- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
Stared

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
จิตรา คชเดช
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด
สถานะผู้ต้องหา
ยกฟ้อง
ข้อหา / คำสั่ง
ฝ่าฝืนประกาศคสช. 41/2557
เนื้อหาคดีโดยย่อ
จิตรา อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ถูกเรียกรายงานตัวโดยคำสั่งคสช.ฉบับที่ 44 เนื่องจากจิตราอยู่ต่างประเทศ ไม่สามารถมารายงานตัวได้ตามกำหนด เธอจึงถูกออกหมายจับและถูกจับกุมที่สนามบินขณะเดินทางเข้าประเทศในวันที่ 13 มิถุนายน 2557
จิตราปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาลโดยยืนยันว่าไม่มีเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวแต่ขณะเกิดเหตุอยู่ต่างประเทศไม่สามารถกลับมารายงานตัวได้ทันเวลา แต่ได้พยายามติดต่อกับคสช.ทุกวิถีทางแล้วทั้งให้เพื่อนมาส่งจดหมายถึงหัวหน้าคสช.และไปรายงานตัวที่สถานทูตไทยในสวีเดน
ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 ศาลทหารกรุงเทพมีคำพิพากษาเป็นที่สุดยกฟ้องจิตราในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของคสช.เพราะเห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวและได้ดำเนินการตามสมควรเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว
ภูมิหลังผู้ต้องหา
จิตราเป็นอดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ เคยเป็นแกนนำเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับคนงานที่ถูกเลิกจ้าง ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาสหภาพไทรอัมพ์ ในปี 2554 จิตราเคยมีชื่อเสียงจากการไปชูป้าย “ดีแต่พูด” ขณะที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกำลังพูดอยู่บนเวทีเนื่องในงานวันสตรีสากล เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ร่วมกับพรรคพลังประชาธิปไตย
พ.ท.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ เป็นผู้ได้รับมอบหมายจาก คสช. ให้ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ข้อกล่าวหา
อื่นๆ (ฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว)
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
อื่นๆ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลทหารกรุงเทพ
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลทหารกรุงเทพ No: 28 ก./2557 วันที่: 2014-07-31
ในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 คสช.ออกคำสั่งฉบับที่ 44/2557 เรื่องเรียกบุคคลเข้ารายงานตัวเพิ่มเติม สั่งให้จิตราเข้ารายงานตัวกับคสช.ในวันที่ 3 มิถุนายน 2557 แต่ขณะนั้นจิตราอยู่ต่างประเทศไม่สามารถกลับมารายงานตัวตามกำหนด จึงถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนคำสั่งคสช.ในศาลทหาร
1 มิถุนายน 2557
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 44/2557 เรียกให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติมจำนวน 28 คนภายในวันที่ 3 มิถุนายน 2557 โดยปรากฏชื่อของจิตรา แต่จิตราไม่สามารถเดินทางมารายงานตัวได้ตามกำหนดเวลาเนื่องจากติดภารกิจที่ประเทศสวีเดน
ต่อมา จึงมีการออกหมายจับของศาลทหารกรุงเทพ ที่ จก.9/2557 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2557 และเมื่อจิตราเดินทางกลับจากสวีเดนถึงสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อเช้าวันที่ 13 มิถุนายน 2557 ก็ถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองควบคุมตัวไว้
ครบกำหนดที่พนักงานสอบสวนจากกองปราบปรามขออำนาจศาลฯ ฝากขังในผลัดแรก และได้ขอเป็นผลัดที่ 2 อีก 12 วัน นับตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย.-7 ก.ค. นี้ ซึ่งศาลได้อนุญาต เพื่อรอสอบพยานเพิ่มเติมและตรวจสอบประวัติอาชญากรของผู้ต้องหา ทั้งนี้ศาลอนุญาตปล่อยชั่วคราว ด้วยหลักประกันเงินสด 20,000 บาท
16 ธันวาคม 2559
สืบพยานโจทก์ปากที่ห้า ร.ต.ท. ไพรฑูรย์ จ้อยสระคู พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี
เวลาประมาณ 10:15 น. ที่ศาลทหารกรุงเทพ ศาลนัดสืบพยานโจทก์ การสืบพยานในวันนี้ มีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 1 คน เจ้าหน้าที่จากไทรอัมพ์ 2 คน และอัยการทหาร 2 คน เข้ามาร่วมสังเกตการณ์การสืบพยานครั้งนี้ด้วย
เกศรินแนะนำว่าให้ทำหนังสือร้องเรียนถึง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อให้ติดตามเรื่องนี้ และได้ติดต่อยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเตอร์เนตเพื่อประชาชน เพื่อขอคำแนะนำ ยิ่งชีพเห็นว่าควรทำหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เพื่อชี้แจงสาเหตุที่ไม่สามารถเข้ารายงานตัวได้ และแจ้งว่าจะเข้ารายงานตัวเมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทย
นอกจากปรึกษาบุคคลอื่นจิตรายังได้ค้นหาช่องทางติดต่อ คสช. ในอินเตอร์เนตโดยได้เบอร์โทรศัพท์ของฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ คสช. มาสองเบอร์แต่เมื่อโทรศัพท์ไปปรากฏว่าไม่มีใครรับสาย
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ในวันนี้ศาลทหารกรุงเทพนัดสืบพยานจำเลยต่อโดยพยานปากคือมาธีอัส เควิ่นด์เพื่อนชาวสวีเดนของจิตรา เนื่องจากเควิ่นด์ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ศาลทหารจึงจัดหาล่ามแปลภาษาสวีดิชเป็นภาษาไทยทนายจำเลยร้องขอ
นัดฟังคำพิพากษา
จิตรามาถึงศาลทหารกรุงเทพตั้งแต่ก่อนเวลา 8.30 น. ซึ่งเป็นเวลานัด ขณะที่เจ้าหน้าที่สถานทูตต่างๆก็เริ่มทยอยมาร่วมฟังคำพิพากษาในเวลาไล่เลี่ยกัน เบื้องต้นเจ้าหน้าที่เชิญจิตราและผู้สังเกตการณ์ขึ้นไปรอที่ห้องพิจารณาคดี 4 ก่อนจะให้ย้ายมาที่ห้องพิจารณา 3 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า
ภายในห้องพิจารณาคดีมีผู้มาสังเกตการณ์ราว 20 คน เป็นผู้แทนจากสถานทูตสวีเดน สหรัฐอเมริกา เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียมและเนเธอแลนด์ นอกจากนี้ก็มีเพื่อนของจิตราอีกสี่คนมาให้กำลังใจ
เวลาประมาณ 9.20 น. ตุลาการศาลทหารขึ้นบัลลังก์และอ่านคำพิพากษายกฟ้องจิตราโดยให้เหตุผลว่าจิตราไม่มีเจตนาที่จะฝ่าฝืนคำสั่งคสช.และได้ดำเนินการตามสมควรเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้วโดยมีพยานหลักฐานยืนยันหนักแน่น
เนื่องจากคดีของจิตราเกิดขึ้นระหว่างที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก คำพิพากษาที่ออกในวันนี้จึงถือเป็นที่สุด
ทั้งนี้ระหว่างที่ศาลกำลังอ่านคำพิพากษา เจ้าหน้าที่หน้าบันลังก์เดินมาห้ามไม่ให้ผู้สังเกตการณ์จดบันทึกการอ่านคำพิพากษา
สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติออกคำสั่งฉบับที่ 44/2557 เรื่องให้บุคคลเข้ารายงานตัวกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดให้บุคคลที่มีรายชื่อในคำสั่งฉบับดังกล่าวรวมทั้งจำเลยที่มีชื่ออยู่ในลำดับที่สิบ เข้ารายงานตัวกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติในวันที่ 3 มิถุนายน 2557 ระหว่างเวลา 10.00 น. - 12.00 น. ที่หอประชุมกองทัพบกเทเวศน์
หลังพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยไม่เข้ารายตัว พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ จึงเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามซึ่งได้ขอศาลทหารอนุมัติหมายจับจำเลยในเวลาต่อมา เมื่อจำเลยเดินทางเข้าประเทศไทยในวันที่ 13 มิถุนายน 2557 เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทำการจับกุมจำเลยที่สนามบินและส่งตัวจำเลยให้พนักงานสอบสวนกองปราบปราม
จำเลยอ้างต้นเองเป็นพยานเบิกความว่าทราบคำสั่งรายงานตัวในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 ระหว่างนั้นจำเลยอยู่ที่ประเทศสวีเดนและมีกำหนดการเดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 13 มิถุนายน 2557 โดยจำเลยออกตั๋วเครื่องบินฉบับดังกล่าวตั้งแต่ก่อนมีคำสั่งเรียกรายงานตัว
การเปลี่ยนตั๋วเครื่องบินมีค่าใช้จ่ายมากและจำเลยก็ไม่แน่ใจว่าหากเปลี่ยนตั๋วจะเดินทางถึงประเทศไทยตามกำหนดหรือไม่เพราะเวลาของประเทศไทยเร็วกว่าสวีเดนหกชั่วโมงและการเดินทางด้วยเครื่องบินก็ใช้เวลาหลายชั่วโมง
จำเลยจึงเดินทางไปที่สถานทูตไทยประจำกรุงสตอกโฮล์มในวันที่ 3 มิถุนายน 2557 เวลา 10.00 น. เพื่อรายงานตัวตามคำสั่งคสช.ตามวันเวลาที่ระบุในคำสั่ง โดยมีเพื่อนชาวสวีเดนของจำเลยมาเบิกความเป็นพยานยืนยันและมีภาพเคลื่อนไหวที่จำเลยเข้าพบเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในวันและเวลาดังกล่าวมาเป็นหลักฐาน
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่สถานทูตแจ้งกับจำเลยว่าในขณะนั้นเอกอัครราชทูตและผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารไม่อยู่และสถานทูตก็ไม่มีกระบวนการรับรายงานตัวดังกล่าว
ในวันที่ 9 มิถุนายน 2557 จำเลยได้ขอให้ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ นำหนังสือชี้แจงถึงหัวหน้าคสช.มามอบให้กับเจ้าหน้าที่รับรายงานตัวที่หอประชุมกองทัพบกเทเวศน์ซึ่งพยานโจทก์ที่เป็นผู้รับรายงานตัวก็เบิกความยืนยันว่ามีบุคคลมายื่นหนังสือในนามของจำเลยจริง จึงเห็นได้ว่าจำเลยพยายามดำเนินการตามขั้นตอนทั้งหมดเท่าที่พอจะทำได้แล้ว
ตั้งแต่ชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอดทั้งยังมีหลักฐานยืนยันหนักแน่น พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักพอฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของคสช. พิพากษายกฟ้อง