กสทช. ฟ้องหมิ่นประมาท ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และ ณัฎฐา โกมลวาทิน

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2556

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) 4 ท่าน ซึ่งประกอบด้วยพันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ , นายสุทธิพล ทวีชัยการ, พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร, นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และสำนักงาน กสทช. โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลเอง

สารบัญ

ดร.เดือนเด่น วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของกรรมการ กทค. ในกรณีการจัดการประมูลที่ล่าช้า ผ่านรายการ "ที่นี่ Thai PBS" ที่มีณัฏฐา โกมลวาทิน เป็นผู้ดำเนินรายการ เป็นเหตุให้ กทค. ฟ้องหมิ่นประมาท

ภูมิหลังผู้ต้องหา

จำเลยที่ หนึ่ง เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ เป็นนักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เดือนเด่นได้รับแต่งตั้งจาก กสทช. ให้เป็นอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคม ระบบเซลลูล่า DIGITAL PCN (Personal Communication Network)

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI เป็นสถาบันวิจัยด้านนโยบาย ก่อตั้งในปี 2527 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำวิจัยด้านนโยบายสาธารณะอย่างมีคุณภาพ ให้บริการกับทุกภาคส่วนรวมทั้งภาครัฐ กระทรวง องร์กรสาธารณะ ปัจจุบันTDRI มีเจ้าหน้าที่ประจำกว่า 100 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นักวิจัยด้านนโยบายเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาสังคม TDRI รับใช้สังคมโดยการจัดทำงานวิจัยที่เป็นอิสระและแม่นยำ เพื่อให้สาธารณชนและสื่อมวลชนได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะซึ่งมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อประเทศไทย

จำเลยที่ 2 ณัฎฐา โกมลวาทิน เป็นบรรณาธิการข่าว รายการ “ที่นี่ Thai PBS“ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 326 / 328 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

ข้อความตามคำฟ้อง ระบุว่า เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2556 จำเลยทั้งสองได้ใส่ความ กสทช. และ กทค. ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ เกี่ยวกับร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ….. หรือ "ประกาศห้ามซิมดับ" โดยมีเจตนามุ่งหมายจะทำให้ กสทช. และ กทค. เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือเกลียดชัง จากประชาชนทั่วไป โดยผ่านการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์รายวัน หนังสือพิมพ์ออนไลน์ และรายการโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในรายการ “ที่นี่ Thai PBS”
 
โดยจำเลยที่ 1 ได้คัดค้านและไม่เห็นด้วยกับแนวทางการกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามร่างประกาศดังกล่าว โดยการให้สัมภาษณ์และเสนอข่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ทั้งที่จำเลยที่ 1 มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีการให้สัมภาษณ์โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าย่อมต้องรู้และเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับรายละเอียดของรายงานผลการศึกษาและข้อเสนอแนะของอนุกรรมการฯ ต่อที่ประชุม กทค.
 
ดังนั้นการให้สัมภาษณ์จึงเป็นการใส่ความและบิดเบือนความจริง ในอันที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ว่า กสทช. และ กทค. ทุจริตต่อหน้าที่ ไม่โปร่งใส และละเลยการปฏิบัติหน้าที่ การกระทำของจำเลยถือเป็นการทำลายความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม รวมถึงระบบการกำกับดูแล
 
จำเลยที่ สอง นำคำให้สัมภาษณ์ของจำเลยที่หนึ่ง ไปเผยแพร่ออกอากาศในวันที่ 14 สิงหาคม 2556 ในรายการ ‘ที่นี่ Thai PBS’ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ทั้งที่ กสทช. และ กทค. ได้ชี้แจงข้อกล่าวหาดังกล่าวมาโดยตลอด แต่จำเลยที่สอง กลับละเลยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ถูกต้อง ครบถ้วน
 
การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเหตุให้ โจทย์ทั้งหมด ได้รับความเสียหายต่อเกียรติยศ ชื่อเสียง วงศ์ตระกูล ทั้งในฐานะที่เป็น กรรมการกสทช. กรรมการกทค. และในทางส่วนตัว การให้สัมภาษณ์ที่เกิดขึ้น ออกอากาศแพร่กระจายสัญญาณฯทั่วราชอาณาจักร เหตุคดี จึงเกิดขึ้น ทุกตำบล อำเภอ จังหวัด ในราชอาณาจักรไทย

พฤติการณ์การจับกุม

ไม่มีข้อมูล

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

3172/2556

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ซิมดับเป็นเรื่องจนได้!! บอร์ด"กทค"ฟ้องหมิ่นประมาท "เดือนเด่น"ทีดีอาร์ไอ. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 2 กันยายน 2556. (อ้างอิงเมื่อ 5 กันยายน 2556)
Nattha Komolvadhin. 18 กันยายน 2556 (อ้างอิงเมื่อ 3 ตุลาคม 2556)
Nattha Komolvadhin.19 กันยายน 2556 (อ้างอิงเมื่อ 3 ตุลาคม 2556)
เครือข่ายผู้บริโภค แนะ กสทช.รุกคุ้มครองผู้บริโภค ก่อนฟ้องคนเห็นต่าง. เว็บไซด์ประชาไท. 9 กันยายน 2556. (อ้างอิงเมื่อ 3 ตุลาคม 2556)
กทค.จ่อถอนฟ้องยอมไกล่เกลี่ยไทยพีบีเอส. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. วันที่ 18 กันยายน 2556.  (อ้างอิงเมื่อ 3 ตุลาคม 2556)
คำฟ้องคดีหมายเลขดำ_อ3172-2556. เว็บไซต์สำนักงาน กสทช.. (อ้างอิงเมื่อ 3 ตุลาคม 2556)
เปิด…! คำชี้แจง 4 กทค. ในการประชุม กสทช. ปมฟ้อง “นักวิชาการ-สื่อมวลชน”ละเอียดยิบทุกแง่มุม. เว็บไซต์สำนักงาน กสทช.. 20 กันยายน 2556. (อ้างอิงเมื่อ 3 ตุลาคม 2556)
31 กรกฎาคม 2556
 
เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ , หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ , หนังสือพิมพ์แนวหน้า , หนังสือพิมพ์บ้านเมือง ทำนองว่า "การขยายระยะเวลาให้เอกชนมีสิทธิใช้คลื่น 1800 ออกไปอีก 1 ปี จะสร้างความเสียหายให้ประเทศและประชาชนเบื้องต้น 1.6 แสนล้านบาท จากการที่ไม่นำเคลื่อน 1800 ดังกล่าวมาเปิดประมูลในปีนี้"
 
9 สิงหาคม 2556
 
เดือนเด่น ให้สัมภาษณ์ต่อ ASTV ผู้จัดการออนไลน์, เว็บไซด์ประชาไทออนไลน์ ทำนองว่า "การต่ออายุสัมปทานต่ออีก 1 ปี ทำให้ประเทศชาติเสียผลประโยชน์ 1.6 แสนล้านบาท" 
 
14 สิงหาคม 2556
 
คำสัมภาษณ์ของเดือนเด่น ถูกเผยแพร่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในรายการ ‘ที่นี่ Thai PBS’ ที่มี ณัฏฐา โกมลวาทิน เป็นผู้ดำเนินรายการึ
 
29 สิงหาคม 2556
 
พันเอกเศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ พร้อมพวกรวม 5 คน ยื่นฟ้องกล่าวโทษ นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และนางสาวณัฏฐา โกมลวาทิน
 
5 กันยายน 2556
 
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ ร่วมกับ TDRI และ Thai PBS แถลงข่าว “กรณี กทค. ฟ้องหมิ่นประมาทนักวิชาการและสื่อมวลชน”
 
ผู้ร่วมแถลงคือ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธาน TDRI รศ.ดร. มาลี บุญศิริพันธ์ ประธานกรรมการนโยบาย Thai PBS และวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย การแถลงครั้งนี้ ได้แสดงจุดยืนว่า การนำเสนอข่าวและข้อมูลที่เกิดขึ้นเป็นการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนและนักวิชาการเพื่อปกป้องประโยชน์ของสาธารณะ ทั้งนี้หากข้อมูลที่นำเสนอไม่ถูกต้อง กทค. ย่อมสามารถนำข้อมูลที่ถูกต้องมาชี้แจงและโต้เถียงเพื่อหักล้างได้ อีกทั้ง กทค. ในฐานะหน่วยงานรัฐที่ดูแลผลประโยชน์ของชาติย่อมจะต้องถูกตรวจสอบจากสาธารณะเป็นปกติ ดังนั้นการกระทำของ กทค. จึงเป็นการข่มขู่คุกคามสิทธิเสรีภาพทางวิชาการและสื่อมวลชน
 
6 กันยายน 2556
 
สำนักงาน กสทช. ชี้แจงผ่านเว็บไซต์ของตน ระบุว่า การฟ้องร้องในครั้งนี้เป็นการปกป้องศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ ของ กทค.ทั้งสี และสำนักงาน กสทช. ที่ถูกละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญและกฏหมายกำหนดไว้ มิใช่เป็นการฟ้องร้องเพื่อคุกคามนักวิชาการหรือสื่อสารมวลชน
 
เนื่องจาก กสทช. ไม่ได้ไปข่มขู่หรือใช้อิทธิพลไปห้ามสื่อนำเสนอข่าวการวิพากษ์วิจารณ์ กสทช. แต่จะต้องไม่นำข้อมูลเท็จนำเสนอ
 
นอกจากนี้ยังทำให้เป็นการยกระดับมาตรฐานทางวิชาการ ตลอดจนจะช่วยให้สื่อมีความรอบคอบในการเตรียมข้อมูลและนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน
 
เนื่องจาก กสทช. ไม่ได้ไปข่มขู่หรือใช้อิทธิพลไปห้ามสื่อนำเสนอข่าวการวิพากษ์วิจารณ์ กสทช. แต่จะต้องไม่นำข้อมูลเท็จนำเสนอ
 
นอกจากนี้ยังทำให้เป็นการยกระดับมาตรฐานทางวิชาการ และช่วยให้สื่อต้องตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องรอบด้านก่อนนำเสนอ
 
11 กันยายน 2556
 
ที่โรงแรมไมด้า ซิตี้ รีสอร์ท กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภคจากทุกภูมิภาค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ ผู้ป่วยมะเร็ง ร่วมแถลงข่าวในเวที  “สิทธิสื่อ-สิทธินักวิชาการยังทำลาย ผู้บริโภคจะพึ่ง กทค. ได้อย่างไร” 
 
คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน และตัวแทนองค์กรผู้บริโภค เรียกร้องให้ 4 กสทช. และสำนักงาน กสทช.ถอนฟ้องนักวิชาการ และสื่อ พร้อมเตือน หากไม่ถอนฟ้อง ขอให้ระวัง ทำหน้าที่บกพร่องเมื่อไหร่ พร้อมฟ้องทั่วประเทศแน่
 
18 กันยายน 2556
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน โดยระบุว่าได้รับการติดต่อจากไทยพีบีเอสที่จะเข้าไปเจรจา กับ กทค. ทั้ง 4 คนแล้ว ซึ่งหากการเจรจาจบลงด้วยความเข้าใจ กทค. และ กสทช. อาจถอนฟ้องได้
 
ต่อมาณัฏฐา ยืนยันผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า เธอและ ดร.เดือนเด่น ไม่เคยพูดคุยกับ กทค. เพื่อให้ถอนฟ้อง และขอยืนยันให้เดินหน้าตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
 
19 กันยายน 2556
 
หลังจากมีข่าวที่ระบุออกมาว่า ไทยพีบีเอส ติดต่อเจรจากับ กทค.ถูกแพร่ขยายกว้างขึ้น ณัฏฐา จึงออกมา ยืนยันอีกครั้งผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ว่าเธอจะต่อสู้ในชั้นศาลจนถึงที่สุด
 
โดยแสดงภาพข้อความของ ผู้อำนวยการ ThaiPBS คุณสมชัย สุวรรณบรรณ ที่ยืนยันว่า ไทยพีบีเอสไม่เคยติดต่อกับ กสทช เพื่อขอเจรจาให้ถอนฟ้อง ตามที่มีข่าวแพร่หลายในสื่อมวลชนหลายฉบับ ในทางตรงกันข้ามเราได้เตรียมการสู้คดีอย่างถึงที่สุด
 
19 ธันวาคม 2556
ช่วงบ่าย ทนายโจทย์ถามพยานโจทย์ นายสุทธิพงษ์ ทวีชัยการ
 
จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆ ทำนองว่าการไม่เอาเคลื่อน 1800 MHz หรือ 4 จี ไปประมูลจะสร้างรัฐเสียรายได้และเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน การสัมภาษณ์ของจำเลยไม่เป็นจริง เนื่องจากโจทย์ทั้งห้า ต้องการกำหนดช่วงเวลาประมูลที่เหมาะสมตรงกันข้ามหากเร่งรัดการประมูลจะทำให้เกิดความเสียหายและประชาชนไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะเคลื่อน 1800 MHz ยังมีปรชาชนผู้ใช้บริการ 17 ล้านคน หากเร่งรัดอาจทำให้ผู้ใช้บริการที่อยู่ในระบบเดือดร้อน  
 
ดังนั้น กสทช. จึงต้องมีการดูแลผู้ใช้บริการไม่ให้ได้รับผลกระทบ โดยประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการ กำหนดเงื่อนไขให้ปผู้ให้บริการต้องให้บริการต่อไปห้ามหยุด
 
นอกจากนี้การที่จำเลยประเมินความเสียหายจากการไม่ประมูลครั้งนี้ กับเคลื่อน 2.1 GHz หรือ 3จี นั้น ไม่มีความเหมาะสมเนื่องจากการเตรียมคลื่อน 1800 MHz จะซับซ้อนกว่าคลื่น 2.1 GHz เพราะคลื่น2.1GHz ไม่มีผู้ใช้บริการ นอกจากนี้หากเร่งประมูลคลื่น 1800 MHz จะทำให้ผู้มีสิทธิประมูลมีน้อยราย 
 
ทั้งนี้จำเลยที่ 1 การให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆ รวมทั้งรายการที่นี่ไทยพีบีเอสที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินรายการส่งมีการเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักรอาจทำให้ประชาชนที่ติดตาม คิดไปได้ว่าโจทย์ทั้งห้า ปฎิบัติหน้าที่ส่อไปในทุจริตเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน
 
10 กุมภาพันธ์ 2557
ช่วงเช้า เวลาประมาณ 10.00 น. ทนายโจทก์ไต่สวนพยานฝ่ายโจทย์ นายสุทธิพล ทวีชัยการ
 
ทนายโจทย์ถามพยานโจทย์ถึงลักษณะการหมิ่นประมาทของจำเลยที่ 1 และ 2 โดยเน้นไปที่จำเลยที่ 2 มากกว่า 
 
โดยนายสุทธิพลได้เบิกความว่านางสาวณัฏฐา โกมลวาทิน จำเลยที่ 2 พิธีกรรายการที่นี่ไทยพีบีเอส กล่าวข้อความหมิ่นประมาท โดยการกล่าวข้อความเท็จตอนต้นรายการ มีการบรรยายเสียงผ่านสกู๊ปข่าว สัมภาษณ์จำเลยที่ 1 และการสรุปข่าวของจำเลยที่ 2 ซึ่งทั้งหมดคาดเคลื่อนจากความจริง
 
ทั้งนี้ในวันที่ 8 สิงหาคม 2556 จำเลยที่ 2 นำเสนอข่าวด้านเดียวไม่นำเสนอข้อมูลฝั่ง กสทช. ทั้งทาง กสทช.มีการแถลงข่าวและมีการนำเสนอผ่านสื่อทั้งหนังสือพิมพ์ รวมทั้งสื่อออนไลน์จำนวนมาก ซึ่งจำเลยที่ 2 ควรรับรู้ และในฐานะ บก. ต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนนำเสนอให้รอบด้าน เป็นกลางและไม่มีอคติ และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหา ชี้แจงนำเสนอข้อมูล 
 
จำเลยมีเจตนาใส่ความเท็จทำให้โจทย์ได้รับความเสียหายจนทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าโจทย์ ไม่สุจริต ทำให้ประชาชนดูหมิ่นเกลียดชัง
 
การไต่สวนมูลฟ้องคดีกสทช.ฟ้องหมิ่นประมาท ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์และนัฎฐา โกมลวาทินภาคบ่าย ศาลลงบัลลังก์เวลา 13.30น.
 
ช่วงบ่าย ทนายจำเลยเป็นผู้ถามพยานโจทก์ นายสุทธิพล
 
ในภาพรวม การไต่สวนในภาคบ่ายมีความคืบหน้าไม่มากนัก เพราะพยานโจทก์กับทนายใช้เวลาโต้เถียงกันในรายละเอียดปลีกย่อยและคำถามเชิงเทคนิคไปมาก จนทำให้การใต่สวนในประเด็นใหญ่ไม่คืบหน้า หลายครั้งศาลต้องท้วงขึ้นมาและพยายามดึงให้คู่ความกลับเข้าสู่การใต่สวนในประเด็นหลักเพื่อหาข้อสรุปว่าคดีมีมูลหรือไม่
 
11 กุมภาพันธ์ 2557

ไต่สวนมูลฟ้อง

 

17 มีนาคม 2557

เวลา 10.30 ที่ศาลอาญารัชดา ศาลอ่านคำสั่งคดี กสทช. ฟ้องหมิ่นประมาทนักวิชาการและสื่อสารมวลชน 

โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นนักวิชาการของ TDRI และอนุกรรมการเตรียมความพร้อมฯ ของ กสทช.ย่อมรู้ดีถึงขั้นตอนวิธีการจัดสรรคลื่นความถี่เป็นอย่างดี ดังนั้นการสัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนและรายการที่นี่ไทยพีบีเอส อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าคณะกรรมการ กสทช. ทำให้ประเทศชาติได้รับความเสียหาย ซึ่งทำให้ กสทช.ได้รับความเสียหาย 

ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินรายการที่นี่ไทยพีบีเอส เป็นสื่อมวลชนจึงจำเป็นต้องมีความระมัดระวังในการนำเสนอข่าวไม่ให้ส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น และการนำเสนอข่าวต้องศึกษาข้อมูลในเรื่องนั้นๆ พอสมควรและควรนำคู่ความมาชี้แจงด้วย ซึ่งในชั้นนี้ศาลเห็นว่ามีมูลจึงมีคำสั่งให้ประทับรับฟ้อง

ต่อมาหลังจากอ่านคำสั่งเสร็จ ศาลจึงได้มีการแนะนำให้คู่ความทั้งสองไปไกล่เกลี่ยกัน ก่อนจะถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ที่ศาลจะนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยทั้งสองและตรวจพยานหลักฐาน ก่อนจะมีการสืบพยานต่อไป
 
หลังจากศาลรับฟ้อง กสทช. ได้เปิดเผยความเห็นของ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.ด้านกฏหมาย โดยนายสุทธิพลได้ขอขอบพระคุณศาลยุติธรรมที่กรุณาพิเคราะห์พยานหลักฐานโดยละเอียด ซึ่งหลายประเด็นเป็นความจริงที่ขาดหายไปทำให้กสทช.มีโอกาสได้นำพยานหลักฐานเหล่านั้นมาพิสูจน์ข้อมูลที่ถูกต้องให้ปรากฏต่อสาธารณชน แสดงว่ายังมีความยุติธรรมเหลืออยู่ในสังคมไทย
 
นายสุทธิพล ยังกล่าวอีกว่าคำสั่งศาลในวันนี้แสดงให้เห็นว่า คำฟ้องของ กสทช.มีมูลตามที่กล่าวหาจำเลยทั้งสองว่ากระทำความผิดหมิ่นประมาทจริง ซึ่งแสดงว่าเราไม่ได้ฟ้องมั่วหรือไปฟ้องเพื่อกลั่นแกล้งใคร จากนี้ไปเป็นกระบวนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองตกอยู่ในสถานะจำเลยแล้ว ซึ่งเรามั่นใจในพยานหลักฐานที่มีอยู่และจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุดเพื่อรักษาเกียรติยศและชื่อเสียงขององค์กร 
 
 
22 สิงหาคม 2557
คณะกรรมการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งเป็น "คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน" หรือ คตง. ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการสรรหาชุดใหม่ โดยสุทธิพล ทวีชัยกาล กสทช. ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินด้านกฎหมาย
 
ที่มาข่าว กรุงเทพธุรกิจ
 
26 กันยายน 2557
ที่ห้องประนอมข้อพิพาท ศาลอาญารัชดาภิเษก ศาลนัดไกล่เกลี่ยประนีประนอมคดี ผลปรากฏว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ และแถลงร่วมกันว่า ในชั้นนี้ได้ให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลย ทั้งนี้ศาลพิเคราะห์แล้ว อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีได้ และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
 

   

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา