1186 1568 1583 1075 1269 1719 1939 1769 1264 1017 1969 1561 1443 1747 1688 1522 1139 1025 1065 1583 1040 1106 1012 1597 1100 1784 1769 1514 1902 1261 1272 1464 1875 1134 1589 1275 1019 1609 1257 1308 1821 1427 1437 1800 1201 1929 1846 1887 1881 1660 1739 1100 1317 1790 1915 1933 1190 1323 1300 1966 1185 1976 1286 1751 1883 1637 1346 1378 1445 1238 1265 1094 1530 1083 1541 1331 1944 1757 1168 1396 1918 1671 1770 1928 1217 1575 1336 1939 1086 1695 1071 1352 1332 1244 1615 1551 1674 1797 1271 112 ALERT! ชวนเปิดแฟ้มคดี “ป้ายผ้าลำปาง” ก่อนพิพากษา | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

112 ALERT! ชวนเปิดแฟ้มคดี “ป้ายผ้าลำปาง” ก่อนพิพากษา

 
ย้อนกลับไปในช่วงที่สถานการณ์ COVID-19 กำลังระบาดรุนแรงเมื่อปี 2563 และการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนในประเทศยังคงไม่ทั่วถึง ในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 เฟซบุ๊กเพจกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชนก็ได้โพสต์ภาพป้ายผ้าดิบขนาดใหญ่ที่เขียนข้อความด้วยสีดำและแดงว่า “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” โดยป้ายดังกล่าวถูกแขวนอยู่บนสะพานรัษฎาภิเศก หรือ “สะพานขาว” สถานที่ซึ่งเป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดลำปาง
 
ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือนหลังภาพถูกเผยแพร่ ก็มีประชาชนในจังหวัดลำปางทยอยถูกตรวจค้นที่พัก โดยที่หมายค้นนั้น เดินทางมาถึงก่อน “หมายเรียกคดี” จากนั้น เจ้าหน้าที่ก็ทำการดำเนินคดีมาตรา 112 ต่อผู้ต้องสงสัยจำนวนห้าคน บางคนเป็นนักศึกษา บางคนทำงาน และบางคนเป็นนักกิจกรรม
 
ข้อความส่วนหนึ่งในคำฟ้องระบุว่า การแขวนป้ายผ้าดังกล่าว เป็นการแสดงกิริยาจาบจ้วง ล่วงเกิน ลบหลู่ ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย ทำให้พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 และพระบรมราชินี เสื่อมเสียเกียรติยศของ รวมทั้งทำให้ประชาชนบุคคลทั่วไปอ่านข้อความแล้วเข้าใจว่า งบประมาณของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลนั้นมีจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามหลักการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน และมากกว่างบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรเพื่อจัดหาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ซึ่งเป็นการได้เปรียบหรือเอาเปรียบประชาชน
 
ก่อนที่ศาลจังหวัดลำปางจะมีคำพิพากษาในวันอังคารที่ 31 มกราคม 2566 ไอลอว์ชวนทำความรู้จักจำเลยทั้งห้าคนและรายละเอียดของคดีให้มากขึ้น
 

(1) รู้จักจำเลยทั้งห้า และที่มาของป้ายผ้า

 

2800

 
จำเลยทั้งห้าคนที่ถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 จากการแขวนป้ายผ้า “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” ที่สะพานรัษฎาภิเศก ประกอบไปด้วย
 
1) จอร์จ หรือพินิจ ทองคำ เด็กหนุ่มที่มีพื้นเพเป็นคนภาคใต้ แต่เดินทางขึ้นมาเรียนปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
 
2) โม หรือภัทรกันย์ แข่งขัน นักศึกษามหาวิทยาลัยเรียนราชภัฏลำปาง สาขาศิลปะและการออกแบบ
 
3) จูน หรือวรรณพร หุตะโกวิท สมาชิกกลุ่มการเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงภาคเหนือตอนล่าง (NU movement)
 
4) แอน หรือยุพดี กูลกิจตานนท์  หญิงวัยกลางคนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่เหตุการณ์ขอคืนพื้นที่ในการสลายการชุมนุม นปช. ปี 2553 และมาร่วมทำงานให้กับคณะก้าวหน้าในช่วงปี 2563
 
5) “หวาน” (นามสมมติ) ประชาชนผู้อยู่อาศัยในเมืองลำปาง
 
สำหรับที่มาของการตัดสินใจแสดงออกด้วยข้อความ “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” จอร์จเล่าผ่านรายการ Hear Me, Here with me ซึ่งเผยแพร่ผ่านทางทวิเตอร์สเปซ @iLawfx เมื่อ 27 มกราคม 2566 ว่า ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ภายใต้สภาวะที่รัฐบาลไม่ได้มีการจัดสรรงบประมาณไว้ใช้สำหรับวัคซีนป้องกันโรคนั้น เกิดขึ้นไล่เลี่ยกันกับการอภิปรายเรื่องงบประมาณกษัตริย์ของ ส.ส. ในสภา เขาจึงเกิดไอเดียในการนำงบประมาณสองก้อนมาเปรียบเทียบกันและสื่อสารออกไปผ่านป้ายผ้า
 
“ช่วงที่โควิดระบาดหนักมาก มีญาติของผมเสียชีวิตเพราะโควิด หลังจากเหตุการณ์นั้น มันทำให้ผมรู้สึกว่า สังคมของเรามันเป็นอะไรไป ... ทำไมรัฐบาลที่มีหน้าที่ทำบริการสาธารณะ หรือจัดการเรื่องสาธารณสุขให้ประชาชน ทำไมเขาจึงเมินเฉยเรื่องวัคซีนโควิด ถ้าเราดูข่าวช่วงนั้น หลายๆ ประเทศเริ่มมีวัคซีนกันแล้ว และจริงๆ ประเทศไทยควรจะได้เป็นประเทศแรกๆ ของโลกด้วยซ้ำ”
 
“ด้วยความที่แฟนของผมเรียนสาธารณสุข ก็เลยรู้ทั้งข้อมูลเชิงประจักษ์และข้อมูลเชิงลึกว่าสาเหตุที่เรายังไม่ได้วัคซีนเป็นเพราะอะไร หรือเรื่องการบริการสาธารณสุขที่ย่ำแย่มากๆ หลังจากนั้นผมจึงมาคุยกับเพื่อนๆ ว่าต้องทำกิจกรรมซักอย่างหนึ่งเพื่อเป็นการเรียกร้องเรื่องวัคซีนโควิด-19”
 
“พอดีกับที่ตอนนั้นมีการอภิปรายเรื่องงบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์ของ ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎร ผมก็มีความสงสัยว่าทำไมงบประมาณสถาบันกษัตริย์ถึงพุ่งไปหลายหมื่นล้าน เชื่อไหม ผมไปหาข้อมูลมาว่างบวัคซีนถูกจัดสรรมาไม่กี่ร้อยล้านเอง ก็เลยนำมาคุยกับเพื่อนต่อว่า เมื่อนำงบสองส่วนมาเปรียบเทียบกัน ทำไมมันต่างกันหลายเท่าตัวขนาดนี้ งบประมาณที่สำคัญหรือเร่งด่วน ไม่ได้ถูกจัดสรรได้อย่างเต็มที่เพื่อนำวัคซีนมารักษาพี่น้องประชาชนที่ติดโควิดหรือยังไม่ได้เป็นโควิด นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า งบสถาบันกษัตริย์ > วัคซีน COVID 19”
 
อย่างไรก็ตาม จอร์จตั้งข้อสังเกตว่า ในวันเกิดเหตุมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 กลับมีเพียงแค่ตัวเขาและกลุ่มเพื่อนนักกิจกรรมเท่านั้น
 
“ข้อความก็มีเพียงเท่านี้ ไม่ได้ระบุถึงใคร ผมคิดว่า คำว่างบสถาบันกษัตริย์ เป็นคำที่มีความเป็นสาธารณะอยู่พอสมควร ก็เลยนำมาใส่ในป้ายผ้าผืนนั้น และจริงๆ วันนั้นมีเพื่อนมาร่วมกิจกรรมกันหลายสิบคน แต่น่าแปลกใจมากที่ตำรวจลำปางเล็งเป้ามาที่พวกเราห้าคนนี้ นี่ยังเป็นคำถามที่ค้างคาอยู่ในใจผม”
 
ทำความรู้จัก จอร์จ โม จูน และแอน เพิ่มเติมได้ที่ https://freedom.ilaw.or.th/blog/112Lampang
รับชม “ป้ายผ้าลำปาง กับความฝันที่อยากเห็นประเทศดีขึ้น” https://www.youtube.com/watch?v=wQhB5Ksd65o&t=6s
 

(2) บุกค้นบ้าน-ตรวจ DNA

 
2801
 
คดีป้ายผ้าลำปาง นับว่ามี “ความแปลก” อยู่ไม่น้อยในเริ่มแรก โดยเจ้าหน้าที่ใช้วิธี "เข้าตรวจค้น" ก่อนที่หมายเรียกคดีจะเดินทางมาถึงตามกระบวนการภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือนหลังภาพดังกล่าวถูกโพสต์  
 
18 มกราคม 2564 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจเช็คกล้องวงจรปิดในบริเวณและเข้าตรวจค้นสำนักงานของ “คณะก้าวหน้าจังหวัดลำปาง” พร้อมกับทำการยึดถังสี อุปกรณ์ทาสี เสื้อผ้าเปื้อนสี รวมทั้งป้ายผ้าที่เขียนเลข 112 และเครื่องหมายกากบาททับ กลับไปเป็นหลักฐาน
 
จอร์จเล่าถึงเหตุการณ์การถูกบุกค้นว่า ตำรวจมากันนอกเครื่องแบบประมาณ 14 นาย โดยไม่มีการแสดงบัตรแต่อย่างใดว่าเป็นข้าราชการตำรวจ
 
“เขากล่าวหาว่าเราเข้าไปใช้ในพื้นที่ของสำนักงานคณะก้าวหน้า เหตุการณ์ในวันนั้นเป็นการบ่งชี้ว่าตำรวจลุแก่อำนาจพอสมควร วันนั้นในหมายค้นระบุเลขที่อาคารผิด เขาแจ้งแค่ว่ามีหมายค้นว่า ‘พินิจ ทองคำ’ ก็คือชื่อของผม แต่เขาก็ใช้อภิสิทธิ์ในการเข้ามาเลย ก็อาคารมีสามชั้นนะตำรวจเดินขึ้นไปถึงชั้นสอง ทั้งที่เราพยายามตักเตือนเขาแล้ว บอกเขาแล้ว เขาก็ไม่ฟัง”
 
ต่อมา มีการตรวจค้นที่พักของโม แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ยึดสิ่งใดไป โดยโมเล่าว่า ในตอนแรก ตำรวจไม่ได้บอกเธอว่ามีหมายคดีมาตรา 112 แต่จะขอไปตรวจค้นที่บ้านเท่านั้น แต่เมื่อตำรวจทำการค้นบ้านเสร็จกลับยื่นหมายคดีมาตรา 112 ให้พ่อและแม่ของเธอ
 
“ตอนแรกคือยังไม่ได้บอกว่าเราโดน 112 เรายังไม่โดนหมายเขาบอกว่าแค่จะไปค้นบ้านเฉยๆ ไม่มีอะไร เราก็ ‘ได้ค่ะ’ ยังไม่อะไรเพราะบ้านเราก็ไม่ได้มีอะไรต้องปิดยัง สักประมาณ 15 นาที ค้นบ้านและเอกสารในค้นบ้านเรียบร้อย เขาก็เอาเอกสารเกี่ยวกับที่เราโดนหมายมายื่นให้พ่อกับแม่ เราก็อยู่ด้วย แต่เขายื่นให้พ่อ พ่อเลยเป็นคนรับหมาย แล้วพอเห็น พ่อทำอย่างแรกพ่อหัวเราะ หัวเราะใส่ตำรวจด้วย” โมเล่าย้อนเหตุการณ์อย่างติดตลก
 
สถานที่สุดท้ายที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นคือ ที่พักของจูน แต่เลขที่บ้านตามหมายค้นนั้นไม่ตรงกับเลขที่บ้านจริง จูนจึงไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้น
 
ต่อมา 25 มกราคม 2564 ทั้งห้าคนเข้าพบพนักงานสอบสวนที่ สภ.เมืองลำปาง ตามความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ มาตรา 112 และพ.ร.บ.ความสะอาดฯ โดยทั้งหมดให้การปฏิเสธ ทั้งนี้ มีเพียงจอร์จคนเดียวที่ถูกกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) เพิ่มอีกหนึ่งข้อหา และภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ ตำรวจอนุญาตให้ปล่อยตัวทั้งห้าคนโดยไม่ต้องวางเงินประกัน
 
แอนระบุว่า กระบวนการของตำรวจมีทั้งการซักประวัติ พิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายรูปให้ถือป้าย รวมทั้งการ “ตรวจดีเอ็นเอ” โดยแอนเล่าว่า เจ้าหน้าที่จะนำดีเอ็นเอที่ตรวจไปเทียบกับหลักฐานที่เขายึดไปได้ ส่วนวิธีการตรวจคือการเอาสำลีมาเก็บน้ำลายกระพุ้งแก้ม
 
“เขาบอกว่าถ้าเราไม่ให้เขาตรวจดีเอ็นเอก็เหมือนเราไม่บริสุทธิ์ใจ เขาจะเอาไปเทียบกับหลักฐานที่เขายึดไปได้ประมาณนั้น ก็เลยให้ตรวจ มีการเอาสำลีมาเก็บน้ำลายกระพุ้งแก้ม” แอนเล่าพร้อมทำท่ากระทุ้งแก้มเหมือนเวลาแปรงฟัน
 
*หมายเหตุ ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์เมื่อ 25 มกราคม 2564 https://freedom.ilaw.or.th/blog/112Lampang
 
 

(3) เปิดแฟ้มคดี พร้อมสู้ด้วยข้อเท็จจริง

 
2802
 
ในคดีนี้มีผู้ริเริ่มคดีคือ ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง โดยส่วนหนึ่งจากคำฟ้อง (ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2564) ระบุใจความว่า
 
การแขวนป้ายผ้าที่สะพานรัษฎาภิเศกโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการแสดงกิริยาจาบจ้วง ล่วงเกิน ลบหลู่ ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย ทำให้พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 และพระบรมราชินี เสื่อมเสียเกียรติยศ และทำให้ประชาชนบุคคลทั่วไปอ่านข้อความแล้วเข้าใจว่า งบประมาณของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลนั้นมีจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามหลักการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน และมากกว่างบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรเพื่อจัดหาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ซึ่งเป็นการได้เปรียบหรือเอาเปรียบประชาชน 
 
จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 ในนัดส่งตัวผู้ต้องหาและสำนวนคดีให้กับอัยการ ทั้งห้าคนได้ยื่นหนังสือแสดงความประสงค์ให้พนักงานอัยการทำการสอบสวนเพิ่มเติมด้วยการออกหมายเรียกพยานบุคคลและพยานเอกสาร ประกอบไปด้วย
 
o ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ มาให้การเกี่ยวกับประเด็นประวัติศาสตร์ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
 
o เลขาธิการพระราชวัง มาให้การในประเด็นว่าข้อความตามที่กล่าวหาสร้างความเสียหายแก่ในหลวงรัชกาลที่ 10 หรือไม่ อย่างไร
 
o สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณแห่งชาติ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอเอกสารงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ปี 2557-2564
 
o รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตัวแทนสำนักงบประมาณ และตัวแทนสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มาให้การในประเด็นว่าตั้งแต่ปี 2557 จนถึง 2564 ได้มีการจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในแต่ละปีเป็นจำนวนเท่าใด ใช้จ่ายไปเท่าใดบ้าง และคงเหลือเท่าใด
 
o อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาให้การเกี่ยวกับประเด็นงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง ผลิต หรืออื่นๆ เกี่ยวกับวัคซีนต่อต้าน COVID-19
 
คดีนี้มีการนัดสืบพยานเมื่อ 5, 12 กันยายน 2565 ต่อด้วย 3, 10 ตุลาคม 2565 และ 14 พฤศจิกายน 2565 โดยศาลจังหวัดลำปางนัดฟังคำพิพากษา 31 มกราคม 2566
 
27 มกราคม 2566 หรือสี่วันก่อนพิพากษา จอร์จกล่าวในรายการ Hear Me, Here with me ว่า ในทางการต่อสู้คดี เขาเชื่อมั่นในข้อเท็จจริงของข้อความที่สื่อสารออกไป เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงทางสาธารณะ พร้อมทิ้งท้ายว่า วันพิพากษาที่กำลังใกล้เข้ามานี้คงเป็นอีกหนึ่งวันที่มีความสำคัญกับเขามาก
 
“ถ้าจำไม่ผิด ฝ่ายโจทก์ใช้เวลาสี่ถึงห้าวัน แต่ฝ่ายจำเลยแปปเดียวเอง ประมาณหนึ่งวัน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องการต่อสู้เรื่องข้อเท็จจริง เพราะเราได้พูดคุยกับทางทนายแล้วว่า มันเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงๆ การเปรียบเทียบงบประมาณหมื่นล้านกับร้อยล้าน มันชัดเจนมากว่านี่คือข้อเท็จจริงทางสาธารณะ อยู่ในสื่อต่างๆ และพิสูจน์ได้”
 
“จะว่าเร็วก็ไม่เร็ว จะว่าช้าก็ไม่ช้า (วันพิพากษา) เป็นอีกหนึ่งวันที่น่าจะมีความสำคัญกับชีวิตผมมากพอสมควร”
 
ฟังรายการ Hear Me, Here with me ep.ป้ายผ้าลำปาง ย้อนหลัง https://twitter.com/i/spaces/1yoJMZrwXzdxQ
ดูรายละเอียดคดีทั้งหมด https://freedom.ilaw.or.th/th/case/925
Article type: