ปนัสยา: เขียนจดหมายถึงพระมหากษัตริย์

อัปเดตล่าสุด: 09/07/2564

ผู้ต้องหา

ปนัสยา

สถานะคดี

ชั้นสืบสวนสอบสวน

คดีเริ่มในปี

2564

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

นิติพงษ์ ห่อนาค

สารบัญ

8 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มราษฎรนัดทำกิจกรรม ราษฎรสาส์น เขียนความในใจส่งถึงพระมหากษัตริย์ ผู้จัดนัดหมายให้ผู้ร่วมชุมนุมรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลา 16.00 น. เพื่อเขียนจดหมาย หย่อนลงตู้ไปรษณีย์ที่ทางผู้จัดเตรียมมาและนำไปส่งถึงพระมหากษัตริย์ผ่านไปทางสำนักพระราชวัง
 
หลังรวมตัวที่ถนนราชดำเนินในช่วงเย็นผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปที่สนามหลวงเพื่อนำตู้จดหมายจำลองไปส่งสำนักพระราชวังซึ่งตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง แต่เจ้าหน้าที่ตั้งแนวกั้นพื้นที่ไม่ให้ผู้ชุมนุมเดินพ้นแนวกั้นเข้าไป ระหว่างนั้นรถฉีดน้ำแรงดันสูงซึ่งจอดอยู่หลังแนวเจ้าหน้าที่ยังฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุมเป็นระยะเวลาสั้นๆซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ผู้ชุมนุม

ต่อมามีการเจรจาระหว่างตัวแทนผู้ชุมนุมกับตำรวจ พล.ต.ต.เมธี รักพันธุ์. ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 ผู้บัญชาการสถานการณ์กล่วว่าเสียใจที่เจ้าหน้าที่ฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุมแต่ต้องฉีดเพื่อเตือนไม่ให้ผู้ชุมนุมเดินฝ่าแนวของเจ้าหน้าที่ไป

หลังการเจรจา เจ้าหน้าที่ยอมถอยแนวกั้นไปอยู่ที่ศาลหลักเมือง ขณะที่ผู้ชุมนุมก็นำตู้ไปรษณีย์บรรจุจดหมายของประชาชนที่ประสงค์จะส่งถึงพระมหากษัตริย์ไปตั้งไว้หน้าแนวของเจ้าหน้าที่และอ่านแถลงการณ์ในเวลาประมาณ 20.50 ก่อนประกาศยุติการชุมนุมโดยไม่มีเหตุรุนแรงหรือวุ่นวายใด 
 
คู่ขนานไปกับกิจกรรมที่สนามหลวง นักกิจกรรมที่เป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไป เช่น ทนายอานนท์ นำภา พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิ้น และ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง รวมถึงผู้ใช้เฟซบุ๊กบางส่วนยังโพสต์ข้อความเป็นจดหมายของตัวเองหรือแชร์ข้อความเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าวบนโลกออนไลน์ด้วย 
 
ต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 นิติพงษ์ ห่อนาค หรือดี้ ศิลปินนักแต่งเพลงเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษปนัสยาต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ให้ดำเนินคดีกับผู้ใช้เฟซบุ๊กบัญชี Panusaya Sithijirawattanakul จากกรณีแชร์โพสต์ของเพจเฟซบุ๊ก “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ซึ่งโพสต์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 นิติพงษ์เห็นว่าข้อมูลที่ผู้ให้เฟซบุ๊กคนดังกล่าวแชร์อาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 จึงมาร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดี

ในวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ปนัสยาเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหากับปอท. โดยเธอให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและปฏิเสธที่จะลงลายมือชื่อในเอกสารบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน
 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง เป็นนักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโฆษกสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นหนึ่งในแกนนำการชุมนุม และแกนนำคณะราษฎร รวมถึงเป็นผู้ดันเพดานสูงสุดด้วยการอ่าน 10 ข้อเรียกร้อง ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 14 (5) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

 บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีพอสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน นิติพงศ์ ห่อนาค หรือดี้ ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้ใช้เฟซบุ๊กเจ้าของบัญชี “Panusaya Sithijirawattanakul” ซึ่งตัวผู้กล่าวหาตรวจพบในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 ว่า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 ผู้ใช้เฟซบุ๊กบัญชี Panusaya Sithijirawattanakul แชร์โพสต์จากเพจเฟซบุ๊ก “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม United Front of Thammasat and Demonstration” ที่โพสต์ในวันเดียวกันโดยมีข้อความที่สรุปได้ทำนองว่า
 
ในขณะนี้มีปัญหาเกิดขึ้นในประเทศแต่ไม่อาจทราบได้ว่าพระมหากษัตริย์จะทรงทราบถึงปัญหาเหล่านั้นหรือไม่ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงประทับอยู่ต่างแดนเป็นเวลานานและเพิ่งทรงเสด็จกลับมาประทับในประเทศได้ไม่นาน แนวร่วมธรรมและการชุมนุมจึงถือโอกาสนี้ส่งข้อเรียกร้องสามข้อต่อพระมหากษัตริย์ ได้แก่

1.เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะบริหารราชการแผ่นดินล้มเหลวและเป็นต้นเหตุของปัญหาที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่
 
2.เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้กลับมาเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องทำได้ทุกหมวดโดยไม่มีข้อยกเว้น รวมถึงหมวดหนึ่งและหมวดสองที่ไม่เคยมีการแก้ไขมาเป็นเวลานาน

3.เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่ใช่การล้มล้าง แต่เป็นการปฏิรูปให้สถาบันให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างสง่างาม 
 
ข้อความบางตอนในรารษฎรสาส์นที่ผู้ต้องหาแชร์ต่อมา ได้แก่ข้อความที่กล่าวทำนองว่าพระมหากษัตริย์ทรงประทับสำราญอยู่ต่างประเทศ และข้อความที่กล่าวหาทำนองว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาชนคือข้อความที่ถูกนำมาใช้ร้องทุกข์กล่าวโทษในคดี
 

พฤติการณ์การจับกุม

ปนัสยาเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2564 จึงไม่มีการจับกุมตัว 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลอาญา

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล

6 พฤศจิกายน 2563

เพจเฟซบุ๊ก Free Youth เยาวชนปลดแอก โพสต์โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรมราษฎรสาส์น เขียนจดหมายถึงพระมหากษัตริย์ เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างสง่างาม โดยเพจดังกล่าวยังนัดหมายให้ประชาชนมารวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 ในเวลา 16.00 น. เพื่อเขียนจดหมายร่วมกัน

Radsadorn Sarn Activity

8 พฤศจิกายน 2563

ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า ราษฎรเริ่มเข้าจับจองพื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตั้งแต่เวลาประมาณ 12.00 น. จักรพงศ์ กลิ่นแก้ว จากกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ก็นำประชาชนส่วนหนึ่งเข้ามาในพื้นที่ โดยระบุว่าจะมาเพื่อเฝ้าสังเกตการณ์การกระทำที่อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ระหว่างตำรวจมีการตั้งแถวกั้นระหว่างผู้ชุมนุมกลุ่มศปปสและราษฎรไม่ให้กระทบกระทั่งหรือปะทะกัน

 
ในเวล่าประมาณ 17.30 น. มีการประกาศในพื้นที่การชุมนุมว่าจะมีการจัดขบวนนำผู้ชุมนุมไปยื่นจดหมายที่พระบรมมหาราชวัง เมื่อขบวนของผู้ชุมนุมเคลื่อนไปถึงสะพานผ่านพิภพลีลาก่อนที่จะเลี้ยวไปหน้าศาลฎีกาก็ถูกเจ้าหน้าที่สกัดกั้น กระทั่งเมื่อไปถึงหน้าศาลฏีกาเจ้าหน้าที่ตั้งแนวรั้วลวดหนามหีบเพลง ผู้ชุมนุมบางส่วนพยายามเข้าไปรื้อแนวดังกล่าว เจ้าหน้าที่จึงใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดใส่ผู้ชุมนุมแม้จะฉีดเป็นเวลาสั้นๆและน้ำที่ฉีดเป็นน้ำเปล่าไม่ได้ผสมสารเคมีแต่ก็ทำให้ผู้ชุมนุมไม่พอใจจนสถานการณ์ในพื้นที่ตึงเครียด อย่างไรก็ตามสุวรรณา ตาลเหล็ก หนึ่งในผู้ชุมนุมพยายามควบคุมสถานการณ์โดยพูดกับผู้ชุมนุมผ่านเครื่องเสียงของรถโมบาย 
 
ท้ายที่สุดสถานการณ์เริ่มสงบลง ตำรวจยอมถอยแนวกั้นไปถึงหน้าศาลหลักเมือง ขณะที่ผู้ชุมนุมบางส่วนก็ตัดและรื้อรั้วลวดหน้าที่เจ้าหน้าที่กางไว้ก่อนเคลื่อนขบวนเข้ามาถึงแนวก่อนถึงศาลหลักเมือง
 
เวลา 20.55 น. ผู้ชุมนุมอ่านแถลงการณ์เป็นจดหมายที่เขียนถึงพระมหากษัตริย์ จากนั้นจึงประกาศยุติการชุมนุมและตู้ไปรษณีย์จำลองที่ผู้ชุมนุมเตรียมมาถูกนำมาวางไว้ที่หน้าแนวเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นจุดที่เข้าใกล้พระบรมมหาราชวังเท่าที่สุดเท่าที่เจ้าหน้าที่จะยอมให้ผู้ชุมนุมเข้าใกล้ได้

ในวันเดียวกันกับที่มีกิจกรรมนี้ เฟซบุ๊กเพจแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมโพสต์ข้อความราษฎรสาส์น จดหมายถึงพระมหากษัตริย์ ปนัสยาแชร์ข้อความดังกล่าวไปบนเฟซบุ๊กของตัวเองด้วย 
 
20 พฤศจิกายน 2563
 
นิติพงศ์ ห่อนาคเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษปนัสยาต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
 
9 ธันวาคม 2563
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ปนัสยา พร้อมด้วยพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิ้น ซึ่งถูกดำเนินจากการโพสต์ข้อความราษฎรสาส์นบนเฟซบุ๊กส่วนตัวและถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกับปนัสยามาที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อรายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหาโดยพริษฐ์และปนัสยาถูกดำเนินคดีแยกกัน
 
ปนัสยาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และแจ้งว่าจะให้การเป็นเอกสารภายในวันที่ 22 มกราคม 2564 ปนัสยายังปฏิเสธที่จะลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาแต่เขียนข้อความ  “ไม่ขอลงลายมือชื่อ เพราะไม่ยอมรับอำนาจเผด็จการศักดินา และมาตรา 112” แทน หลังเสร็จขั้นตอนดังกล่าวปนัสยาได้รับการปล่อยตัวกลับโดยไม่มีการฝากขัง
 
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา