อนุรักษ์ หรือ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง : ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ห้ามชุมนุมทางการเมือง

อัปเดตล่าสุด: 29/01/2560

ผู้ต้องหา

อนุรักษ์

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2557

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

อนุรักษ์ หรือ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง ได้ถูกจับกุมหลังจากได้โพสต์เฟซบุ๊กชวนคนไปชุมนุม และถ่ายภาพชูสามนิ้วต้านรัฐประหาร แม้ก่อนหน้านั้นมีทหารเข้าไปเจรจาเพื่อให้หยุดเคลื่อนไหวแล้วก็ตาม

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ปัจจุบันทำธุรกิจส่วนตัว เมื่อมีเวลาว่างจะทำกิจกรรมปั่นจักรยานในนามกลุ่มเส้นทางสีแดง โดยเข้าร่วมกิจกรรมมาเป็นเวลา 4 ปี ทำกิจกรรมเดินทางไป 6 ประเทศในอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย มอบเงินให้ชาวบ้านเพื่อช่วยเหลือเยียวยาน้ำท่วมและครอบครัวเสื้อแดงที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมปี 53
 
กลุ่มเส้นทางสีแดง (Red Path Group) เป็นกลุ่มนักกิจกรรมอิสระ สมาชิกประกอบด้วยอาจารย์ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เสรีชน แสดงออกถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของคนไทยผ่านกิจกรรมปั่นจักรยานทางไกลโดยนำความช่วยเหลือและกำลังใจไปให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมในปี 2553 ทำกิจกรรมโดยมุ่งหวังให้สังคมเข้าใจขบวนการประชาธิปไตยของไทยผ่านทางกิจกรรมเพื่อมนุษยธรรมที่แสดงออกอย่างสันติและสร้างสรรค์ภายใต้กฏหมาย
ที่มา:บล็อคกลุ่มเส้นทางสีแดง , VOICE TV , INN
 

ข้อหา / คำสั่ง

ฝ่าฝืนประกาศคสช. 7/2557

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

โพสต์ชวนคนไปชุมนุมต้านรัฐประหาร และโพสต์รูปชูสามนิ้วในเฟซบุ๊ก

พฤติการณ์การจับกุม

7 มิถุนายน 2557 
ทหารและตำรวจประมาณ 20 นาย บุกไปที่บ้านของอนุรักษ์ เพื่อขอความร่วมมือให้หยุดการแสดงออกต่อต้านรัฐประหาร
 
8 มิถุนายน 2557 
ทหารและตำรวจ มาที่บ้านอีกครั้ง เพื่อขอความร่วมมือไม่ให้ไปชุมนุมที่ห้างสยามพารากอน และมาขอรหัสเฟสบุ๊ค แต่อนุรักษ์ไม่ได้ให้ ทหารจึงเปิดคอมพิวเตอร์ที่บ้านและกรอกรหัสเอง ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ ทางทหารจึงแจ้งว่าไม่ให้โพสเกี่ยวกับการต่อต้านรัฐประหาร อนุรักษ์ตอบตกลงและปฏิบัติตาม และถามกลับไปว่า พวกรูปเก่าๆต้องลบด้วยมั้ย ทางตำรวจบอกว่า ไม่ต้องลบ
 
9 มิถุนายน 2557
ทหารและตำรวจนำรถมารับที่บ้าน แจ้งให้เก็บเสื้อผ้าและนำตัวขึ้นรถ โดยใช้ถุงผ้าสีเขียวเข้มคลุมศีรษะ สายพลาสติกรัดที่นิ้วทั้งสองข้าง พาไปสอบสวนที่ค่ายกองพลที่ 26 รักษาพระองค์ 
 
– ทหารมีพฤติกรรม ข่มขู่ และใช้คำพูดดูถูกเหยียมหยาม เช่น “ฆ่าคนมาแล้วหลายชาติ มีแค่คนไทยที่ยังไม่เคยฆ่า”
 
– ทหารให้เซ็นต์รับรองเอกสาร เป็นเอกสารที่พิมพ์ออกมาจากเฟสบุ๊คของอนุรักษ์ เช่น ข้อความ รูปภาพ  โดยเอกสารชุดแรกนั้น ซึ่งอนุรักษ์ยินยอมเซ็นต์เพราะเป็นสิ่งที่พิมพ์และโพสจริงๆ แต่ เอกสารชุดที่สอง เป็นเอกสารที่เขียนว่า “เตือนครั้งที่ 1-3” ประกอบกับรูปที่แสดงการสนทนาในกล่องข้อความในเฟสบุ๊ค ว่า “ให้ลบรูปออก” 3 ครั้ง ซึ่งอนุรักษ์ยืนยันว่า ไม่เคยได้รับข้อความดังกล่าว และชื่อเฟสไม่ใช่ของจน จึงเซ็นต์และเขียนกำกับเช่นนั้น 
 
– ทหารให้เซ็นต์รับรอง รูปถ่ายที่อนุรักษ์ถ่ายไว้ที่ Terminal 21 โดยเป็นรูปที่ด้านบนของรูปมีคำว่า “District 112” 
 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถูกกล่าวหาให้ข้อมูลว่า มีลูกชายเป็นออทิสติกอ่อนๆ กำลังรักษาที่ รพ. ซึ่งจำเป็นต้องพาลูกไปรักษาทุกอาทิตย์ การติดภาระต้องดูแลลูกชายทำให้สภาพจิตใจไม่ค่อยดี เพราะเป็นห่วงลูกชาย

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
7 มิถุนายน 2557 
ทหารและตำรวจประมาณ 20 นาย บุกไปที่บ้านของอนุรักษ์ เพื่อขอความร่วมมือให้หยุดการแสดงออกต่อต้านรัฐประหาร
 
 
8 มิถุนายน 2557 
ทหารและตำรวจ มาที่บ้านอีกครั้ง เพื่อขอความร่วมมือไม่ให้ไปชุมนุมที่ห้างสยามพารากอน และมาขอรหัสเฟสบุ๊ค แต่อนุรักษ์ไม่ได้ให้ ทหารจึงเปิดคอมพิวเตอร์ที่บ้านและกรอกรหัสเอง ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ ทางทหารจึงแจ้งว่าไม่ให้โพสเกี่ยวกับการต่อต้านรัฐประหาร อนุรักษ์ตอบตกลงและปฏิบัติตาม และถามกลับไปว่า พวกรูปเก่าๆต้องลบด้วยมั้ย ทางตำรวจบอกว่า ไม่ต้องลบ
 
 
9 มิถุนายน 2557
ทหารและตำรวจนำรถมารับที่บ้าน แจ้งให้เก็บเสื้อผ้าและนำตัวขึ้นรถ โดยใช้ถุงผ้าสีเขียวเข้มคลุมศีรษะ สายพลาสติกรัดที่นิ้วทั้งสองข้าง พาไปสอบสวนที่ค่ายกองพลที่ 26 รักษาพระองค์ 
 
– ทหารมีพฤติกรรม ข่มขู่ และใช้คำพูดดูถูกเหยียมหยาม เช่น “ฆ่าคนมาแล้วหลายชาติ มีแค่คนไทยที่ยังไม่เคยฆ่า”
 
– ทหารให้เซ็นต์รับรองเอกสาร เป็นเอกสารที่พิมพ์ออกมาจากเฟสบุ๊คของอนุรักษ์ เช่น ข้อความ รูปภาพ  โดยเอกสารชุดแรกนั้น ซึ่งอนุรักษ์ยินยอมเซ็นต์เพราะเป็นสิ่งที่พิมพ์และโพสจริงๆ แต่ เอกสารชุดที่สอง เป็นเอกสารที่เขียนว่า “เตือนครั้งที่ 1-3” ประกอบกับรูปที่แสดงการสนทนาในกล่องข้อความในเฟสบุ๊ค ว่า “ให้ลบรูปออก” 3 ครั้ง ซึ่งอนุรักษ์ยืนยันว่า ไม่เคยได้รับข้อความดังกล่าว และชื่อเฟสไม่ใช่ของจน จึงเซ็นต์และเขียนกำกับเช่นนั้น 
 
– ทหารให้เซ็นต์รับรอง รูปถ่ายที่อนุรักษ์ถ่ายไว้ที่ Terminal 21 โดยเป็นรูปที่ด้านบนของรูปมีคำว่า “District 112” 
หลังถูกควบคุมตัวอยู่ที่กองปราปราม จนครบ 7 วัน เวลาประมาณ 11.00 น. เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจควบคุมตัวนายอนุรักษ์ มายังศาลทหารเพื่อดำเนินคดี 
เวลาประมาณ 16.20 น. ศาลทหารมีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราว ด้วยหลักประกันเงินสด 10,000 บาท
เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการประกันตัว ประกอบด้วย 
1. ห้ามชุมนุมทางการเมืองอันก่อให้เกิดความไม่สงบ และห้ามแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใด หรือทำเป็นหนังสือเพื่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน 
2.ให้ผู้ต้องหามารายงานตัวต่อศาลในวันที่ 19 มิถุนายน 2557 เวลา 9.30 น. จากนั้นวันที่ 25 มิถุนายน 2557 มีนัดฟังคำพิจารณาว่าศาลจะให้ฝากขังต่อหรือไม่ 
 
 
25 มิถุนายน 2557
ครบกำหนดที่พนักงานสอบสวนจากกองปราบปรามขออำนาจศาลฯ ฝากขังในผลัดแรก และได้ขอเป็นผลัดที่ 2 อีก 12 วัน ซึ่งศาลได้อนุญาต เพื่อรอสอบพยานเพิ่มเติมและตรวจสอบประวัติอาชญากรของผู้ต้องหา ทั้งนี้ศาลอนุญาตปล่อยชั่วคราว ด้วยหลักประกันเดิม คือ เงินสด 10,000 บาท 
 
สำหรับเงื่อนไขผู้ได้รับการประกันตัว ประกอบด้วย 1. ห้ามชุมนุมทางการเมืองอันก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร และห้ามแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใด หรือทำเป็นหนังสือเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน 2.ให้ผู้ต้องหามารายงานตัวในวันที่ 7 กรกฎาคม 2557 เพื่อฟังคำพิจารณาว่าศาลจะให้ฝากขังผลัดต่อไปหรือไม่
 
 
7 กรกฎาคม 2557
ครบกำหนดฝากขังในผลัดที่2และได้ขอเป็นผลัดที่3อีก  12 วันทั้งนี้โดยได้รับสิทธิการประกันตัวชั่วคราวด้วยหลักประกันเดิม คือ เงินสด 10,000 บาท 
 
สำหรับเงื่อนไขผู้ได้รับการประกันตัว ประกอบด้วย 
1. ห้ามชุมนุมทางการเมืองอันก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร และห้ามแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใด หรือทำเป็นหนังสือเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน 
2.ให้ผู้ต้องหามารายงานตัวในวันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เพื่อฟังคำพิจารณาว่าศาลจะให้ฝากขังผลัดต่อไปหรือ
 
 
8 กันยายน 2557
ที่ศาลทหารกรุงเทพ ห้องพิจารณา 3 อัยการศาลทหารกรุงเทพฟ้องอนุรักษ์จำเลยในข้อหาฝ่าฝืนประกาศห้ามชุมนุมของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ศาลขึ้นบังลังก์ 10.15 น.
 
สืบเนื่องจากวันที่ 1 มิถุนายน 2557 เวลากลางวัน จำเลยและพวกราว 50 คน มั่วสุมทำการคัดค้านการเข้าควบคุมประเทศของ คสช.บริเวณห้างเทอร์มินอล 21 หลังจากนั้นจำเลยถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ 9 – 14 มิถุนายน 2557 
 
ดคีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและขอรอการลงโทษจำคุก ศาลจึงพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพจึงลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท ทั้งนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษมาก่อน อีกทั้งคดีนี้ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง และเพื่อให้จำเลยมีโอกาสได้ทำประโยชน์อย่างอื่นมากกว่า ให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี
 
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา