1352 1895 1183 1990 1984 1569 1043 1053 1017 1391 1244 1770 1859 1825 1696 1875 1224 1234 1492 1933 1503 1675 1671 1541 1453 1544 1018 1161 1399 1659 1893 1142 1302 1525 1600 1269 1959 1651 1671 1318 1124 1821 1174 1020 1968 1669 1212 1979 1188 1308 1962 1892 1520 1550 1734 1315 1729 1001 1117 1478 1701 1947 1958 1428 1428 1934 1313 1309 1367 1024 1727 1959 1475 1360 1983 1678 1985 1597 1548 1088 1761 1366 1847 1907 1534 1314 1270 1717 1233 1337 1915 1899 1639 1842 1519 1163 1952 1353 1204 เทียบไทม์ไลน์ การ "เจาะ" ของเพกาซัส กับการชุมนุมทางการเมือง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เทียบไทม์ไลน์ การ "เจาะ" ของเพกาซัส กับการชุมนุมทางการเมือง

 

จำนวน 30 คน คือ ตัวเลขอย่างน้อยของประชาชนที่ตรวจพบว่า ถูกโจมตีจากเพกาซัส จำนวนนี้ยังไม่นับรวมปิยบุตร แสงกนกกุล คณะก้าวหน้า และกรณีอื่นๆ ที่อาจตรวจพบได้อีกในอนาคต การเจาะข้อมูลด้วยสปายแวร์เพกาซัสในผู้ที่มีส่วนในการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ตรวจพบระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 รวมเป็นเวลากว่าหนึ่งปี  การโจมตีเกิดขึ้นกับสมาชิกกลุ่ม เช่น แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, เยาวชนปลดแอก และ We volunteer ฯลฯ ผู้ที่ถูกโจมตีมากที่สุด คือ นิราภร อ่อนขาว สมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ จำนวน 14 ครั้ง รองลงมาคือ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw จำนวน 10 ครั้ง รูปแบบของการโจมตีแบ่งได้สามแบบ

 

  • หนึ่ง การเจาะเพื่อเสาะหาข้อมูลของผู้ที่อยู่เบื้องหลังการใช้บัญชีโซเชียลของนักกิจกรรมที่อยู่ในเรือนจำ อย่างอานนท์ นำภาและเบนจา อะปัญ ที่เฟซบุ๊กของทั้งสองยังคงเคลื่อนไหวต่อเนื่องระหว่างที่พวกเขาถูกคุมขัง

 

  • สอง การโจมตีเพื่อติดตามและแสวงหาข้อมูลการจัดชุมนุม เช่น กรณีของจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ เยาวชนปลดแอกที่ถูกเจาะตรงกับวันที่มีการชุมนุมหรือการจัดประชุมเพื่อเตรียมการการชุมนุม เช่น การเจาะเมื่อวันที่ 21 และ 26 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการชุมนุมเพราะทุกคนคือแกนนำกระจายตัวทั่วประเทศ และการเจาะเมื่อวันที่ 15 และ 20 กุมภาพันธ์ 2564 ช่วงเวลาระหว่างการเตรียมเพื่อชุมนุมรีเด็มวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 

 

2493 การชุมนุมเพราะทุกคนคือแกนนำเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563

 

2494 นักกิจกรรมอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมันตรวจสอบรัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563

 

ก่อนการจัดชุมนุมเพื่อรำลึกวันอภิวัฒน์สยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เป็นช่วงเวลาที่มีการเจาะนักกิจกรรมมากที่สุด คือ 5 คน ได้แก่ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และนิราภร อ่อนขาว แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ทะลุฟ้า, ยิ่งชีพ และบุคคลที่ไม่เปิดเผยตัวตน #3 เหตุผลที่มีการโจมตีหลายคนและบ่อยครั้งอาจเนื่องมาจากเป็นการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกหลังคลื่นการคุมขังนักกิจกรรมและช่วงพักการชุมนุมเนื่องจากการระบาดของโควิด

 

2495 ปนัสยา ขณะทำกิจกรรมรำลึก 89 ปีอภิวัฒน์สยามที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564

 

  • สาม การโจมตีเพื่อเสาะแสวงหาผู้ที่สนับสนุนเงินทุนทางการเมือง คือ ทราย เจริญปุระ และกลุ่ม The Mad Hatter จำนวนสามคน  กรณีของทราย การบริจาคของเธอเป็นที่เปิดเผยในทางสาธารณะอยู่แล้วจนได้ฉายาว่า “แม่ยก” ในการชุมนุมของราษฎร การโจมตีทรายเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับสมาชิกของกลุ่ม The Mad Hatter ซึ่งเป็นประชาชนธรรมดาที่บริจากเงิน ทั้งนี้ กลุ่มดังกล่าวไม่เคยมีส่วนร่วมในฐานะเป็นผู้จัดการชุมนุมแต่อย่างใด

 

การสืบสวนครั้งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากเราไม่ได้รับความไว้วางใจและความยินยอมจากเหยื่อในการเข้าร่วมกระบวนการสอบสวน ขอบคุณทุกคนที่ไว้วางใจและเสียสละเวลาและความเป็นส่วนตัวในการให้ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ อย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากและเป็นปัจจัยเดียวที่จะเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นในการวิเคราะห์รูปแบบของการโจมตีเหยื่อ  รวมทั้งบุคคลอื่นๆที่เข้าร่วมกระบวนการสอบสวนหรือเอื้ออำนวยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้

 

นอกจากนี้ DigitalReach ยังเป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญในการตรวจสอบอุปกรณ์ของเหยื่อและเป้าหมายและร่วมวิเคราะห์รายงานที่เข้าร่วมการสอบสวน โดยมี Citizen Lab เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทำการวิเคราะห์ทางเทคนิคและให้ข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้เพกาซัสในประเทศไทย

 

2496

Article type: