ฐนกร: กดไลค์เพจหมิ่นฯ และเสียดสีสุนัขทรงเลี้ยง

อัปเดตล่าสุด: 07/01/2565

ผู้ต้องหา

ฐนกร

สถานะคดี

ชั้นศาลชั้นต้น

คดีเริ่มในปี

2558

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

ฐนกรคัดลอกและแชร์ภาพแผนผังทุจริตการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์บนเฟซบุ๊ก ทำให้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม และนำไปควบคุมไว้ในสถานที่ปิดลับ 7 วัน หลังถูกควบคุมตัวครบกำหนดเขาถูกตั้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่ม จากการโพสต์ข้อความเสียดสีสุนัขทรงเลี้ยงและกดไลค์บนเฟซบุ๊กเพจที่มีภาพเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ และมาตรา 116 จากการแชร์ภาพแผนผังการทุจริตโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ฐนกรถูกฝากขังต่อศาลทหารกรุงเทพ เขาต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนได้รับอนุญาตให้ประกันตัว
 
หลังได้ปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยบวชเป็นพระภิกษุ และศาลทหารพิจารณาคดีของเขาไปอย่างช้าๆ ไม่มีความคืบหน้ามากนัก จนหมดยุค คสช. และสั่งให้โอนคดีกลับมายังศาลพลเรือน และศาลจังหวัดสมุทรปราการนัดพิจารณาต่อ โดยสืบพยานโจทก์อีกสามวัน และสืบพยานจำเลยหนึ่งวันจึงนัดฟังคำพิพากษา
 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ฐนกรเป็นพนักงานในโรงงานแห่งหนึ่ง ที่จังหวัดสมุทรปราการ

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา, มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

อัยการทหารบรรยายฟ้องว่าฐนกรทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาตรา 116 และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 รวมสามกรรม ได้แก่ 
 
1. จำเลยกดถูกใจ (like) แฟนพจ "ยืนหยัด ปรัชญา" บนเว็บไซต์เฟซบุ๊ก ซึ่งมีการโพสต์ภาพและข้อความที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ เป็นความผิดตามประมาลกฎหมายอาญามาตรา 112 และตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
 
2. จำเลยโพสต์ข้อความเกี่ยวกับสุนัขทรงเลี้ยงในลักษณะประชดประชันบนเฟซบุ๊กส่วนตัว เป็นความผิดตามประมาลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
 
3. จำเลยใช้เฟซบุ๊กส่วนตัวโพสต์ภาพบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ โดยข้อความประกอบภาพสรุปได้ว่าบุคคลในภาพเกี่ยวข้องกับการทุจริตในการก่อสร้างอุทยานฯ เป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือของบุคคลเหล่านั้น ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จและอาจทำให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดจะก่อความไม่สงบในราชอาณาจักร เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และ ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
 

พฤติการณ์การจับกุม

ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558 เวลาประมาณ16.00 น.  เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบสองนาย "เชิญตัว" ฐนกร จากที่ทำงานไปพูดคุยที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางปู ก่อนจะพาตัวไปที่สถานีตำรวจอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงค่ำ ต่อมามีเจ้าหน้าที่ีทหารในเครื่องแบบ เดินทางมารับฐนกรไปยังค่ายทหารแห่งหนึ่ง 
 
ฐนกรถูกกักตัวในค่ายทหารเพื่อ "ซักถาม" จนครบ 7 วัน จึงถูกนำตัวไปตั้งข้อหาที่กองปราบและถูกนำตัวไปฝากขังกับศาลทหารในวันที่ 14 ธันวาคม 2558  
 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

อ.1541/62

ศาล

ศาลทหารกรุงเทพ, ศาลจังหวัดสมุทรปราการ

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
8 ธันวาคม 2558
 
ฐนกรถูก"เชิญตัว"จากที่ทำงานในอำเภอบางปู ไป "ซักถาม" ที่สถานีตำรวจในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ทหารกักตัวอยู่ที่ค่ายทหารต่อเป็นเวลา 7 วัน 
 
9 ธันวาคม 2558 
 
คมชัดลึกออนไลน์ รายงานว่า พล.ต.วิจารณ์ จดแตง และ พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ เข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม เพื่อให้ดำเนินคดีกับฐนกร ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ,116 และตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 
 
10 ธันวาคม 2558 

ระหว่างที่ฐนกรถูกควบคุมตัวอยู่ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยื่นขอหมายจับต่อศาลทหารกรุงเทพ ศาลทหารอนุมัติออกหมายจับที่ จก.39/2558
 
14 ธันวาคม 2558

คมชัดลึกออนไลน์ รายงานว่า หลังฐนกรถูกกักตัวในค่ายทหารครบ 7 วัน เจ้าหน้าที่ทหารโดยพ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ นำตัวฐนกรมาฝากขังที่ศาลทหาร ซึ่งศาลทหารอนุญาตให้ฝากขังผลัดแรกเป็นเวลา 12 วัน 
 
เว็บไซต์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลังศาลอนุญาตให้ฝากขัง ฐนกรยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยวางเงินสด 300,000 เป็นหลักประกัน ซึ่งมาจากเงินระดมทุนของกลุ่มพลเมืองโต้กลับ แต่ศาลยกคำร้องโดยระบุเหตุผลว่า คดีมีโทษสูงประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้าน เมื่อพิจารณาตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้วน่าเชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี จึงให้ยกคำร้อง 
 
19 ธันวาคม 2558

อานนท์ นำภา ทนายความและนักกิจกรรม โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ในวันที่ 25 ธันวาคม จะยื่นเรื่องคัดค้านการฝากขังฐนกรในผลัดที่ 2 และหากศาลไม่อนุญาตให้ฝากขังก็จะประกันตัวตามสิทธิของผู้ต้องหาต่อไป อานนท์ยังประกาศขอระดมทุนเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ในการประกันตัวฐนกรด้วย 
 
22 ธันวาคม 2558

อานนท์ นำภา โพสต์เฟซบุ๊กขอยุติการระดมทุนเนื่องจากได้เงินประกันตามเป้าแล้ว 
 
25 ธันวาคม 2558
 
เว็บไซต์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลทหารอนุญาตให้ฝากขังฐนกรต่อเป็นผลัดที่ 2 และเมื่อทีมทนายของฐนกรยื่นคำร้องพร้อมวางเงิน 900,000 บาทเพื่อขอประกันตัว ศาลก็ให้ยกคำร้อง โดยให้เหตุผลว่า ศาลเคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยตุระบุไว้ชัดเจนแล้ว ไม่มีให้เหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม นอกจากนี้พนักงานสอบสวนก็ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวไว้ด้วย
 
15 มกราคม 2559
 
ฐนกรถูกนำตัวไปศาลทหารเพื่อขออำนาจศาลฝากขังเป็นผลัดที่ 4 โดยฐนกร ญาติ และทนายต่างไม่รู้วันนัดล่วงหน้า เพราะเดิมกำหนดครบฝากขังเป็นวันที่ 18 มกราคม 2558 แต่วันที่ 18 ตรงกับวันกองทัพไทยซึ่งศาลทหารหยุดทำการ ฐนกรจึงถูกนำตัวมาก่อน ทนายของฐนกรซึ่งไปศาลในคดีอื่นจึงพบกับฐนกรโดยบังเอิญ
 
เวลาประมาณ 10.40 น. พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องฝากขังผลัดที่สี่โดยอ้างเหตุผลว่ายังสอบปากคำพยานไม่เสร็จอีกหกปาก และอยู่ระหว่างรอผลการตรวจลายนิ้วมือ ทนายของฐนกรซึ่งไม่ได้เตรียมเอกสารคัดค้านมาจึงแถลงคัดค้านด้วยวาจาว่า ผู้ต้องหาไม่อาจไปยุ่งเหยิงกับพยานอีก 6 ปากที่ยังไม่ได้สอบสวนได้ ทั้งพยานหลักฐานที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ก็อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดแล้วและผู้ต้องหาไม่ใช่คนที่มีอิทธิพลจะก้าวก่ายการสอบสวนได้ จึงไม่มีเหตุที่ต้องควบคุมตัวไว้ระหว่างการสอบสวนอีก
 
ศาลถามพนักงานสอบสวนว่า มีเหตุจำเป็นประการใดในการขอฝากขังต่อ พนังานสอบสวนตอบว่าขอยืนยันตามคำร้องว่าคดีนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น แต่เมื่อศาลถามว่าพยานปากที่เหลือเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาหรือไม่ พนักงานสอบสวนก็ไม่ได้ตอบคำถาม สุดท้ายศาลทหารสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาต่อเป็นผลัดที่ 4 โดยระบุว่าสอบพนักงานสอบสวนแล้ว เห็นว่ายังมีเหตุจำเป็นต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ แต่ให้พนักงานสอบสวนเร่งดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็ว
 
หลังจากนั้น ศาลก็อ่านคำสั่งของศาลทหารกลาง (ศาลทหารชั้นอุทธรณ์) จากกรณีที่ผู้ต้องหายื่นขอประกันตัวเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2558 และศาลทหารกรุงเทพสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว ผู้ต้องหาจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวดังกล่าว 
 
ศาลทหารกลาง สั่งว่า ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลทหารกรุงเทพฉบับลงวันที่ วันที่ 25 ธันวาคม 2558 เรื่องไม่ให้ปล่อยตัวจำเลยระหว่างการฝากขังผลัดที่หนึ่งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2559  แต่ปัจจุบันศาลได้มีคำสั่งให้ควบคุมตัวตามการฝากขังผลัดที่ 3 ไปแล้ว การที่ศาลทหารกรุงเทพสั่งรับอุทธรณ์ไว้พิจารณาจึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากล่วงเลยเวลาฝากขังผลัดที่ 1 อันเป็นมูลเหตุให้ใช้สิทธิอุทธรณ์มาแล้ว ศาลทหารกลางจึงไม่อาจพิจารณาคำร้องขอประกันตัวครั้งนี้ได้ ให้ยกคำร้อง 
 
4 มีนาคม 2559 
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า อัยการทหารยื่นฟ้องฐนกรต่อศาลทหารกรุงเทพ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มาตรา 116 และ มาตรา 14(3) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยฐนกรถูกฟ้องในความผิดรวมสามกรรม
 
8 มีนาคม 2559 
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ทนายจำเลยได้ยื่นขอประกันตัวฐนกรต่อศาลทหารกรุงเทพเป็นครั้งที่สาม โดยวางหลักทรัพย์ 900,000 บาท โดยระบุเหตุผลในการขอประกันตัวสามข้อได้แก่
 
1. กระบวนการกล่าวหาจำเลยว่าทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 เป็นการกล่าวหาที่เกินเลย และการเหมารวมการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ม.116 ก็เป็นการทำลายระบบนิติรัฐและกระบวนยุติธรรมของไทยในระยะยาว
 
2. การที่อัยการทหารบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกดไลค์เฟซบุ๊กว่าผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ที่จริงแล้วไม่ถือเป็น “การกระทำ” ที่เป็นการเผยแพร่ หรือผู้สนับสนุน และกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด ในด้านที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำ มิใช่ในด้านเป็นโทษแก่ผู้กระทำ ในส่วนข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.116 ผู้กล่าวหาได้กล่าวหาเกินจริงและเกินไปกว่าการกระทำของจำเลย
 
3. จำเลยเป็นเสาหลักของครอบครัวในการหาเลี้ยงบิดามารดา และส่งเสียน้องสาวที่กำลังศึกษาอยู่ หากจำเลยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ครอบครัวของจำเลยย่อมได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่มีเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว
 
หลังทนายวางเงิน 900,000 บาทเพื่อขอประกันตัวฐนกร ศาลทหารกรุงเทพมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวโดยกำหนดหลักทรัพย์ไว้ที่ 500,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ฐนกรได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพในช่วงค่ำวันเดียวกัน 
 
หากนับจากวันที่ 14 ธันวาคม 2558 ซึ่งฐนกรถูกฝากขังผัดแรกจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2559 ซึ่งศาลทหารอนุญาตให้ประกันตัว ฐนกรถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพรวม 86 วัน นอกจากนี้ฐนกรยังถูกควบคุมตัวตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ในค่ายทหารอีก 7 วันด้วย 
 
8 พฤษภาคม 2559

ฐนกรออกบวชที่วัดแห่งหนึ่งเพื่อศึกษาพุทธศาสนา 

12 พฤษภาคม 2559
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล นำกำลังตำรวจทหารฝ่ายปกครองเข้าตรวจค้นบ้านบุคคลเป้าหมายซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติด อาวุธสงคราม หรือเป็นผู้มีอิทธิพล ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและฉะเชิงเทรา มีการตรวจค้นบ้านของฐนกรซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการด้วย

พ่อของฐนกรแจ้งกับศูนย์ทนายความฯว่า ในเวลาประมาณ 6.00 น, มีเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจมาที่บ้านและขออนุญาตตรวจค้นโดยไม่มีการแสงหมายหรือเอกสารใดๆ เพียงแต่บอกว่าได้รับเบาะแสว่า มีวัตถุหรือสิ่งของที่ผิดกฎหมายจึงมาตรวจค้น 
 
หลังทำการตรวจค้นประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนจะยึดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของฐนกรและโทรศัพท์ของฐนกรไป โดยน้องสาวของฐนกรซึ่งอยู่ที่บ้านระหว่างที่มีการตรวจค้นระบุภายหลังว่าคอมพิวเตอร์ที่เจ้าหน้าที่ยึดไปเป็นคอมพิวเตอร์ที่ฐนกรซื้อให้ตนใช้งาน 

นอกจากการยึดทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่ยังสอบถามพ่อของฐนกรด้วยว่าขณะนี้ฐนกรอยู่ที่ไหนและมีการตรวจสอบพิกัดของวัดที่ฐนกรบวชอยู่ด้วย ทำให้พ่อของฐนกรเกรงว่าฐนกรจะถูกจับสึกและควบคุมตัว
 
9 มิถุนายน 2559
 
นัดสอบคำให้การ

ฐนกรซึ่งอยู่ในสถานะพระภิกษุพร้อมทนายเดินทางมาที่ศาลทหารเพื่อตอบคำให้การในเวลา 10.20 น. โดยศาลเริ่มกระบวนพิจารณาหลังจากนั้นประมาณสิบนาที  

ฐนกรแถลงต่อศาลว่ายังไม่พร้อมให้การ ส่วนทนายจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาลก่อนการสืบพยาน เพราะทนายจำเลยเห็นว่าคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหารแต่อยู่ในเขตของศาลจังหวัดสมุทรปราการ
 
เมื่อทนายจำเลยคัดค้านอำนาจศาลทหาร ศาลจึงถามความเห็นอัยการซึ่งตอบศาลว่า คดีนี้น่าจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหาร  

หลังมีการคัดค้านอำนาจศาล ศาลสั่งให้ระงับการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าปัญหาเขตอำนาจศาลจะมีข้อยุติ จากนี้ศาลทหารจะทำความเห็นเรื่องอำนาจศาลส่งไปที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการภายใน 30วัน เมื่อศาลจังหวัดสมุทรปราการส่งความเห็นกลับมา ศาลทหารจะนัดคู่ความมาฟังคำสั่งอีกครั้งหนึ่ง
 
29 พฤศจิกายน 2559
 
นัดสอบคำให้การ
 
ฐนกร ซึ่งขณะนี้บวชเป็นพระอยู่เดินทางมาถึงศาลทหารเวลา  09.20 น. ก่อนศาลจะเริ่มพิจารณาคดี  ราว 09.40 น.
 
ในห้องพิจารณาคดีที่ 5 เมื่อฝ่ายอัยการโจทก์มากันพร้อมแล้ว ศาลถามพระฐนกรว่าบวชมานานเท่าไหร่เเล้ว พระฐนกรตอบว่าบวชมาหนึ่งพรรษาพอดี  ด้านแม่ของฐนกรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าบวชเรียนด้วย เลยยังไม่ได้สึก
 
จากนั้นศาลพิจารณาเรื่องพระฐนกรขอยื่นให้ศาลวินิจฉัยเขตอำนาจศาล เนื่องจากเห็นว่าคดีของเขาอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม และศาลได้ส่งความเห็นไปที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการตามท้องที่เกิดเหตุเเล้ว  
 
ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีความเห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจวินิจฉัยของศาลทหาร ตามประกาศคสช.ที่ 37/2557 เรื่องอำนาจพิจารณาคดีอันเกี่ยวกับความมั่นคง แต่ก็มีความเห็นไม่ตรงกับศาลทหารตามคำฟ้องบางข้อ เมื่อเป็นเช่นนั้นศาลทหารจึงจะส่งเรื่องวินิจฉัยเขตอำนาจศาล ให้คณะกรรมการวินิจฉัยเขตอำนาจศาลทำความเห็นมาอีกครั้ง โดยระหว่างนี้ให้ระงับการพิจารณาคดีไว้ก่อน
 
 
26 มิถุนายน 2560
 
ฐนกรซึ่งยังคงอยู่ในสถานะพระภิกษุเดินทางมาถึงในช่วงเช้าก่อนเวลา 09.00 น. ฐนกรได้บอกว่าวันที่ 9 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ จะบวชครบ 2 พรรษาแล้ว และไม่อยากให้มีการนัดพิจารณาคดีระหว่างช่วงเข้าพรรษาเพราะไม่สะดวกที่จะเดินทางออกจากวัด การพิจารณาคดีเริ่มขึ้นประมาณ 09.55 น.
 
โดยก่อนหน้านี้ ฐนกรได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาล ว่าคดีของตน ไม่ควรต้องขึ้นศาลทหาร ตามขั้นตอนการตีความเรื่องเขตอำนาจศาล จึงต้องให้ศาลทหารกรุงเทพ และศาลจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องทำความเห็นของแต่ละฝ่ายก่อน
 
ศาลจังหวัดสมุทรปราการและศาลทหารเห็นพ้องตรงกันว่า การกระทำตามคำฟ้องในข้อ 1. และ 2. นั้น ควรจะอยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร ส่วนประเด็นในคำฟ้องข้อ 3. ศาลทั้ง 2 เห็นไม่ตรงกัน เนื่องจากศาลทหารเห็นว่า การโพสต์ข้อมูลเรื่่องการทุจริตในโครงการอุทยานราชภักดิ์ไม่เข้าข่ายองค์ประกอบความผิดมาตรา 116 จึงไม่ใช่คดีที่ต้องขึ้นศาลทหาร ข้อโต้แย้งนี้จึงส่งไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเป็นผู้วินิจฉัยขั้นสุดท้าย 
 
ซึ่งในวันนี้ศาลได้อ่านคำวินิจฉัยของคณะกรรมการชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล โดยคณะกรรมการชี้ว่า มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า ประเด็นตามข้อ 3. นั้น โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามมาตรา 116 ประเด็นตามข้อ 3. จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหารด้วย ต้องถือว่าอยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร 
 
นอกจากนี้ ในวันนี้ศาลได้ถามคำให้การจำเลย โดยก่อนเริ่มพิจารณา ศาลได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความ จำเลยแถลงว่า มีทนายและได้แต่งตั้งทนายมาสู้คดีเองแล้ว พร้อมที่จะให้การในวันนี้ ศาลจึงอ่านและอธิบายคำฟ้องของโจทก์ให้จำเลยฟัง ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา คู่ความแถลงขอให้กำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานก่อนกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลจึงนัดตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 08.30 น.
 
23 กุมภาพัธ์ 2561
 
ศาลทหารกรุงเทพัดสืบพยาโจทก์ โดยโจทก์ำพยาปากแรกเข้าสืบ คือ พล.ต.วิจารณ์ จดแตง ายทหารผู้กล่าวหาจำเลย
 
พล.ต.วิจารณ์ เบิกความว่า ปัจจุบัรับราชการตำแห่งผู้อำวยการสำักงาพระธรรมูญทหารบก เมื่อปี 2558 รับราชการตำแห่งผู้อำวยการส่วกฎหมายและสิทธิมุษยช กองอำวยการรักษาความมั่คงภายใราชอาณาจักร ได้รับมอบหมายจากหัวห้า คสช. ให้เป็หัวห้าส่วปฏิบัติการ คณะทำงากฎหมาย ของ คสช. มีห้าที่รวบรวมข้อมูลพยาหลัก และกล่าวโทษผู้กระทำความผิด
 
คดีี้ ได้รับมอบหมายให้กล่าวหาจำเลย คือ กร ใข้อหาหมิ่ประมาทพระมหากษัตริย์, ยุยงปลุกปั่ให้ประชาชก่อความไม่สงบ และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เื่องจากวัที่ 7 ธัวาคม 2558 ห่วยข่าวกรองตรวจพบว่า จำเลยโพสต์ข้อความและกดไลค์ เฟซบุ๊กใลักษณะดูหมิ่สถาบัฯ และใส่ร้ายายกรตรี รองายกรตรี รัตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เกี่ยวกับการทุจริตโครงการอุทยาราชภักดิ์
 
จึงอาศัยอำาจ คำสั่งหัวห้า คสช. ที่ 3/2558 เอาตัวจำเลยมาซักถามที่มณฑลทหารบกที่ 11 จำเลยรับว่า โพสต์ข้อความดังกล่าว และได้ตรวจสอบโทรศัพท์มือถือของจำเลยพบข้อความตามที่จำเลยโพสต์ลงใเฟซบุ๊ก จึงทำบัทึกการซักถามและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ ต่อมาได้รับมอบหมายให้แจ้งความร้องทุกข์ที่กองปราบปรามเพื่อให้ดำเคดีกับจำเลย
 
ก่อที่ทายจำเลยจะเริ่มถามค้าพยาปากี้ ทายจำเลยแจ้งว่า ติดภารกิจใคดีอื่ จึงขอเลื่อการสืบพยาปากี้ออกไปเป็วัที่ 18 มิถุาย 2561
 
 
18 มิถุนายน 2561
 
ศาลนัดสืบพยานโจทก์ปากแรกต่อ คือ พล.ต.วิจารณ์ จดแตง ฝ่ายกฎหมายของ คสช. หลังเลื่อนมาจากนัดที่แล้ว โดยนัดนี้เป็นการถามค้านของทนายความจำเลย ทนายอานนท์ นำภา เป็นผู้ถาม
 
พล.ต.วิจารณ์ ตอบคำถามทนายความว่า ใช้เฟซบุ๊กไม่เป็น และไม่มีความรู้เกี่ยวกับเฟซบุ๊ก ทราบเหตุในคดีนี้เพราะมีฝ่ายข่าวของ คสช. นำภาพมาให้ ไม่ทราบว่า ฝ่ายข่าวคนนั้นชื่ออะไร แต่ได้พูดคุยกัน โดยไม่ได้ทำบันทึกไว้เพราะเป็นเรื่องปิดลับ ทราบมาว่า จำเลยไม่ใช่แกนนำทางการเมือง แต่มีประวัติเกี่ยวอะไรบางอย่างกับเสื้อแดง
 
พล.ต.วิจารณ์ เบิกความว่า ตอนที่ซักถามจำเลยและทำบันทึกถ้อยคำเอาไว้ ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบก่อน ไม่ได้แจ้งสิทธิในจำเลยทราบ ไม่ได้แจ้งกับจำเลยว่า มีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ เพราะขณะนั้นจำเลยยังไม่ใช่ผู้ต้องหา สถานที่ซักถาม คือ มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) แต่พล.ต.วิจารณ์ ไม่เคยเชิญบุคคลในภาพตามคำฟ้อง ได้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา และพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร มาซักถามและบันทึกถ้อยคำ
 
ในแผงผังที่ฟ้องว่าจำเลยเป็นคนเผยแพร่ ยังมีภาพของพ.อ.คชาชาติ บุญดี อดีตผู้บัญชาการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ และพล.ต.สุชาติ พรมใหม่ อดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้รับราชการแล้ว ไปอยู่ต่างประเทศ หลังจากมีหมายจับในข้อหามาตรา 112 จากการแอบอ้างในกิจกรรม Bike for Mom 
 
พล.ต.วิจารณ์ รับว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องไม่ดี คสช. ต้องการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ซึ่งประชาชนสามารถมีส่วนร่วมตรวจสอบการคอร์รัปชั่นได้ โดยการทำหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่การทำอะไรต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย เหตุของคดีนี้ พล.ต.วิจารณ์ เห็นว่า เป็นการใส่ร้าย ไม่อยูในกรอบของกฎหมาย
 
สำหรับกรณีการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ เป็นโครงการใหญ่ หากมีการทุจริตก็ให้ร้องเรียนไปที่ ป.ป.ช. ได้ ไม่ใช่มาเดินขบวน ถ้าหากมีการทุจริตก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย แต่กรณีนี้ ป.ป.ช. ตรวจสอบแล้วว่า ไม่พบหลักฐานการทุจริต ประชาชนสามารถเรียกร้องให้คนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตออกมาชี้แจงได้ แต่ไม่ใช่หน้าที่ของคนเหล่านั้นต้องออกมาชี้แจงต่อประชาชน
 
ทนายเปิดคลิปวีดีโอจากสำนักข่าวมติชน เป็นคำให้สัมภาษณ์ของพล.อ.ไพบูย์ คุ้มฉายา ที่กล่าวว่า โครงการก่อนสร้างอุทยานราชภักดิ์มีการทุจริต แล้วถามว่า คำพูดของพล.อ.ไพบูลย์ น่าเชื่อถือหรือไม่ พล.ต.วิจารณ์ ตอบว่า ท่านเป็นคนน่าเชื่อถือ เพราะเป็นองคมนตรี แต่คำพูดนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่ตรวจสอบ จึงไม่น่าเชื่อถือ หลังจากนั้น พล.ต.วิจารณ์ ขออธิบาย เพิ่มเติมว่า พล.อ.ไพบูลย์ กับพล.อ.อุดมเดช เคยเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกด้วยกัน จึงอาจจะทำให้มีประเด็นนี้ด้วย แต่ศาลไม่บันทึกคำเบิกความส่วนนี้
 
ทนายเปิดคลิปวีดีโอจากสำนักข่าวไทยพีบีเอส เป็นคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ยอมรับว่า มีความผิดปกติในโครงการ มีการแอบอ้างเรียกเงินส่วนเกิน แต่แก้ไขแล้ว พล.ต.วิจารณ์เบิกความรับว่า พล.อ.อุดมเดช กล่าวเช่นนั้นจริงตามคลิป และพล.อ.อุดมเดชเป็นประธานโครงการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ ส่วนงบประะมาณทั้งหมดในโครงการจะเป็นอย่างไร พล.ต.วิจารณ์ ไม่ทราบ
 
ทนายเปิดคลิปวีดีโอจากสำนักข่าว Springnews เป็นสกู๊ปข่าวเกี่ยวกับการจัดซื้อต้นปาล์มในราคาสูงกว่าท้องตลาด ขณะที่เจ้าของสวนนงนุชบอกว่า บริจาคต้นปาล์มให้กับอุทยาน พล.ต.วิจารณ์ บอกว่า ข่าวนี้มีจริงแต่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์กันไปเอง ซึ่งตอนหลังตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่เป็นความจริง การวิจารณ์สามารถทำได้แต่ถ้าหากวิจารณ์โดยไม่ตรวจสอบก็ผิดกฎหมาย
 
พล.ต.วิจารณ์ ตอบคำถามทนายความต่อว่า บุคคลที่มีภาพปรากฏในแผนผังที่จำเลยเผยแพร่ ไม่มีใครมาให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และไม่มีใครมอบอำนาจมาให้ดำเนินคดี มีแต่การดำเนินคดีในนาม คสช. และทาง คสช. ไม่เคยดำเนินคดีกับสื่อมวลชนเหล่านี้ กองทัพบกตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบกรณีข่าวการทุจริต แต่ไม่เคยเห็นรายงานการตรวจสอบ เพราะเป็นความลับของกองทัพบก ทราบเพียงผลว่า ไม่พบการทุจริต 
 
สำหรับแผนผังที่จำเลยถูกฟ้องว่า เป็นคนเผยแพร่นั้น พล.ต.วิจารณ์ ทราบว่า จำเลยไม่ได้เป็นคนทำขึ้นเอง แต่เอามาเผยแพร่ต่อ และในแผนผังเขียนไว้ว่า เป็นเรื่องที่รอการพิสูจน์ 
 
เมื่อการสืบพยานดำเนินมาถึงเวลา ประมาณ 11.00 น. ทนายความแถลงต่อศาลว่า ยังเหลืออีกสองประเด็นที่จะต้องถามพยาน แต่ขณะนี้ถึงเวลาที่จำเลยซึ่งบวชเป็นพระอยู่ต้องฉันเพลแล้ว จึงขอพักการพิจารณาคดี ด้านตุลาการก็แจ้งว่า วันนี้มีประชุมต่อด้วย จึงให้ยุติการสืบพยานวันนี้ไว้เพียงแค่นี้ และเลื่อนไปถามค้านพยานปากนี้ต่อในนัดหน้า ด้านอัยการไม่คัดค้านแต่ขอกำชับให้นัดหน้าทนายความมาถึงศาลเร็วขึ้น หลังจากนั้นทุกฝ่ายตกลงหาวันนัดกันได้เป็นวันที่ 17 สิงหาคม 2561

 

17 สิงหาคม 2561
 
นัดสืบพยานโจทก์ปากพล.ต.วิจารณ์ จดแตง ต่อจากนัดที่แล้ว ศาลขึ้นบัลลังก์เวลาประมาณ 10.00 น. เมื่อขึ้นบัลลังก์ก็สั่งทันทีว่า ผู้ที่มานั่งฟังการพิจารณานั้นห้ามจดบันทึก เนื่องจากทนายความได้ทำหน้าที่จดบันทึกไว้แล้ว จากนั้นก็เริ่มการสืบพยานต่อ โดยนัดที่แล้วฝ่ายทนายจำเลยถามค้านในประเด็นเกี่ยวกับข้อครหาเรื่องการทุจริตในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์เสร็จแล้ว นัดนี้ทนายจำเลยจึงเริ่มถามค้านในประเด็นที่จำเลยถูกกล่าวหาว่า ทำความผิดตามมาตรา 112
 
ทนายความถามว่า คุณทองแดงซึ่งเป็นสุนัขทรงเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ขณะที่จำเลยโพสต์เฟซบุ๊กถึงนั้น เสียชีวิตหรือยัง พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า ไม่ทราบ ทนายความถามว่า คุณทองแดงถือเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่ และประชาชนต้องให้เกียรติหรือแสดงความเคารพต่อคุณทองแดงหรือไม่ พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า ไม่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันฯ และประชาชนไม่จำเป็นต้องเคารพ
 
ทนายความถามว่า ข้อความที่จำเลยโพสต์ถึงคุณทองแดงมีส่วนใดที่กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรงหรือไม่ พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า ไม่มีกล่าวถึงโดยตรง แต่อ่านแล้วเข้าใจได้ว่า เป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ทนายความถามต่อว่า ที่จำเลยโพสต์ว่า "ซาบซึ้ง" นั้นจริงๆ เจตนาเป็นอย่างไร พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า ไม่ทราบว่า ซาบซึ้งจริงๆ หรือประชด เมื่อทนายความถามว่า ความรู้สึกซาบซึ้งผิดกฎหมายหรือไม่ พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า ความรู้สึกของคนไม่ผิดกฎหมาย
 
สำหรับประเด็นที่จำเลยถูกกล่าวหาว่า กดไลค์เพจเฟซบุ๊กชื่อ "ยืนหยัด ปรัชญา" ทนายความถามว่า พยานทราบหรือไม่ว่า การกดไลค์เพจกับการกดไลค์ข้อความในเพจนั้นต่างกัน พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า ทราบ เมื่อทนายความถามว่า จำเลยในคดีนี้กดไลค์เพจแต่ไม่ได้กดไลค์ข้อความใดๆ ในเพจใช่หรือไม่ พล.ต.วิจารณ์ชี้ที่รูปปก (cover) ของเพจและอธิบายว่า เนื่องจากเพจนี้มีข้อความต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ การกดไลค์เพจที่มีภาพนี้จึงเป็นการกดไลค์ข้อความในภาพนั้นด้วย
 
ทนายความเอาภาพถ่ายจากเฟซบุ๊กของจำเลยให้ดูและถามว่า จำเลยกดไลค์เพจเฟซบุ๊กบีบีซีไทย หมายความว่า จำเลยเห็นด้วยกับบีบีซีไทยใช่หรือไม่ พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า ใช่ ทนายความถามว่า การกดไลค์หรือติดตามเฟซบุ๊กชื่อ "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" ผิดกฎหมายหรือไม่ พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า หากเพจนั้นมีข้อความหมิ่นสถาบันฯ ก็จะเป็นความผิด ทนายความจึงถามต่อว่า จำเลยกดไลค์เพจ "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" หรือไม่ พล.ต.วิจารณ์ ตอบว่า ไม่
 
ทนายความถามว่า การกดไลค์เท่ากับเห็นด้วยใช่หรือไม่ พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า ใช่ ทนายความจึงถามต่อว่า ถ้าหากมีคนกดไลค์เฟซบุ๊กศาลทหารแล้ว วันหนึ่งเพจศาลทหารโพสต์ข้อความที่ผิดกฎหมายคนที่กดไลค์เพจจะมีความผิดด้วยหรือไม่ พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า มีความผิด แต่เพจของศาลทหารไม่โพสต์สิ่งที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว ทนายความถามต่อว่า พยานทราบหรือไม่ว่า ในทางเทคนิคการกดไลค์เพจหมายถึงการกดเพื่อติดตามข่าวสารจากเพจ พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า ไม่ทราบ
 
ทนายความถามว่า ขณะที่พยานควบคุมตัวจำเลยไปซักถามในค่ายทหารและทำบันทึกการซักถามที่ส่งต่อศาลแล้วนั้น จำเลยไม่มีทนายความและผู้ที่ไว้วางใจเข้าร่วมการซักถาม และพยานไม่ได้แจ้งสิทธิให้จำเลยทราบก่อนการซักถาม เพราะถือว่า จำเลยยังไม่ใช่ผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ใช่
 
ทนายจำเลยแถงหมดคำถาม
 
อัยการโจทก์ถามติงคำถามเดียวว่า พยานไม่ได้ให้ทนายความเข้าร่วมการสอบสวนจำเลย แต่จำเลยก็ให้การไว้ด้วยความอะไร? พร้อมชี้ข้อความในเอกสารให้ดู พล.ต.วิจารณ์ตอบว่า ด้วยความสมัครใจ และลงลายมือชื่อไว้
 
หลังจากนั้น ทนายความแถลงต่อศาลว่า จากเดิมที่กำหนดวันสืบพยานนัดหน้าไว้เป็นวันที่ 7 กันยายน 2561 ทางจำเลยซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ยังอยู่ในช่วงเข้าพรรษา ปรึกษาพระผู้ใหญ่ที่วัดแล้วเห็นว่า ยังไม่ควรออกจากวัดในช่วงนี้ จึงขอยกเลิกวันนัดที่กำหนดกันไว้เดิมและกำหนดวันนัดใหม่หลังออกพรรษาแล้ว ฝ่ายอัยการโจทก์ไม่คัดค้าน ศาลแจ้งว่า ให้กำหนดวันนัดต่อเนื่องกันไปเลยสามนัด แต่เว้นให้ศาลส่งหมายให้พยานได้ด้วย ทุกฝ่ายจึงตกลงกำหนดวันนัดสืบพยานนัดหน้าเป็นวันที่ 8 พฤศจิกายน, 27 พฤศจิกายน และ 20 ธันวาคม 2561
 
 
3 ตุลาคม 2561 
 
หลังศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และไอลอว์ ออกรายงานข่าวเกี่ยวกับคำเบิกความของพล.ต.วิจารณ์ จดแตง พยานปากแรก ไปเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 ศาลทหารกรุงเทพออกหมายเรียกให้อานนท์ นำภา ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ไปไต่สวนเป็นกรณีพิเศษ ในวันที่ 3 ตุลาคม 2561 โดยสอบถามว่า ทนายความจำเลยนำคำเบิกความที่ขอคัดถ่ายสำเนาจากศาลไปเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกหรือไม่ ซึ่งทนายอานนท์ ตอบว่า เอกสารสำนวนเก็บไว้ที่สำนักงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและเจ้าหน้าที่จะนำไปสรุปเผยแพร่ก็ได้ เพราะเป็นสิทธิในการพิจารณาคดีที่เปิดเผย
 
ระหว่างการไต่สวนมีการโต้เถียงเรื่องการตีความอำนาจในการออกข้อกำหนดเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะระหว่างศาลกับทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปแต่หลังไต่สวนแล้วศาลทหารก็ออกข้อกำหนดว่า ให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบรายงานข่าวดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ภายใน 24 ชั่วโมง และห้ามมิให้ใครก็ตามนำคำเบิกความพยานและการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลในคดีนี้ไปเผยแพร่ มิเช่นนั้นจะถือว่า ละเมิดอำนาจศาล และสั่งห้ามไม่ให้เผยแพร่รายงานกระบวนพิจารณาในวันดังกล่าวด้วย
 
 
4 ตุลาคม 2561 
 
ทนายอานนท์ นำภา ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบในวันที่ 3 ตุลาคม 2561 ที่ศาลสั่งให้ลบรายงานออกจากเว็บไซต์ โดยให้เหตุผลว่า ทนายความไม่จำเป็นต้องขออนุญาตศาลก่อนนำคำเบิกความไปเผยแพร่ เพราะศาลทหารกรุงเทพไม่ได้สั่งพิจารณาคดีฐนกรเป็นการลับ การพิจารณาคดีจึงต้องทำโดยเปิดเผย  เพื่อให้สาธารณชนได้ตรวจสอบความชอบธรรม และศาลได้แสดงให้ประชาชนเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมาย การรายงานข้อมูลดังกล่าวเป็นการเผยแพร่ข้อเท็จจริงในคดี ไม่ได้นำเอกสารคำเบิกความ หรือรายงานกระบวนพิจารณาของศาลทหารมาเผยแพร่ และเนื้อหาที่รายงานก็ตรงกับที่พยานได้เบิกความต่อศาล ไม่ได้บิดเบือนอันจะก่อให้เกิดความเสียหาย หรือทำให้กระทบต่อความยุติธรรมในคดี ทั้งพยานที่ถูกกล่าวหาในข่าวก็ไม่เคยทำหนังสือร้องเรียนหรือแจ้งว่าได้รับความเสียหายต่อศาลแต่อย่างใด
 
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 ให้อำนาจศาลออกข้อกำหนดเฉพาะเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล หรือเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเที่ยงธรรมและรวดเร็วเท่านั้น แต่คำสั่งศาลดังกล่าวออกมาเพื่อปกป้องศาลและพยานจากการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตจากบุคคลอื่น และเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นของบุคคลเกินความเหมาะสม
 
ดูสรุปคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีได้ที่เว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
 
5 ตุลาคม 2561
 
ศาลทหารกรุงเทพสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ พร้อมยืนยันคำสั่งเดิมให้ลบรายงานข่าวออกจากเว็บไซต์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยให้เหตุผลว่า คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา การนำคำเบิกความของพยานไม่ว่าฝ่ายใดไปเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปทราบ ย่อมมีผลต่อการชี้นำสังคมให้รูปคดีเป็นไปตามที่ฝ่ายตนต้องการ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 36 (2) ที่ห้ามไม่ให้เปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งหมดหรือบางส่วนแห่งคดี
 
ต่อมาศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งที่ให้ลบรายงานข่าวต่อศาลทหารกลางด้วย
 
 
8 พฤศจิกายน 2561
 
ศาลทหารกรุงเทพนัดสืบพยานโจทก์ต่อ โดยในวันนี้มีผู้สังเกตการณ์จากสหประชาชาติ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) และสมาคมนักกฏหมายสิทธิมนุษยชนมาร่วมฟังการพิจารณาคดีด้วย เมื่อศาลขึ้นบัลลังก์ ศาลยังไม่ได้กล่าวถึงกรณีคำสั่งที่ให้ลบรายงานข่าวออกจากเว็บไซต์ เพียงแค่แจ้งว่า ขอความร่วมมือผู้มาฟังการพิจารณาอย่าจดบันทึก แต่อนุญาตให้เสมียนทนายมานั่งข้างทนายความจำเลยเพื่อจดบันทึกได้
 
การสืบพยานเริ่มขึ้นในเวลาประมาณ 9.30 น. พล.ต.ต.สุรศักดิ์ ขุนณรงค์ เบิกความว่า ปัจจุบันรับราชการเป็นผู้บังคับการกองปราบปรามยาเสพติด ขณะเกิดเหตุรับราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่ประสานงานสำนักนายกรัฐมนตรีและเป็นฝ่ายสืบสวนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในคดีนี้เป็นผู้ร่วมซักถามจำเลยระหว่างถูกควบคุมตัวที่มณฑลทหารบกที่ 11 ร่วมกับ พล.ต.วิจารณ์ จดแตง
 
พล.ต.ต.สุรศักดิ์ เบิกความว่า ระหว่างการซักถามจำเลยได้ทำบันทึกไว้ซึ่งนำมาเสนอต่อศาล ซึ่งจำเลยให้การยอมรับว่า เป็นผู้นำภาพแสดงแผนผังการทุจริตในโครงการอุทยานราชภักดิ์ ไปโพสต์ลงในกลุ่ม “สถาบันคนเสื้อแดงแห่งชาติ” และกดไลค์เพจที่มีข้อความเข้าข่ายการหมิ่นสถาบันฯ จริง 
 
พล.ต.ต.สุรศักดิ์ ตอบคำถามทนายความว่า ตำแหน่งสืบสวนได้รับการแต่งตั้งโดย คสช. ไม่ใช่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ทราบว่าขณะนั้นตนเองและ พล.ต.วิจารณ์มีอำนาจสอบสวนหรือไม่ แต่มีอำนาจสืบสวน การเชิญตัวบุคคลมาซักถามในขั้นตอนนี้ไม่ทราบว่า บุคคลที่ถูกเชิญจะไม่มาได้หรือไม่ ขณะทำการซักถามทำในห้องควบคุมตัวภายใน มทบ.11 ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ทำได้ตามคำสั่ง คสช. และไม่ใช่การหลีกเลี่ยงกระบวนการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แม้จะมีหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจสอบสวนในความผิดคดีนี้อยู่แล้ว เช่น สภ.เมืองสมุทรปราการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) และมีการสืบทราบการกระทำความผิดก่อนหน้าที่จะเชิญตัวจำเลย
 
บึนทึกการซักถามภายใน มทบ.11 ทำโดยเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นการบันทึกแบบสรุปให้เข้าประเด็น ไม่ได้บันทึกตามทุกคำที่จำเลยตอบ ขณะซักถามไม่มีทนายความหรือผู้ไว้วางใจของจำเลยอยู่ร่วม พยานไม่ได้แจ้งสิทธิแก่จำเลย แต่แจ้งว่าบันทึกการซักถามจะถูกใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาล ซึ่งการแจ้งให้ทราบนี้ไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเนื่องจากเห็นว่า จำเลยจะต้องลงชื่อโดยความสมัครใจอยู่แล้ว
 
สำหรับประเด็นการโพสต์ภาพแผนผังเกี่ยวกับการทุจริตในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ พล.ต.ต.สุรศักดิ์ ตอบคำถามทนายความว่า ในการซักถามจำเลยครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558 จำเลยยังไม่ยอมรับว่า ข้อความในภาพนั้นเป็นความเท็จ โดยให้การว่าทำไปเพื่อต่อต้านและต้องการให้เปลี่ยนรัฐบาลที่บ่ายเบี่ยงปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริตในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ แต่ในการซักถามเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558 จำเลยยอมรับว่าข้อความในภาพไม่เป็นความจริง ทำไปเพราะต้องการป้ายสี คสช.  ซึ่งระหว่างการควบคุมตัวในคืนวันที่ 8 ธันวาคม 2558 จะเกิดอะไรขึ้นกับจำเลยนั้น ไม่ทราบ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่า ไม่เกิด เพราะจำเลยไม่ได้แจ้ง
 
พล.ต.ต.สุรศักดิ์ พยายามหลีกเลี่ยงการตอบคำถามเกี่ยวกับ ข้อสงสัยในข้อกล่าวหาการทุจริต แต่ยอมรับว่า ไม่ได้เรียกบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตตามที่ปรากฏในภาพมาซักถามเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง พล.ต.ต.สุรศักดิ์ เห็นว่า หากมีข้อกล่าวหาที่มีมูลต่อรัฐบาล ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่ต้องไม่ผิดกฎหมาย หรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น ต้องไม่ยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนคนอื่นออกมาเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งกรณีของจำเลยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
 
สำหรับประเด็นการกดไลค์เพจ “ยืนหยัด ปรัชญา” พล.ต.ต.สุรศักดิ์ ตอบคำถามทนายความว่า ใช้เฟซบุ๊กส่วนตัวอยู่บ้าง แต่ไม่เคยกดไลค์อะไร เพราะเป็นเรื่องของเด็กๆ ไม่เคยทำเพจเฟซบุ๊ดของตัวเอง เคยโพสต์เรื่องครอบครัวบ้างแต่ไม่บ่อย ทราบว่า คดีนี้จำเลยถูกฟ้องว่ากดไลค์เพจ ในการซักถามไม่ปรากฏว่า จำเลยกดไลค์ข้อความใดในเพจ ซึ่ง พล.ต.ต.สุรศักดิ์ เห็นว่า สำหรับเพจที่มีข้อความหมิ่นสถาบันฯ แม้เพียงประชาชนไปกดติดตามหรือกดไลค์ก็มีความผิดแล้ว
 
สำหรับประเด็นการกล่าวถึงคุณทองแดงว่า ซาบซึ้งนั้น พล.ต.ต.สุรศักดิ์ ยอมรับว่าคุณทองแดงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ขอออกความเห็นว่า ประชาชนจะต้องประชาชนจะต้องเคารพหรือปฏิบัติต่อคุณทองแดงอย่างไร แต่จากการอ่านข้อความในภาพรวมเข้าใจได้ว่าเป็นการหมิ่นสถาบันฯ ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ทนายความพยายามจะถามให้ได้ความว่า ข้อความใดที่เป็นการดูหมิ่น และเป็นการดูหมิ่นอย่างไร ขณะที่พล.ต.ต.สุรศักดิ์ พยายามไม่ตอบคำถามและอธิบายเช่นเดิมว่า เข้าใจได้จากข้อความทั้งหมด ทำให้มีการใช้เสียงดังใส่กัน จนศาลต้องเตือนว่า ขอให้ทนายความใช้กริยาให้ดีเพราะพยานเป็นถึงนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ขณะที่เรียกพยานว่า “ท่านนายพล”
 
ทนายความถามว่า ข้อความที่ฟ้องนั้นกระทบต่อสถาบันกษัตริย์ฯ แต่ไม่ได้กระทบต่อตัวในหลวงโดยตรงใช่หรือไม่ พล.ต.ต.สุรศักดิ์ ตอบว่า ใช่
 
ด้านอัยการทหารถามติงว่า เหตุใดจึงเชื่อว่า ในคืนวันที่ 8 ธันวาคม 2558 ไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นกับจำเลย พล.ต.ต.สุรศักดิ์ตอบว่า เนื่องจากไม่เห็นว่าจำเลยมีบาดแผล และจำเลยไม่ได้แจ้งอะไรให้ทราบ อัยการยังถามด้วยว่า เพจที่จำเลยกดไลค์มีข้อความอย่างไร พล.ต.ต.สุรศักดิ์ ชี้ไปที่ภาพปก (cover) ของเพจและอธิบายว่า มีข้อความลักษณะหมิ่นสถาบันฯ
 
 
20 ธันวาคม 2561
 
นัดสืบพยานโจทก์ปากที่สอง คือ  พ.ต.อ.โสภณ มงคลโสภณรัตน์  ผู้กล่าวหาจำเลย
 
เวลา 09.30 น. ศาลทหารกรุงเทพนัดสืบพยานโจทก์ปากที่สอง
 
พ.ต.อ.โสภณ เบิกความว่า ปัจจุบันรับราชการตำแหน่ง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรบางพลี เมื่อปี 2558 รับราชการตำแหน่งผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรปราการ ช่วงเวลาเกิดเหตุได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ดำเนินการสืบสวนคดีของจำเลย ซึ่งสงสัยว่า เป็นผู้โพสต์ข้อความและกดไลค์เฟซบุ๊กในลักษณะดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และใส่ร้ายนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เกี่ยวกับการทุจริตโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ อัยการขออนุญาต ศาลให้พยานชี้ตัวจำเลย พยานชี้ฐนกร
 
พยานเบิกความต่อว่า หลังจากค้นหาหลักฐานและได้ตัวจำเลยมาตรวจสอบ พบว่า ฐนกรเป็นผู้กระทำความผิดจริง จึงได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยตามกฎหมาย ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่า คดีดังกล่าวเป็นเรื่องของความมั่นคง ฝ่ายทหารจึงได้ติดต่อมาขอรับตัวจำเลยไปดำเนินการต่อ
 
ทนายจำเลยถามค้านว่า ก่อนที่จะมีการร้องทุกข์ในคดีนี้ ผู้บังคับบัญชาที่มอบหมายให้พยานดำเนินการสอบสวนคือใคร และพยานได้รับคำสั่งในวันที่เท่าไร  พ.ต.อ.โสภณ  ตอบว่า ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการในขณะนั้น สั่งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558 ทนายความถามต่อไปว่า ปกติแล้วพยานใช้เฟซบุ๊กหรือไม่ แล้วเมื่อได้รับคำสั่งพยานได้เข้าไปตรวจสอบเฟซบุ๊กที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามอ้างหรือไม่ พยานตอบว่า ปกติไม่ค่อยใช้เฟซบุ๊ก ในการตรวจสอบส่วนนี้จึงมอบหมายให้ฝ่ายสืบสวนเป็นผู้ดำเนินการ แต่ไม่ได้จัดทำรายงานการสืบสวน เป็นแต่เพียงการเปิดดูร่วมกัน
 
ทนายจำเลยถามอีกว่า ในการสืบสวนพยานและคณะได้ขอการสนับสนุนจากหน่วยงานด้านไอที เกี่ยวกับหมายเลข ไอพีแอดเดรส ที่จำเลยใช้ในการโพสต์ข้อความดังกล่าวหรือไม่ พยานตอบว่า ได้ขอสนับสนุนจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ทนายถามพยานต่อว่า ปอท.ได้แจ้งให้พยานทราบหรือไม่ว่า หมายเลขไอพีแอดเดรสจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการโพสต์ข้อความ มาจากหมายเลขใด เครือข่ายใด และจากสถานที่ใด พยานตอบว่า ปอท.ไม่ได้แจ้งรายละเอียดทั้งหมด แต่แจ้งว่า ผู้โพสต์ข้อความ คือ ตัวฐนกรจริง ทนายความจึงถามเพิ่มว่า ที่ว่าแจ้งมาจาก ปอท. นั้น เป็นการแจ้งทางวาจาใช่หรือไม่ พยานรับว่า “ใช่”
 
พ.ต.อ.โสภณ เล่าต่อว่า ตนและชุดสืบสวน สภ.เมืองสมุทรปราการไปที่บ้านของฐนกร ส่วนชุดที่ควบคุมตัวมาจากบริษัทที่ทำงาน คือ กำลังของฝ่ายทหารและตำรวจ สภ.บางปู ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องที่ ภายหลังจากควบคุมตัวแล้ว ฐนกรจึงถูกส่งมายัง สภ.เมืองสมุทรปราการในความรับผิดชอบของตน ทนายความถามว่า ทหารและตำรวจที่ไปควบคุมตัวฐนกร มีจำนวนเท่าใดและฝ่ายละกี่คน พยานตอบว่า ไม่ทราบ
 
พ.ต.อ.โสภณตอบคำถามทนายความว่า ไม่ทราบว่าข้อความที่จำเลยโพสต์นั้นเป็นความจริงหรือไม่ ก่อนร้องทุกข์กล่าวโทษ ยอมรับว่า ไม่ได้ตรวจสอบไปยังบุคคลที่ปรากฏในแผนผัง ทั้งไม่ทราบว่า โครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์นั้นดำเนินการโดยหน่วยงานใด มีงบประมาณทั้งสิ้นเท่าไหร่ ได้รับการจัดสรรจากส่วนไหน และราคาวัสดุที่ใช้ก่อสร้างถูกหรือแพงกว่าราคาตลาด เมื่อทนายความถามว่า ตัวพยานซึ่งเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษเองไม่ได้เป็นบุคคลที่ปรากฏอยู่ในข้อความของจำเลยใช่หรือไม่  พยานรับว่า “ใช่”
 
ทนายความถามว่า ทราบหรือไม่ว่าประชาชนมีสิทธิตรวจสอบ โดยผ่านทางการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่ เช่น คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ  พยานตอบว่า ไม่ทราบ
 
จากนั้นถามพยานว่า ทราบหรือไม่ว่าขณะเกิดเหตุบุคคลที่ปรากฏในข้อความตามข้อกล่าวหา ได้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.อ.ประวิตร  วงสุวรรณ และพล.อ.อุดมเดช  สีตะบุตร เป็นผู้มีตำแหน่งอยู่ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. พยานปฏิเสธว่า ไม่ทราบ ทนายความจึงถามว่า แล้วพยานทราบหรือไม่ว่า โดยตำแหน่ง หัวหน้า คสช. สามารถใช้ ม.44 ในการให้คุณให้โทษกับหน่วยงานข้างต้นได้ พยานตอบอีกว่า “ไม่ทราบ”
 
เวลา 11.00 น. สิ้นสุดการสืบพยานปากนี้ ศาลทหารกรุงเทพ นัดสืบพยานฝ่ายโจทก์ปากที่สี่ คือ  ร.ต.ท.นเรศ พึ่งญาติ ในวันที่ 9 และ 29 เมษายน 2562 
 
 
9 เมษายน 2562
 
สืบพยานโจทก์ร.ต.อ.นเรศร์ ปลื้มญาติ เจ้าหน้าที่ตํารวจปอท. ผู้ตรวจหน้าเพจ facebook หลังสืบพยานปากนี้เสร็จสิ้น ทนายความจําเลยแถลงขอยกเลิกนัดในวันที่ 29 เมษายน 2562 ที่นัดไว้เดิ เนื่องจากจําเลยติดภารกิจเป็นพระพี่เลี้ยงอบรมสามเณรภาคฤดูร้อน ศาลพิจารณาแล้วมีเหตุอันสมควรจึงให้ยกเลิกนัดดังกล่าว
 
นัดสืบพยานโจทก์ปากต่อไป ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เวลา
09.00 น.
 
27 พฤษภาคม 2562
 
สืบพยานโจทก์ พ.ต.อ.นิพนธ์ ทองแสวงบุญญา ตํารวจ ปอท. ผู้บังคับบัญชาผู้ตรวจหน้าเฟซบุ๊กแล้วเสร็จ
 
นัดสืบพยานโจทก์ปากต่อไป พ.ต.อ.ธวัชชัย สายกระสุน ในวันที่ 22 ตุลาคม 2562 สาเหตุที่นัดช้าเนื่องจากทนายความแถลงต่อศาลว่า จำเลยเป็นพระภิกษุและในช่วงเข้าพรรษาระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมพระผู้ใหญ่ต้องการให้อยู่วัด ไม่สะดวกเดินทางออกนอกวัด จึงนัดพิจารณาต่ออีกครั้งหลังออกพรรษาแล้ว
 
 
9 สิงหาคม 2562

นัดพร้อม เพื่ออ่านคำสั่งโอนย้ายคดี

แม้คดีนี้จะมีวันนัดสืบพยานไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่ศาลทหารกรุงเทพโทรศัพท์ไปยังทนายความของจำเลย นัดให้จำเลยมาฟังคำสั่งในวันนี้ เวลาประมาณ 8.30 น.

ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเดินทางมาที่ศาลทหารกรุงเทพ แต่ ฐนกร ซึ่งเป็นจำเลยในคดีนี้ ขณะนี้ได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งอยู่ในช่วงเข้าพรรษาทำให้ไม่สามารถเดินทางออกจากวัดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจนสว่างมากพอที่จะเห็นลายมือบนมือได้ และประกอบกับไม่สามารถจำวัดที่อื่นได้นอกจากวัดที่ตนเข้าพรรษา พระฐนกรที่เดินทางจากจังหวัดอ่างทองมาที่ศาลทหารกรุงเทพ จึงมาถึงล่าช้า

เวลาประมาณ 12.00 พระฐนกรเดินทางมาถึงศาลทหารกรุงเทพ ศาลได้ออกนั่งพิจารณาคดี และอ่านคำสั่งศาลมีใจความว่า เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 ได้มีคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 9/2562 การยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บางฉบับที่หมดความจำเป็น ตามข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกี่ยวกับการกำหนดให้คดีอยู่ในอำนาจของศาลทหาร ตามที่ระบุในบัญชีสองท้ายคำสั่งนี้ กำหนดให้คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารตามประกาศและคำสั่งดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป แต่ให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม

จึงให้งดการสืบพยานจำเลยในวันนี้และงดการพิจารณาไว้ชั่วคราวและให้โอนคดีไปศาลยุติธรรมกับจำหน่ายคดีจากสารบบความในศาลนี้ ให้มีหนังสือไปสำนักงานศาลยุติธรรม ให้จ่าศาลคัดถ่ายสำนวนคดีเก็บไว้ที่ศาลนี้ด้วย และสัญญาประกันให้มีผลต่อไป
 

20 มกราคม 2563

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลจังหวัดสมุทรปราการได้นัดพร้อมในคดีของ ฐนกร เพื่อนัดวันสำหรับสืบพยานต่อ หลังโอนย้ายคดีมาจากศาลทหารกรุงเทพ โดยเหลือพยานโจทก์ที่ยังไม่ได้สืบทั้งหมด 10 ปาก และพยานจำเลยอีก 6 ปาก ศาลให้วันนัดสืบพยานโจทก์ 2 นัด พยานจำเลย 1 นัด และกำหนดวันนัดสืบพยานในเดือนมิถุนายนระหว่างวันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2563 ทุกนัดเริ่มเวลา 9.00 – 16.00 น.

24 มิถุนายน 2563 
 
สืบพยานโจทก์ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ
 
สืบพยานโจทก์ปากที่หก พลโท บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารผู้ร่วมสอบสวนจำเลย
 
พยานตอบคำถามอัยการถามว่า อายุ 51 ปี ประจำอยู่ที่สำนักงานพระธรรมนูญ กองทัพบก กรณีนี้เกิดขึ้นในปี 2558 ในช่วงนั้นพยานเป็นฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา กองทัพบก ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ช่วงวันที่ 8-14 ธันวาคม 2558 ทหารคุมตัวจำเลยมาไว้ที่มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) วันที่ 14 ธันวาคม เมื่อครบกำหนด 7 วัน ได้มีคำสั่งให้พยานนำตัวจำเลยส่งตำรวจที่กองปราบปราม 
 
พยานทราบเรื่องนี้จากกระบวนการสอบสวนตอนอยู่ที่ มทบ.11 ว่าช่วงนั้นมีกิจรรม Bike for Dad และพอดีกับที่มีการเปิดตัวอุทยานราชภักดิ์ และมีการจับกุมดำเนินคดีมาตรา 112 กับคนหลายคน เนื่องจากมีกลุ่มบุคคลที่ทำแผนผังอุทยานราชภักดิ์โดยพยายามโยงกับสถาบัน เผยแพร่กันในเฟซบุ๊ก ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ไปควบคุมตัวจำเลย เพราะการแชร์แผนผังดังกล่าว จากการตรวจสอบโทรศัพท์พบว่า มีการโพสต์รูปหมิ่นฯ โดยเอามาจากเพจสถาบันคนเสื้อแดงแห่งชาติซึ่งจำเลยได้กด like ในเพจ ยังมีห้องย่อยที่มีเนื้อหา “หมิ่นทั้งหมด”  อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสอบสวนเรื่องนี้ เพียงแต่ได้ฟังตอนที่มีการสอบสวน 
 
ศาลถามว่า เหตุผลหลักที่จับกุมจำเลยมาเพราะมีการดูหมิ่นกองทัพเรื่องอุทยานฯ และมีการโยงสถาบันด้วยใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ใช่ และขยายความว่าในเพจจะมีห้องย่อยชื่อ “ยืนหยัดปรัชญา” ซึ่งไม่แน่ใจว่า ผู้ดูแลห้องอยู่ในประเทศไหม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้อธิบายให้พยานฟังว่า การกด like กับ share นั้นคล้ายกัน เพราะเพื่อนของเจ้าของบัญชีจะเห็นว่าเขา like หรือ  share สิ่งใด พยานได้ลองทดสอบดูกับบัญชีเฟซบุ๊กตัวเองก็เห็นจริงตามนั้น การกด like จึงเป็นความผิดฐานเผยแพร่ ส่วนผังอุทยานฯ เป็นการดึงรูปมาแล้วโพสต์ในมือถือของจำเลยเอง 
 
อัยการถามเรื่องสุนัขทรงเลี้ยง พยานตอบว่า ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เท่าไร ทราบเพียงว่า มีการโพสต์เรื่องคุณทองแดงด้วย อย่างไรก็ตาม ในสถานการเช่นนี้การโพสต์เรื่องอุทยานฯ รวมไปถึงพูดกันไปเรื่องความตายระหว่างควบคุมตัวของหมอหยองด้วยในช่วงนั้น ทำให้กลุ่มของพวกเขามีความเกลียดชังสถาบัน 
 
พยานตอบคำถามต่อไปว่า จำเลยแจ้งว่าจะรับสารภาพ หลังจากนั้นจะไปบวช 
 
ทนายจำเลยถามค้าน
 
พยานตอบทนายจำเลยเรื่องชั้นสอบสวนว่า ระหว่างที่จำเลยให้การกับตรวจ จำเลยรับสารภาพ พยานก็เห็นว่า การรับสารภาพเป็นการดี จึงบอกว่าจะบันทึก VDO ให้ เพื่อเอาไว้ในการลดโทษได้ อย่างไรก็ตาม พยานมีหน้าที่แค่ควบคุมตัวไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเนื้อหาโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการอุทยานราชภักดิ์ และไม่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนของพนักงานสอบสวน เพียงแต่นั่งฟังการสอบสวนเฉยๆ 
 
ทนายถามเรื่องเพจเฟซบุ๊ก พยานตอบว่า เพจสถาบันคนเสื้อแดงฯ เป็นโครงใหญ่ แล้วซอยห้องย่อย มีชื่อ ยืนหยัดปรัชญา ภาพหมิ่นหลายคดีก็ดึงไปจากคนนี้แล้วไปกระจายกัน ทนายถามว่าเป็นห้องย่อยยืนหยัดปรัชญาเป็นส่วนหนึ่งของเพจสาถบันคนเสื้อแดงใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ใช่ ทนายถามว่า ได้สาธิตให้พนักงานสอบสวนดูไหมว่าการกดไลค์เพจจะทำให้เพื่อนเห็นเนื้อหานั้นๆ พยานตอบว่าไม่ได้สาธิตให้ใครดู แต่ยืนยันว่า เป็นเช่นนั้นพร้อมยกตัวอย่างว่า  หากกดไลค์เพจประชาไท  มันจะขึ้นสิ่งที่ประชาไทโพสต์ (ศาลไม่ได้บันทึกการยกตัวอย่าง) 
 
ทนายถามว่า สมัยก่อนไม่มีปุ่ม ติดตาม แต่ใช้ปุ่ม like แทน พยานทราบหรือไม่ พยานตอบว่า ไม่มีปุ่มติดตามเพราะไม่ใช่เพจ ในภาพตามเอกสารไม่ใชเพจหลัก ถ้าเข้าไปดูโพสจะเห็นแค่ปุ่มแชร์กับถูกใจ 
(ศาลเอกสารไปดูแล้วบันทึกว่า สาเหตุที่ไม่มีปุ่มติดตาม เพราะเป็นกลุ่มย่อยของเพจหลัก โดยเพจหลักสถาบันคนเสื้อแดงแห่งชาติจะมีปุ่มติดตาม) 
 
ทนายถามว่า ตอนสอบสวนจำเลยที่มทบ.11 เหตุที่ทหารไม่แจ้งสิทธิก่อนเป็นเพราะอะไร พยานตอบว่า เพราะเป็นอำนาจการควบคุมตัวพิเศษ การแจ้งสิทธิกระทำในชั้นพนักงานสอบสวน
 
ทนายถามว่า พยานทราบหรือไม่ว่า มีข่าวการทุจริตทั้งกิจกรรม Bike for Dad และอุทยานราชภักดิ์ พยานตอบว่า ทราบและมีกระแสที่โยงว่าสถาบันอยู่เบื้องหลัง ไม่ทราบว่า แผนผังในคดีนี้จะกล่าวถึงสถาบัหรือไม่ เพราะไม่ได้ดูรายละเอียด นอกจากนี้ยังตอบทนายด้วยว่า คนที่โดนคดี 112 เพราะเอาสถาบันไปแอบอ้างนั้นมีทั้ง ทหาร ตำรวจ พลเรือน ส่วนคนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงจัดกิจกรรมตรวจสอบการทุจริตอุทยานราชภัพดิ์ จำได้เพียงว่าเป็นกลุ่มนักศึกษาประชาชนนั่งรถไฟไปตรวจสอบ 
 
อัยการถามติง
 
อัยการถามติงว่า กองทัพบกได้แถลงข่าวการตรวจสอบแล้วว่า ไม่มีการทุจริตในโครงการอุทยานราชภักดิ์ ใช่หรือไม่ (นำเอกสารข่าวให้ดู) พยานตอบว่า ใช่ และเสริมว่า มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินด้วยที่เข้าไปตรวจสอบและไม่พบการทุจริต ดังนั้น ใครเขียนหรือแชร์ข่าวว่า ทุจริต จึงเป็น ความเท็จ (อัยการอ้างส่งข่าว ศาลบอกว่า เอกสารนี้ไม่ได้มีอยู่ในบัญชีพยานตั้งแต่แรก การส่งเข้ามาภายหลังต้องให้ทนายได้ถามค้าน และศาลจะจดบันทึกเป็น อัยการขออนุญาตถาม อัยการไม่ขัดข้อง) 
 
ทนายจำเลยถามค้านว่า พล.อ.อุดมเดช สีตะบุตร ผบ.ทบ.ขณะนั้นเคยให้ข่าวว่า มีการหักค่าหัวคิวส่วนต่างจริง แต่ไม่เป็นการทุจริตเพราะมีการคืนไปแล้ว ทราบหรือไม่ พยานบอกว่า ไม่มั่นใจ เพราะเหตุการณ์เกิดนานมากแล้ว ทนายย้ำอีกว่า พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ก็เคยมีคลิปออกมาว่า กรณีนี้มีทุจริตแน่ เคยได้ยินหรือไม่ พยานตอบว่า เคยได้ยิน และอธิบายว่า แม้กองทัพบกถูกกล่าวหา และกองทัพบกเป็นผู้ตรวจสอบเอง ก็ถือว่าน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม พยานไม่ได้นำส่งรายงานของกองทัพบกและรายงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินต่อศาล
 
 
สืบพยานโจทก์ปากที่เจ็ด พ.ต.ท.ธวัชชัย สายกระสุน ตำรวจผู้สืบสวนกิจกรรมเกี่ยวกับอุทยานราชภักดิ์
 
พยานตอบคำถามอัยการถามว่า อายุ 47 ปี ประจำอยู่ที่กองกำกับการ6 กองบังคับการตำรวจสันติบาล 1 ขณะเกิดเหตุคดีนี้​ เป็นสารวัติรับผิดชอบดูการเคลื่อนไหวในพื้นที่กรุงเทพฯ พบการเปิดประเด็นทุจริตอุทยานราชภักดิ์ ทำให้กลุ่มนักศึกษาจัดกิจกรรม “โครงการส่องไฟหาการทุจริต” กิจกรรมเริ่ม 7 ธันวาคม 2558 ให้คนรวมตัวกันที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย วันนั้นก็นั่งรถไฟไปด้วยเพื่อสังเกตการณ์ แกนนำ คือ สิรวิชญ์หรือจ่านิว มีประชาชนนั่งรถไฟไปประมาณ 50 คนนั่งไปถึงสถานีบ้านโป่ง จ.ราชบุรี ก็ถูกตัดขบวน เจ้าหน้าที่ทหารให้ลงที่นี่แต่นักศึกษาไม่ยอมเลยถูกควบคุมตัว อย่างไรก็ตาม ตนเองไม่ได้สืบสวนเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลย 
 
อัยการถามว่า หากมีคนเขียนเรื่องไม่จริงในประเด็นนี้จะทำให้บ้านเมืองเป็นอย่างไร พยานตอบว่า การปลุกประเด็นทุจริต คนสนใจมาก กระแสจะแรงมาก มีคนร่วมตรวจสอบเยอะ น่าจะลุกลามบานปลายเป็นความวุ่นวายได้ 
 
ทนายจำเลยถามค้าน 
 
พยานตอบทนายว่า ทราบว่าโครงการอุทยานราชภักดิ์ มีพล.อ.อุดมเดช เป็นประธาน ส่วนที่พล.อ.อุดมเดชออกมาให้ข่าวยอมรับว่า มีการหักค่าหัวคิว ได้ตามอ่านข่าวอยู่ ส่วนเรื่องต้นปาล์มที่ได้รับบริจาคมาแต่มาเขียนเบิกต้นละแสนนั้น ไม่ทราบมาก่อน และที่นายกฯ ให้ข่าวว่า จะดำเนินคนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตทั้งหมดนั้น จำไม่ได้ 
 
 
1 ตุลาคม 2563
 
สืบพยานจำเลย
 
ศาลจังหวัดสมุทรปราการนัดสืบพยานจำเลย โดยจำเลยที่ยังมีสถานะเป็นพระภิกษุ มาศาลพร้อมกับทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ฝ่ายจำเลยนำพยานเข้าเบิกความสามปาก ได้แก่ ตัวจำเลยเอง ดร.อิสระ ชูศรี นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล มาเบิกความเรื่องการตีความข้อความที่ถูกฟ้องในคดีนี้ และยิ่งชีพ อัชฌานนท์ จาก iLaw มาเบิกความเรื่องกระบวนการยุติธรรมในยุคของ คสช. และความหมายของการกดไลค์บนเฟซบุ๊เพจ
 
สืบพยานจำเลยปากที่ 1 ฐนกร จำเลย
 
ฐนกร ซึ่งเป็นพระภิกษุจึงไม่ต้องสาบานตัว เบิกความว่าขณะเกิดเหตุอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 8 ธันวาคม 2558 ถูกตำรวจนอกเครื่องแบบพาตัวจากที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปู ไปที่สภ.บางปู จากนั้นไปที่สภ.เมืองสมุทรปราการ มีทหารสั่งให้เข้ารหัสโทรศัพท์มือถือเพื่อตรวจสอบเรื่องผังทุจริตอุทยานราชภักดิ์ พยานเปิดโทรศัพท์ให้ทหารคนดังกล่าวดูและรับว่าเป็นคนโพสเอง โดยนำมาจากในเฟซบุ๊ก 
 
หลังจากนั้นทหารพาตัวไปค่ายทหารบริเวณถนนร่มเกล้า โดยทหารไม่ให้พบทนายความหรือครอบครัว  สี่วันแรกถูกกักขังอย่างเดียว ไม่ได้ถูกกระทำรุนแรง วันที่ห้าถูกพาตัวไปที่ มทบ.11 เพื่อซักถามเกี่ยวกับแผนผังอุทยานราชภักดิ์ ทหารถามว่า เป็นคนทำแผนผังใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ก๊อปปี้มาอีกที
 
ฐนกรเล่าว่า ขณะอยู่ที่ มทบ.11 คืนแรก ทหารนำขวดแก้วใส่น้ำเกลือแร่ทุบที่ท้ายทอยของพยาน แต่ขวดไม่แตก พยานรู้สึกเจ็บ และในค่ายทหารไม่มีโอกาสติดต่อญาติหรือทนายความ ขณะนั้นรู้สึกเป็นห่วงคนในครอบครัว หลังครบระยะเวลาควบคุมตัว 7 วัน ถูกนำตัวส่งกองบังคับการปราบปราม ในชั้นสอบสวนพยานไม่ได้สิทธิในการพบญาติแต่ตำรวจตั้งทนายความมาร่วมฟังการสอบสวนให้ ในชั้นสอบสวนให้การไปด้วยความไม่เต็มในเพราะกลัวถูกนำกลับไปคุมขังที่ค่ายทหาร
 
ฐนกรเล่าวว่า ขณะเกิดเหตุมีข่าวการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการต่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ที่ทหารเป็นผู้จัดสร้าง สาเหตุที่พยานโพสเพื่อให้มีการตรวจสอบว่า โครงการดำเนินการโดยถูกต้องหรือไม่ ไม่มีเจตนาให้ประชาชนกระด้างกระเดื่องหรือทำผิดกฎหมาย
 
ขณะอยู่ที่ มทบ.11 มีคนนำภาพเพจ “ยืนหยัดปรัชญา” มาให้ดู พยานก็ยืนยันว่ากดไลค์เพจนี้ เพื่อติดตามข่าวสารในเพจ แต่ไม่ได้ถูกใจภาพปก พยานกดไลค์เพจเดือนกันยายนปี 2558 ขณะนั้นภาพปกไม่ใช่ภาพที่ทหารนำมาให้ดู ภาพปกถูกโพสเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2558 ส่วนรูปประจำตัวของเพจเปลี่ยนเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558 เหตุที่ติดตามเพจนี้ไม่มีเจตนาจะดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 
 
ส่วนภาพสุนัข พยานเป็นคนโพสเองแต่แคปภาพมาจากทวิตเตอร์และนำมาโพสบนเฟซบุ๊กพร้อมพิมพ์ข้อความประกอบว่า “อ่านคอมเม้นต์แล้วซาบซึ้งจัง” พยานเลือกคอมเม้นต์ที่สุภาพที่สุดมาใส่ ความจริงมีคอมเม้นต์อื่นที่หยาบคาย พยานไม่ได้นำมาใส่ด้วย พยานไม่มีเจตนาดูหมิ่นหรืออาฆาตมาดร้ายต่อสถาบัน ในขณะที่โพสรู้สึกซาบซึ้งจริงๆ 
 
พยานเป็นผู้จงรักภักดีและอุปสมบทหลังออกจากเรือนจำในปี 2559 หลังรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตจึงตั้งใจบวชอุทิศให้จนถึงปัจจุบัน
 
ฐนกรตอบคำถามค้านว่า ในปี 2558 พยานใช้งานทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ จำไม่ได้ว่าเริ่มสนใจการเมืองตั้งแต่เมื่อใด พยานไม่ได้สังเกตว่าในแผนผังทุจริตอุทยานราชภักดิ์ มีภาพพระมหากษัตริย์ รูปพล.อ.ประยุทธ์ และพล.อ.ประวิตร แต่สนใจในเนื้อหาจึงนำมาโพสต่อ ขณะเกิดเหตุพยานติดตามข่าวเนื่องจากเป็นประชาชนจึงไม่สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมดว่า เรื่องใดทุจริตจริงหรือไม่ 
 
พยานไม่ทราบว่า การกดไลค์เพจแล้วจะทำให้เพื่อนบนเฟซบุ๊กเห็นเนื้อหานั้นๆ แต่กดไลค์เพื่อติดตามข่าวสารเท่านั้น ตามบันทึกคำให้การชั้นตำรวจแม้จะมีถ้อยคำว่า ให้การโดยสมัครใจ แต่พยานยืนยันว่า ให้การไปด้วยความกลัว
 
สืบพยานจำเลยปากที่สอง ดร.อิสระ ชูศรี พยานผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์
 
ดร.อิสระ เบิกความว่า จบการศึกษาปริญญาเอกด้านภาษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นอาจารย์ด้านภาษาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมหิดลมาแล้ว 9 ปี ข้อความในโพสที่มีภาพคุณทองแดง เป็นประโยคบอกเล่าธรรมดา คอมเม้นต์แรกใต้ภาพเป็นการประชดด้วยความอิจฉาว่า คนมีสถานะเทียบสุนัขไม่ได้ ส่วนคอมเม้นต์ที่สองไม่ได้ประชด แต่เปรียบเทียบว่า คนสู้สุนัขไม่ได้ ส่วนข้อความที่บอกว่า “อ่านคอมเม้นต์แล้วซาบซึ้งจัง” มีความกำกวม อาจตีความได้ทั้งเห็นด้วยกับคอมเม้นต์ หรือประชดคนที่มาคอมเม้นต์ก็ได้ แต่ข้อความทั้งหมดไม่ได้กล่าวถึงรัชกาลที่ 9 แต่อย่างใด จึงไม่ทำให้ถูกดูหมิ่นหรือเกลียดชัง
 
สืบพยานจำเลยปากที่สาม ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ นักกฎหมายจาก iLaw
 
ยิ่งชีพ เบิกความว่า จบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนหรือ iLaw ทำงานตั้งแต่ปี 2552 หลังการรัฐประหาร 2557 ทหารเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ทหารมีอำนาจจับกุมประชาชน กฎหมายถูกใช้และตีความอย่างกว้างเพื่อจับกุมบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล คดีในหมวดความมั่นคงและคดีฐานฝ่าฝืนประกาศและคำสั่งของ คสช. ต้องพิจารณาคดีที่ศาลทหาร แต่สุดท้ายไม่ค่อยมีคำพิพากษาลงโทษ แม้แต่ศาลทหารเองก็พิพากษายกฟ้อง 
 
ยิ่งชีพเบิกความว่า ทหารมีอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ที่จะควบคุมตัวประชาชนได้ 7 วัน และทหารเป็นคนซักถาม สอบสวน ร่วมกับตำรวจในการทำสำนวน ทหารมักอ้างว่า เวลา 7 วันแรก ผู้ถูกควบคุมตัวยังไม่มีสถานะเป็นผู้ต้องหาจึงไม่ได้รับการแจ้งสิทธิ หรือแจ้งข้อกล่าวหา หรือได้รับสิทธิพบบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจ 
 
ยิ่งชีพ เคยเป็นพยานในคดีมาตรา 112 ของสราวุทธิ์ ที่ศาลจังหวัดเชียงราย คนแจ้งความเป็นทหาร เดิมพิจารณาคดีในศาลทหารก่อนโอนย้ายคดีไปที่ศาลจังหวัดเชียงรายคล้ายกันกับคดีนี้ ศาลชั้นต้นยกฟ้องในข้อหาตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
 
คดีตามมาตรา 116 ที่พยานติดตามส่วนใหญ่ยกฟ้อง เช่น คดีของธเนตร ถูกฟ้องข้อหามาตรา 116 ในศาลทหารก่อนโอนมาศาลอาญา และมีคำพิพากษายกฟ้อง 
 
ยิ่งชีพเบิกความว่า ใช้เฟซบุ๊กตั้งแต่ปี 2552 เป็นผู้ดูแลเพจ 8 เพจ การกดไลค์มีความหมายที่เป็นไปได้หลายประการ เช่น การติดตามข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนเพจดังกล่าว หรือเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อหวังผลรางวัลหรือส่วนลด เมื่อปี 2558 ยังไม่มีปุ่มให้กดติดตามแยกออกมาโดยเฉพาะ เฟซบุ๊กเพิ่งเปลี่ยนให้มีปุ่มติดตามได้ประมาณสองปี 
 
ไม่เคยรู้จักเพจ “ยืนหยัดปรัชญา” มาก่อน ส่วนข้อความประกอบภาพคุณทองแดง เป็นข้อความที่ผู้โพสใช้ชื่อว่า ฐนกร ส่วนคอมเม้นต์อื่นๆ เป็นภาพที่ถูกถ่ายภาพมา เมื่ออ่านข้อความแล้วตีความได้สองทาง คือ ซาบซึ้งจริงๆ หรือการเสียดสีข้อความในคอมเม้นต์ แต่ไม่ได้ดูหมิ่นหรืออาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ 
 
โครงการอุทยานราชภักดิ์สร้างโดยกองทัพบก ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีข้อสงสัยเรื่องทุจริตในการใช้งบประมาณก่อสร้างในปี 2558 เมื่อดูภาพผังแล้วไม่ได้ทำให้คนกระด้างกระเดื่องหรือทำผิดกฎหมาย ถ้าส่วนใดไม่จริงก็เป็นความเสียหายต่อบุคคลในภาพซึ่งต้องมาดำเนินคดีด้วยตัวเอง
 
ยิ่งชีพ ตอบคำถามค้านของอัยการว่า ไม่ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก ไม่ได้ศึกษาเฉพาะทางด้านอินเทอร์เน็ต เป็นเพียงประชาชนที่สนใจและใช้งานมานาน เพจเฟซบุ๊กใครจะตั้งขึ้นก็ได้และใครจะเป็นแอดมินก็ได้
 
ยิ่งชีพ ตอบคำถามติงจากทนายความว่า เคยทำงานวิจัยเรื่องการบังคับใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ระหว่างปี 2554-2556 และเป็นวิทยากรสอนเรื่องดังกล่าวในมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง ส่วนเพจ iLaw ก็เป็นผู้ดูแลที่มีผู้ติดตามประมาณ 350,000 คน
 
 
การสืบพยานทั้งสามปากใช้เวลาไม่นาน และเสร็จสิ้นในเวลาประมาณ 11.30 ก่อนที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการจะกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 13 มกราคม 2564 โดยศาลอธิบายด้วยว่า ต้องนัดเป็นเวลานานเนื่องจากคดีนี้ต้องส่งร่างคำพิพากษาให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคตรวจก่อนด้วย
 
13 มกราคม 2564
 
ศาลจังหวัดสมุทรปราการ นัดอ่านคำพิพากษา จำเลยซึ่งบวชเป็นพระมากว่า 4 พรรษาแล้ว เดินทางมาจากวัดในจังหวัดนครราชสีมา เมื่อมาถึงศาลได้ให้จัดการเรื่องเอกสารกับนายประกันก่อน เพราะคดีนี้รับโอนมาจากศาลทหารกรุงเทพ และตั้งแต่โอนคดีมายังศาลปกติยังไม่ได้จัดการเรื่องเอกสารให้เรียบร้อย จึงใช้เวลาสักพักหนึ่ง ก่อนศาลจะเริ่มอ่านคำพิพากษาในเวลาประมาณ 10.50 น. 
 
ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา สรุปได้ว่า จำเลยกดไลค์เพจเพื่อติดตามเนื้อหา ไม่ใช่ไลค์ภาพปก แม้จะทำให้เพื่อนเห็นได้แต่ไม่ใช่ผลโดยตรตง คอมเม้นต์ต่อสุนัขไม่ใช่ข้อความดูหมิ่นเกลียดชัง ไม่ชัดเจนว่าจำเลยมีเจตนาชื่นชมหรือประชด เรื่องอุทยานราชภักดิ์จำเลยใช้สิทธิแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่มีหลักฐานว่าเป็นการปลุกระดม ก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่อง 
 
 
 

คำพิพากษา

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ข้อกล่าวหาที่หนึ่ง จากการกดไลค์เพจเฟซบุ๊กชื่อ “ยืนหยัดปรัชญา”
 
จำเลยกดปุ่มไลค์เพจโดยไม่ปรากฏว่าทำอะไรอย่างอื่น คำว่าไลค์แปลว่า ชื่นชอบ จึงเป็นการกดเพื่อชื่นชอบเนื้อหาในเพจ การกระทำเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งพยานโจทก์ที่เป็นเจ้าหน้าที่จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เบิกความว่า เดิมเฟซบุ๊กมีแต่ปุ่มกดไลค์ ไม่มีให้กดติดตาม เพิ่งมีปุ่มติดตามภายหลังการกระทำของจำเลย จำเลยเบิกความว่า ต้องการติดตามเนื้อหาจากเพจนี้ ขณะที่โจทก์ไม่มีหลักฐานอื่นมาแสดง จึงจะยืนยันว่า จำเลยกดไลค์เพราะความชื่นชอบอย่างเดียวไม่ได้ เพจนี้มีเนื้อหาทำนองโจมตีรัฐบาล แสดงว่ามีเนื้อหามากมาย แม้มีภาพปกเป็นภาพตัดต่อ และมีภาพรัชกาลที่ 9 ซึ่งไม่เหมาะสม แต่ไม่ได้แปลว่าจำเลยชอบหรือติดตามแค่ภาพปก เพราะจำเลยไม่ได้กดไลค์ภาพนั้น แต่กดไลค์เพจเพื่อติดตามเนื้อหาทั้งหมด
 
เจ้าหน้าที่จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยังเบิกความว่า ภาพปกและภาพประจำตัวของเฟซบุ๊กนั้น เจ้าของเพจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จากการตรวจสอบโทรศัพท์มือถือของจำเลยพบว่าจำเลยกดไลค์เพจดังกล่าวจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2558 โดยไม่ปรากฏว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพปกมาตั้งแต่เมื่อใด จึงน่าสงสัยว่า ขณะจำเลยกดไลค์เพจดังกล่าว เพจนั้นใช้ภาพที่นำมาฟ้องเป็นภาพปกหรือยัง จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 112
 
ส่วนข้อกล่าวหาตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แม้การกดไลค์จะทำให้เพื่อนบนเฟซบุ๊กเห็นสิ่งที่กดไลค์ได้ แต่ก็เป็นการดำเนินการของเฟซบุ๊กโดยสุ่ม อาจจะปรากฏให้เห็นหรือไม่ปรากฏก็ได้ การกดไลค์จึงไม่ใช่ผลโดยตรงทำให้เพจที่จำเลยกดไลค์ไปแสดงหน้าเพจของบุคคลอื่น ต่างจากการกดแชร์ ถ้าจำเลยมีเจตนาให้เพื่อนบนเฟซบุ๊กเห็น จำเลยน่าจะกดแชร์ มากกว่ากดไลค์ จึงไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 
 
ข้อกล่าวหาที่สอง จากการแคปภาพที่มีคุณทองแดงและคอมเม้นต์ต่างๆ มาโพสเฟซบุ๊ก แล้วใช้ข้อความว่า “อ่านคอมเม้นต์แล้วซาบซึ้งจังครับ”
 
คำว่า “ซาบซึ้ง” ที่จำเลยใช้อาจตีความได้สองประการ คือ ซาบซึ้งและชื่นชมกับข้อความนั้น หรือการประชด เมื่อดูข้อความในคอมเม้นต์ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งคอมเม้นต์แรกไม่ใช่ข้อความดูหมิ่นเกลียดชัง คอมเม้นต์ที่สองแม้จะมีการประชด ก็เป็นการประชดบุคคลทั่วไปที่มาชื่นชมสุนัข การที่จำเลยพิมพ์ข้อความว่า ซาบซึ้ง จึงไม่ชัดว่ามีเจตนาชื่นชมหรือประชด ส่วนคอมเม้นต์ที่นำมาโพสทั้งหมดก็ไม่ใช่การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย จึงไม่มีความผิดมาตรา 112
 
และในคอมเม้นต์ก็เป็นการแสดงความคิดเห็นทั้งสิ้น ไม่มีลักษณะการยืนยันข้อเท็จจริง แม้ข้อความตามภาพจะระบุว่า คุณทองแดงเป็นสุนัขทรงเลี้ยงของรัชกาลที่ 9 แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันโดยทั่วไป แม้จะไม่มีประกาศแต่งตั้งอย่างเป็นทางการก็ตาม จึงไม่อาจเป็นความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ ไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
 
ข้อกล่าวหาที่สาม จากการแชร์แผนผังการทุจริตโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ที่มีภาพบุคคลสำคัญทั้งทหารระดับสูง และคนในคณะรัฐมนตรี
 
เนื้อหาในแผนผังเป็นปัญหาข้อสงสัยเกี่ยวกับการทุจริตโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ที่ดำเนินการโดยกองทัพบก ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เมื่อใช้งบประมาณจำนวนมากและเกิดข้อสงสัย ประชาชนย่อมสนใจ แสดงความคิดเห็น จำเลยเบิกความว่าแชร์ภาพดังกล่าวเข้าไปในกลุ่มเพื่อการติดตามตรวจสอบโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถทำได้ โจทก์ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า การโพสของจำเลยเป็นการปลุกระดม ก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่อง จึงเป็นการติชมโดยสุจริต ไม่ผิดมาตรา 116
 
พล.ท.บุรินทร์ ทองประไพ พยานโจทก์เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุสื่อก็นำเสนอเรื่องดังกล่าว และพล.อ.ธีระชัย นาควานิช ก็แถลงว่าตรวจสอบแล้วไม่พบการกระทำความผิด แต่ไม่ปรากฏว่าตรวจสอบโดยหน่วยงานใด และไม่มีรายงานการตรวจสอบมานำส่งต่อศาล นอกจากนี้ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เคยให้สัมภาษณ์ว่า มีการทุจริตในโครงการดังกล่าว ด้าน พล.ต.วิจารณ์ จดแตง เบิกความยืนยันว่า พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เคยให้สัมภาษณ์ว่า มีการหักหัวคิวในการก่อสร้าง เมื่อยังไม่อาจยืนยันได้ว่า แผนผังดังกล่าวเป็นความเท็จ จึงไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
 
จึงยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา
 

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา