ปิยบุตร: วิจารณ์คดียุบพรรคทษช.

อัปเดตล่าสุด: 17/01/2563

ผู้ต้องหา

ปิยบุตร

สถานะคดี

ชั้นอัยการ

คดีเริ่มในปี

2562

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ

สารบัญ

วันที่ 7 มีนาคม 2562 ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่จัดแถลงข่าวกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ
 
ในการแถลงข่าว ปิยบุตรอ่านแถลงการณ์ของพรรคอนาคตใหม่และตอบคำถามพร้อมให้ความเห็นกับผู้สื่อข่าว ต่อมาคสช.ให้ฝ่ายกฎหมายเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษเขาในความผิดฐานหมิ่นศาลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 และความผิดฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14(2) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากกรณีการเผยแพร่แถลงการณ์บนอินเทอร์เน็ต เบื้องต้นปิยบุตรให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ปิยบุตร แสงกนกกุลเป็นเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่  ก่อนรับตำแหน่งดังกล่าวเขาเคยเป็นนอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2544 – วันที่ 1 สิงหาคม 2561 ทำหน้าที่สอนและทำงานวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง ในปี 2553

เขาเริ่มเคลื่อนไหวกับอาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งในนามคณะนิติราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล ธีระ สุธีวรางกูร สาวตรี สุขศรี ในการจัดเวทีเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายที่สำคัญต่อประชาชนตามโอกาสต่างๆ การจัดเวทีวิชาการเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นประเด็นที่ทำให้ตัวของปิยบุตรและคณาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์อยู่ในความสนใจของฝ่ายความมั่นคง 
 

 

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (2) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

วันที่ 7 มีนาคม 2562 ปิยบุตร เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่จัดแถลงข่าวหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ โดยที่เนื้อหาของแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยต่อคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ปิยบุตรยังตอบคำถามและให้ความเห็นเกี่ยวกับคำสั่งศาลกับผู้สื่อข่าวด้วย

ในเวลาต่อมาแถลงการณ์ของพรรคอนาคตใหม่ก็ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ด้วย รายละเอียดในแถลงการณ์ มีดังนี้
 
"จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ พรรคอนาคตใหม่มีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้
 
1. ในรัฐเสรีประชาธิปไตย บุคคลที่มีแนวคิดอุดมการณ์เดียวกันย่อมมีเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐโดยผ่านการนำเสนอนโยบายเพื่อให้ประชาชนเลือก พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันการเมืองอันสำคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตย การยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น
 
2. ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา มีกระบวนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง มีการยุบพรรคการเมืองซึ่งครองเสียงข้างมากมาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีต่อระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ตรงกันข้าม การยุบพรรคการเมืองกลับทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยต่อการใช้อำนาจขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ จนทำให้ประเทศไทยเดินทางมาถึงจุดที่ไม่อาจหา “ข้อยุติ” ที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้
 
3. การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลาก่อนถึงวันเลือกตั้งเพียง 17 วัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ด้วย ในประการแรก การยุบพรรคการเมืองเป็นการตัดโอกาสมิให้พรรคการเมืองที่ถูกยุบได้เข้าแข่งขันในการเลือกตั้ง และทำลายเจตจำนงของประชาชนที่ต้องการเลือกพรรคการเมืองที่ถูกยุบ ประการที่สอง การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลานี้อาจทำให้ประชาชนเสียความเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะดำเนินไปอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพรรคที่ถูกยุบเป็นพรรคที่มีจุดยืนต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช.
 
4. ในรัฐเสรีประชาธิปไตยประกอบไปด้วยความชอบธรรมสองประการ ประการแรก ความชอบธรรมจากฐานที่มาของอำนาจรัฐ ได้แก่ อำนาจของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การเลือกผู้แทนราษฎรและรัฐบาล ประการที่สอง ความชอบธรรมจากการจำกัดการใช้อำนาจ ได้แก่ การประกันเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกอำนาจรัฐล่วงละเมิด และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พรรคอนาคตใหม่ยืนยันว่า ในรัฐเสรีประชาธิปไตย สถาบันทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องถูกตรวจสอบ เช่นเดียวกัน รัฐเสรีประชาธิปไตยก็ไม่อาจยอมรับให้องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสามารถใช้อำนาจในนามของการตรวจสอบตามอำเภอใจ
 
ขบวนการ “ตุลาการภิวัตน์” หรือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองตลอดกว่าทศวรรษ ไม่ได้ช่วยให้ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง แต่กลับทำให้ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจถูกตั้งคำถาม จนกลายเป็นว่า ฝ่ายหนึ่ง ก็มองว่ารัฐบาลเสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบ อีกฝ่ายหนึ่ง ก็มองว่าองค์กรตุลาการและองค์กรอิสระต้องการทำลายฝ่ายเสียงข้างมาก สภาพการณ์เช่นนี้ นำมาซึ่งการแตกขั้วทางการเมืองจนถึงที่สุด จนสังคมไทยไม่อาจหาฉันทามติได้
 
พรรคอนาคตใหม่เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองต่าง ๆ ให้ได้ดุลยภาพ เคารพเสียงข้างมากพร้อมกับคุ้มครองเสียงข้างน้อย สร้างระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระที่ได้มาตรฐานตามแบบประชาธิปไตยสากลและสามารถควบคุมมิให้เสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบได้ โดยต้องไม่ตกเป็น “เครื่องมือ” ในการกวาดล้างทางการเมือง
 
พรรคอนาคตใหม่ขอเรียกร้องให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 เพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. พิสูจน์ให้เห็นว่า แม้ระบอบเผด็จการได้วางกลไกการสืบทอดอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญและกฎหมายไว้ แต่ก็ไม่อาจต้านทานอำนาจของประชาชนได้
 
24 มีนาคม 2562 จับปากกาฆ่าเผด็จการ เริ่มต้นยุติวงจรรัฐประหาร เปิดฉากการเมืองแบบใหม่ที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน"
 
ฝ่ายกฎหมายของคสช.มีความเห็นว่าเนื้อหาของแถลงการณ์อาจเข้าข่ายความผิดฐานดูหมิ่นศาลจึงมอบอำนาจให้พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารฝ่ายกฎหมายของคสช.เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีกับปิยบุตร 

พฤติการณ์การจับกุม

ปิยบุตรเข้ารายงานตัวตามนัด จึงไม่มีการจับกุม

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ไม่มีข้อมูล

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
7 มีนาคม 2562
 
เวลา 15.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคไทยรักษาชาติซึ่งสรุปได้ว่า การเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีถือเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียสถานะที่จะต้องอยู่เหนือการเมือง และดำรงความเป็นกลางในทางการเมืองอันเป็นจุดประสงค์เริ่มต้นของการเซาะกร่อน บ่อนทำลาย เป็นเหตุให้ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมทรามหรืออ่อนแอลง เข้าลักษณะของการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีคำสั่งให้ยุบไทยรักษาชาติ
 
ต่อมาเวลา 18.45 น. ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ จัดแถลงข่าวอ่านแถลงการณ์ของพรรคแสดงความไม่ด้วยต่อคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีเนื้อหาว่า
 
1. ในรัฐเสรีประชาธิปไตย บุคคลที่มีแนวคิดอุดมการณ์เดียวกันย่อมมีเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐโดยผ่านการนำเสนอนโยบายเพื่อให้ประชาชนเลือก พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันการเมืองอันสำคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตย การยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น
 
2. ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา มีกระบวนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง มีการยุบพรรคการเมืองซึ่งครองเสียงข้างมากมาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีต่อระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ตรงกันข้าม การยุบพรรคการเมืองกลับทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยต่อการใช้อำนาจขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ จนทำให้ประเทศไทยเดินทางมาถึงจุดที่ไม่อาจหา “ข้อยุติ” ที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้
 
3. การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลาก่อนถึงวันเลือกตั้งเพียง 17 วัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ด้วย ในประการแรก การยุบพรรคการเมืองเป็นการตัดโอกาสมิให้พรรคการเมืองที่ถูกยุบได้เข้าแข่งขันในการเลือกตั้ง และทำลายเจตจำนงของประชาชนที่ต้องการเลือกพรรคการเมืองที่ถูกยุบ ประการที่สอง การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลานี้อาจทำให้ประชาชนเสียความเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะดำเนินไปอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพรรคที่ถูกยุบเป็นพรรคที่มีจุดยืนต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช.
 
4. ในรัฐเสรีประชาธิปไตยประกอบไปด้วยความชอบธรรมสองประการ ประการแรก ความชอบธรรมจากฐานที่มาของอำนาจรัฐ ได้แก่ อำนาจของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การเลือกผู้แทนราษฎรและรัฐบาล ประการที่สอง ความชอบธรรมจากการจำกัดการใช้อำนาจ ได้แก่ การประกันเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกอำนาจรัฐล่วงละเมิด และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พรรคอนาคตใหม่ยืนยันว่าในรัฐเสรีประชาธิปไตย สถาบันทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องถูกตรวจสอบ เช่นเดียวกัน รัฐเสรีประชาธิปไตยก็ไม่อาจยอมรับให้องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสามารถใช้อำนาจในนามของการตรวจสอบตามอำเภอใจ
 
ขบวนการ “ตุลาการภิวัตน์” หรือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองตลอดกว่าทศวรรษ ไม่ได้ช่วยให้ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง แต่กลับทำให้ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจถูกตั้งคำถาม จนกลายเป็นว่า ฝ่ายหนึ่ง ก็มองว่ารัฐบาลเสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบ อีกฝ่ายหนึ่ง ก็มองว่าองค์กรตุลาการและองค์กรอิสระต้องการทำลายฝ่ายเสียงข้างมาก สภาพการณ์เช่นนี้ นำมาซึ่งการแตกขั้วทางการเมืองจนถึงที่สุด จนสังคมไทยไม่อาจหาฉันทามติได้
 
พรรคอนาคตใหม่เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองต่าง ๆ ให้ได้ดุลยภาพ เคารพเสียงข้างมากพร้อมกับคุ้มครองเสียงข้างน้อย สร้างระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระที่ได้มาตรฐานตามแบบประชาธิปไตยสากลและสามารถควบคุมมิให้เสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบได้ โดยต้องไม่ตกเป็น “เครื่องมือ” ในการกวาดล้างทางการเมือง
 
พรรคอนาคตใหม่ขอเรียกร้องให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 เพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. พิสูจน์ให้เห็นว่า แม้ระบอบเผด็จการได้วางกลไกการสืบทอดอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญและกฎหมายไว้ แต่ก็ไม่อาจต้านทานอำนาจของประชาชนได้
 
24 มีนาคม 2562 จับปากกาฆ่าเผด็จการ เริ่มต้นยุติวงจรรัฐประหาร เปิดฉากการเมืองแบบใหม่ที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน

หลังการแถลงข่าว ปิยบุตรเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวถามคำถาม มีคำถามว่ากรณีของพรรคไทยรักษาชาติปิยบุตรมองว่า จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานต่อพรรคการเมืองอย่างไรบ้าง ปิยบุตรตอบว่า

“จริงอยู่ที่ในรัฐเสรีประชาธิปไตยเรื่องการยุบพรรคการเมือง แต่ต้องทำเฉพาะพรรคการเมืองที่มีพฤติกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองจริงๆ ที่ผ่านมาเราพบเห็นว่า ถูกตั้งคำถามและเคลือบแคลงสงสัย พรรคการเมืองคือองค์กร การยุบพรรคทำเพียงแค่ยุบองค์กรไปแต่ยุบความคิดของคนที่มารวมตัวกันไม่ได้ บทพิสูจน์ที่เห็นได้ชัดว่า 13 ปีที่ผ่านมายุบพรรคครองเสียงข้างมากกลุ่มเดิมมา 3 ครั้ง แต่สุดท้ายแล้วเรื่องราวไม่จบ เพราะยุบองค์กรเขา แต่ความคิดเช่นนั้นก็ยังคงอยู่ ความเห็นของเราไม่ควรจะมีการยุบพรรคใดๆเลยในห้วงยามที่จะเดินหน้าอยู่การเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 10 ปี แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะบอกว่า พิจารณาความได้สัดส่วนและพอสมควรแก่เหตุ แต่ความเห็นของตนเห็นว่า 10 ปีเป็นโทษรุนแรงมาก
 
ในฐานะอาจารย์ด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ สังเกตเปรียบเทียบการยุบพรรคว่า เวลาที่บอกว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง เช่นสร้างพรรคการเมืองขึ้นมาและสมาชิกพรรคมีแนวคิดล้มล้างการปกครอง ถ้าพรรคที่ต้องการสนับสนุนเผด็จการ ยืนยันว่า ต่อไปนี้ไม่ต้องมีการเลือกตั้งแล้ว ตั้งพรรคลิดรอนเสรีภาพประชาชน คิดว่า วิญญูชนพิจารณาดูได้ว่า คำว่า ปฏิปักษ์ต่อการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขควรมีความหมายกินความกว้างเพียงใด
 
การเลือกตั้งจะเกิดขึ้น ในอีก 17 วัน บรรยากาศการเลือกตั้งต้องสร้างมันให้ดีเพื่อเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง เป็นหมุดหมายที่สำคัญในฐานะที่เป็นก้าวแรกที่จะกลับสู่ประชาธิปไตย แล้วเราเริ่มต้นด้วยการยุบพรรคและบังเอิญว่า เป็นพรรคที่ต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคสช.ด้วย แบบนี้มันจะส่งสัญญาณที่ไม่ดีออกไป ทำให้เคลือบแคลงสงสัยว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น สุดท้ายแล้วกลายเป็นว่า พรรคการเมืองที่มีแนวทางต่อต้านการสืบทอดอำนาจคสช. จะถูกยุบพรรคหรือไม่อย่างไร”
 
3 เมษายน 2562
 
เวลา 12.31 น. ปิยบุตร โพสต์  ภาพหมายเรียกพยาน ที่ระบุว่า เป็นคดีระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีพ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ เป็นผู้รับมอบอำนาจ และเจ้าของเว็บไซต์ Futureforwardparty.org และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดพร้อมข้อความบนเพจเฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล ว่า

“…วันนี้ก่อนออกไปทำงาน ผมเห็นกระดาษเสียบอยู่ในตู้จดหมาย หยิบมาดูปรากฏว่าเป็น “หมายเรียกพยาน” กรณีแถลงการณ์ของพรรคอนาคตใหม่กรณียุบพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งผมเป็นผู้อ่านในงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 โดยเจ้าหน้าที่ให้ผมไปพบ ปอท. ในวันนี้คือวันที่ 3 เมษายน เวลา 13.00 น. ผมเพิ่งได้รับหมายเรียกพยานก่อนเที่ยงวันนี้เอง ให้ผมไปพบพนักงานสอบสวนตอนบ่ายโมงวันนี้ แต่ในหมายเรียกเขียนว่าออกหมายวันที่ 27 มีนาคม ผมจึงต้องมอบหมายให้ทนายความไปแจ้งพนักงานสอบสวนขอเลื่อนนัดไปก่อน…”
 
 
9 เมษายน 2562
 
เวลา 12.31 น. ปิยบุตร โพสต์ข้อความบนเพจเฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล ว่า “…เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา ผมได้รับ “หมายเรียกพยาน” จากกรณีอ่านคำแถลงการณ์พรรคอนาคตใหม่กรณีการยุบพรรคไทยรักษาชาติ โดยให้ผมไปพบเจ้าหน้าที่ตำรวจในวันเดียวกันกับวันที่ได้รับหมาย ทำให้ผมไม่สามารถเดินทางไปได้ตามกำหนด จึงได้ให้ทนายความขอเลื่อนการเข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจออกไป มาวันนี้ “หมายเรียกพยาน” ดังกล่าวได้ กลายเป็น “หมายเรียกผู้ต้องหา” แทนแล้ว
 
พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ รับมอบอำนาจจาก คสช. ไปร้องทุกข์กล่าวโทษผมต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในความผิดอาญา 2 ฐาน ได้แก่
 
1. ดูหมิ่นศาล
 
2. นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยน่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ หรือเกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์…”
 
หมายเรียกผู้ต้องหาออกวันที่ 5 เมษายน 2562 สองวันหลังจากที่ปิยบุตรได้รับหมายเรียกพยาน โดยพนักงานสอบสวนนัดให้ไปพบที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ในวันที่ 9 เมษายน 2562 แต่เนื่องจากปิยบุตรต้องเดินทางไปต่างประเทศจึงขอเลื่อนวันเข้าพบเป็นวันที่ 17เมษายน 2562 แทน
 
17 เมษายน 2562
 
คมชัดลึกออนไลน์ รายงานว่า ปิยบุตรพร้อมด้วยฝ่ายกฎหมาย เข้ารายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยมีแกนนำและว่าที่ ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ นำโดย พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรค รังสิมันต์ โรม ว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ประชาชน และสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ประมาณ 200 คน มายืนต้อนรับและให้กำลังใจ
 
ในส่วนของคำให้การ มติชนออนไลน์รายงานว่าปิยบุตรให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาพร้อมแจ้งพนักงานสอบสวนว่าจะทำคำให้การเป็นหนังสือมาส่งในภายหลัง ซึ่งพนักงานสอบสวนนัดให้ปิยบุตรส่งคำให้การภายในวันที่ 25 เมษายน 2562 ปิยบุตรจึงตั้งข้อสังเกตว่าโดยปกติผู้ต้องหาจะมีเวลาประมาณ 15 – 30 วันที่จะทำคำให้การมาส่งแต่กรณีดูเหมือนจะมีการเร่งรัดเป็นพิเศษเพราะเมื่อพนักงานสอบสวนนัดวันที่ 25 เมษายนก็เท่ากับว่าเขามีเวลาทำคำให้การเพียง 9 วันเท่านั้น
 
28 พฤศจิกายน 2562
 
มติชนออนไลน์รายงานว่า อัยการเลื่อนการสั่งคดีนี้ออกไปเป็นวันที่ 15 มกราคม 2562 เนื่องจากผู้ต้องหาร้องขอความเป็นธรรม โดยอัยการกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร
 
15 มกราคม 2563
 
แนวหน้าออนไลน์รายงานว่า อัยการได้มีคำสั่งให้พนักงานสอบสวน ปอท.สอบพยานเพิ่มเติมแต่ยังไม่ได้รับผลการสอบเพิ่มเติมกลับมา จึงให้เลื่อนไปฟังคำสั่งคดีในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 10.00 น.

 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา