ตำรวจคุกคามนักข่าวพลเมืองภาคใต้

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

นักข่าวพลเมืองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2 คน

สถานะคดี

ชั้นสืบสวนสอบสวน

คดีเริ่มในปี

2555

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

นักข่าวพลเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้สองคนถูกตำรวจสอบสวน ยึดอุปกรณ์ถ่ายภาพ และลบรูปที่ถ่ายไว้ เนื่องจากออกตระเวณถ่ายภาพในเมืองนราธิวาสช่วงคืนวันศุกร์

ภูมิหลังผู้ต้องหา

กรณีนี้ มีผู้ได้รับผลกระทบสามคน คือ นักข่าวจากกลุ่มอินเซาธ์ นักข่าวจากไทยพีบีเอส และเจ้าของบ้านที่นักข่าวทั้งสองพักอาศัยอยู่ด้วย

1. นักข่าวและนักกิจกรรมของกลุ่มอินเซาท์ (Insouth) หรือ เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มของนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ที่รวมตัวกันทำกิจกรรมในประเด็นเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเด็นด้านการศึกษา เยาวชน ศิลปะ และทำสื่ออิสระ ซึ่งกลุ่มนี้เคยทำกิจกรรมรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเว็บไซต์ http://www.insouthvoice.com/ เป็นสื่อกลางในการทำกิจกรรม

2. นักข่าวพลเมืองของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งทำรายการ ดีสลาตัน ณ ชายแดนใต้ ซึ่งเป็นรายการที่เน้นการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่น สนองความต้องการของคนในพื้นที่ภาคใต้ อันครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส โดยนำเสนอข่าวสาร ข้อมูลเกี่ยวกับภาคใต้ทุกมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม

3. เจ้าของบ้านที่นักข่าวพักอาศัยด้วย ซึ่งเป็นเพื่อนของนักข่าวสองคนที่ถูกสอบสวนในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย เจ้าของบ้านคนดังกล่าวเป็นคนจังหวัดนราธิวาส ให้นักข่าวทั้งสองคนพักอาศัยในช่วงเวลาเกิดเหตุ

 

 

ข้อหา / คำสั่ง

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน, กฎอัยการศึก, อื่นๆ

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาที่ชัดเจนว่านักข่าวพลเมืองทั้งสองคนกระทำความผิดฐานใด

พฤติการณ์การจับกุม

นักข่าวพลเมืองทั้งสองคนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวไปสอบสวน โดยเจ้าหน้าที่ขี่รถจักรยานยนตร์เข้ามาควบคุมตัว ขณะที่พวกเขากำลังขี่จักรยานเพื่อถ่ายภาพอยู่กลางเมืองนราธิวาส

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล

กันยายน 2555
มีใบปลิวถูกแจกจ่ายในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีข้อความข่มขวัญและข่มขู่ว่า ไม่ให้ประชาชนค้าขายหรือทำงานในวันศุกร์ ไม่เช่นนั้นจะถูกวางระเบิด ต่อมาในวันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555 เกิดเหตุคาร์บอมบ์กลางเทศบาลตำบลตะลุบัน จังหวัดปัตตานี ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บร่วมครึ่งร้อย ต่อมา ในวันศุกร์ถัดมา คือวันที่ 28 กันยายน 2555 ชาวบ้านส่วนใหญ่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พากันหยุดทำงานและหยุดค้าขายในวันศุกร์

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555
เวลาประมาณ 10.00 น. นักข่าวพลเมืองสองคน คนหนึ่งเป็น นักข่าวพลเมืองจากกลุ่มอินเซ้าท์ (Insouth) และอีกคนหนึ่งเป็นนักข่าวพลเมือง ของรายการดีสลาตัน ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เขาทั้งสองพร้อมด้วยกล้องวีดิโอหนึ่งตัวและกล้องถ่ายภาพนิ่งหนึ่งตัวออกขี่รถจักรยานหนึ่งคัน โดยคนหนึ่งเป็นคนขี่และอีกคนหนึ่งเป็นคนซ้อน เพื่อบันทึกภาพบรรยากาศภายในตัวเมืองจังหวัดนราธิวาสที่เงียบเหงา เนื่องจากวันนั้นเป็นวันศุกร์และร้านค้าภายในตัวเมืองไม่เปิดให้บริการ 

ขณะที่ขี่จักรยานถ่ายภาพนั้น นักข่าวพลเมืองทั้งสองคนได้ขี่รถผ่านเจ้าหน้าที่รัฐ และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) หลายคน จนเมื่อผ่านบริเวณหอนาฬิกากลางเมืองนราธิวาส มีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบสองคนพร้อมชุดอส. ขี่รถจักรยานยนต์สองคันมาจอดขวางหน้าเพื่อเรียกให้พวกเขาหยุด และถามถึงสาเหตุที่ออกมาถ่ายภาพในวันนั้น ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่อีกหลายหน่วยตามมาสมทบ
 
หลังจากนั้น พวกเขาถูกนำตัวไปสอบสวนที่สถานีตำรวจภูธรนราธิวาสโดยเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบหลายนายเป็นเวลาประมาณสองชั่วโมง เจ้าหน้าที่พยายามสอบถามถึงประวัติชื่อ ที่อยู่ ชื่อบิดามารดา หน่วยงานที่สังกัด และวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพ โดยเจ้าหน้าที่ถามว่าได้ถ่ายภาพให้กับเว็บไซต์ของกลุ่มพูโลด้วยหรือไม่ 
 
เมื่อนักข่าวจากกลุ่มอินเซาธ์แสดงตัวแล้วเจ้าหน้าที่ก็ยังไม่เชื่อ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่เคยได้ยินชื่อกลุ่มอินเซ้าธ์มาก่อน และพยายามถามถึงรายละเอียด วัตถุประสงค์ของกลุ่มอินเซาท์ และถามว่าได้ทุนดำเนินงานมาจากที่ไหน
 
ส่วนเมื่อนักข่าวจากไทยพีบีเอสแสดงบัตรประจำตัวของสถานี ซึ่งมีลายเซ็นต์ของนายเทพชัย หย่อง อดีตผู้อำนวยการกำกับไว้แล้ว และแม้เจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์ไปตรวจสอบกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสแล้วพบว่าเป็นนักข่าวมีตัวตนอยู่จริง เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่เชื่อ โดยเจ้าหน้าที่กล่าวด้วยว่า หน้าตาแบบนี้จะทำงานที่ไทยพีบีเอสได้อย่างไร และยังคงสอบสวนต่ออีกระยะหนึ่ง
 
เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งกับพวกเขาด้วยว่า เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ถึงพฤติกรรมของพวกเขา จึงต้องเข้าทำการตรวจสอบ เพราะมีข่าวลือว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจะถ่ายรูปร้านค้าที่เปิดทำการในวันศุกร์ เพื่อเป็นเป้าหมายในการก่อความรุนแรงต่อไป
 
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังนำหน่วยความจำในกล้องของพวกเขาไปตรวจสอบ และลบภาพที่ถ่ายในวันนั้นออกทั้งหมด หลังจากการสอบสวนเป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงพวกเขาก็ได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา และไม่มีการลงนามในบันทึกการสอบปากคำแต่อย่างใด แต่เจ้าหน้าที่ถ่ายรูปของพวกเขาเก็บไว้เป็นทะเบียนประวัติ และข่มขู่ว่าหากหลังจากนี้เกิดอะไรขึ้นในพื้นที่พวกเขาก็จะถูกเรียกมาสอบสวนก่อน
 
ขณะที่เพื่อนของพวกเขาอีกหนึ่งคน ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่นักข่าวทั้งสองมาขอพักอาศัยในจังหวัดนราธิวาส ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนด้วยในฐานะผู้ให้ที่พักพิง
 
หลังจากนั้น ในวันเดียวกัน พวกเขาจึงปรึกษากันและตัดสินใจนำเรื่องดังกล่าวไปร้องเรียนที่ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดนราธิวาส
 

 

 

 

 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา