การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หน้าสหประชาชาติ #UN62 (คดีผู้ร่วมชุมนุม)

อัปเดตล่าสุด: 10/07/2563

ผู้ต้องหา

สุนันทรัตน์ มุกตรี

สถานะคดี

ชั้นศาลชั้นต้น

คดีเริ่มในปี

2561

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

วันที่ 22 พฤษภาคม 2561  เนื่องในโอกาสครบรอบ 4 ปีรัฐประหาร คสช. กลุ่มคนอยากเลือกตั้งจัดกิจกรรมชุมนุมและเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลและอ่านแถลงการณ์ของกลุ่ม แต่ภายอ่านแถลงการณ์เสร็จแกนนำยอ1มมอบตัวกับเจ้าหน้าที่และถูกควบคุมตัว 15 คน ต่อมาวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 ศาลอนุมัติปล่อยตัวทั้ง 15 คนชั่วคราวโดยห้ามชุมนุมทางการเมืองอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายแก่สาธารณะชน


และวันที่  28 พฤษภาคม 2561  คสช. เข้าพบพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่มาร่วมชุมนุมในวาระครบรอบ 4 ปีการทำรัฐประหารของ คสช. โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก มี 21 คนถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/ 2558  และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 (2) (3) โดยมีพฤติการณ์เป็นแกนนำผู้ชุมนุม ซึ่งได้แบ่งงานกันทำเริ่มตั้งแต่มีการโพสต์ข้อความชักชวนกลุ่มบุคคลมาร่วมชุมนุม เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนเพื่อให้ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน กลุ่มที่ 2 มีผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด 41 คน ในข้อหาความผิดละเมิดคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558
 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

สุนันทรัตน์ มุกตรี
อนุรักษ์ เจนตวนิชย์
โชคดี ร่มพฤกษ์
ประนอม พูลทวี
กรกช แสงเย็นพันธ์
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
ชเนศ ชาญโลหะ
พรวลัย ทวีธนวาณิชย์
จิดาภา ธนหัตถชัย
สมชาย ธนโชติ
ปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์
วิรุฬห์ นันทภูษิตานนท์
พรนิภา งามบาง
วิบูลย์ บุญภัทรรักษา
อาอิซะฮ์ เสาะหมาน
อนุศักดิ์ แสงเพชร
นีรนุช เนียมทรัพย์
วาสนา เคนหล้า
อ๊อด แอ่งมูง
มาลี เมืองไหว
สิริเรือง แก้วสม
เกษณีย์ ชื่นชม
บริบูรณ์ เกรียงวรางกูร
อมรรัตน์ โชคปมิตต์กุล
ชญานิน คงสง
อลิสา บินดุส๊ะ
พรชัย ประทีบเทียนทอง
หนึ่ง เกตุสกุล
นภัสสร บุญรีย์
มันทนา อัจจิมา
อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์
นันทพงศ์ ปานมาศ
วลี ญาณะหงษา
มนัส แก้ววิกิจ
ยุภา แสงใส
ไพศาล จันปาน
วาสนา กองอุ่น
ศักดิ์ชัย ตั้งจิตสดุดี
วันชนะ จันทร์มณี
สมนึก นาคขำพันธ์
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

ข้อหา / คำสั่ง

อื่นๆ
คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

จากเหตุการณ์ชุมนุม ครบรอบ 4 ปีวันรัฐประหาร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ สะพานมัฆวาน ปรากฎว่ามี บุคคลจำนวน 21 คน ถูกแจ้งความดำเนินคดีใน 2 ข้อหา ได้แก่ ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/ 2558 ข้อ 12 ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช. และข้อหายุยงปลุกปั่น มาตรา 116 (2) (3) และมีบุคคลที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีข้อหา ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/ 2558 ข้อ 12 รวม 41 คน

พฤติการณ์การจับกุม

กรณีการจับกุมที่สะพานมัฆวาน

ในเวลาประมาณ 15.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนดเส้นตายให้ผู้ชุมนุมที่อยู่บริเวณสะพานมัฆวานยุติการชุมนุม เจ้าหน้าที่ประกาศให้สื่อมวลชนและผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแยกตัวออกจากกลุ่มผู้ชุมนุม จากนั้นเจ้าหน้าที่เริ่มเคลื่อนกำลังมาบีบวงล้อมรอบอานนท์ ชลธิชา และ ณัฏฐา ซึ่งนั่งอยู่บนพื้นถนน ผู้เข้าร่วมการชุมนุมส่วนหนึ่งซึ่งอยู่บริเวณนั้นยืนเป็นวงล้อมผู้จัดการชุมนุมทั้งสามคนไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกคนล้มทับในจังหวะชุลมุน ระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่จับคนที่ยืนล้อมผู้จัดการชุมนุมไปห้าคนและนำไปที่รถควบคุมของเจ้าหน้าที่ส่วนผู้จัดการชุมนุมทั้งสามยังคงนั่งอยู่ที่เดิม

ความพยายามในการเข้าควบคุมตัวผู้จัดการชุมนุมทำให้เกิดเหตุการณ์ชุลมุนอยู่ครู่หนึ่ง หลังจากนัี้นพล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช ผู็บัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งเป็นผู้ควบคุมการชุมนุมมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ยุติการปฏิบัติการชั่วคราวและเดินเข้ามาพูดคุยกับผู้จัดการชุมนุมทั้งสามคน  พล.ต.ท.ชาญเทพกล่าวกับผู้จัดการชุมนุมทั้งสามว่าเหตุใดจึงเดินมาไกลขนาดนี้ และตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มผู้จัดไม่น่าจะนำประชาชนเดินมาเพราะก่อให้เกิดความวุ่นวาย  ณัฏฐา หนึ่งในกลุ่มผู้จัดตอบไปว่าเป็นความต้องการของกลุ่มผู้ร่วมการชุมนุมที่ต้องการเดินมาให้ถึงทำเนียบรัฐบาล  ณัฏฐาแจ้งกับพล.ต.ท.ชาญเทพว่าเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดี ทางกลุ่มจะขออ่านแถลงการณ์ที่เตรียมจะไปยื่นให้หัวหน้าคสช.ตรงสะพานมัฆวาน

หลังจากนั้นผู้ร่วมจัดการชุมนุมสามคนคือตัวเของณัฏฐา ชลธิชาและอานนท์ จะให้เจ้าหน้าที่นำตัวไปสถานีตำรวจ พล.ต.ท.ชาญเทพก็ตกลง ณัฏฐา จึงอ่านแถลงการณ์ประมาณสามถึงห้านาทีจากนั้นก็มอบตัวกับทางเจ้าหน้าที่ เมื่อผู้จัดการชุมนุมทั้งสามคนจะมอบตัว เอกชัยและโชคชัยผู้ร่วมการชุมนุมที่ยืนล้อมวงเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้จัดการชุมนุมสามคนที่อยู่กลางวงล้อมถูกล้มทับขณะที่มีเหตุชุลมุนบอกกับผู้จัดการชุมนุมทั้งสามคนและเจ้าหน้าที่ว่าหากจะเอาตัวทั้งสามคนไปก็ให้พาพวกเขาทั้งสองคนไปด้วย ทำให้ในที่สุดมีผู้ถูกควบคุมตัวจากบริเวณสะพานมัฆวานไปทั้งหมดสิบคน

กรณีการจับกุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในช่วงเวลาประมาณ 15.30น. เมื่อมีข่าวว่ามีผู้จัดการชุมนุมและผู้ร่วมการชุมนุมส่วนหนึ่งถูกควบคุมตัวที่สะพานมัฆวานขณะที่กำลังเดินเท้าไปทำเนียบรัฐบาล สิรวิชญ์ ปิยรัฐ และรังสิมันต์ซึ่งเป็นผู้จัดการชุมนุมที่ติดอยู่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับผู้เข้าร่วมการชุมนุมอีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากในขณะนั้นมีผู้ร่วมการชุมนุมเหลืออยู่ที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศษสตร์ไม่ถึง 200 คน และมีผู้จัดการชุมนุมเหลืออยู่เพียงสามคน ทั้งสามจึงตัดสินใจว่าจะยุติการชุมนุมเพื่อไม่ให้เกิดเหตุรุนแรงเพราะขณะนั้นเจ้าหน้าที่มีการเสริมกำลังหน่วยควบคุมฝูงชนที่มีโล่และกระบองอยู่ด้านหลังแนวหน่วยควบคุมฝูงชนมือเปล่าที่ยืนเป็นแถวหน้าแล้ว รังสิมันต์จึงประสานกับผู้กำกับสน.ชนะสงครามเพื่อขอเจรจาว่าทางกลุ่มจะยุติการชุมนุม รังสิมันต์จะมอบตัวกับเจ้าหน้าที่เลยส่วนสิรวิชญ์และปิยรัฐจะอยู่ดูแลให้ผู้เข้าร่วมการชุมนุมสลายตัวและเดินทางกลับออกจากพื้นที่ให้เรียบร้อยแล้วจึงจะมอบตัว แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมโดยบอกว่าทั้งสามต้องมอบตัวพร้อมกัน รังสิมันต์ตกลงกับเจ้าหน้าที่ในที่สุดโดยขอเจ้าหน้าที่ว่านอกจากพวกเขาทั้งสามคนแล้วอย่าจับกุมผู้เข้าร่วมการชุมนุมคนอื่น ฝ่ายปิยรัฐซึ่งเป็นผู็ปราศรัยอยู่บนรถเครื่องเสียงก็แจ้งผู้เข้าร่วมการชุมนุมว่าเพื่อไม่ให้เกิดเหตุรุนแรง ตัวเขา

สิรวิชญ์และรังสิมันต์จะมอบตัวส่วนผู้เข้าร่วมการชุมนุมขอให้สลายตัวกลับบ้าน เบื้องต้นผู้เข้าร่วมการชุมนุมไม่ยอมแต่ปิยรัฐจึงพยายามชี้แจงว่าหากผู้เข้าร่วมการชุมนุมประสงค์จะให้กำลังใจพวกเขาทั้งสามคนก็สามารถตามไปที่หน้าสน.ชนะสงครามได้ ผู้ร่วมการชุมนุมจึงยอมสลายตัวส่วนปิยรัฐ รังสิมันต์ และสิรวิชญ์ก็ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนชุดที่ไม่มีโล่และกระบองพาตัวไปที่สน.ชนะสงคราม หลังทั้งสามคนอยู่ที่สน.ชนะสงครามได้ประมาณสองชั่วโมงก็มีผู้ถูกควบคุมตัวมาที่สน.ชนะสงครามเพิ่มเติมอีกสองคนคือวิเศษซึ่งเป็นคนขับรถและนิกรณ์ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมการ์ดของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ขณะที่รถเครื่องเสียงซึ่งปิยรัฐเป็นเจ้าของก็ถูกยึดมาที่สน.ชนะสงครามพร้อมกับวิเศษซึ่งเป็นคนขับ

ในวันเกิดเหตุคดีนี้มีผู้ถูกควบคุมตัวรวมทั้งหมด 15 คน ส่วนผู้ต้องหาในคดีที่เหลือเจ้าหน้าที่มาแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในภายหลังแต่ยังไม่มีการจับกุมตัว 

กรณีการจับกุมตัวที่จังหวัดลำปาง 

เจ้าหน้าที่ตำรวจจากสน.ชนะสงคราม กรุงเทพ เจ้าของท้องที่เกิดเหตุและตำรวจสภ.เสริมงาม ซึ่งรับผิดชอบท้องที่ที่มีการจับกุม นำกำลังจับกุมตัวอาอีซะห์ที่ตลาดนัดบ้านดอนแก้ว อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ในวันที่ 16 เมษายน 2563 

เธอถูกนำตัวขึ้นรถมาที่สน.ชนะสงครามในวันเดียวกัน โดยออกเดินทางจากจังหวัดลำปางตั้งแต่เวลาประมาณ 13.00 น. และถึงกรุงเทพฯ ในเวลา 23.00 น. อาอีซะห์ถูกควบคุมตัวที่ห้องขังของสน.ชนะสงครามหนึ่งคืน จากนั้นจึงได้รับการประกันตัวในวันที่ 17 เมษายน 2563 โดยต้องวางเงินประกัน 50000 บาท

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

อ.1229/61

ศาล

ศาลแขวงดุสิต

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล

5 พฤษภาคม 2561

กลุ่มคนอยากเลือกตั้งซึ่งจัดกิจกรรม อภิปรายไม่ไว้วางใจ "หยุดระบอบ คสช. หยุดยื้อเลือกตั้ง" และตลาดนัด "ช็อปช่วยทาส" ที่ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ แถลงข้อเรียกร้องสามข้อต่อรัฐบาล ได้แก่  ให้จัดการเลือกตั้ง ในเดือน พ.ย.2561 ให้ คสช.ลาออก และให้กองทัพเลิกหนุน คสช. พร้อมระบุว่าหากข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนองกลุ่มคนอยากเลือกตั้งจะทำกิจกรรมเดินเท้าจากธรรมศาสตร์ ไปหน้าทำเนียบรัฐบาล

8 พฤษภาคม 2561

พีพีทีวีออนไลน์รายงานว่า พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า กรณีที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งนัดเคลื่อนไหวจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นสิ่งที่ตำรวจไม่สามารถห้ามได้เนื่องจากเป็นสิทธิในการชุมนุม แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย หากการชุมนุมอยู่ใกล้เขตพระราชฐานในระยะ 150 เมตร จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด

 
9 พฤษภาคม 2561
 
เพจ กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย โพสต์อัลบัมภาพพร้อมข้อความเชิญชวนประชาชนมาร่วมการชุมนุมและเดินไปทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561
 
18 พฤษภาคม 2561
 
 พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยว่าผู้ชุมนุมทำหนังสือแจ้งมายังเจ้าหน้าที่เรื่องขอจัดการชุมนุมแล้ว แต่เจ้าหน้าที่อนุญาตให้ชุมนุมบริเวณถนนหน้าพระลาน และหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น ส่วนพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลมีการประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมไม่อนุญาตให้ผู้ชุมนุมเดินเข้ามาในพื้นที่
 
22 พฤษภาคม 2561

กลุ่มคนอยากเลือกตั้งกำหนดจัดกิจกรรมเดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้หัวหน้าคสช.จัดการเลือกตั้งภายในปี 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจนำกำลังล้อมรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่คืนวันที่ 21 พฤษภาคมเพื่อเตรียมสกัดไม่ให้มีการเดินขบวนในตอนเช้า

กระทั่งผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนในเวลาประมาณ 9.00 น.เจ้าหน้าที่ก็พยายามสกัดกั้นจนเกิดการปะทะกันแต่ก็ไม่มีเหตุรุนแรง ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่สามารถเข้ามาสมทบในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็นัดรวมตัวกันด้านนอกแนวกั้นของเจ้าหน้าที่บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร

ช่วงประมาณ 13.00 น. ในขณะที่ รังสิมันต์ ปิยรัฐ และสิรวิชญ์ และผู้จัดการชุมนุมอีกส่วนหนึ่งอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพราะไม่สามารถเดินมาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อานนท์ ชลธิชา และ ณัฏฐา นำผู้ชุมนุมที่ไม่สามารถเข้ามาสมทบในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินเท้าไปตามถนนราชดำเนินมุ่งหน้าไปที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อมาถึงที่บริเวณสะพานมัฆวานเจ้าหน้าที่ทำการสกัดกั้นและประกาศให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมภายในเวลา 15.00 น. เมื่อถึงเวลา15.00 น. เจ้าหน้าที่ก็เข้าล้อมผู้จัดการชุมนุมได้แก่ อานนท์ ชลธิชา ณัฏฐา เอกชัย และ โชคชัย เพื่อทำการจับกุม แต่ทางผู้จัดได้ขออ่านแถลงการณ์ก่อน หลังจากนั้นจึงมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ ต่อมาในเวลาประมาณ 15.40 น. ปิยรัฐ รังสิมันต์และสิรวิชญ์ ผู้จัดการชุมนุมที่อยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ประกาศยุติการชุมนุมและมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ ในเวลาต่อมามีการตั้งข้อกล่าวหากับบุคคลอื่นในฐานะเป็นผู้จัดการชุมนุมเพิ่มเติมจนมีผู้ต้องหาในคดีนี้รวมทั้งสิ้น 21 คน

20 สิงหาคม 2561

นัดตรวจพยานหลักฐาน

ก่อนยื่นตรวจพยานหลักฐาน ทนายจำเลยยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณาเรื่องการบังคับใช้ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558  ศาลแขวงดุสิตนัดฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการบังคับใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ วันที่ 30 ตุลาคม 2561

30 คุลาคม 2561

นัดพร้อม

ตั้งแต่เวลา 9.00 น. จำเลยคดีนี้เจ็ดคนทยอยเดินทางมาที่ศาลเพื่อฟังคำสั่งคดี สำหรับจำเลยที่เหลือไม่ได้เดินทางมาศาลเนื่องจากคดีนี้จำเลยร้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีลับหลังจำเลยและศาลอนุญาต 

ศาลเริ่มกระบวนพิจารณาคดีนี้ในเวลาประมาณ 9.45 น. ก่อนเริ่มกระบวนการศาลขอให้ทนายจำเลยที่มาศาลทั้งหมดแถลงว่าทนายแต่ละคนที่มาว่าความให้จำเลยคนใดบ้าง 

หลังจากนั้นศาลแจ้งทนายจำเลยว่าตามที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ในนัดที่แล้วนั้นศาลแขวงดุสิตได้ส่งเรื่องไปแล้วในวันที่ 3 ตุลาคม 2561   

อย่างไรก็ตามคดีนี้อัยการยังไม่ได้ดำเนินการฟ้องคดีผู้ต้องหาอีกสองคนคือเนติวิทย์และชเนศ โดยกรณีของชเนศทั้งพนักงานสอบสวนและอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องแต่เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีสำคัญจึงต้องส่งสำนวนคดีไปให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่สำนวนคดีของเนติวิทย์ก็ถูกส่งไปด้วยและอัยการยังไม่ได้รับสำนวนคดีกลับมาจึงยังฟ้องคดีไม่ได้ 

ศาลจึงให้เลื่อนกระบวนพิจารณาคดีในวันนี้ออกไปก่อน เมื่ออัยการฟ้องคดีจำเลยทั้งหมดเข้ามาในสำนวนคดีแล้วจึงจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อเพื่อจะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไปพร้อมกัน โดยศาลนัดพิจารณาคดีนัดต่อไปในวันที่ 22 มกราคม 2562

16 ธันวาคม 2562

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องเนติวิทย์เพิ่มเป็นจำเลยในคดีนี้เพิ่มอีกหนึ่งคน ทำให้มีคนถูกฟ้องต่อศาลแล้วรวมทั้งสิ้น 39 คน  

7 เมษายน 2563

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลว่าศาลแขวงดุสิตยกเลิกนัดตรวจพยานหลักฐานวันที่ 22 เมษายน 2563 และกำหนดวันนัดใหม่เป็นวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากในเดือนเมษายนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในประเทศ ยังอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากังวล

16 เมษายน 2563
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า อาอีซะห์ผู้ต้องหาซึ่งถูกออกหมายจับเพราะไม่ได้เข้ารายงานตัวตามหมายเรียกถูกจับกุมตัวที่ตลาดนัดบ้านดอนแก้ว อ.เสริมงาม จ.ลำปาง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสน.ชนะสงคราม กรุงเทพ เจ้าของท้องที่เกิดเหตุและตำรวจสภ.เสริมงาม ซึ่งรับผิดชอบท้องที่ที่มีการจับกุม เธอถูกนำตัวขึ้นรถมาที่สน.ชนะสงครามในวันเดียวกัน โดยออกเดินทางจากจังหวัดลำปางตั้งแต่เวลาประมาณ 13.00 น. และถึงกรุงเทพฯ ในเวลา 23.00 น. 
 
17 เมษายน 2563
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ทนายของศูนย์ฯได้เข้าให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับอาอีซะห์ ทนายร้องขอให้พนักงานสอบสวนปล่อยตัวเธอโดยไม่ต้องวางหลักประกันแต่พนักงานสอบสวนเรียกหลักประกันมูลค่า 50000 บาท 

แม้จะได้รับการปล่อยตัว อาอีซะห์ก็ประสบปัญหาในการเดินทางจากกรุงเทพกลับบ้านที่ลำปางเนื่องจากเป็นช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้แทบไม่มีขนส่งสาธารณะบริการและตัวเธอก็ไม่มีญาติอยู่ที่กรุงเทพ 

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุด้วยว่า อาอีซะห์ให้ข้อมูลว่าเธอไม่ได้รับหมายเรียกเนื่องจากย้ายจากจังหวัดขอนแก่นมาอยู่ที่จังหวัดลำปาง จึงไม่ได้รับหมายเรียก ทำให้ไม่ได้เข้ารายงานตัวจนเป็นเหตุให้ถูกจับกุมตัว พนักงานสอบสวนนัดส่งตัวเธอให้อัยการในวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 จากนั้นพนักงานสอบสวนเลื่อนนัดส่งตัวให้อัยการออกไปอีกครั้งเป็นวันที่ 4 มิถุนายน 2563
 
5 มิถุนายน 2563
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลว่าอัยการเลื่อนนัดฟังคำสั่งคดีเฉพาะส่วนของอาอีซะห์ออกไปเป็นวันที่ 27 สิงหาคม 2563
 
 

 

 

 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา