ชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้าแก่งคอยจังหวัดสระบุรี

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

นายพีระศักดิ์ สุขสำราญ

สถานะคดี

อัยการสั่งไม่ฟ้อง

คดีเริ่มในปี

2548

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

บริษัทกัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด

สารบัญ

กลุ่มชาวบ้านชมรมอนุรักษ์แก่งคอย จังหวัดสระบุรี ได้รวมตัวกันคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยได้เผยแพร่ข้อความรณรงค์ที่อาจทำให้โรงไฟฟ้าเกิดความเสื่อมเสีย ทางโรงไฟฟ้าจึงฟ้องร้องตามมาตรา 101 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535

ภูมิหลังผู้ต้องหา

 

กลุ่มชาวบ้านที่ถูกฟ้องร้องเป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เมื่อชาวบ้านทราบว่าจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าแก่งคอย2จึงได้รวมตัวกันคัดค้านการก่อสร้างเนื่องจากเกรงว่าการสร้างโรงไฟฟ้าจะนำมาซึ่งมลพิษในพื้นที่อยู่อาศัยในอำเภอแก่งคอย

ข้อหา / คำสั่ง

อื่นๆ

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

 

ผู้ต้องหาทั้ง 7 คนได้โฆษณาประกาศด้วยข้อความเสียง แผ่นพับ ใบปลิว โดยมีเจตนาที่จะเผยแพร่ข้อความอันไม่เป็นความจริง และทำให้สาธารณชนหลงเชื่อในข้อมูลที่ได้เผยแพร่ออกไปซึ่งทำให้บริษัทกัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด เสียหาย ทางบริษัทจึงฟ้องร้องตามมาตรา 101 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดแพร่หรือไขข่าวที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับอันตรายจากแหล่งกำเนิดมลพิษใดโดยมีเจตนาที่จะทำลายชื่อเสียงหรือความไว้วางใจของสาธารณชนต่อการดำเนินกิจการโดยชอบด้วยกฎหมายของแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พฤติการณ์การจับกุม

ไม่มีข้อมูล

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

 

การคัดค้านโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 "โรงไฟฟ้า…มันมาดังมัจจุราช ซึนามิ !!!!". ประชาไท 8 มกราคม 2458 (อ้างอิงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2556)

โรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ฟ้องชาวบ้านกลุ่มผู้คัดค้านฐานทำเสียชื่อ. ประชาไท 2 มิถุนายน 2548 (อ้างอิงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2556)

 

 

1 มิถุนายน 2548    
 
ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสระบุรี ทำรายงานการสอบสวนคดีที่ 697/2548
 
6 มิถุนายน 2548    
 
ชาวบ้านชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอย จ.สระบุรี เข้าร้องเรียนต่อคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ ขอให้ตรวจสอบความเป็นธรรมด้านสิทธิมนุษยชน กรณีที่ชาวบ้านถูกออกหมายจับ ข้อหาไขข่าวเท็จ ทำให้โครงการโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 เสียชื่อเสียง   
 
27 มีนาคม 2550
 
ชาวบ้าน27 คน นำโดยนายสมคิด  ดวงแก้วยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้มีคำสั่งต่อองค์การตามฟ้องดังนี้ 1.ให้เพิกถอนหนังสืออนุญาตของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรมชลประทาน) เลขที่ 1/2548 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2548 ที่อนุญาตให้บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด ฝังท่อและสูบน้ำจากทางน้ำชลประทานแม่น้ำป่าสัก ตำบลบ้านป่า อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี, 2.ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนมติให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการพลังงาน) ในการประชุมครั้ง 23/2547 วันที่ 9 ธันวาคม 2547  และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เสนอความเห็นไปยังผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3( กรมโรงงานอุตสาหกรรม) ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3สั่งให้บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง, 3. ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทะเบียนเลขที่ 3 – 88 – 2 / 48 สบ. ลงวันที่ 18 มีนาคม 2548ของบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด  และมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่  2    สั่งให้บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ หรือ เพิ่มเติม  ในประเด็นปริมาณการใช้น้ำ และผลกระทบการใช้น้ำต่อผู้ใช้น้ำเดิม
         
8 มิถุนายน 2550
 
สำนักงานอัยการจังหวัดสระบุรี แจ้งคำสั่งไม่ฟ้อง ต่อผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัด สระบุรีโดยชี้แจงถึงเหุตผลที่ไม่ฟ้องว่า ข้อความที่ผู้ต้องหาที่ 1-7 กับพวกซึ่งเป็นประชาชนได้โฆษณาประกาศด้วยเสียงและข้อความ คือ   “คลื่นมัจจุราชนั้นยังมีวันจางหาย แต่มหันตภัยโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 จะอยู่กับเราทั้งชีวิตชั่วลูกหลาน” “โรงไฟฟ้า มันมายิ่งกว่ามัจจุราช สึนามิ” “โปรดอย่านิ่งดูดาย โรงไฟฟ้ามันชั่วร้าย มหันตภัยใหญ่หลวง เป็นผลพวงจากโรงไฟฟ้า ทั้งชีวิตและข้าวปลา ถูกฆ่าตายฉิบหายหมด” เป็นข้อความที่แสดงความห่วงใยสุขภาพ ชีวิต ของประชาชนที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้า ที่จะได้รับผลกระทบถึงตาย ซึ่งคนทั่วไปก็เชื่อว่าโรงไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นที่ใด ก็ก่อให้เกิดอันตราย จึงรู้สึกกลัวว่าชีวิตคนจะได้รับอันตราย จึงได้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าว ถือเป็นการใช้สิทธิในการป้องกันชีวิตของตนเองและผู้อื่น มิได้มีเจตนากระทำผิดอาญา หรือทำลายชื่อเสียง อันจะก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจของสาธารณชนต่อการดำเนินกิจการโรงไฟฟ้า
พยานหลักฐานจึงไม่พอฟ้อง
 
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา