- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
สิรวิชญ์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลอุทธรณ์
สถานะผู้ต้องหา
อื่นๆ(ลงโทษปรับฐานไม่แจ้งการชุมนุม)
ข้อหา / คำสั่ง
ฝ่าฝืนประกาศคสช. 7/2557, พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ 2558, อื่นๆ (คำสั่งหัวหน้าคสช. 3/2558)
เนื้อหาคดีโดยย่อ
4 มีนาคม 2561 สิรวิชญ์ หรือ "จ่านิว" ประกาศจัดกิจกรรมชุมนุมเรียกร้
31 กรกฎาคม 2562 ศาลแขวงพัทยา ลงโทษปรับสิรวิชญ์, วันเฉลิม, และศศวัชร์คนละ 4,000 บาท แต่คำให้การและทางนำสืบเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษปรับเหลือคนละ 3,000 บาท จำเลยอื่นยกฟ้อง
ภูมิหลังผู้ต้องหา
พ.ต.อ.อภิชัย กรอบเพชร ผู้กำกับ สภ.เมืองพัทยา เป็นผู้กล่าวหาให้ดำเนินคดี
ข้อกล่าวหา
ชุมนุม มั่วสุม ก่อความวุ่นวาย, เป็นผู้จัดการชุมนุมไม่แจ้งการชุมนุม
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
ชลบุรี
-
ศาล
ศาลแขวงพัทยา
ในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา ลงวันที่ 12 มีนาคม 2461 ระบุว่า ผู้ต้องหากับพวกในคดีนี้เป็
ขณะที่คำฟ้องของอัยการซึ่งฟ้องคดีต่อศาลแขวงพัทยาภายหลังจากที่คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ถูกยกเลิกพอสรุปได้ว่า
และไม่ได้แจ้งการชุมนุมสาธารณะพร้อมขอผ่อนผันกำหนดเวลาดังกล่าวต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี จากนั้นจำเลยทั้งสิบสองกับพวกได้ร่วมกันชุมนุมโดยจำเลยที่หนึ่งได้ปราศรัยทางการเมือง และกล่าวโจมตีการทำงานของรัฐบาล และ คสช. เรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้ง รวมถึงให้ยกเลิกประกาศ คำสั่ง คสช. ทุกฉบับ จัดให้มีการถือป้ายและแสดงสัญลักษณ์ จึงเป็นการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เวลาประมาณ 17.30 น. สิรวิชญ์ เริ่มกิจกรรมกล่าวปราศรัย บริเวณชายหาด หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยา ถ.เลียบชายหาด โดยมีผู้มาร่วมกิจกรรมทั้งที่
เนื้อหาของการปราศรัยเน้
26 มิถุนายน 2561
นัดฟังคำสั่งอัยการ
นัดฟังคำสั่งอัยการ
จำเลยทั้งสิบสองให้การปฏิเสธตั้งแต่ชั้นสอบสวน และขอต่อสู้คดีในชั้นศาลเช่นกัน ศาลแขวงพัทยาจึงนัดตรวจพยานหลักฐานคดีนี้ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 และอนุญาตปล่อยตัวจำเลยทั้งสิบสองระหว่างการพิจารณา โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ประกันตัว
11 มิถุนายน 2562
นัดสืบพยานโจทก์
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลว่า ก่อนเริ่มสืบพยานผู้พิพากษาแนะนำให้จำเลยทั้งหมดรับสารภาพ เพราะคดีมีเพียงโทษปรับ และสถานการณ์การเมืองเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่จำเลยทั้งหมดยืนยันให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดี เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้ร่วมชุมนุม ไม่ใช้ผู้จัดการชุมนุมที่มีหน้าที่ต้องแจ้งการชุมนุม ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ
อัยการนำ พ.ต.อ.อภิชัย กรอบเพ็ชร พยานโจทก์ปากที่ 1 ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่ง ผกก.สภ.เมืองพัทยา เข้าเบิกความต่อศาลในฐานะผู้กล่าวหา
พ.ต.อ.อภิชัย ให้การว่า ก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2561 สืบทราบว่ามีสื่อออนไลน์นัดหมายชุมนุมสาธารณะ จึงสั่งให้ชุดสืบสวนติดตามสื่อสังคมออนไลน์ และตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุจนถึงวันที่เกิดเหตุ คือ หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลพัทยาบีช
การชุมนุมในวันที่ 4 มีนาคม 2561 เริ่มเวลาประมาณ 17.00 น. สถานที่ชุมนุมอยู่ห่างจาก สภ.เมืองพัทยา ประมาณ 100 เมตร จึงเดินทางไปสังเกตการณ์ด้วยตนเอง พบผู้ชุมนุมประมาณ 30 คน โดยมีสิรวิชญ์ปราศรัยอยู่บนเวทีผ่านเครื่องขยายเสียงบนพื้นที่สาธารณะ ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ต้องขออนุญาตหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ที่จัดการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ซึ่งกรณีนี้คือ สภ.เมืองพัทยา
พยานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่มีการแจ้งการชุมนุมดังกล่าว รวมถึงไม่มีการขอผ่อนผันกับทางกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดชลบุรี จึงทำหนังสือแจ้งให้ยุติการชุมนุมเนื่องจากไม่มีการขออนุญาตชุมนุม ผู้ชุมนุมชุมนุมต่ออีกประมาณ 1 ชั่วโมงจึงเลิกการชุมนุม
หลังจากนั้น พ.ต.อ.อภิชัย สั่งให้เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนนำบันทึกภาพและเสียงการชุมนุมมาตรวจสอบว่ามีบุคคลใดร่วมชุมนุมบ้าง ทราบชื่อคือจำเลยทั้ง 12 คน จึงเข้ากล่าวโทษและให้การต่อพนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
อย่างไรก็ตาม อดีต ผกก.สภ.เมืองพัทยา ตอบคำถามค้านทนายความว่า จำ URL เว็บไซต์ และบัญชีอีเมล์ของ สภ.เมืองพัทยา ไม่ได้ ขณะที่การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังเมืองพัทยาใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ขณะที่กองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจาก สภ.เมืองพัทยา ออกไปประมาณ 40 กิโลเมตร นอกจากนี้ พยานยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้โพสต์เชิญชวนให้มาชุมนุม และขณะแจ้งให้ยุติการชุมนุม มีสิรวิชญ์เข้ามาเจรจาเพียงคนเดียว
จากนั้น รักษาการผู้อำนาวยการส่วนผังเมือง สำนักการช่าง เมืองพัทยา เข้าเบิกความยืนยันว่าพื้นที่การชุมนุมเป็นพื้นที่สาธารณะ มีไว้ให้ประชาชนใช้ร่วมกัน จากการตรวจสอบพื้นที่ไม่พบว่ามีสิ่งใดเสียหาย
พ.ต.ต.สุวิทย์ พยานโจทก์ปากที่ 2 อดีต สว.สภ.เมืองพัทยา ผู้ดูแลงานธุรการและหนังสือโต้ตอบของ สภ.เมืองพัทยา
พ.ต.ต.สุวิทย์ ให้การว่า พ.ต.อ.อภิชัย ผกก.สภ.เมืองพัทยา สั่งการให้พยานไปตรวจสอบหนังสือว่ามีการขออนุญาตชุมนุมหรือไม่ ทั้งทางโทรสารและอีเมล์ พบว่า การชุมนุมเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2561 ไม่ได้แจ้งการชุมนุมไว้ทั้งก่อนและหลังการชุมนุม อย่างไรก็ตาม พ.ต.ต.สุวิทย์ ตอบคำถามค้านทนายความจำเลยว่า ในบัญชีพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เมืองพัทยา และบุคคลที่อาศัยในเมืองพัทยา ไม่มีใครทราบบัญชีอีเมล์ของ สภ.เมืองพัทยา
จากนั้น อัยการนำ พ.ต.ท.ธีรศักดิ์ พยานโจทก์ปากที่ 3 อดีต สว.สส.สภ.เมืองพัทยา เข้าให้การว่า ก่อนเกิดเหตุได้รับมอบหมายให้สอดส่องติดตามเกี่ยวกับเรื่องที่จะมีผู้มาชุมนุม พบการประกาศเชิญชวนทางสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มที่มีสิรวิชญ์เป็นแกนนำ
จากการติดตามของ พ.ต.ท.ธีรศักดิ์ พบว่า สิรวิชญ์เข้ามาในพื้นที่วันที่ 4 มีนาคม 2561 เวลาประมาณ 11.00 น. พร้อมพวกรวม 3 คน และนำเครื่องขยายเสียงติดตัวมาด้วย วันนั้นพยานแต่งกายนอกเครื่องแบบ ประมาณ 17.00 น. สิรวิชญ์ใช้เครื่องขยายเสียงยืนพูดบนที่นั่งเล่นริมชายหาด เนื้อหาการปราศรัยคือไม่ให้รัฐบาลเลื่อนจัดการเลือกตั้ง โดยจำเลยคนอื่นไม่ได้ร่วมพูดด้วย เพียงแต่ชูป้ายและร่วมถ่ายภาพเท่านั้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนตอบคำถามค้านทนายความว่า ไม่ทราบว่าเฟซบุ๊กที่โพสต์เชิญชวนเป็นของใคร เพราะไม่ได้ตรวจสอบ แต่ไม่ได้มีชื่อตรงกับจำเลยในคดีนี้ ในคดีคนอยากเลือกตั้งอื่นๆ จำเลยบางส่วนถูกดำเนินคดีในฐานะผู้ชุมนุม จำเลยสวมเสื้อแตกต่างกัน ไม่มีสัญลักษณ์ใดเหมือนกันเป็นพิเศษ รวมถึงเดินมาต่างเวลา ส่วน น.ส.อารีย์ พยานรู้จักมาก่อน และเป็นผู้ให้จำเลยไปถามผู้ชุมนุมว่าหลังเลิกการชุมนุมจะไปรับประทานอาหารที่ไหนต่อ ระหว่างการชุมนุม ไม่มีโฆษกปราศรัยเชิญชวนให้คนเข้ามาร่วมการชุมนุม สิรวิชญ์ปราศรัยเพียงคนเดียวเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงโดยไม่ได้หยุดปรึกษาใคร
นอกจากนี้ พยานยังยอมรับว่าในการชุมนุมมีทั้งแกนนำและมวลชนผู้เข้าร่วม โดยพฤติกรรมของแกนนำมักจะปรากฏตัวบนเวที ขณะที่มวลชนจะชูป้าย ปรบมือ หรือชู 3 นิ้ว เป็นต้น
12 มิถุนายน 2562
นัดสืบพยานโจทก์
ศาลแขวงพัทยาสืบพยานต่อเป็นวันที่สอง อัยการนำ พ.ต.ท.ออมสิน พยานโจทก์ปากที่ 4 พนักงานสอบสวนในคดีเข้าให้การ
พ.ต.ท.ออมสิน ให้การว่า รับแจ้งความจาก พ.ต.อ.อภิชัย ในข้อหาชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป จากนั้นจึงสอบสวนพยานในคดีนี้และไปตรวจสถานที่เกิดเหตุว่าเป็นพื้นที่สาธารณะหรือไม่ จากนั้นจึงออกหมายเรียกจำเลยมาสอบปากคำและแจ้งข้อกล่าวหาในฐานะผู้ต้องหา
โดยอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ ให้การเพิ่มเติมภายหลังว่าไม่ได้มาร่วมชุมนุมแต่มาพักผ่อนที่เกาะล้าน ภายหลังรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดแล้วมีความเห็นว่าควรสั่งฟ้องจำเลยทั้งสิบสองฐานชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12
พนักงานสอบสวนตอบคำถามค้านทนายความว่า บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาไม่ระบุพฤติกรรมว่าจำเลยทั้งสิบสองแบ่งหน้าที่กันทำอย่างไร การตรวจที่เกิดเหตุไม่พบความเสียหาย พยานไม่ได้ตรวจสอบว่าใครเป็นผู้โพสต์เชิญชวนให้มาชุมนุม เมื่อทราบหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยทั้งสิบสอง พยานไม่ได้ตรวจสอบต่อว่าจำเลยติดต่อกันมาก่อนหรือไม่
เกี่ยวกับการแจ้งการชุมนุม พ.ต.ท.ออมสิน ตอบคำถามของทนายความจำเลยว่า สภ.เมืองพัทยา มีแต่บัญชีเฟซบุ๊กแต่ไม่มีเว็บไซต์ สามารถแจ้งการชุมนุมได้ทางโทรสาร อีเมล์ หรือมาแจ้งด้วยตนเอง ตัวพยานเองก็ไม่ทราบอีเมล์ที่ใช้ติดต่อ สภ.เมืองพัทยา และผู้ที่จะมีความผิดตามมาตรา 10 พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ต้องเป็นแกนนำหรือผู้จัดการชุมนุม
อย่างไรก็ตาม ทาง สภ.เมืองพัทยา ทราบล่วงหน้าก่อนแล้วว่าจะมีการชุมนุม และได้จัดการอำนวยความสะดวกตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ
นัดสืบพยานจำเลย
ช่วงบ่าย เป็นการสืบพยานของฝ่ายจำเลยบ้าง เป็นจำเลยที่ 1 ขึ้นเบิกความเอง สิรวิชญ์ให้การว่า ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ เขาเคยชุมนุมมาแล้ว 4 ครั้ง เพื่อเรียกร้องไม่ให้เลื่อนจัดการเลือกตั้ง และแจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาโดยตลอด กระทั่งวันที่ 3 มีนาคม 2561 ได้ค้นหาช่องทางติดต่อ สภ.เมืองพัทยา เพื่อแจ้งการชุมนุม เจ้าหน้าที่แจ้งว่าต้องติดต่อ ผกก. โดยตรง และได้ให้หมายเลขโทรศัพท์ไว้
เมื่อติดต่อ ผกก.สภ.เมืองพัทยา เพื่อขออีเมล์สำหรับแจ้งการชุมนุม ผกก. แจ้งว่าจำไม่ได้และให้จำเลยเดินทางมาแจ้งการชุมนุมด้วยตนเอง จำเลยพยายามค้นหาช่องทางแจ้งการชุมนุมของ สภ.เมืองพัทยา ต่อแต่ไม่พบ จึงถือว่าได้แจ้งทางวาจาต่อ ผกก. ไว้แล้ว ส่วนช่องทางโทรสาร ที่บ้านของจำเลไม่มีอุปกรณ์ส่ง และปัจจุบันหาร้านส่งได้ยาก ส่วนที่ไม่ได้ขอผ่อนผันการแจ้งการชุมนุม
ในวันเกิดเหตุ สิรวิชญ์เดินทางมาพร้อมศศวัชร์ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย เพราะต้องการให้เพื่อนติดตามมาด้วยเพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ไม่ได้นัดหมายกับใครและเป็นผู้ปราศรัยเพียงคนเดียว เมื่อได้รับแจ้งให้ยุติการชุมนุม ก็เลิกการชุมนุมหลังจากนั้นไม่นาน
สิรวิชญ์ตอบคำถามค้านของอัยการว่า ไม่ได้เดินทางมาจากจำเลยคนอื่นนอกจากศศวัชร์ ส่วนที่ภาพกับวันเฉลิม เป็นการพบกันในห้างสรรพสินค้าโดยบังเอิญ และรู้จักกันผ่านสื่อ เฟซบุ๊กที่โพสต์เชิญชวนไม่ใช่ของจำเลยแต่เป็นของกลุ่มที่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของจำเลย
ก่อนมาชุมนุม จำเลยไม่ทราบว่า สภ.เมืองพัทยา อยู่ที่ใด และหากแจ้งการชุมนุมได้โดยสะดวกก็จะแจ้งทุกครั้ง ก่อนหน้านี้เคยโทรศัพท์แจ้งการชุมนุมต่อ ผกก.สภ.เมืองนครราชสีมา และได้รับอนุญาตให้ชุมนุมเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561 โดย ผกก.สภ.เมืองนครราชสีมา แจ้งว่าแม้การแจ้งการชุมนุมจะไม่สมบูรณ์แต่สามารถอนุโลมให้ได้ และไม่ถูกดำเนินคดี ส่วนจำเลยคนอื่นๆ บางคนเคยไปร่วมชุมนุมแต่ไม่เคยถูกดำเนินคดีในฐานะแกนนำ
13 มิถุนายน 2562
นัดสืบพยานจำเลย
สืบพยานจำเลยอีกปาก เป็นจำเลยที่ 4 อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ เข้าให้การต่อศาลว่า ในวันเกิดเหตุตั้งใจพาภรรยาไปพักผ่อนที่เกาะล้าน โดยจองที่พักตั้งแต่ 16 ก.พ. 2561 ก่อนทราบว่าจะมีการชุมนุม และเดินทางด้วยรถประจำทางลงที่หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลพัทยาบีช เห็นประชาชนชุมนุมห่างออกไปประมาณ 30 เมตร จึงเดินเข้าไปถ่ายรูปและถ่ายทอดสดการชุมนุมผ่านทางเฟซบุ๊กประมาณ 10 นาที จากนั้นจึงเดินทางไปที่ท่าเรือแหลมบาลีฮายก่อนที่การชุมนุมจะยุติ
อนุรักษ์ตอบคำถามค้านของอัยการว่า ระหว่างชุมนุมไม่มีการเชิญชวนคนให้เข้าร่วม หรือแจกจ่ายสิ่งของ มีเพียงการปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงขนาดเล็กเท่านั้น เขาไม่ทราบว่าเฟซบุ๊กที่โพสต์เชิญชวนเป็นของใคร ส่วนภรรยามาด้วยกันและยืนอยู่ใกล้จำเลยแต่ไม่ได้ถูกดำเนินคดีด้วย และเขายังถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมของคนอยากเลือกตั้งอีกหลายคดี แต่อยู่ในฐานะผู้ชุมนุม ไม่ใช่แกนนำผู้จัดการชุมนุม
หลังสืบพยานเสร็จสิ้นศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 31 กรกฎาคม 2562
31 กรกฎาคม 2562
ในห้องพิจารณาคดีที่ 3 จำเลยทั้ง 12 ราย ต่างทะยอยกันมาที่ห้องจนแน่นขนัด ก่อนศาลจะเริ่มอ่านคำพิพากษาในราว 9.45 น. สรุปความได้ว่า ศาลจะลงโทษเฉพาะจำเลย 3 คนคือ สิรวิชญ์ , วันเฉลิม, ศศวัชร์ เพราะมีพฤติการณ์เป็นผู้จัดการชุมนุม ทั้งการปราศรัย การยกลำโพงมาตั้ง รวมถึงมีการนัดแนะมาเจอกันที่เซนทรัล เฟซติวัล บีช พัทยา ส่วนจำเลยคนอื่นๆ ศาลยกฟ้องเพราะเพียงแต่มาร่วมชูป้าย ถ่ายรูป ไม่ได้มีลักษณะเป็นแกนนำหรือผู้จัดการชุมนุม
ทั้งนี้ศาลให้เหตุผลที่ปรับจำเลยทั้ง 3 คน เพิ่มเติมว่า แม้การแจ้งการชุมนุมกฎหมายจะไม่ได้บัญญัติโดยตรงว่า ต้องไปแจ้งที่ไหน ในสถานีตำรวจเลยหรือแค่ในโทรศัพท์ แต่การกระทำของจำเลยทั้ง 3 ที่ไม่แจ้งการชุมนุมนั้นเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะเหตุที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอยากให้แจ้งชุมนุมนั้น ส่วนหนึ่งก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่จะมาชุมนุม แต่การชุมนุมก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และวันชุมนุมดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดเหตุอาชญากรรมรุนแรงอะไร จึงพิพากษาปรับ จำเลยทั้ง 3 คนคนละ 4,000 บาท และเนื่องจากให้การเป็นประโยชน์ต่อศาลจึงลดโทษปรับคงเหลือ 3,000 บาท
27 กันยายน 2562
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า อัยการยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลอุทธรณ์ โดยระบุเหตุผลว่า
จำเลยคนอื่นๆในคดีที่ศาลชั้นตนยกฟ้อง ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยทั้งสามคนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษด้วย โดยจำเลยที่เหลือมีพฤติการณ์ ถือป้ายซึ่งจัดเตรียมมา ลักษณะป้ายและความหมายของป้ายเป็นอย่างเดียวกัน และเหมือนๆ กัน เพื่อสนับสนุนการปราศรัยของสิรวิชญ์
เป็นการกระทำในลักษณะการแบ่งหน้าที่กันทำ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการชุมนุมและการปราศรัย มีคนสนใจชุมนุมและฟังมาก ถือเป็นตัวการร่วมกับจำเลยสาม จึงขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยทั้งหมดด้วย
30 ตุลาคม 2562
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนวันเฉลิมและศศวัชร์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ร่วมจัดการชุมนุม
กุมภาพันธ์ 2563
ทนายจำเลยให้ข้อมูลว่าทีมทนายยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว โดยสามารถสรุปคำอุทธรณ์ของฝ่ายจำเลยได้ว่า
จำเลยที่สองและ 12 อุทธรณ์ว่า ไม่มีพยานโจทก์ปากใดยืนยันชัดเจนได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมวางแผนรู้เห็นและมีพฤติการณ์เป็นผู้จัดหรือประสงค์จะจัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ รวมถึงเป็นผู้เชิญชวนหรือนัดหมายให้ผู้อื่นมาร่วมการชุมนุมสาธารณะโดยแสดงออกหรือมีพฤติการณ์ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 และที่ 12 เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุม
การที่จำเลยที่สองและ 12 ช่วยเหลือจำเลยที่หนึ่งในการขนย้ายลำโพงไปยังจุดชุมนุมยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าพฤติการณ์ดังกล่าว เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองมีความสนิทสนมกันเหมือนเพื่อนสนิท และหลักฐานภาพถ่ายขณะขนย้ายลำโพงไม่บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ว่าจำเลยที่สองมีความสนิทสนมกับจำเลยที่หนึ่งและที่ 12 อีกทั้งไม่เป็นภาพที่มีพฤติการณ์ว่าเป็นการประชุมวางแผนแบ่งหน้าที่แต่อย่างใด
คำเบิกความของพ.ต.ท.ธีรศักดิ์ ศรีแสงได้ความส่วนหนึ่งว่าจำเลยที่สองถึงที่ 12 ไม่ได้มีการปราศรัยบนเวที แต่มีการชูป้ายสนับสนุน จำเลยที่หนึ่งกับที่สองและที่ 12 ไม่ได้มีการใส่เสื้อที่มีสัญลักษณ์เดียวกัน รวมทั้งไม่มีสัญลักษณ์อื่นใดเป็นพิเศษที่แสดงว่าเหมือนกัน และก่อนปราศรัยไม่พบว่าจำเลยทั้งสิบสองได้นัดประชุมอย่างเป็นทางการ รวมถึงขณะอยู่ในห้างจำเลยที่หนึ่งที่สองและที่ 12 ก็ไม่ได้นั่งพูดคุยหรือประชุมกัน
จำเลยที่หนึ่งเบิกความตอนหนึ่งว่า จำเลยที่หนึ่งชวนจำเลยที่ 12 ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกัน ให้เดินทางมาเป็นเพื่อน เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ทำร้ายร่างกาย และข่มขู่ไม่ให้ไปทำกิจกรรม หลังจากนั้นการทำกิจกรรมแต่ละครั้งจึงต้องมีการชวนเพื่อนไปด้วยเสมอเพื่อความปลอดภัย สำหรับการชุมนุมครั้งนี้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อเรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งให้เป็นประชาธิปไตย จำเลยที่หนึ่งเป็นแกนนำคนเดียว ปราศรัยคนเดียว ไม่มีบุคคลอื่นร่วมปราศรัย ไม่ได้ร่วมจัดการวางแผนกับบุคคลใด ไม่ได้ประชุมหรือจัดการชุมนุมกับจำเลยที่สองถึงที่ 12 ในคดีนี้
จำเลยที่หนึ่งเบิกความอีกว่า จำเลยที่สองไม่ได้เดินทางมาพร้อมกับเขา แต่มาพบกันโดยบังเอิญเนื่องจากจำเลยที่สองรู้จักจำเลยที่หนึ่งจากทางสื่อ และจึงเข้ามาทักทาย
จำเลยที่สองและที่ 12 ขอเรียนต่อศาลว่า โจทก์มีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสองว่าเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 หรือไม่
จากการที่พยานโจทก์เบิกความแล้วมีเพียงพยานหลักฐานจากพฤติการณ์ในวันเกิดเหตุ ไม่พบว่ามีการเบิกความยืนยันว่าจำเลยที่สองมีการนัดหมายกับจำเลยที่หนึ่ง
อีกทั้งจำเลยที่หนึ่งก็เบิกความชัดเจนว่า จำเลยที่หนึ่งเป็นผู้จัดการชุมนุมแต่เพียงผู้เดียว รวมถึงเบิกความถึงเหตุแห่งการชวนจำเลยที่ 12 เดินทางมาพร้อมกับตัวเองในวันเกิดเหตุด้วย
เอกสารภาพถ่ายขณะอยู่ในห้างก็ไม่บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของจำเลยที่หนึ่งที่สองและที่ 12 แต่อย่างใด
รวมถึงการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยกรณีจำเลยที่สามถึงที่ 11 ได้ความว่า ลำพังเพียงการที่จำเลยดังกล่าวถือป้ายสนับสนุนการปราศรัยของจำเลยที่หนึ่งโดยไม่ได้ร่วมขึ้นเวทีปราศรัยด้วยนั้น พยานหลักฐานดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 เป็นผู้จัดการชุมนุม ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่สองและที่ 12 ไม่ได้มีการขึ้นเวทีปราศรัย พฤติการณ์จึงยังฟังไม่ได้เช่นกันจำเลยที่สองและที่ 12 เป็นผู้ร่วมจัดการชุมนุม
พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งหมดไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังได้ว่า จำเลยที่สองและที่ 12 เป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ มีพฤติการณ์เป็น “ผู้ร่วมจัดการชุมนุมสาธารณะ” ตามนิยาม “ผู้จัดการชุมนุม” ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 4 จึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าการจัดการชุมนุมดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ขอให้ศาลอุทธรณ์โปรดพิพากษา กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้จำเลยที่สองและที่ 12 พ้นข้อหาไป
13 พฤษภาคม 2563
นัดฟังคำพิพากษา
การศาลเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 23 มิถุนายน 2563 เนื่องจากวันนัดเดิมอยู่ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19
23 มิถุนายน 2563
นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เลื่อนนัดฟังคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากดารณี หนึ่งในจำเลยเสียชีวิตก่อนถึงวันพิพากษา ศาลอุทธรณ์จึงต้องจัดทำคำพิพากษาใหม่