1884 1103 1428 1633 1959 1350 1207 1701 1468 1835 1309 1614 1477 1731 1097 1976 1962 1503 1295 1717 1848 1335 1336 1142 1284 1973 1301 1058 1880 1060 1717 1958 1114 1066 1596 1663 1850 1499 1034 1989 1618 1913 1546 1696 1760 1403 1792 1154 1821 1316 1003 1861 1977 1038 1000 1329 1988 1537 1212 1960 1990 1448 1722 1688 1823 1959 1983 1680 1179 1970 1745 1799 1541 1266 1570 1725 1587 1341 1775 1851 1032 1424 1630 1974 1823 1990 1241 1300 1125 1535 1791 1254 1433 1687 1624 1805 1347 1673 1333 ความอยุติธรรมในยุคคสช.-สิ่งที่ กสม. (อาจ)ไม่รู้และไม่ทำอะไร | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ความอยุติธรรมในยุคคสช.-สิ่งที่ กสม. (อาจ)ไม่รู้และไม่ทำอะไร

แหวน-ณัฏฐธิดา มีวังปลา อดีตอาสาสมัครพยาบาลที่รอดชีวิตระหว่างการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงในเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา 2553 และพยานปากสำคัญในคดี "6 ศพ วัดปทุมวนาราม" ได้กล่าวในงานเสวนา "เหลียวหลังแลหน้า 2 ทศวรรษสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย" ว่า หลังการรัฐประหารในปี 2557 ที่นำโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เธอต้องเผชิญหน้ากับความอยุติธรรมนานัปประการ โดยที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเธออย่างที่ควรจะเป็น
 
แหวน-ณัฏฐธิดา กล่าวว่า เธอเป็นผู้ประสบเหตุ เป็นทั้งเหยื่อ เป็นผู้ถูกกประทำ ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดเป็นมนุษย์คนเดียวที่ยังเหลืออยู่บนโลกใบนี้จากเหตุการณ์จากเหตุการณ์ 6 ศพวัดปทุม เป็นตัวแทน 99 ศพ เป็นตัวแทนของ ผู้ต้องขังที่ถูกกักขัง โดยไร้สิทธิในการประกันตนทั้งประเทศ โดยในยุคของคสช. ในเหตุการณ์รัฐประหาร ปี 2557 เธอถูกจับกุมโดยอาศัยเพียงแค่ "เหตุสงสัย" เป็นการจับกุมโดยไม่มีหมายจับ และผู้ที่จับกุมเธอก็เป็นเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่มีอาวุธยุทธโธปกรณ์ครบมือ ในขณะที่เธอเป็นเพียงแค่ประชาชนตัวคนเดียว
 
2303
 
แหวน-ณัฏฐธิดา กล่าวถึงสิ่งที่เธอได้พบและได้เจอมาว่า ในการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือผู้ต้องสงสัยที่เป็นเพศหญิง เจ้าหน้าที่รัฐได้ทำการล่วงละเมิดทางเพศ มีการลวนลามอนาจาร มีการเปิดเสื้อขึ้นดูรอยสัก หน้าอก การจับต้องอวัยวะเพศหญิงในจุดสงวนว่าใหญ่แค่ไหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ต้องสงสัยถูกผูกผ้าปิดตา และเมื่อมีการพาตัวมาที่สถานีตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐจะมีการยื่นข้อเสนอให้ร่วมหลับนอนกับเจ้าหน้าที่เพื่อแลกกับการหลุดพ้นจากคดี หรือ ได้รับการช่วยเหลือในทางคดี
 
แหวน-ณัฏฐธิดา กล่าวว่า ผู้ต้องสงสัย หรือ "เหยื่อ" ที่ถูกจับกุมเข้าค่ายทหารยุคคสช. จะถูกสอบสวนโดยการตั้งคำถามในลักษณะของการชี้นำ หรือ มีลักษณะเป็นการบังคับให้ยอมรับตามสิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐตั้งข้อสันนิษฐานไว้ ถ้าหากไม่ตอบแบบที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องการ ก็มีการข่มขู่ว่าจะไม่รับประกันชีวิตและความปลอดภัยของตัวผู้ต้องหา รวมถึงคนรอบตัว อาทิ คนในครอบครัวด้วย
 
แหวน-ณัฏฐธิดา กล่าวว่า หลังจากถูกตั้งคำถามในเชิงชี้นำและสืบสวนเหยื่อจนพอใจแล้ว ก็จะถูกนำตัวไปดำเนินคดี และเธอต้องถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำในระหว่างการพิจารณาคดีนานถึง 3 ปี 6 เดือน แม้ว่าเธอจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ขอคืนอิสรภาพ อาทิ การยื่นขอประกันตัว แต่ก็ถูกคัดค้านและปฏิเสธ จนกระทั่งในวันที่ 24 มีนาคม 2560 เธอถึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว แต่ทว่า เธอก็ถูกอายัติตัวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในทันที พร้อมกับถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และเธอถูกเจ้าหน้าที่รัฐเอาปืนจี้เอว พร้อมกับถูกอุ้มขึ้นรถฟอร์จูเนอร์ของเจ้าหน้าที่รัฐ ก่อนจะถูกพาตัวมาที่กองบังคับการปราบปราม
 
แหวน-ณัฏฐธิดา กล่าวว่า ในระหว่างที่เธอถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ เธอยังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีแต่กลับถูกริดรอนสิทธิในด้านการศึกษา เธอถูกคัดค้านการนำหนังสือเข้าไปเรียนต่อ เธอถูกคัดค้านการอ่านหนังสือทุกอย่าง ถูกคัดค้านการฝึกวิชาชีพ ถูกริดรอนสิทธิทุกสิทธิทั้งที่ผู้ต้องขังเด็ดขาดยังมีสิทธิแต่เธอไม่มี และยังไม่ได้รับสิทธิในการขอประกันตัวอีก
 
แหวน-ณัฏฐธิดา กล่าวว่า หลังถูกฟ้องในคดี 112 เธอพยายามหาพยานหลักฐาน และทำเรื่องโอนย้ายคดีจากศาลทหารมาศาลพลเรือน โดยมีประชาชนเป็นคนเรียกร้องและกดดัน ในขณะที่ กสม. กลับไม่มีการแสดงท่าทีใดๆ ที่ชัดเจน กสม. ไม่เคยรับรู้ว่ามีประชาชนที่ถูกกระทำจากความขัดแย้งทางการเมือง กสม. ไม่เคยรับรู้ว่ามีประชาชนถูกริดรอนสิทธิมากขนาดไหน แม้แต่ในคดี 112 ที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้อง เธอก็ไม่เคยได้รับการเยียวยา ทั้งที่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำมาเป็นเวลา 3 ปี 6 เดือน สูญเสียทั้งอาชีพการงาน สูญเสียเวลาในการอยู่กับครอบครัว เลี้ยงดูครอบครัว แต่ทาง กสม. กลับไม่เคยช่วยเหลือ และผลักภาระให้ไปดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเองแต่เพียงลำพัง
 
"กสม. ควรเป็นเหมือนอเวนเจอร์ส เป็นฮีโร่ของเรา อย่าไปเป็นขี้ข้าเผด็จการ ต้องเป็นองค์กรที่เชิดหน้าชูตาในประเทศไทย คนที่ถูกอุ้มถูกขังคุกยังดียังมีโอกาสรอดชีวิต แต่คนที่ถูกอุ้มหายอย่าง สรุชัย ลุงสนามหลวง หมาน้อย วันเฉลิม ทีมของอาจารย์สุรชัยไม่มีโอกาสออกมาพูดว่าถูกฆ่าตายยังไง แม้แต่ศพที่จะต้องนำมาจัดงานก็ยังจะถูกคุกคาม คนตายไม่สามารถพูดได้ คนเป็นมีลมหายใจที่ลำบาก กสม.ทราบหรือไม่ เพียงแค่คุณเป็นฮีโร่ให้เราได้มั้ย เราพร้อมที่จะก้าวเคียงข้างคุณ" แหวน-ณัฏฐธิดา มีวังปลา กล่าวทิ้งท้าย
 
หมายเหตุ: งานเสวนา "เหลียวหลังแลหน้า 2 ทศวรรษสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย" จัดขึ้นโดยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยามหิดล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการค้นคว้าวิจัยเพื่อทบทวนบทบาทและการทำงานในรอบ 2 ทศวรรษขององค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
Article type: