‘วารี’ : คอมเมนต์รูปการ์ตูนบนเฟซบุ๊ก เดินทางไกลไปสุไหงโก-ลก

อัปเดตล่าสุด: 13/11/2565

ผู้ต้องหา

‘วารี’

สถานะคดี

ศาลไม่รับฟ้อง

คดีเริ่มในปี

2564

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน ขณะกล่าวหามีอายุ 39 ปี มีที่อยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีอาชีพเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ เคลื่อนไหวในนามเครือข่ายประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (คปส.) นอกจากคดีนี้พสิษฐ์ยังกล่าวหาบุคคลอื่นๆ เป็นคดีทำนองเดียวกันที่สภ.สุไหงโก-ลกอีกจำนวนมาก ตำรวจที่สภ.สุไหงโก-ลก แจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่ามีอย่างน้อย 20 คดี และมีคดีที่สั่งฟ้องต่อศาลโดยพสิษฐ์เป็นผู้กล่าวหาไปแล้ว 4 คดี

สารบัญ

‘วารี’ เป็นนามสมมติของชาวสมุทรปราการ ที่ถูกพสิษฐ์ จันทร์หัวโทน จากเครือข่ายประชาชนปกป้องสถาบัน (คปส.) กล่าวโทษให้ดำเนินคดีที่สภ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส โดยกล่าวหาว่าเธอเอาภาพการ์ตูนโพสต์ไว้ในคอมเม้นต์บนเฟซบุ๊กของเธอเอง อันเป็นข้อกล่าวหามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ทำให้เธอต้องเดินทางไกลเพื่อไปรับทราบข้อกล่าวหา ต่อมาเมื่ออัยการส่งฟ้อง ก็ฟ้องเธอที่ศาลจังหวัดนราธิวาส เธอต้องไปต่อสู้คดีที่ศาลจังหวัดนราธิวาสด้วยเงินทุนของตัวเอง

ภูมิหลังผู้ต้องหา

‘วารี’ เป็นนามสมมติของผู้ถูกกล่าวหาที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทเอกชน ขณะถูกกล่าวหาอายุ 23 ปี เป็นคนที่สนใจติดตามการเมืองและเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นประจำ

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

คำฟ้องของอัยการ ฉบับลงวันที่ 5 มกราคม 2565 ระบุว่า ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีในหลวงรัชกาลที่ 10 เป็นพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของประเทศไทย

 

เมื่อระหว่างวันที่ 9 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 28 มกราคม 2565 จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ด้วยการใช้แอพพลิเคชั่นเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อจริงของจำเลย และรูปหน้าเพจเป็นรูปผู้หญิงผมยาวสวมเสื้อสีเหลือง กางเกงสีดำอยู่ในวงกลม และมีรูปปั้นพระพิฆเณศด้านบน ซึ่งเปิดเป็นบัญชีสาธารณะแสดงต่อประชาชนทั่วไป โดยเขียนข้อความโพสต์ลงบนเฟซบุ๊กว่า “ใช้ทรัพย์สินส่วนของมึงแล้วอยากจะมีอีกกี่เมียก็เรื่องของมึง” และเป็นรูปกุญแจซอล และโพสต์ข้อความเป็นอิโมจิรูปชูนิ้วโป้ง (ถูกใจ) และโพสต์ภาพจากทวิตเตอร์ที่มีการลงข้อความว่า “สุดท้ายตำรวจก็เลือกปกป้องกษัตริย์ ไม่ใช่เพราะจงรักภักดี แต่เพราะกษัตริย์ให้ผลประโยชน์มันมากกว่าประชาชน ทั้งที่ความจริงแล้วกษัตริย์ไม่ได้ให้อะไรพวกมันเลย นอกจากปลอกคอ #ม็อบ13กุมภา” พร้อมโพสข้อความว่า “มารับปลอดคอเร้ววววว” พร้อมรูปภาพประกอบในช่องแสดงความคิดเห็นการ์ตูนเป็นรูปบุคคลใส่ชุดปกติขาวนั่งบนเก้าอี้กำลังมอบสายคล้องคอที่มีเหรียญให้กับตัวการ์ตูน 2 ตัวที่เป็นรูปคนมีหัวเป็นสุนัขสวมใส่ชุดปกติขาวก้มหมอบลงกราบ และมีตัวการ์ตูน 2 ตัว ลักษณะเดียวกันยืนตบมืออยู่ข้างๆ 

 

ข้อความที่จำเลยโพสต์ทั้งหมด มีความหมายตรงตัวอักษร เป็นคำด่าและเปรียบเทียบ และทำให้ประชาชนที่พบเห็นข้อความดังกล่าวเข้าใจทันทีว่า ข้อความที่จำเลยโพสต์ทั้งหมดดังกล่าวสื่อถึงพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบัน อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาทและแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ทั้งนี้โดยจำเลยมีเจตนาให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยในพระมหากษัตริย์ และระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันเป็นการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของศรัทธาและเคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะผู้ใดจะละเมิดมิได้

พฤติการณ์การจับกุม

ไม่มีข้อมูล

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลจังหวัดนราธิวาส

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล

28 มกราคม 2564

พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน ไปแจ้งความที่สภ.เมืองสุไหงโก-ลก ให้ดำเนินคดีกับ ‘วารี’ โดยเอกสารที่พสิษฐ์นำไปยื่นต่อตำรวจ เป็นคำกล่าวหาว่าผู้ต้องหากระทำความผิด พร้อมกับพิมพ์เอกสารที่ถ่ายภาพจากหน้าจอโทรศัพท์ไปมอบให้ตำรวจด้วยรวม 2 แผ่น แผ่นแรกเป็นหน้าเฟซบุ๊กของบุคคลหนึ่ง และแผ่นที่สองเป็นภาพที่บุคคลนั้นโพสภาพที่ถ่ายมาจากทวิตเตอร์ ส่วนแผ่นที่สองเป็นภาพการ์ตูนในช่องคอมเม้นต์ และหน้าข้อมูลโปรไฟล์ส่วนตัว โดยพสิษฐ์อ้างว่าได้ตรวจสอบแล้ว พบว่าเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กที่โพสต์ข้อความดังกล่าวมี ‘วารี’เป็นเจ้าของ จึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีกับพนักงานสอบสวน สภ.สุไหงโก-ลก

 

14 ตุลาคม 2564

‘วารี’ ได้รับหมายเรียกแล้วเดินทางจากกรุงเทพไปรับทราบข้อกล่าวหาที่สภ.สุไหงโก-ลก โดยมีทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเดินทางไปด้วย วารี’ ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และแจ้งว่าจะให้การในชั้นศาลเท่านั้น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เวลา 13.00 น. พนักงานสอบสวนได้ยื่นขอฝากขังวารีแบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ต่อศาลจังหวัดนราธิวาส โดยอ้างเหตุผลว่า เป็นคดีที่อัตราโทษสูงและเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี แม้ผู้ต้องหาจะเดินทางมาพบตามหมายเรียกก็ตาม จากนั้นทนายความจึงได้ยื่นคำร้องขอประกันตัววารี ด้วยวงเงินประกันจำนวน 150,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ 

เวลา 16.00 น. ศาลจังหวัดนราธิวาสได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวตามคำร้อง โดยให้วางหลักประกันเป็นเงินสด 150,000 บาท 

 

 

5 มกราคม 2565

นัดส่งฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดนราธิวาส

 

 

23-25 สิงหาคม 2565

นัดสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ศาลจังหวัดนราธิวาส โดยการสืบพยานวันแรกเป็นการสืบพยานปากผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน และพยานที่มาให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อความที่โพสต์ ส่วนการสืบพยานวันสุดท้าย เป็นการสืบพยานฝ่ายจำเลย ประกอบด้วย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ และวรัญญุตา ยันอินทร์ จาก iLaw ซึ่งเบิกความอธิบายให้ศาลเห็นว่า หลักฐานที่ผู้กล่าวหาถ่ายภาพหน้าจอมาส่งศาลนั้น ไม่น่าเชื่อถือ สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ หลังการสืบพยานเสร็จสิ้น ทนายจำเลยแจ้งต่อศาลว่าจะขอเวลาเขียนแถลงการณ์ปิดคดีใน 30 วัน แต่ศาลอนุญาตให้แค่ 15 วัน โดยอธิบายว่า คดีนี้ไม่มีประเด็นอะไรมาก และผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจะต้องย้ายในสิ้นเดือนกันยายน จึงอยากให้ทำคำแถลงการณ์มายื่นโดยเร็วเพื่อจะได้เขียนคำพิพากษาได้ทัน และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 6 ตุลาคม 2565

 

 

6 ตุลาคม 2565

ศาลจังหวัดนราธิวาสนัดพิพากษายกฟ้อง ให้เหตุผลโดยสรุปได้ว่า แม้โจทก์จะนำสืบได้ว่าบัญชีเฟซบุ๊กเป็นของจำเลยจริงตามรูปในทะเบียนราษฎรและรูปโปรไฟล์เฟซบุ๊กที่เหมือนกัน ประกอบกับเบอร์โทรศัพท์หน้าบัญชีเฟซบุ๊กกับที่จำเลยและแฟนเคยให้การไว้ก็เป็นเบอร์เดียวกัน เแต่พยานโจทก์ยังไม่พอเชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าโพสต์ดังกล่าวจริงหรือไม่ เพราะพยานโจทก์ก็มีเพียงผู้กล่าวหาคนเดียวที่เป็นผู้เบิกความว่าจำเลยโพส แต่กลับเบิกความถึงการเห็นโพสต์แตกต่างกัน ทั้งภาพที่นำมาแจ้งความก็ไม่ปรากฎ URL ประกอบกับคำเบิกความของพยานจำเลยซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งสองเห็นว่าภาพมีการตัดต่อมา พยานโจทก์จึงยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความตามเฟซบุ๊กดังกล่าวตามฟ้อง (https://tlhr2014.com/archives/49256)

 

 

คำพิพากษา

6 ตุลาคม 2565

ศาลจังหวัดนราธิวาสนัดพิพากษายกฟ้อง ให้เหตุผลโดยสรุปได้ว่า แม้โจทก์จะนำสืบได้ว่าบัญชีเฟซบุ๊กเป็นของจำเลยจริงตามรูปในทะเบียนราษฎรและรูปโปรไฟล์เฟซบุ๊กที่เหมือนกัน ประกอบกับเบอร์โทรศัพท์หน้าบัญชีเฟซบุ๊กกับที่จำเลยและแฟนเคยให้การไว้ก็เป็นเบอร์เดียวกัน เแต่พยานโจทก์ยังไม่พอเชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าโพสต์ดังกล่าวจริงหรือไม่ เพราะพยานโจทก์ก็มีเพียงผู้กล่าวหาคนเดียวที่เป็นผู้เบิกความว่าจำเลยโพส แต่กลับเบิกความถึงการเห็นโพสต์แตกต่างกัน ทั้งภาพที่นำมาแจ้งความก็ไม่ปรากฎ URL ประกอบกับคำเบิกความของพยานจำเลยซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งสองเห็นว่าภาพมีการตัดต่อมา พยานโจทก์จึงยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความตามเฟซบุ๊กดังกล่าวตามฟ้อง (https://tlhr2014.com/archives/49319)

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา