นักวิชาการแถลงข่าว ‘มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร’

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

อรรถจักร์,สมชาย

สถานะคดี

ชั้นสืบสวนสอบสวน

คดีเริ่มในปี

2558

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

พล.ต.โกศล ประทุมชาติ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 เป็นผู้มอบอำนาจให้ พ.ท.อภิชาต กันทวงศ์ นายทหารพระธรรมนูญ มาเป็นผู้แจ้งความดำเนินคดี

สารบัญ

นักวิชาการ 8 คนถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน จากการร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง ‘มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร’ ที่โรงแรมใน จ.เชียงใหม่
 
ต่อมาผู้ต้องหา 6 คนได้เข้าพบผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 ภายในค่ายกาวิละ จ.เชียงใหม่ และลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าจะไม่เคลื่อนไหวทางการเมือง ทำให้ 6 คนดังกล่าวพ้นจากการถูกดำเนินคดี คดีนี้จึงเหลือผู้ต้องหาเพียง 2 คน

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งสองเป็นนักวิชาการที่ทำงานวิชาการกับสาธารณชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยรวมกลุ่มกับคณาจารย์ในเชียงใหม่ ในนาม “มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน” ทำกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เช่น การจัดอภิปรายเสวนาสาธารณะ การออกแถลงการณ์แสดงความคิดเห็นต่อในประเด็นต่างๆ และการจัดกิจกรรมทางสังคมการเมือง เป็นต้น
 
 
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปะกุล จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบปริญญาโท คณะนิติศาสตร์(กฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Certificate of Training on Environmental Law, Institute of International Legal Studies-University of the Philippines Law Center ในปี2548 ในด้านประวัติการทำงาน เคยเป็นผู้สอนในกระบวนวิชานิติปรัชญา, กฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกฎหมายกับสังคม, กรรมการโครงการให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชน ของสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยเป็นกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่จังหวัดลำพูน และ คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรภาคเหนือ เคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปี 2549-2551  นอกจากนี้ ยังมีผลงานทางวิชาการอื่นๆอีกมากมาย อาทิ หนังสือ “นิติศาสตร์ไทยเชิงวิพากษ์ ”, นิติรัฐประหาร ใน รัฐประหาร 19 กันยา: รัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 
 

ข้อหา / คำสั่ง

อื่นๆ
คำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

31 ตุลาคม 2558
 
นักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัย ในนาม 'เครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย' ได้ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง 'มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร' ที่โรงแรมไอบิส จ.เชียงใหม่ โดยเป็นการออกแถลงการณ์ของกลุ่มนักวิชาการเพื่อตอบโต้กรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม มีเนื้อหาระบุถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบางส่วน ว่าสอนให้นักศึกษามีความคิดเชิงต่อต้าน และไม่เคารพกติกา 
 
ในกิจกรรมมีนักวิชาการจำนวน 8 คน ร่วมนั่งแถลงข่าว โดยอรรถจักร์เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ ระบุยืนยันถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และยืนยันว่าการใช้อำนาจข่มขู่ไม่สามารถพาสังคมไทยให้พ้นจากความขัดแย้งเพื่อไปสู่สังคมที่มีสันติภาพได้ จากนั้นเป็นการตอบข้อซักถามและแจกจ่ายแถลงการณ์ให้ผู้สื่อข่าว
 

พฤติการณ์การจับกุม

19 พฤศจิกายน 2558
 
นักวิชาการที่ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง 'มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร' เริ่มได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาจากสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก (สภ.ช้างเผือก) โดยหมายเรียกลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ระบุว่า พ.ท.อภิชาต กันทะวงศ์ เป็นผู้รับมอบอำนาจให้แจ้งความดำเนินคดีต่อ อรรถจักร์ กับพวก ในข้อหาร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้ผู้ต้องหาไปพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 
 
หนึ่งในนักวิชาการที่ได้รับหมายเรียก คือ คงกฤช ไตรยวงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม แต่อย่างใด หลังจากติดต่อชี้แจงกับพนักงานสอบสวนแล้ว คงกฤชจึงไม่ต้องเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา แต่ทำหนังสือชี้แจงส่งให้เจ้าหน้าที่ใช้ประกอบแทน
 
24 พฤศจิกายน 2558 
 
กลุ่มนักวิชาการ 6 คน ประกอบด้วย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และสมชาย ปรีชาศิลปกุล จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จรูญ หยูทอง และณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ จากมหาวิทยาลัยทักษิณ, มานะ นาคำ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และบุญเชิด หนูอิ่ม จากมหาวิทยาลัยบูรพา ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหากับว่าที่ พ.ต.อ.ประยูร กาศทิพย์ พนักงานสอบสวนสภ.ช้างเผือก พร้อมชุดพนักงานสอบสวนร่วมดำเนินการ 
 
เจ้าหน้าที่แจ้งข้อกล่าวหาและแจ้งสิทธิ์ของผู้ต้องหา ผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ส่วนคำให้การโดยละเอียดจะจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรมายื่นต่อพนักงานสอบสวนภายใน 30 วัน ก่อนเจ้าหน้าที่จะปล่อยตัว โดยไม่ต้องทำการประกันตัวและไม่มีเงื่อนไขใดๆ แต่ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรในกรณีที่ผู้ต้องหาจะเดินทางออกนอกประเทศ 
 
การสอบสวนไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าร่วม แต่มีเจ้าหน้าที่ทหารนอกเครื่องแบบมาสังเกตการณ์กลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และประชาชน ราว 50 คน ที่มาร่วมให้กำลังใจบริเวณหน้าสถานีตำรวจ และภายหลังรับทราบข้อกล่าวหา กลุ่มนักวิชาการได้ร่วมกันแถลงข่าวที่หน้าสภ.ช้างเผือก เพื่อยืนยันอีกครั้งว่า “มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร” 
 
4 ธันวาคม 2558 
 
นักวิชาการอีก 2 คน ได้แก่ กฤษณ์พชร โสมณวัตร จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบุญเลิศ จันทระ จากมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนสภ.ช้างเผือก เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา และให้การปฏิเสธเช่นเดียวกัน โดยจะทำคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรมายื่นต่อพนักงานสอบสวนภายใน 30 วัน รวมแล้วมีนักวิชาการถูกแจ้งข้อกล่าวหา จำนวน 8 คน 
 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
18 ธันวาคม 2558
 
นักวิชาการที่ถูกกล่าวหาเป็นผู้ต้องหาที่ 3-8 รวม 6 คน เดินทางเข้าพบพูดคุยกับพล.ต.โกศล ประทุมชาติ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 และเจ้าหน้าที่ทหาร ภายในค่ายกาวิละ จ.เชียงใหม่ การพูดคุยทำความเข้าใจใช้เวลาราว 2 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ทหารได้ให้กลุ่มนักวิชาการลงนามในบันทึกข้อตกลงที่ระบุว่าจะไม่เข้าร่วม ไม่จัดกิจกรรม และไม่แสดงความความคิดเห็นทางการเมือง รวมทั้งห้ามยุยงปลุกปั่นโดยไม่สุจริตให้บุคคลอื่นๆ ไปเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย 
 
เจ้าหน้าที่ยังได้อ่านคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 ในวรรคที่ 2 ให้ฟัง ระบุว่าการพูดคุยและเซ็นบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ถือว่าเข้าเงื่อนไขตามคำสั่งฉบับนี้แล้ว เป็นเหตุให้การแจ้งความดำเนินคดีกับ 6 คนดังกล่าวเป็นอันยกเลิก คดีนี้จึงเหลือผู้ต้องหา 2 คน คือ อรรถจักร์และสมชาย โดยเจ้าหน้าที่ทหารไม่อนุญาตให้กลุ่มนักวิชาการคัดลอกหรือสำเนาบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
 
คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 ในวรรคที่ 2 ระบุว่าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งที่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย เป็นระยะเวลาไม่เกินเจ็ดวันและเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเห็นสมควรปล่อยตัวโดยมีเงื่อนไข หรือไม่มีเงื่อนไข ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามมาตรา 37 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
 
24 ธันวาคม 2558
 
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และสมชาย ปรีชาศิลปกุล เดินทางเข้ายื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรต่อพนักงานสอบสวนสภ.ช้างเผือก โดยยืนยันการต่อสู้คดี และให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยระบุชี้แจงเหตุผลทั้งในทางหลักการและข้อกฎหมาย 5 ประการ พร้อมยืนยันว่าการแถลงข่าวดังกล่าวเป็นการแสดงออกซึ่งเสรีภาพทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ เป็นไปตามความมุ่งหมายของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตซึ่งส่งเสริมประบอบประชาธิปไตย จึงขอให้พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง
 
นอกจากนี้ นักวิชาการทั้งสองยังขอให้พนักงานสอบสวนสอบพยานบุคคลเพิ่มเติมอีก 4 คน เพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้คดี ได้แก่ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร, ศ.สุริชัย หวันแก้ว, ผศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา และไทเรล ฮาเบอร์คอร์น 
 
2 มิถุนายน 2559
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า พนักงานสอบสวนสภ.ช้างเผือก นัดหมายให้อรรถจักร์ และสมชาย ผู้ต้องหาทั้งสอง ไปพบที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 33 ค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งตัวผู้ต้องหาและส่งสำนวนคดีให้กับอัยการทหาร โดยหลังส่งมอบตัวแล้วอัยการนัดให้มาฟังคำสั่งอีกครั้งว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีนี้ วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลา 9.30 น.
 
6 กรกฎาคม 2559
 
นัดฟังคำสั่งอัยการ
 
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา