เว็บไซต์ Manusaya

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

แอนโทนี่ ชัย

สถานะคดี

ชั้นสืบสวนสอบสวน

คดีเริ่มในปี

2549

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ญาณพล ยั่งยืน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)

สารบัญ

นายแอนโทนี่ ชัย ชาวไทย-อเมริกัน เจ้าของร้านคอมพิวเตอร์ที่ลองบีช แคลิฟอร์เนีย ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษจับกุมตัวที่สนามบินสุวรรณภูมิ หลังสืบสวนพบว่ามีการโพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันจากร้านคอมพิวเตอร์ของเขาที่แคลิฟอร์เนียลงบนเว็บไซต์ manusaya

ภูมิหลังผู้ต้องหา

นายแอนโทนี่ ชัย ชาวไทย-อเมริกัน เจ้าของร้านคอมพิวเตอร์ที่ลองบีช แคลิฟอร์เนีย

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

นายแอนโทนี่ ชัย ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษจับกุมตัวที่สนามบิน กรมสอบสวนคดีพิเศษสืบสวนพบว่ามีการโพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันจากร้าน คอมพิวเตอร์ของเขาที่แคลิฟอร์เนียลงบนเว็บไซต์ manusaya

พฤติการณ์การจับกุม

นายแอนโทนี่ถูกจับกุมที่สนามบินสุวรรณภูมิขณะกำลังจะเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9490000042318

 

http://www.humanrightsusa.org/index.php?option=com_content&task=view&id=227&Itemid=189

29 มี.ค. 2549 เว็บไซต์ผู้จัดการรายงานว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ สืบสวนจนได้ต้นตอตัวการเว็บไซต์หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยแล้ว อยู่ที่ตะวันออกกลาง และสวีเดน แต่จนปัญญาจับกุม ด้วยไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน พร้อมเตรียมออกหมายจับผู้ร่วมกระทำผิดอีก 2-3 คน
       
พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ แถลงว่า ตามที่มีผู้ไม่ประสงค์ดีเปิดเว็บไซต์ manusaya[dot]com เพื่อเผยแพร่ข้อความและภาพหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และจาบจ้วงราชวงศ์ไทย ทางดีเอสไอ และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ จึงสืบสวนสอบสวนจนสามารถขออนุมัติหมายจับ นายชิบลีย์ ปูตรา เจะเง๊าะ และนายอับดุล รอสะ เจะเง๊าะ หรือ นายฎาเณียล สุริยวังศา แล้ว ตามหมายจับศาลอาญาเลขที่ 3758/2548 ลงวันที่ 30 ก.ย.2548 และหมายจับศาลอาญาที่ 235/2549 ลงวันที่ 17 ม.ค. 2549 ตามลำดับ ใน 2 ข้อหา คือ หมิ่นประมาท หรือดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท กระทำปรากฏแก่ประชาชนด้วยการเผยแพร่ และสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต อันมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน
       
พ.ต.อ.ญาณพล กล่าวว่า จากการสืบสวน ทราบว่า นายชิบลีย์ เป็นคน 2 สัญชาติ คือ ไทยและมาเลเซีย ขณะนี้มีที่พำนักในประเทศแถบตะวันออกกลาง ส่วน นายฎาเณียล พำนักอาศัยในประเทศสวีเดน และได้รับสัญชาติสวีเดนเรียบร้อยแล้ว โดยพฤติการในการเผยแพร่เว็บไซต์ ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในบ้านพักในประเทศสวีเดน เชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่ายแลนวงเล็กๆ นอกจากนี้ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเดียวกับที่จัดทำเว็บไซต์ polo[dot]org ซึ่งเผยแพร่ยั่วยุให้เกิดการแบ่งแยกดินแดน โดนทั้ง 2 เว็บไซต์ ได้ใช้บริการเครื่อง server และเครือข่ายของบริษัท netfirms ที่ตั้งอยู่ในประเทศแคนาดา


“ขณะนี้ กระทรวงไอซีทีของไทยได้ประสานไปยังบริษัท netfirms ของแคนาดาแล้ว และได้รับความร่วมมือปิดเว็บไซต์ทั้ง 2 เว็บไซต์ไปแล้ว” พ.ต.อ.ญาณพล กล่าว
       
ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวยอมรับด้วยว่า ในการจับกุม 2 ผู้ต้องหามาดำเนินคดีก็อาจมีปัญหาอยู่บ้าง เพราะไทยกับสวีเดนไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยคดีนี้มีอายุความ 20 ปี ซึ่งก็ยังหวังว่าวันหนึ่งผู้ต้องหา อาจเดินทางเข้ามาประเทศไทย และอาจถูกจับกุมดำเนินคดีในที่สุด นอกจากนี้ ดีเอสไอยังเตรียมที่จะออกหมายจับกุมผู้ต้องหาในคดีนี้ ที่ร่วมกระทำความผิดอีก 2-3 คน ซึ่งยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลในรายละเอียดได้  กรมสอบสวนคดีพิเศษติดตามเว็บไซต์ pulo และเว็บไซต์ manusaya พบว่าทั้งสองเว็บใช้บริการเครื่อง Server และเครือข่ายของบริษัท Netfirms ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ประเทศแคนาดา จากการสืบสวนสอบสวนพบว่า ผู้เกี่ยวข้องที่ได้กระทำผิดในเบื้องต้นคือ นายชิบลีย์ ปูตรา เจะเง๊าะ (Shiblee Putra Jehngoh) และ นายอับดุลรอสะ เจะเง๊าะ (Abdulrosa Basil Jehngoh)

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ให้กรณีนี้เป็นคดีพิเศษ ที่ 31/2547 เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ซึ่ง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ร่วมกันทำการสืบสวนสอบสวน แสวงหาหลักฐานต่างๆ ตลอดมา จนสามารถขออนุมัติต่อศาลอาญา เพื่อออกหมายจับ นายชิบลีย์ ปูตรา เจะเง๊าะ และ นายอับดุลรอสะ เจะเง๊าะ หรือ นายฎาเณียล สุริยวังศา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามหมายจับศาลอาญาที่ 3758/2548 ลง วันที่ 30 กันยายน 2548 และหมายจับศาลอาญาที่ 235/2549 ลง วันที่ 17 มกราคม 2549 ตามลำดับ

6 มิ.ย. 2548 กระทรวงไอซีทีของไทยได้ประสานไปยังบริษัท netfirms ของแคนาดาแล้ว และได้รับความร่วมมือปิดเว็บไซต์ทั้ง 2 เว็บไซต์ไปแล้ว

9 พ.ค. 49 นายแอนโทนี่ ชัย ถูกจับกุมตัวที่สนามบินสุวรรณภูมิขณะจะเดินทางกลับแคลิฟอร์เนีย กรมสอบสวนคดีพิเศษแจ้งด้วยวาจาว่า มีหมายจับฐานหมิ่นประมาทสถาบันกษัตริย์ และจับกุมตัวไปสอบสวน 1 วัน 1 คืน โดยไม่มีทนายและยึด laptop ไป

ข้อมูลจาก Human Rights USA ระบุว่า ในการจับกุมครั้งนั้นเขาถูกสั่งให้เขียนข้อความสารภาพว่าได้กระทำการละเมิดสถาบันกษัตริย์ และจะไม่ทำอีก และเขียนข้อความขอพระราชทานอภัยโทษทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

หลังจากนั้นนายชัยก็ได้รับการปล่อยตัว และจองตั๋วกลับแคลิฟอร์เนียแทนใบเดิม เขายังได้รับการติดต่อทางอีเมลจากญาณพลว่าให้ส่งสำเนาหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสนับสนุนประชาธิปไตย (pro-democracy) และการต่อต้านสถาบัน (anti-monarchy) ที่เขามีอยู่

กรกฎาคม 2549 ญาณพล ยั่งยืน ไปพบนายชัยอีกครั้ง นายญาณพลไปอบรมจึงติดต่อนายชัยมาพบ

สิงหาคม 2549 มีหนังสือจากญาณพลไปถึงนายชัยเรียกให้เขากลับไปให้ปากคำเพิ่มเติม เขาตอบกลับไปทางอีเมลว่า เขาไม่ได้สามารถกลับเมืองไทยได้ จากนั้นเดือนกันยายน 2549 ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษก็แจ้งแก่เขาว่า เนื่องจากเขาไม่ได้ไปรายงานตัวตามนัด หมายจับเขาออกแล้ว

แต่หลังจากนั้น ญาณพลก็ติดต่อเขามาอีกว่าต้องการให้เขากลับมาเมืองไทยเพราะมีคำถามเพิ่มเติม แต่นายชัยก็กลัวว่าจะถูกจับกุม สุดท้าย ในเดือนพ.ย. 2549 ทั้งสองฝ่ายนัดพบกันที่สำนักงานใน Southern California  / แต่ล่าสุด ในเดือนสิงหาคม 2011 นี้เอง เขาก็ได้รับการแจ้งจากเจ้าหน้าที่รัฐไทยว่า หากเขาเดินทางกลับมาเมืองไทยเขาก็จะถูกจับกุมตัวในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์    

24 ส.ค. 54 นายแอนโทนี่ ชัย ชาวไทย-อเมริกัน ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงกลางของรัฐแคลิฟอร์เนียว่า บริษัท netfirm ว่าเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเขาให้แก่รัฐบาลไทย ทำให้เขาถูกจับ

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา