ทีปกร: แชร์คลิปยูทูปและโพสต์ข้อความวิจารณ์กษัตริย์บนเฟซบุ๊ค

ผู้ต้องหา

ทีปกร จิตรอาจ

สถานะคดี

ชั้นศาลชั้นต้น

คดีเริ่มในปี

2567

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

สารบัญ

ทีปกรถูกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ ความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์คลิปยูทูปและโพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กในลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ วันที่ 23 สิงหาคม 2564 ตำรวจไปตรวจค้นบ้านของทีปกรและพยายามที่จะยึดคอมพิวเตอร์ของทุกคนในบ้านไปแต่ก็ถูกปฏิเสธเพราะไม่มีเอกสารตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯจากศาลมาแสดง ตำรวจจึงได้แต่ยึดโทรศัพท์ของทีปกรโดยไม่มีคำสั่งศาล หลังการตรวจค้นตำรวจนัดหมายให้ทีปกรไปพบเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในภายหลัง ซึ่งเมื่อทีปกรไปพบและเข้าสู่กระบวนการสอบสวนเสร็จตำรวจก็ปล่อยตัวเขากลับไป ต่อมาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 อัยการมีคำสั่งฟ้องทีปกรต่อศาลอาญา ทีปกรให้การปฏิเสธและขออนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวซึ่งศาลอาญาอนุญาต

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ทีปกร เป็นอดีตเจ้าของธุรกิจร้านนวดที่ต้องปิดตัวลงเพราะปัญหาเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ขณะถูกกล่าวหาทีปกรอายุ 37 ปี

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

คำฟ้องของอัยการพอสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2563 ในเวลาหลังเที่ยงคืน ทีปกรซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊คที่มีการโพสต์ข้อความตามฟ้อง แชร์คลิปจากยูทูปซึ่งเป็นภาพพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 มีเส้นสีแดงขีดทับและมีข้อความตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของสถานบันกษัตริย์อยู่บนภาพ ในช่วงต้นของคลิปยังมีข้อความที่เปรียบเทียบพระมหากษัตริย์เป็นสัตว์ที่มีชีวิตอยู่โดยการอาศัยผู้อื่น นอกจากนั้นในการแชร์คลิปดังกล่าวทีปกรยังโพสต์ข้อความในทำนองว่าประชาชนเป็นผู้มีบุญคุณต่อแผ่นดินและใส่แฮชแท็กตั้งคำถามการมีอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ การโพสต์ข้อความของทีปกรเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้รัชกาลที่ 10 ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ทั้งจำเลยยังมีเจตนาไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของปวงชนชาวไทยและอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

พฤติการณ์การจับกุม

ในวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบจากสน.นิมิตรใหม่ และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ราว 10 นาย ไปที่บ้านพักของทีปกรย่านคลองสามวาในเวลาประมาณ 6 นาฬิกา โดยได้แจ้งความประสงค์ว่าต้องการค้นบ้าน ตำรวจแสดงหมายค้นให้ทีปกรดูแต่เป็นการแสดงให้ดูแล้วรีบเอากลับโดยที่ทีปกรยังไม่ทันได้อ่านรายละเอียดของหมายค้น จากนั้นตำรวจทำการตรวจค้นบ้านโดยที่ทีปกรไม่มีทนายความอยู่ร่วมในกระบวนการด้วย ตำรวจพยายามค้นหาคอมพิวเตอร์ที่มีทั้งหมดในบ้านและแจ้งทีปกรว่าต้องการยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ที่บ้านไปทั้งหมด แต่ทีปกรและคนในครอบครัวไม่ยินยอมเพราะทีปกรไม่ใช่เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ ท้ายที่สุดตำรวจยึดโทรศัพท์มือถือของทีปกรไปพร้อมทั้งให้ทีปกรบอกรหัสอีเมลและเฟซบุ๊กด้วย การกระทำดังกล่าวตำรวจทำโดยไม่มีคำสั่งศาลตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
 
หลังการตรวจค้นตำรวจเดินทางกลับไปโดยยังไม่ถูกจับตัวหรือแจ้งข้อกล่าวหา จากนั้นวันที่ 23 สิงหาคม 2563 ทีปกรพร้อมทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงไปพบพนักงานสอบสวนที่ปอท. ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14(3) ทีปกรให้การปฏิเสธ จากนั้นตำรวจปล่อยตัวเขากลับบ้านโดยไม่ได้พาไปขออำนาจศาลฝากขัง

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลอาญา รัชดา

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
13 สิงหาคม 2564
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ในเวลาประมาณ 6 โมงเช้า เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน. นิมิตรใหม่ และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ประมาณสิบนาย แสดงหมายค้นและเข้าตรวจค้นบ้านพักของทีปกรย่านคลองสามวา ตำรวจพยายามขอตรวจค้นและยึดคอมพิวเตอร์ของทุกคนในบ้าน แต่เมื่อไม่ได้รับความยินยอม ตำรวจจึงยึดโทรศัพท์ส่วนตัวของทีปกรไป และให้ทีปกรบอกรหัสผ่านฟซบุ๊กและอีเมลโดยไม่มีคำสั่งศาลตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาแสดง จากนั้นตำรวจจึงกลับไปโดยยังไม่ได้จับตัวทีปกร 
 
 
23 สิงหาคม 2564
 
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่าทีปกรพร้อมทนายความเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) โดยกล่าวหาว่าทีปกรเป็นผู้แชร์และโพสต์ข้อความที่มีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พนักงานสอบสวนแจ้งทีปกรว่าคดีนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีทีปกรโดยเข้ามาร้องทุกข์ไว้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 ทีปกรให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา หลังจากที่สอบสวนเสร็จ ตำรวจให้ทีปกรกลับบ้านได้โดยไม่ได้นำตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง
 
15 กุมภาพันธ์ 2565
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ชญาพร นาคะผดุงรัตน์ พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องทีปกรข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ ความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์คลิปยูทูปและโพสต์ข้อความที่มีเนื้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ในเฟซบุ๊กต่อศาลอาญา โดยที่อัยการไม่คัดค้านหากศาลจะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว หลังอัยการฟ้องคดีต่อศาลทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวทีปกรในชั้นพิจารณาคดี ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยทนายความใช้เงินสด 90,000 บาท ของกองทุนราษฎรประสงค์วางเป็นหลักประกันต่อศาล
 
11 เมษายน 2565
 
ทีปกรพร้อมกับทนายความเดินทางไปศาลในนัดตรวจพยานหลักฐาน ทนายความยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเนื่องจากติดว่าความที่ศาลอื่น ศาลอนุญาตให้เลื่อนนัดเป็นวันที่ 2 พฤษภาคม 2565
 
2 พฤษภาคม 2565
 
นัดตรวจพยานหลักฐาน
 
18 เมษายน 2566
 
นัดสืบพยานโจทก์

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา