พงษ์ศักดิ์: โพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

พงษ์ศักดิ์

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2557

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

อัยการศาลทหาร

สารบัญ

พงษ์ศักดิ์เป็นหนึ่งในผู้ที่มีรายชื่อประกาศเรียกให้ไปรายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ตามคำสั่งฉบับที่ 58/2557 แต่พงษ์ศักดิ์ไม่ได้ไปรายงานตัวตามคำสั่งดังกล่าว

พงษ์ศักดิ์ ถูกจับกุมตัววันที่ 30 ธันวาคม 2557 ที่สถานีขนส่งพิษณุโลก และถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้เผยแพร่รูปภาพและข้อความที่อาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ บนเฟซบุ๊กชื่อ "Sam parr" จำนวน 6 ข้อความ ซึ่งถือเป็นความผิดจำนวน 6 กรรม ตามความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14

ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาจำคุกพงษ์ศักดิ์ 60 ปี แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงโทษจำคุก 30 ปี 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

พงษ์ศักดิ์ หรือ แซม เป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี มีอาชีพเป็นตัวแทนบริษัทนำเที่ยว เคยร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มคนเสื้อแดง 3-4 ครั้ง แต่ไปเพียงระยะเวลาสั้นๆ
 
พงษ์ศักดิ์มีชื่อในคำสั่งเรียกบุคคลรายงานตัวของ คสช. ฉบับที่ 58/2557 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2557 สำนักข่าวอิศรารายงานว่า บุคคลส่วนใหญ่ในประกาศฉบับนี้ เป็นบุคคลที่ปรากฏเป็นข่าวโพสต์ข้อความสุ่มเสี่ยง 
 

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

พงษ์ศักดิ์ถูกกล่าวหาว่าโพสต์รูปภาพและข้อความประกอบลงบนเฟซบุ๊กของตนที่ใช้ชื่อว่า "Sam Parr" จำนวน 6 ข้อความ ซึ่งข้อความและรูปภาพดังกล่าวเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ถือเป็นความผิดรวม 6 กรรม ดังนี้

1. วันที่ 4 กันยายน 2556 โพสต์ภาพรูปปั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมข้อความประกอบ 

2. วันที่ 10 กันยายน 2556 โพสภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมข้อความประกอบ ซึ่งเป็นการใส่ร้ายพระมหากษัตริย์และพระราชินี

3. วันที่ 17 กันยายน 2556 โพสภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พร้อมข้อความประกอบ

4. วันที่ 18 กันยายน 2556 โพสภาพป้ายข้อความ สองภาพ

5. วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 โพสสถานะเฟซบุ๊ก เชิงท้าทายว่าตนไม่เคยถูกจับ

6. วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 โพสภาพตัดต่อ พร้อมข้อความประกอบ

ซึ่งภาพและข้อความทั้งหมดยังคงอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์มาจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ซึ่งเป็นวันที่พงษ์ศักดิ์ถูกจับกุม และเป็นช่วงที่อยู่ภายใต้การประกาศกฎอัยการศึก และประกาศคสช.ฉบับที่ 37/2557 ที่กำหนดให้คดีมาตรา 112 ต้องพิจารณาที่ศาลทหาร

ตามคำฟ้องของอัยการทหารระบุว่า การโพสต์ข้อความและภาพทั้ง 6 ครั้ง เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และเป็นความผิดฐานนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14

พฤติการณ์การจับกุม

พงษ์ศักดิ์ถูกจับกุมในวันที่ 30 ธันวาคม 2557 ที่สถานีขนส่งพิษณุโลก หลังจากเดินทางมาจากปากช่องเพื่อพบกับเพื่อนในเฟซบุ๊กคนหนึ่ง ซึ่งเจ้าตัวคาดว่าเป็นคนลวงไปสู่การจับกุม

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

99ก./2558

ศาล

ศาลทหารกรุงเทพ

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

นอกจากคดีนี้ พงษ์ศักดิ์ยังมีคดีไม่มารายงานตัวตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557 ดูรายละเอียดได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/657

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
30 ธันวาคม 2557
 
พงษ์ศักดิ์ถูกจับที่สถานีขนส่งพิษณุโลก หลังจากนั้นถูกนำตัวไปที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่อทำการสอบสวนเป็นเวลา 3 วัน
 
พงษ์ศักดิ์ระบุว่า ระหว่างการสอบสวนไม่มีการทำร้ายร่างกาย มีแต่การ "ขู่" ให้ยอมรับสารภาพและบอกว่าคดีนี้ไม่ใช่คดีการเมือง เป็นเรื่องความมั่นคง 
 
7 มกราคม 2558
 
พงษ์ศักดิ์ถูกนำตัวมาที่ศาลทหารกรุงเทพ เพื่อขออำนาจศาลฝากขังเป็นผลัดที่1
 
16 มกราคม 2558
 
พงษ์ศักดิ์ถูกนำตัวมาที่ศาลทหารกรุงเทพ เพื่อขออำนาจศาลฝากขังเป็นผลัดที่ 2
 
7 สิงหาคม 2558
 
นัดสอบคำให้การ
 
ศาลทหารกรุงเทพนัดสอบคำให้การเวลา 8.30 น. มีผู้สังเกตการณ์และนักข่าวมาร่วมฟังคดีของพงษ์ศักดิ์ประมาณ 10 คน ทั้งผู้สังเกตการณ์ ทนายความ และพงษ์ศักดิ์เข้าไปรอในห้องพิจารณาคดีที่ 3 ก่อน ซึ่งในระหว่างนั้นมีการพิจารณาคดีอื่นด้วย จนเวลาประมาณ 10.40 น. เจ้าหน้าที่ศาลมาพาตัวพงษ์ศักดิ์ออกไป และแจ้งว่าจะใช้ห้องพิจารณาคดีที่ 1 แทน ซึ่งศาลสั่งให้พิจารณาคดีนี้เป็นการลับเพราะเป็นคดีที่กระทบต่อความมั่นคง
 
ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ทนายความขออนุญาตศาลให้ผู้สังเกตการณ์เข้าฟัง และให้ศาลอ่านคำฟ้องข้ามส่วนที่เป็นเนื้อหาข้อความไป แต่ศาลไม่อนุญาต
 
ทนายจำเลยเปิดเผยหลังเสร็จกระบวนการว่า เมื่อศาลอ่านคำฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยแถลงรับสารภาพ ศาลจึงพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จำนวน 6 กรรม ลงโทษจำคุกกรรมละ 10 ปี รวมทั้งหมด 60 ปี เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 30 ปี

 

คำพิพากษา

ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จำนวน 6 กรรม ลงโทษจำคุกกรรมละ 10 ปี รวมทั้งหมด 60 ปี เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 30 ปี

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา