวนพิจารณา ศาลถามความเห็นเจษฎาว่า พฤทธิ์นรินทร์สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ เจษฎาเบิกความตอบศาลว่า พฤทธิ์นรินทร์สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลถามต่อว่า สามารถยืนยันได้หรือไม่ว่า ขณะกระทำความผิด พฤทธิ์นรินทร์มีอาการป่วยหรือไม่ เจษฎาเบิกความตอบว่า ไม่สามารถยืนยันได้ ต่อมาศาลเปิดโอกาสให้อัยการและทนายจำเลยถามคำถาม 
 
ตอบอัยการถาม
 
อัยการถามถึงความต่อเนื่องของอาการทางจิตว่า ลักษณะอาการของจำเลยที่ตรวจในปี 2557 เหมือนกับอาการของจำเลยที่เข้ารับการตรวจในปี 2555 หรือไม่ และระดับความรุนแรงของอาการป่วยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เจษฎาตอบว่า อาการทางจิตที่พบในปัจจุบันเหมือนตอนปี 2555 และอาการประเภทนี้ไม่มีระดับของความรุนแรง แต่อาการอาจแย่ลงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 
 
ตอบทนายจำเลยถาม
 
ทนายจำเลยถามว่า อาการทางจิตนี้ มีความเป็นไปได้หรือไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนเข้ารับการตรวจในปี 2555 เจษฎาตอบว่าไม่สามารถยืนยันได้ว่าจำเลยมีอาการป่วยมาก่อนหรือไม่ 
 
หลังเสร็จสิ้นการไต่สวน ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 เวลา 10.00 น.
 
 
31 กรกฎาคม 2557
 
นัดฟังคำพิพากษา
 
ทนายประเวศ ประภานุกูล ทนายจำเลยแจ้งว่า ศาลจังหวัดอุบลราชธานีพิพากษาว่า พฤทธิ์นรินทร์มีความผิด ให้ลงโทษจำคุกรวม 27 ปี 36 เดือน  
 
พฤทธิ์นรินทร์ให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุกรวม 13 ปี 22 เดือน (ทนายจำเลยระบุว่า หากบวกลบจริงๆโทษควรจะเป็น 13 ปี 24 เดือน แต่ศาลอ่านคำพิพากษาเป็น 13 ปี 22 เดือน)  
 
สำหรับแนวทางคดีหลังศาลมีคำพิพากษา ทนายจำเลยเปิดเผยว่าจะหารือกับพ่อและแม่ของพฤทธิ์นรินทร์ว่าจะอุทธรณ์คดี หรือยุติคดีและขอพระราชทานอภัยโทษ ทนายจำเลยแจ้งด้วยว่าในวันนี้ไม่มีผู้สังเกตการณ์ภายนอก มีเพียงญาติจำเลยมาฟังคำพิพากษาเท่านั้น
 
ก่อนหน้าที่จะมีคำพิพากษา ศาลเคยนัดไต่สวนแพทย์ผู้ให้การรักษาอาการทางจิตของพฤทธิ์นรินทร์เพื่อนำไปประกอบการเขียนคำพิพากษา ในกรณีที่จำเลยมีอาการป่วยทางจิตและแพทย์มีความเห็นว่าต้องทำการรักษา ศาลอาจวินิจฉัยให้รอการลงโทษเป็นกรณีพิเศษได้ แม้โทษของพฤทธิ์นรินทร์จะสูงกว่าเกณฑ์ที่ศาลจะรอลงอาญา แต่ในท้ายที่สุดก็ไม่มีการรอการลงโทษแต่อย่างใด
 
1 กันยายน 2560
 
หลังถูกควบคุมตัวเป็นคุมขังเป็นเวลา 1266 วันตั้งแต่ถูกฝากขังต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2557 พฤทธิ์นรินทร์ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำกลางจังหวัดอุบลราชธานีเนื่องจากครบกำหนดโทษ โดยพฤทธิ์นรินทร์ได้รับการลดโทษในวโรกาสและโอกาสสำคัญต่างๆจนครบกำหนดโทษในวันนี้ 
 
อย่างไรก็ตามหลังได้รับการปล่อยตัว พฤทธิ์นรินทร์ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจอายัดตัวจากเรือนจำในทันทีเนื่องจากเขาเป็นบุคคลตามหมายจับศาลทหารกรุงเทพในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเรียกบุคคลรายงานตัวของคสช. พฤทธิ์นรินทร์ถูกนำตัวจากเรือนจำกลางอุบลราชธานีไปตั้งข้อกล่าวหาที่กองบังคับการปราบปรามโดยเขาถูกนำตัวมาถึง กรุงเทพในช่วงค่ำวันเดียวกันและถูกควบคุมตัวที่กองปราบปรามเป็นเวลาหนึ่งคืน

2 กันยายน 2560

พฤทธิ์นรินทร์ถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาลทหารกรุงเทพในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของคสช. แม่ของพฤทธิ์นรินทร์ยื่นคำร้องขอประกันตัวพฤทธิ์นรินทร์โดยใช้เงินสด 30,000 บาทเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ศาลทหารกรุงเทพอนุญาตให้ประกันตัวในวันเดียวกันพร้อมวางเงื่อนไขให้เข้ารายงานตัวกับศาลทหารกรุงเทพทุก 12 วัน 

คำพิพากษา

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ศาลจังหวัดอุบลราชธานีพิพากษาว่า จำเลยทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ทั้งหมด 9 กรรม ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ลงโทษกรรมละ 3 ปี รวม 27 ปี ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ลงโทษจำคุกกรรมละสี่ เดือน รวม 36 เดือน รวมจำคุก 27 ปี 36 เดือน  
 
จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกรวม 13 ปี 22 เดือน (ทนายจำเลยระบุว่า หากบวกลบจริงๆโทษควรจะเป็น 13 ปี 24 เดือน แต่ศาลอ่านคำพิพากษาเป็น 13 ปี 22 เดือน)  
 

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา