สุเมศ : ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ห้ามชุมนุมทางการเมือง

อัปเดตล่าสุด: 24/02/2560

ผู้ต้องหา

สุเมศ

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2557

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

สุเมศร่วมปลุกระดมให้ประชาชนประมาณ 100 คน รวมตัวที่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าฟอร์จูนทาวน์เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร เขาถูกจับกุมขณะเดินอยู่ในห้างสรรพสินค้าดังกล่าว และถูกควบคุมตัวที่กองปราบ 7 วัน ก่อนจะถูกตั้งข้อกล่าวหา โดยเขายื่นประกันตัวได้ในผลัดที่สอง

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ไม่มีข้อมูล

ข้อหา / คำสั่ง

ฝ่าฝืนประกาศคสช. 7/2557

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

สุเมศ ถูกกล่าวหาว่า ในวันที่ 1 มิ.ย.เวลาประมาณ 14.30 น. เขาปลุกระดมให้กลุ่มประชาชนประมาณ 100 คน รวมตัวกันที่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าฟอร์จูนทาวน์ ถนนรัชดาภิเษก  เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร ทหารได้ร้องขอกำลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ห้วยขวางเข้าเจรจาให้เลิกการชุมนุมคัดค้าน แต่ กลุ่มผู้ชุมนุมยังดำเนินการชุมนุมคัดค้านต่อไป ต่อมาเวลาประมาณ 15.00 น.ทหารได้ขอความร่วมมือให้เลิกการชุมนุมอีกครั้งแต่ไม่เป็นผล จึงได้แจ้งเตือนอีกครั้ง แต่การต่อต้านก็ยังเพิ่มระดับมากขึ้น โดยมีการโห่ร้องและมีแกนนำบางคนได้ยกนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางเหยียดขึ้น สามนิ้ว อันเป็นการแสดงสัญลักษณ์ในการต่อต้านรัฐประหาร เจ้าหน้าที่ทหารเห็นว่าเหตุการณ์จะลุกลามบานปลายจึงได้เข้าควบคุมตัวผู้ต้องหา ซึ่งมีพฤติการณ์ฝ่าฝืนประกาศ คสช.เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง มากักตัวที่กองบังคับการปราบปราม

จากการตรวจสอบพบว่าในวันดังกล่าวไม่มีการรายงานข่าวว่ามีการชุมนุมของประชาชนจำนวนหลักร้อยที่ห้างฟอร์จูนฯ ขณะที่ผู้ใกล้ชิดผู้ต้องหาแจ้งว่า ผู้ต้องหาเดินทางไปที่ Terminal 21 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิ.ย.และเพียงแต่ถ่ายรูปชูสามนิ้วพร้อมโพสต์เฟซบุ๊คข้อความว่า “บายบาย terminal21 ไปฟอร์จูนดีกว่า…” จากนั้นเมื่อผู้ต้องหานั่งรถไฟฟ้าใต้ดินมายังฟอร์จูนฯ ก็ถูกเจ้าหน้าที่เข้ารวบตัว
 

พฤติการณ์การจับกุม

จากการการบอกเล่าของนายสุเมศ บอกว่าขณะที่ตนเดินอยู่ในห้างสรรพสินค้า ฟอร์จูน ตนได้ถ่ายรูปชูสามนิ้ว โดยไม่ได้ชูมือขึ้นฟ้า ในลักษณะเดียวกับผู้ชุมนุมต่อต้านการรัฐประหาร จากนั้นก็มีตำรวจนอกเครื่องแบบเข้าจับกุมและพาขึ้นรถ ในระหว่างที่พาตัวขึ้นรถได้มีการล็อกตัวผ้าปิดตา เมื่อขึ้นมาในรถ นายสุเมศ ได้เจรจาเพื่อให้คลายผ้าปิดตาออกเพราะตนไม่ได้คิดที่จะขัดขืนหรือหนี เจ้าหน้าที่จึงนำผ้าปิดตาออกและพามาที่กองปราบ

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

7ก./57

ศาล

ศาลทหารกรุงเทพ

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
4  มิถุนายน 2557 พนักงานสอบสวน กองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม ยื่นคำร้องขอฝากขัง ต่อศาลทหารกรุงเทพฯ พร้อมคัดค้านการประกันตัว ตุลาการพระธรรมนูญยกคำร้องขอประกันตัว โดยให้เหตุผลว่า  “เมื่อพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าในคำร้องฝากขัง พนักงานสอบสวนระบุเหตุคัดค้านการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาว่ามีพฤติการณ์เป็นผู้ปลุกระดม และยุยงปลุกปั่นให้เกิดการชุมนุม กรณีมีเหตุอันควร เชื่อว่าหากปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาอาจจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงาน จึงไม่อนุญาต”  นายสุเมศจึงถูกควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
 
10 มิถุนายน 2557 สุเมศยื่นขอประกันตัวอีกครั้ง และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว ด้วยหลักทรัพย์เงินสด 40,000 บาท
 
18 กันยายน 2557
ศาลทหารกรุงเทพ ห้องพิจารณาคดีที่ 3 ศาลขึ้นบัลลังก์อ่านคำฟ้องให้ฟังว่า จำเลย ฝ่าฝืนประกาศ คสช.ฉบับที่ 7/2557 อันเนื่องมาจากจำเลยพร้อมกับพวกอีก 100 คน ร่วมชุมนุมต่อต้านการปกครองประเทศของคณะรักษาความสงบเเห่งชาติบริเวณห้างสรรพสินค้าฟอร์จูนทาวน์ 
 
จำเลยรับสารภาพเเละรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง พร้อมขอให้ศาลลงโทษสถานเบา ศาลพิพากษาจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท แต่จำเลยให้การรับสารภาพ จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท รอลงอาญา 2 ปี
 
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา