สกันต์: คดี 112 จากการพูดคุยกันในเรือนจำ

อัปเดตล่าสุด: 29/08/2562

ผู้ต้องหา

สกันต์

สถานะคดี

ศาลไม่รับฟ้อง

คดีเริ่มในปี

2512

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ผู้คุมเรือนจำกลางคลองเปรม

สารบัญ

สกันต์ อายุ 63 ปี เคยถูกกล่าวหาว่า เตรียมวางเพลิงธนาคารกรุงเทพ ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 2552 โดยศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาว่า สกันต์มีความผิด พิพากษาให้จำคุก-ปี โดยสกันต์ต้องรับโทษจำคุกจริงอยู่เป็นเวลา 8 ปี 6 เดือน และมีกำหนดปล่อยตัวในวันที่ 11 ตุลาคม 2560
 

ภูมิหลังผู้ต้องหา


ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องสกันต์ ในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวนสามกรรม จากการกล่าวถ้อยคำจำนวนสามครั้งขณะที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ

 


ครั้งที่หนึ่ง เมื่อวันใดไม่ปรากฏชัด เดือนตุลาคม 2557 เวลากลางวัน จำเลยนี้ขณะเป็นผู้ต้องขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะกำลังชมรายการโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดภาพการปฏิบัติพระกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทางเรือนจำพิเศษกรุงเทพได้เปิดให้ดู จำเลยได้บังอาจพูดว่า xxx ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่เก้า) อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่เก้า) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ ในขณะนั้น


ครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2557 เวลากลางวัน จำเลยนี้ ขณะเป็นผู้ต้องขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะที่ทางเรือนจำจัดพิธีถวายความเคารพเนื่องในวันพ่อแห่งชาติร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อถวายความเคารพต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่เก้า) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติพระบรมราชินีนาถ ขณะผู้ต้องขังกำลังร้องเพลงดังกล่าว จำเลยได้บังอาจพูดว่า xxx


ครั้งที่สาม เมื่อวันใดไม่ปรากฏชัด ต้นเดือนธันวาคม 2557 เวลากลางวัน จำเลยนี้ ขณะเป็นผู้ต้องขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะที่ผู้ต้องขังรอเคารพธงชาติ จำเลยได้บังอาจพูดว่า เคยเป็นทหารหน่วยซีลมาก่อน แต่มารู้ภายหลังว่า ปกป้องคนผิด ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่เก้า) อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่เก้า) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ ในขณะนั้น
 

พฤติการณ์การจับกุม

11 ตุลาคม 2560 ตำรวจจากสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่นเข้าควบคุมตัวสกันต์ที่เรือนจำกลางคลองเปรม ในจังหวะที่สกันต์กำลังจะถูกปล่อยตัวเพราะพ้นโทษในคดีที่ถูกคุมขังอยู่ก่อนหน้านี้ และนำตัวไปสอบสวนที่สถานีตำรวจเป็นเวลาหนึ่งคืน

 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลอาญา รัชดาฯ

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล

11 ตุลาคม 2560


สกันต์มีกำหนดปล่อยตัวออกมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ หลังครบกำหนดโทษในคดีที่ถูกกล่าวหาว่า เตรียมวางเพลิงธนาคารกรุงเทพเมื่อปี 2552 แต่ยังไม่ทันได้ปล่อยตัว ตำรวจ สน.ประชาชื่นได้อายัดตัวต่อเพื่อไปดำเนินคดีนี้ และพาตัวสกันต์ไปสอบสวนในข้อหามาตรา 112 จำนวนสามกรรม ที่ สน. ประชาชื่น สกันต์ให้การปฏิเสธตลอดทุกข้อกล่าวหา

 

12 ตุลาคม 2560


พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่นได้นำตัวสกันต์ไปยังศาลอาญาเพื่อยื่นคำร้องขอฝากขังระหว่างการสอบสวน ขณะที่ญาติของสกันต์ก็ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 400,000 บาท กระทั่งเวลาประมาณ 16.00 น. ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ระบุว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ความหนักเบาของข้อหา ซึ่งมีอัตราโทษสูง ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว หากอนุญาตเกรงว่า ผู้ต้องหาจะหลบหนี

 

28 ธันวาคม 2560


อัยการมีคำสั่งฟ้องคดี โดยตามคำฟ้องระบุว่า เมื่อวันใดไม่ปรากฏชัด เดือนตุลาคม 2557 เวลากลางวัน จำเลยนี้ขณะเป็นผู้ต้องขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะกำลังชมรายการโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดภาพการปฏิบัติพระกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทางเรือนจำพิเศษกรุงเทพได้เปิดให้ดู จำเลยได้บังอาจพูดว่า xxx ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่เก้า) อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่เก้า) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ ในขณะนั้น

 

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2557 เวลากลางวัน จำเลย ขณะเป็นผู้ต้องขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะที่ทางเรือนจำจัดพิธีถวายความเคารพเนื่องในวันพ่อแห่งชาติร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อถวายความเคารพต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่เก้า) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติพระบรมราชินีนาถ ขณะผู้ต้องขังกำลังร้องเพลงดังกล่าว จำเลยได้บังอาจพูดว่า xxx

 


เมื่อวันใดไม่ปรากฏชัด ต้นเดือนธันวาคม 2557 เวลากลางวัน จำเลยนี้ ขณะเป็นผู้ต้องขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะที่ผู้ต้องขังรอเคารพธงชาติ จำเลยได้บังอาจพูดว่า เคยเป็นทหารหน่วยซีลมาก่อน แต่มารู้ภายหลังว่า ปกป้องคนผิด ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่เก้า) อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่เก้า) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ ในขณะนั้น


ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่างกรรมต่างวาระ พร้อมกับคัดค้านการประกันตัวเนื่องจากเกรงว่า จำเลยจะหลบหนี


26 มีนาคม 2561
นัดตรวจพยานหลักฐาน

 

เวลา 9.00 น. ศาลอาญา นัดตรวจพยานหลักฐานในคดีนี้ โดยอัยการโจทก์ ทนายจำเลย และหลานของสกันต์ได้มาพร้อมกันที่ห้องพิจารณาคดี จนกระทั่งเวลาประมาณ 10.00 น. เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์แจ้งว่า ขอเลื่อนการตรวจพยานหลักฐานในช่วงเช้าไปก่อน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ธุรการไม่ได้ทำเรื่องเบิกตัวจำเลยมาจากเรือนจำ โดยนัดหมายคดีนี้อีกครั้งในเวลา 13.30 น.

 


ต่อมาเวลา 13.30 น. ศาลและคู่ความทั้งสองฝ่ายได้มาพร้อมกันและเริ่มการตรวจพยานหลักฐาน โดยอัยการแถลงขอนำพยานเข้าสืบจำนวน 20 ปาก เป็นพนักงานสอบสวน, ผู้ร้องทุกข์และนักโทษที่ถูกคุมขังในแดนเดียวกับจำเลย ขณะที่ทนายจำเลยแถลงขอนำพยานเข้าสืบจำนวนสองปาก คือ สกันต์ ตัวจำเลยเอง และกิจ ซึ่งเป็นนักโทษคนหนึ่งที่เคยยื่นเรื่องร้องทุกข์ในคดีนี้ อย่างไรก็ดี อัยการได้อ้างกิจเป็นพยานแล้ว ศาลจึงให้ทนายจำเลยถามค้านในนัดสืบพยานโจทก์ในครั้งเดียวกัน ทนายจำเลยไม่คัดค้าน และนัดหมายสืบพยาน 12 นัดตั้งแต่วันที่ 16-19,24-25 ตุลาคม 2561

 


ระหว่างการรอศาลบันทึกกระบวนพิจารณาคดี สกันต์เล่าให้ผู้สังเกตการณ์ฟังว่า เหตุแห่งคดีเกิดจากความขัดแย้งระหว่างที่เขาถูกจำคุกในอีกคดีหนึ่ง ตอนนั้นสกันต์ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำออกกำลังกาย ซึ่งบางครั้งการเป็นผู้นำก็สร้างความไม่พอใจให้แก่นักโทษบางกลุ่ม ซึ่งต่อมากลุ่มนั้นก็เป็นผู้ร้องทุกข์ในคดีนี้ ประกอบกับการเมืองเรื่องสีเสื้อ ที่นักโทษกลุ่มดังกล่าวกล่าวหาสกันต์ว่า เป็นเสื้อแดงและคอยกระทบกระเทียบทักษิณและยิ่งลักษณ์ ต่อหน้าเขาอยู่เสมอ

 


1 มิถุนายน 2561


ศาลอาญา รัชดาฯ มีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวสกันต์ระหว่างการพิจารณาคดี

 

16 ตุลาคม 2561
นัดสืบพยานโจทก์


เวลา 9.00 น. ห้องพิจารณาคดีที่ 714 โจทก์และสกันต์มารอภายในห้องพิจารณาคดี ศาลอ่านคำพิพากษาคดีอื่นก่อนจะพิจารณาคดีของสกันต์ในเวลาประมาณ 10.00 น. โดยสกันต์ขอถอนคำให้การปฏิเสธและรับสารภาพ ให้ทนายยื่นคำแถลงประกอบการรับสารภาพภายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561

 

14 พฤศจิกายน 2561
นัดฟังคำพิพากษา

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันใดไม่ปรากฎชัด เดือนตุลาคม 2557 เวลากลางวัน เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2557 เวลากลางวันและวันใดไม่ปรากฏชัดต้นเดือนธันวาคม 2557 เวลากลางวัน ขณะจำเลยเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพได้กล่าวคำพูดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์และจำเลยไม่สืบพยาน

 

พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ข้อความตามที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นการแปลความ ส่วนคำพูดของจำเลยไม่ได้กล่าวยืนยันข้อเท็จจริงถึงผู้ใดเฉพาะเจาะจง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง พิพากษายกฟ้อง

 

หมายเหตุ : มาตรา 185  ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดก็ดี การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป แต่ศาลจะสั่งขังจำเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้

 

เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิด และไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด แต่เมื่อเห็นสมควรศาลจะปล่อยจำเลยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้

 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา