โพสต์ภาพตัดต่อบนเพจพัทลุงปลดแอก

อัปเดตล่าสุด: 01/11/2565

ผู้ต้องหา

ศุภกร, อลิสา, ชมพูนุท

สถานะคดี

ชั้นศาลชั้นต้น

คดีเริ่มในปี

2513

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

ศุภกร อลิสา และชมพูนุท นักกิจกรรมกลุ่ม “ราษฎรใต้” ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และความผิดฐานนำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงฯ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) จากการโพสต์ภาพตัดต่อของพระบรมฉายาลักษณ์และสถานที่สำคัญอื่นๆในจังหวัดพัทลุงโดยมีข้อความที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ปรากฎอยู่บนภาพบนเฟซบุ๊กเพจ “พัทลุงปลดแอก” ห้าภาพและบนเพจ “ประชาธิปไตยในด้ามขวาน” อีก 15 ภาพ การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 จนถึง 25 พฤศจิกายน 2563 หรือประมาณสามวันก่อนหน้าที่รัชกาลที่สิบจะเสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดพัทลุง

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ศุภกร ขณะถูกตั้งข้อหาเป็นนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่และเป็นสมาชิกกลุ่มราษฎรใต้ 
 
อลิสา ขณะถูกตั้งข้อหาเป็นอาสาของกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (Law Long Beach) 
 
ชมพูนุท ขณะถูกตั้งข้อหากำลังศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเป็นสมาชิกกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอกภาคใต้ที่เคลื่อนไหวเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ  

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ, มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา, มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

คำฟ้องคดีนี้พอสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เวลากลางคืน จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสามร่วมกันถ่ายรูปสถานที่ต่างๆ ทั้งอนุสรณ์สถาน พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 และพระราชินี ในท้องที่อำเภอเมืองพัทลุง นำไปตัดต่อกับข้อความที่จัดทำขึ้น ก่อนที่ภาพถ่ายที่ผ่านการตัดต่อรวมห้าภาพจะถูกโพสต์บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “พัทลุงปลดแอก” โดยข้อความที่ถูกนำไปตัดต่อห้าข้อความได้แก่ 
 
  • “Land of Compromise ทำไมใช้ ม.112 #กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ”
  • “ไปด้วยกัน ไปได้ไกล ไปด้วยความรักความสามัคคี”
  • “EAT THE RICH”
  • “คิดถึงยอด SCB ใจจะขาด”
  • “เผด็จการจงพินาศ เป็ดก้าบ ก้าบ จงเจริญ”
 
 
นอกจากนั้นก็มีภาพอีก 15 ภาพ ที่ถูกตัดต่อด้วยข้อความต่างโพสต์ลงในเฟซบุ๊กแฟนเพจ ประชาธิปไตยในด้ามขวาน โดยข้อความที่ถูกนำไปตัดต่อประกอบภาพถ่ายได้แก่ 
 
  • “เลียตีนให้ตายยศมึงก็ไม่เท่า ฟู ฟู #สุนัขทรงเลี้ยงด้วยภาษีประชาชน”
  • “เผด็จการจงพินาศ เป็ดก้าบ ก้าบ จงเจริญ”
  • “1 2 3 4 5 ไอ้เหี้ย…”
  • “Land of Compromise ทำไมใช้ ม.112 #กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ”
  • “#ภาษีกู #ภาษีกู #ภาษีกู”
  • “ก็เสียภาษีเหมือนกัน ทำไมถึงไม่มีรถไฟฟ้า ให้ดูที่บ้านเราบ้าง”
  • ภาพสัญลักษณ์ชูสามนิ้ว
  • “จะปรับตัวทั้งที ช่วยมีสมองหน่อยน้า”
  • “กูสั่งให้มึงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ”
  • “3,008 ศพ ถีบลงเขา เผาลงถัง”
  • “#เราต้องช่วยกันเอาความจริงกันออกมา”
  • ข้อความที่โพสต์ในลักษณะกล่าวหาว่าพระมหากษัตริย์ทรงเกี่ยวข้องกับการเข่นฆ่าประชาชน
  • “เราคือคนไทย เพราะเราถูกล่า อาณานิคม”
  • “ประชาชน=เจ้าของประเทศ”
  • “30 นี้เจอกันแบบเบิ้มๆ ที่หอนาฬิกาหาดใหญ่”
 
คำฟ้องของอัยการระบุว่า ภาพและข้อความที่จำเลยทั้งสามร่วมกันโพสต์มีเจตนาพาดพิงรัชกาลที่ 10 และพระราชินี เป็นการล่วงเกิน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น ใส่ความ และแสดงความอาฆาตมาดร้ายและทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชินี โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง นอกจากนั้น  
 
การโพสต์ภาพและข้อความของจำเลยก็ไม่ได้เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ และมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต ทั้งมีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระด่างในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรและเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินได้ อีกทั้งทำให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างร้ายแรง 

พฤติการณ์การจับกุม

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ตำรวจนอกเครื่องแบบแสดงตัวเข้าจับกุม ศุภกร ที่ลานจอดรถหน้าอาคารศูนย์กีฬา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งอยู่ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศุภกรถูกจับตัวหลังจากเพิ่งฉีดโควิด-19 เสร็จ หลังการจับกุมตำรวจควบคุมตัวศุภกรไปที่สภ.เมืองพัทลุงเพื่อทำการสอบสวน ต่อมาในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 อลิสาและชมพูนุท เดินทางไปที่สภ.เมืองพัทลุง เพื่อรายงานตัวหลังทราบว่าถูกออกหมายจับในคดีเดียวกับศุภกร ก่อนมีการจับกุมศุภกร ผู้ต้องหาทั้งสามคนไม่เคยได้รับหมายเรียกผู้ต้องหามาก่อน

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลจังหวัดพัทลุง

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
23 พฤศจิกายน 2564
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ตำรวจนอกเครื่องแบบแสดงหมายจับที่ออกโดยศาลจังหวัดพัทลุงและทำการจับกุมศุภกรที่ลานจอดรถหน้าอาคารศูนย์กีฬา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยศุภกรถูกจับหลังเพิ่งเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด19 ระหว่างที่ถูกควบคุมตัว ศุภกรถามตำรวจว่าทำไมเขาจึงถูกออกหมายจับโดยที่ยังไม่เคยได้รับหมายเรียกผู้ต้องหามาก่อน ตำรวจชุดจับกุมตอบว่าไม่ทราบ จากนั้นตำรวจนำตัวศุภกรไปยังสภ.เมืองพัทลุง เนื่องจากพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนไม่อยู่ ศุภกรจึงถูกคุมตัวเข้าในห้องขังของสถานีตำรวจหนึ่งคืน
 
24 พฤศจิกายน 2564
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า พ.ต.ท.นพรัตน์ แก้วใจ พนักงานสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหากับศุภกรรวมสามข้อกล่าวหาได้แก่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มาตรา 116 และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 (3) โดยแจ้งว่าศุภกรร่วมกับพวกขับขี่รถยนต์ไปถ่ายรูปสถานที่ต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง อำเภอเขาชัยสน และอำเภอศรีนครินทร์ จากนั้นได้ตัดต่อใส่ข้อความในภาพที่ถ่ายมา ก่อนจะนำไปโพสต์ในเฟซบุ๊กเพจ“พัทลุงปลดแอก” และเพจ “ประชาธิปไตยในด้ามขวาน” โดยที่ภาพและข้อความที่ตัดต่อเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และพระราชินี ศุภกรให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและแจ้งพนักงานสอบสวนว่าจะให้การในรายละเอียดเป็นเอกสาร
 
หลังการสอบสวน พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลจังหวัดพัทลุงผ่านทางระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ อ้างว่าต้องสอบพยานเพิ่มเติมอีกหกปาก และรอผลตรวจลายนิ้วมือผู้ต้องหา และขอคัดค้านหากผู้ต้องหาจะขอปล่อยตัวชั่วคราว อ้างว่าคดีมีอัตราโทษสูง หากปล่อยตัวไป ผู้ต้องหาอาจหลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุร้ายประการอื่น ศาลอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา แต่ก็อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวศุภกรโดยใช้ตำแหน่งนักวิชาการของ สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหลักประกัน ศุภกรได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในช่วงเย็นวันเดียวกัน โดยต้องมารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 
 
26 พฤศจิกายน 2564
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า อลิสาและชมพูนุท ได้เดินทางไปที่สภ.เมืองพัทลุงเพื่อรายงานตัวหลังทราบว่าถูกออกหมายจับ โดยทั้งสองคนไม่เคยได้รับหมายเรียกมาก่อน เช่นเดียวกับกรณีของศุภกร
 
ในส่วนของคำให้การทั้งอลิสาและชมพูนุทให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและแจ้งพนักงานสอบสวนว่าจะให้การในรายละเอียดเป็นเอกสารภายใน 30 วัน พนักงานสอบสวนยื่นขอฝากขังทั้งสองคนต่อศาลจังหวัดพัทลุง ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ พร้อมคัดค้านหากผู้ต้องหาขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวน อ้างว่าคดีมีอัตราโทษสูง หากปล่อยตัวไปผู้ต้องหาอาจหลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุร้ายประการอื่น ศาลอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวน แต่ก็อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวทั้งสองโดยมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นหลักประกัน และไม่ได้กำหนดเงื่อนไขตามสัญญาประกันใดๆ
 
6 กุมภาพันธ์ 2565
 
พนักงานสอบสวน สภ.เมืองพัทลุง ทำบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาคดีนี้ใหม่ตามที่ผู้ต้องหาร้องขอ เนื่องจากในบันทึกฉบับเดิมไม่มีการระบุพฤติการณ์ที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาให้ชัดเจนว่าการกระทำใดที่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย ทำให้ผู้ต้องหาไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ทั้งยังมีการระบุวันที่เกิดเหตุผิดพลาด โดยระบุว่าเหตุเกิดวันที่ 24 สิงหาคม 2563 ตำรวจได้ทำการแก้ไขเป็นวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ในบันทึกข้อกล่าวหาฉบับใหม่
 
บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาที่ทำการแก้ไขพอสรุปได้ว่า ก่อนเวลาเกิดเหตุ ตำรวจสภ.เมืองพัทลุงได้รับคำสั่งให้ทำการสืบสวนหาข่าวเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลที่จะก่อเหตุหรือสร้างสถานกาณ์ในพื้นที่ที่อาจจะมีผลกระทบต่อการเสร็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลหลักเมืองจังหวัดพัทลุง ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2563
 
จากการตรวจสอบพบว่า ระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เวลาประมาณ 23.49 น. จนถึง 25 พฤศจิกายน 2563 เวลาประมาณ 03.21 น. ศุภกร ชมพูนุท และ อลิสา ร่วมกันแบ่งหน้าที่ใช้ยานพาหนะ ขับขี่ไปตามเส้นทางและถ่ายรูปสถานที่ต่างๆที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ แล้วนำไปตัดต่อประกอบข้อความที่จัดทำขึ้นซึ่งข้อความดังกล่าวเมื่อนำไปประกอบกับภาพจะสื่อความหมายในลักษณะด้อยค่า ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
 
จากนั้นเวลา 13.00 น. มีการโพสต์ภาพประกอบข้อความจำนวนห้าภาพลงเฟซบุ๊กเพจ “พัทลุงปลดแอก” ซึ่งมี ‘เบลล์’ เยาวชนที่ถูกแยกฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนฯ เป็นผู้ดูแลเพจ ต่อมาวันที่ 28 พฤศจิกายน 2563 เวลาประมาณ 18.00 น. ได้โพสต์รูปภาพประกอบข้อความจำนวน 15 โพสต์ ลงเฟซบุ๊กเพจ “ประชาธิปไตยในด้ามขวาน” โดยภาพและข้อความดังกล่าวที่โพสต์เป็นการดูหมิ่นและใส่ความพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี ข้อความและภาพดังกล่าวยังมุ่งหมายให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน อีกทั้งมีการนำภาพและข้อความเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถพบเห็นได้และอาจแสดงความคิดเห็นเชิงลบทำให้ขยายความเสียหายออกไปอันเป็นผลกระทบต่อสถาบันฯด้วย
 
14 กุมภาพันธ์ 2565
 
ศุภกร อลิสา และชมพูนุท เข้ายื่นขอความเป็นธรรมไปต่อพนักงานอัยการ ขอให้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดี
 
15 กุมภาพันธ์ 2565
 
นัดฟังคำสั่งอัยการ
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า อัยการยื่นฟ้องชมพูนุท อลิสา และศุภกร ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาตรา 116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ต่อศาลจังหวัดพัทลุง
 
ในเหตุการณ์เดียวกันนี้มีผู้ต้องหาเยาวชนอีกคนหนึ่งด้วย คือ เบลล์ ซึ่งถูกแยกไปฟ้องที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุงเป็นอีกคดีหนึ่ง 
 
18 กุมภาพันธ์ 2565
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ชมพูนุท อลิสา และศุภกร เข้ารายงานตัวต่อศาล หลังทราบว่าอัยการยื่นฟ้องคดีแล้ว ทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนนัดสอบคำให้การเป็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เนื่องจากทั้งสามประสงค์จะขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการพิจารณาโดยใช้หลักประเกินเดิมในชั้นฝากขัง คือตำแหน่งนักวิชาการของอาจารย์แต่ในวันดังกล่าวอาจารย์ของผู้ต้องหาติดภารกิจมาศาลไม่ได้ และศาลไม่อนุญาตให้นายประกันมอบอำนาจให้ทนายความทำสัญญาประกันแทน ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนนัดสอบคำให้การไปตามที่จำเลยร้องขอ 
 
21 กุมภาพันธ์ 2565
 
นัดสอบคำให้การ
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ในนัดนี้ศาลอ่านคำฟ้องให้จำเลยทั้งสามฟัง จำเลยยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา จากนั้นศาลกำหนดวันนัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 15 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 น.
 
ศาลยังอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสามระหว่างพิจารณาคดีโดยใช้หลักประเดิมในชั้นสอบสวน คือ ตำแหน่งนักวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
15 มีนาคม 2565
 
ทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนการคดี เนื่องจากติดว่าความในคดีอื่น ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดเป็นวันที่ 7 เมษายน 2565
 
7 เมษายน 2565
 
นัดตรวจพยานหลักฐาน
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ชมพูนุท อลิสา และศุภกร พร้อมทนายจําเลยมาศาลตามนัด ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังอีกครั้ง ทั้งสามยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ตามคําให้การเป็นเอกสารที่ยื่นต่อศาลในวันนี้
 
อัยการแถลงต่อศาลว่า คดีนี้เป็นคดีความผิดต่อความมั่นคงฯ ตามประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกําหนดอํานาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.2563 ให้เป็นอํานาจของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาสี่ ภาคเก้า จึงต้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีออกไปอีกนัดหนึ่ง เพื่อดําเนินการประสานผู้มีอํานาจหน้าที่มาดำเนินคดี โโยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนครึ่ง ฝ่ายจําเลยแถลงไม่คัดค้าน ศาลจึงอนุญาตให้เลื่อนไปนัดพร้อมเพื่อตรวจพยานหลักฐานและกําหนดวันนัดสืบพยาน ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น.
 
ศาลกำชับให้อัยการดําเนินการตามที่แถลงโดยเร็ว โดยระบุว่า หากในนัดหน้ายังไม่แล้วเสร็จ ศาลจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีอีก เนื่องจากประกาศดังกล่าวเป็นเพียงการแบ่งหน่วยงาน และการกําหนดอํานาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในเท่านั้น ไม่ใช่กฎหมายที่ต้องถือตาม
 
1 กรกฎาคม 2565
 
นัดตรวจพยานหลักฐาน

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา