ศิริกาญจน์: ทนายความถูกข้อหา 116 ร่วมกับลูกความ

ผู้ต้องหา

ศิริกาญจน์

สถานะคดี

ชั้นสืบสวนสอบสวน

คดีเริ่มในปี

2558

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

ศิริกาญจน์ ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ถูกออกหมายเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหาในความผิดฐานชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 และความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ในวันที่ 14 กันยายน 2559 โดยเป็นการตั้งข้อกล่าวหาย้อนหลัง จากกรณีที่ศิริกาญจน์เคยไปสังเกตการณ์การชุมนุมของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 25 มิถุนายน 2558

ศิริกาญจน์ได้รับหมายเรียกในคดีนี้ ระหว่างเดินทางไปร่วมการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทยตามกลไก UPR ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ศิริกาญจน์ สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนิติศาสตร์มหาบัณฑิตสาขากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัย Essex สหราชอาณาจักร ศิริกาญจน์มีประสบการทำงานในประเด็นสิทธิมนุษยชนกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหพันธ์นักกฎหมายอเมริกัน (American Bar Association) และ คณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ) ก่อนจะมาเป็นเจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 ศิริกาญจน์ได้รับรางวัล Lawyers for Lawyers Award 2017  จากองค์กร Lawyers for Lawyers ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนจากประเทศเนเธอร์แลนด์  

ในคืนวันที่ 26 มิถุนายน 2558 เมื่อ 14 นักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ถูกนำตัวมาฝากขังที่ศาลทหารกรุงเทพ นักกิจกรรมทั้ง 14 คน แสดงเจตนาว่าจะไม่ประกันตัวและยอมเข้าเรือนจำ จึงฝากโทรศัพท์มือถือและของใช้ส่วนตัวไว้กับทีมทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่เดินทางไปที่ศาลเพื่อช่วยเหลือในกระบวนการฝากขัง

หลังเสร็จสิ้นการพิจารณาในเวลาประมาณเกือบเที่ยงคืนเจ้าหน้าที่ตำรวจขอตรวจค้นรถของศิริกาญจน์เพื่อยึดโทรศัพท์ของนักกิจกรรมโดยไม่มีหมายมาแสดงแต่ศิริกาญจน์ไม่ยอม เจ้าหน้าที่จึงล็อกล้อรถของศิริกาญจน์และล้อมรั้วรถไว้ที่หน้าศาลทหารก่อนจะนำหมายค้นมาทำการตรวจค้นในวันรุ่งขึ้น ซึ่งต่อมาศิริกาญจน์ไปแจ้งความดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบจากการยึดรถด้วย
 

june's car confiscated in front of the Military Court 26 - 27 June 2015

รถของศิริกาญจน์ถูกอายัดจากคืนวันที่ 26 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2558 ที่หน้าศาลทหารกรุงเทพฯ

จากกรณีข้างต้นศิริกาญจน์ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีสองคดี คดีแรกในความผิดฐานไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่จากการที่ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้นรถโดยไม่มีหมายค้นและถูกดำเนินคดีในความผิดฐานแจ้งความเท็จจากการไปแจ้งความว่าการยึดรถของเจ้าหน้าที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ก่อนจะมาถูกแจ้งข้อกล่าวหาในคดีนี้

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา
คำสั่งหัวหน้าคสช. 3/2558

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

ตามหมายเรียกให้ศิริกาญจน์ไปรับทราบข้อกล่าวหา เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุเพียงว่า ศิริกาญจน์ร่วมกับรังสิมันต์โรมและพวกอีก 13 คน ชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน เป็นการฝ่าฝืนข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 และทำให้ปรากฎต่อประชาชนด้วยหนังสือหรือวิธีการอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนก่อความวุนวายหรือละเมิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 โดยไม่ได้ระบุว่าในวันเกิดเหตุศิริกาญจน์กระทำสิ่งใดที่เข้าข่ายความผิดตามข้อหาดังกล่าว

พฤติการณ์การจับกุม

ศิริกาญจน์เข้าพบพนักงานสอบสวนและรับทราบข้อกล่าวหาตามนัดจึงไม่มีการจับกุม

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล

25 มิถุนายน 2558

ศิริกาญจน์และทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจำนวนหนึ่งร่วมสังเกตการณ์การทำกิจกรรมของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

26 กันยายน 2559

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ศิริกาญจน์ซึ่งอยู่ระหว่างเข้าร่วมการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทยตามกลไกยูพีอาร์ ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทราบว่ามีหมายเรียกจากสน.สำราญราษฎร์ กำหนดให้ศิริกาญจน์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ซึ่งห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน และความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 โดยหมายเรียกระบุว่า ศิริกาญจน์ทำความผิดทั้งสองข้อหาร่วมกับนักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ 14 คนซึงถูกจับดำเนินคดีไปก่อนหน้านี้แล้ว

เนื่องจากศิริกาญจน์ยังไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาตามที่พนักงานสอบสวนนัดในวันที่ 27 กันยายน 2559 ได้ทัน จึงให้ทนายความเข้าพบพนักงานสอบสวนแทนและขอเลื่อนนัด ซึ่งพนักงานสอบสวนอนุญาตให้เลื่อนนัดได้และบอกว่าจะแจ้งวันนัดใหม่ไปในภายหลัง

22 ตุลาคม 2559

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ศิริกาญจน์เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว โดยมีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตต่างๆ เช่น แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เข้าร่วมสังเกตการณ์การแจ้งข้อกล่าวหาด้วย โดยพนักงานสอบสวนแจ้งกับศิริกาญจน์ว่า

ในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 พ.ท.พงศฤทธิ์ ภวังค์คะนันท์ ร้องทุกข์กล่าวให้พนักงานสอบสวนสน.สำราญราษฎร์ดำเนินคดีกับศิริกาญจน์โดยอ้างว่า ศิริกาญจน์ร่วมกับรังสิมันต์และพวกซึ่งถูกตั้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน และยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ไปก่อนหน้านี้แล้ว ทำความผิดโดยมีพฤติการณ์ คือ

ในวันที่ 26 มิถุนายน 2558 พนักงานสอบสวนนำตัวรังสิมันต์และพวกไปฝากขังที่ศาลทหารกรุงเทพ ระหว่างรอคำสั่งในเวลาประมาณ 22.00 น. พ.ท.พงศฤทธิ์เห็นศิริกาญจน์นำสิ่งของบางอย่างไปที่รถยนต์ จึงสงสัยว่า จะมีสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำผิดของรังสิมันต์และพวก และเมื่อนำภาพถ่ายของศิริกาญจน์ไปตรวจสอบกับชุดสืบสวนฝ่ายทหารก็ทราบว่าศิริกาญจน์มีพฤติการณ์ร่วมกับรังสิมันต์และพวกมาโดยตลอด นอกจากนี้ก็มีข้อมูลว่า ในวันที่ 27 มิถุนายน 2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจค้นรถยนต์ของศิริกาญจน์ และพบโทรศัพท์มือถือจำนวนห้าเครื่อง จึงเชื่อว่าศิริกาญจน์มีพฤติการณ์ร่วมกระทำความผิดกับรังสิมันต์และพวก  

เบื้องต้นศิริกาญจน์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาโดยระบุว่าตนเองเป็นเพียงทนายความของรังสิมันต์และพวก ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะให้การเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง

22 พฤษจิกายน 2559

ศิริกาญจน์ เข้าพบพนักงานสอบสวนสน.สำราญราษฎร์ เพื่อให้การเพิ่มเติมโดยในวันนี้มีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตสวีเดนตามมาสังเกตการณ์ด้วย ศิริกาญจน์ ยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาโดยระบุว่า  

Sirikan acknowledged charge under section 116 on 22 October 2015


ศิริกาญจน์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่สน.สำราญราษฏร์ในวันที่ 22 ตุลาคม 2560 โดยมีตัวแทนสถานทูตและองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศร่วมสังเกตการณ์ ที่มา ประชาไท

ในวันที่ 26 มิถุนายน 2558 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับแจ้งว่านักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ 14 คนถูกจับกุม ตนเองและเพื่อนทนายจึงติดตามไปให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่ีสน.พระราชวัง และเมื่อพนักงานสอบสวนสน.พระราชวังส่งตัวผู้ต้องหาทั้งหมดไปที่ศาลทหารกรุงเทพ ศิริกาญจน์ก็ติดตามไปเพื่อคัดค้านการฝากขังและดำเนินการประกันตัวผู้ต้องหา โดยเมื่อศิริกาญจน์นำรถส่วนตัวไปจอดบริเวณศาลทหารก็พบว่าเจ้าหน้าที่ตั้งแผงกั้นไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปในบริเวณศาลแล้ว

ศิริกาญจน์ให้การต่อว่า ก่อนศาลจะเริ่มกระบวนการไต่สวนเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์แจ้งว่า หากศาลมีหมายขังจะต้องส่งผู้ต้องหาทั้งหมดไปขังที่เรือนจำซึ่งผู้ต้องหาจะนำสิ่งของติดตัวไปไม่ได้ ให้ผู้ต้องหาฝากสิ่งของไว้กับทนาย ผู้ต้องหาจึงรวบรวมของส่วนตัวฝากให้ทนายเก็บรักษาตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ซึ่งทีมทนายได้นำของส่วนตัวของผู้ต้องหาไปเก็บไว้ที่รถของศิริกาญจน์เพื่อส่งมอบให้ญาติผู้ต้องหาต่อไป เพราะขณะนั้นญาติของผู้ต้องหาเข้ามาในบริเวณศาลไม่ได้ อย่างไรก็ตามศิริกาญจน์ไม่ทราบว่าสิ่งของที่นำไปเก็บที่รถของตนมีอะไรบ้างเพราะไม่ได้เป็นผู้นำของไปเก็บ

หลังจากเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 14 คน ไปที่เรือนจำ พล.ต.ต.ชยพล ฉัตรชัยเดช ขอตรวจค้นรถศิริกาญจน์โดยอ้างว่าน่าจะมีโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาอยู่ในรถ ศิริกาญจน์ขอให้เจ้าหน้าที่แสดงหมายค้นแต่ พล.ต.ต.ชยพล ไม่มีหมาย ประกอบกับไม่สามารถตอบได้ว่า โทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอย่างไร ศิริกาญจน์จึงปฏิเสธไม่ให้ตรวจค้น ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2558 เมื่อเจ้าหน้าที่นำหมายค้นมาแสดง ศิริกาญจน์ก็ยอมให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้น หลังการตรวจค้นไม่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่พบสิ่งผิดกฎหมาย สำหรับโทรศัพท์มือถือเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ทำการยึดไว้ แต่ได้ติดต่อให้ศิริกาญจน์มารับคืนในภายหลัง

ศิริกาญจน์ให้การด้วยว่าที่ พ.ท.พงศฤทธิ์ กล่าวหาว่า ตนเองเก็บทรัพย์สินของลูกความไว้ในรถด้วยอาการรีบร้อน ถือเป็นการร่วมกระทำความผิดกับผู้ต้องหา NDM ทั้ง 14 คน เป็นการกล่าวหาโดยไม่มีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายสนับสนุน เนื่องจากการเก็บรักษาความลับของลูกความและไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ตรวจค้นโดยปราศจากหมายค้นและปราศจากเหตุอันสมควร เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของทนายความซึ่งไม่ใช่การร่วมกับผู้ต้องหากระทำความผิดแต่อย่างใด


 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา