1981 1725 1695 1882 1442 1347 1942 1006 1383 1658 1228 1561 1041 1302 1850 1228 1627 1732 1559 1152 1307 1345 1536 1225 1160 1914 1793 1691 1463 1256 1616 1142 1438 1565 1488 1999 1217 1043 1696 1672 1152 1243 1060 1780 1927 1837 1520 1786 1854 1956 1067 1135 1298 1037 1447 1850 1294 1545 1026 1879 1360 1496 1694 1839 1632 1888 1748 1985 1201 1039 1731 1248 1982 1380 1118 1963 1974 1359 1740 1215 1992 1071 1126 1785 1078 1978 1714 1835 1019 1704 1473 1616 1124 1114 1173 1237 1433 1905 1365 “ภูเก็ตหวาน” คดีบรรทัดฐานของเสรีภาพสื่อกับมาตรา 14(1) | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

“ภูเก็ตหวาน” คดีบรรทัดฐานของเสรีภาพสื่อกับมาตรา 14(1)

คดี “ภูเก็ตหวาน” หรือคดีที่สำนักข่าว Phuketwan ถูกกองทัพเรือฟ้อง แสดงให้เห็นว่า “พ.ร.บ.คอมฯ” หรือ ที่ชื่อเต็มว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กำลังก้าวเข้ามาเล่นบทบาทเป็นกฎหมาย “ปิดปากสื่อ” อย่างจริงจังและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคที่สื่อออนไลน์เติบโตมาเป็นเครื่องมือให้สำนักข่าวเล็กๆ หรือสำนักข่าวท้องถิ่นมีพื้นที่ส่งออกเรื่องราวของตัวเองบ้าง

17 กรกฎาคม 2556 เว็บไซต์ Phuketwan สำนักข่าวท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งรายงานข่าวเป็นภาษาอังกฤษ เผยแพร่ข่าวซึ่งอ้างอิงจากรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ทหารเรือบางนายมีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับผลประโยชน์ จากขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา

16 ธันวาคม 2556 กองทัพเรือ โดย น.อ. พัลลภ โกมโลทก แจ้งความดำเนินคดี กับ อลัน มอริสัน บ.ก.เว็บไซต์ชาวออสเตรเลีย และน.ส. ชุติมา สีดาเสถียร ผู้สื่อข่าว ในความผิดฐานหมิ่นประมาทและความผิดตาม พ.ร.บ. คอมฯ มาตรา 14(1)

 

78

อลัน มอริสัน บรรณาธิการเว็บไซต์ Phuketwan

และ ชุติมา สีดาเสถียร ผู้สื่อข่าวของ Phuketwan ผู้ถูกกองทัพเรือดำเนินคดี

 

ถาม : หลังถูกดำเนินคดีได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง

อลัน : มีความตึงเครียดเกิดขึ้นมาก เจ้าหน้าที่ของเราบางคนลาออก เข้าใจว่าเป็นเพราะความกลัวและบางคนอาจไม่ต้องการเป็นนักข่าวอีกต่อไปแล้ว ซึ่งเราก็เข้าใจ

[There was lots of tension. Some of our staffs left the office. I think they leave because they were afraid and they weren't keen to be journalist anymore which we understand that.]

ชุติมา : คดีรบกวนเวลาในการทำงานของเรา เพราะเราต้องเอาเวลางานมาเตรียมคดี เตรียมเอกสาร ไปพบตำรวจ อัยการ เพื่อที่จะดำเนินการต่างๆ และยังมีผลกระทบด้านจิตใจของเราด้วย ก่อนโดนคดีเราทำข่าวได้วันละ 10 ข่าว แต่เราก็สูญเสียเวลาตรงนั้นไปจนทำได้วันละ 1-2 ข่าว และมีสมาธิกับงานลดลง และเรามองว่าเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่มีความยุติธรรม

 

ถาม: รู้สึกอย่างไรกับการต้องเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมไทย

ชุติมา : รู้สึกแย่ รู้สึกช็อกกับสิ่งที่เกิดขึ้น เรามั่นใจว่าเราไม่ได้ทำอะไรผิด เราทำงานหนักมาโดยตลอด ลงพื้นที่มาโดยตลอด ซึ่งเราก็เห็นว่ารายงานที่รอยเตอร์เผยแพร่ เป็นข้อความที่น่าเชื่อถือ หลายๆคนก็อ้างอิงข่าวที่รายงานโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ พอมาเจอแบบนี้เราก็รู้สึกว่า เฮ้ย มันเกิดอะไรขึ้น มันเสียความรู้สึก

 

ถาม : หลังถูกดำเนินคดีทำให้ต้องเซ็นเซอร์ตัวเองหรือระมัดระวังอะไรบ้าง

อลัน : หลังจากถูกดำเนินคดี แทนที่เราจะเซ็นเซอร์ตัวเอง ในทางตรงข้าม เรายิ่งต้องทำงานอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมามากขึ้น เพื่อบอกว่าจริงๆ แล้วอะไรกำลังเกิดขึ้นบ้าง  

[After we were charged, instead of self-censorship we should be more frank and more open to say what exactly is happening and we would be more direct in the way we do the stories.]

ชุติมา : ประเด็นในการเขียนข่าวเรายังเสนอเหมือนเดิม ไม่มีการหลีกเลี่ยง เพียงแต่จำนวนลดลง เพราะที่ผ่านมาเราก็ไม่ได้เขียนข่าวที่จะไปเจาะจงให้ร้ายเป็นการส่วนตัวหรือคนใดคนหนึ่ง เราเขียนวิพากษ์วิจารณ์ในภาพรวมมากกว่า

 

ถาม: คิดว่าคดีนี้จะมีผลกระทบต่อการรายงานข่าวของที่อื่นหรือบรรยากาศของสังคมหรือไม่

ชุติมา : คิดว่ามี การที่เจ้าหน้าที่มาดำเนินคดีกับผู้สื่อข่าว เข้าใจว่าจะสร้างอาณาจักรของความกลัวแผ่กระจายไปยังคนที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารพวกนี้ อาจจะมีการระแวดระวังมากขึ้น อาจจะไม่นำเสนอข่าวประเภทนี้ เพราะเมื่อเป็นคดีความมันก่อให้เกิดความยุ่งยากในชีวิต

 

ประเด็นเรื่องผู้อพยพชาวโรฮิงญาเป็นประเด็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน สื่อกระแสหลักของไทยมักรายงานข่าวเฉพาะเมื่อมีการจับชาวโรฮิงญาที่ลักลอบเข้าเมืองได้ครั้งละจำนวนมากๆ รายงานว่ารัฐบาลไทยยืนยันว่าจะปฏิบัติอย่าง “มีมนุษยธรรม” แต่ไม่มีการรายงานต่อว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ขณะที่ผู้อพยพทางเรือก็ยังหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีใครรับรู้ชะตากรรมของพวกเขาและไม่มีใครลงมือแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

อาจจะมีสื่อต่างชาติบางสำนักเท่านั้นที่ติดตามเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้อพยพชาวโรฮิงญาและเปิดเผยออกมาให้สาธารณะได้รับรู้ อาจเพราะสื่อไทยส่วนใหญ่รายงานข่าวแบบฉาบฉวยเกินไป หรือไม่ก็หวาดกลัวเกินไป

 

ถาม : เท่าที่รับรู้มาสถานการณ์การค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาในพื้นที่ภาคใต้ของไทยเป็นอย่างไรบ้าง

อลัน : มันเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นจริงๆ พม่าผลักดันให้ชาวโรฮิงญาต้องออกสู่ทะเล บังคับให้ต้องออกนอกประเทศ ไทยเลยต้องเจอกับปัญหานี้ ไทยเองก็พยายามไม่ทำอะไรเลย เก็บทุกอย่างเป็นความลับและทำให้ประเด็นนี้เงียบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราเชื่อว่านี่เป็นประเด็นสำคัญในระดับสากล เราจึงต้องเขียนเรื่องพวกนี้

[It was really should not happen. The Burmese pushing Rohingya in to the sea, force them to leave the country and Thailand has to deal with that issue. Thailand tries to save all options, lies on secrecy and keeps the issue as quiet as possible. We believe this issue is internationally important so we wrote about them]

ชุติมา : ชาวโรฮิงญาเป็นคนไร้สัญชาติ เมื่อก่อนอาจจะไม่มีคนรู้จัก แต่ตอนนี้มีคนรู้จักมากขึ้นในทางด้านสังคมและข้อมูลข่าวสาร แต่ปัญหาของโรฮิงญากลับไม่ได้รับการแก้ไข กลับกลายเป็นรุนแรงมากขึ้น นโยบายของรัฐบาลก็ไม่มีความชัดเจน จากที่เราได้ติดตามประเด็นโรฮิงญามาตั้งแต่ปี 2008 และในฐานะที่เป็นนักศึกษาทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องโรฮิงญา และติดตามกรณีการอพยพของโรฮิงญามาโดยตลอด เราเชื่อว่ามีกระบวนการค้ามนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง เราไม่เชื่อว่าโรฮิงญาจะสามารถย้ายมาจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยลำพังได้

 

ถาม: นอกจากข่าวชิ้นนี้ ได้ทำอะไรเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญาบ้าง

ชุติมา : ที่ผ่านมาก็นำเสนอข่าวเกี่ยวกับการจับกุมชาวโรฮิงญา และเกี่ยวกับการที่เขาไปอยู่ในแค้มป์ หนีออกมาจากแค้มป์ ถูกตี และรายงานเกี่ยวกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ผลักดันพวกเขากลับไปยังพม่า แล้วก็ถูกส่งกลับเข้ามาในแค้มป์อีก มีการรายงานกรณีการซื้อขายโรฮิงญาลงเรือประมงบ้าง ไปทำงานในสวนบ้าง ส่งไปมาเลเซียบ้าง ส่วนผู้หญิงก็จะมีการซื้อออกมาเพื่อแต่งงาน

 

ถาม: ในฐานะสื่อ การรายงานข่าวเรื่องการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาช่วยกระตุ้นอะไรสังคมได้บ้าง

อลัน : คนทั่วโลกรู้ว่าพม่ากำลังกลับสู่ถนนสายประชาธิปไตย แต่น้อยคนนักที่จะรับรู้ถึงปัญหาความไม่อดกลั้นต่อความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพม่า จริงๆแล้วปัญหาโรฮิงญาในไทยเป็นเพียงผลพวงของปัญหาที่เกิดในพม่าเท่านั้น ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศที่ต้องรับเคราะห์จากสาเหตุจริงๆ ของปัญหา เราจึงพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าประชาธิปไตยเกิดได้ยากในสังคมที่ยังมีการเหยียดเชื้อชาติกันอยู่ ชาวโรฮิงญาถูกปฏิบัติย่างไม่เป็นธรรมเพียงเพราะเป็นคนมุสลิมในประเทศพุทธ โลกจำเป็นต้องรู้เรื่องพวกนี้เกี่ยวกับพม่า

[People around the world aware that Burma is turning to democracy but did not aware the intolerance within Burma. What happen in Thailand is really a byproduct of what happen in Burma. Thailand is an innocent party to the real cause of problem . So we try to make a point that it is difficult to be democracy with racism. Rohingya were persecuted for no good reason, prosecute because they were Muslim in Buddhist country. The world needs to know about Burma.]

 

17 เมษายน 2557 อัยการนัดให้อลันและชุติมาไปพบที่ศาลจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำตัวส่งฟ้อง ซึ่งในวันนั้นทั้งสองคนจะต้องถูกคุมขังทันทีในฐานะจำเลย

ทั้งอลันและชุติมายืนยันว่าไม่ได้ทำอะไรผิดและพร้อมจะสู้คดีอย่างเต็มที่ ทั้งสองคนมีสิทธิยื่นขอประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดีในชั้นศาล แต่ทั้งสองกลับแสดงเจตนาชัดเจนว่าจะไม่ยื่นขอประกันตัวตัวเองและพร้อมจะเข้าคุกเพื่อยืนยันในหลักการ ทำให้วันที่ 17 เมษายน 2557 อาจเป็นวันที่ประเทศไทยมีนักข่าวต้องถูกจองจำจากการรายงานข่าวเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน

 

ถาม: ทำไมถึงพร้อมจะเข้าคุกโดยไม่ยื่นขอประกันตัว

อลัน : มันเป็นเรื่องของหลักการ เป็นเรื่องน่ากลัวและไร้เหตุผลที่กองทัพเรือใช้ข้อกล่าวหานี้ ถ้าผมต้องเข้าไปอยู่ในคุกเพื่อเป็นการประท้วงต่อการคุกคามเสรีภาพสื่อ นั่นก็เป็นสิ่งที่ผมต้องทำ มันเป็นการส่งสัญญาณเตือนว่าตอนนี้องค์กรใหญ่ๆ กำลังฟ้ององค์กรเล็กๆ แบบที่กองทำเรือทำโดยไม่มีเหตุผล เรารู้สึกผิดหวัง เพราะเราเองก็อยากฟ้องกลับแต่เราไม่ต้องการใช้กฎหมายนี้เพราะมันเป็นกฎหมายที่แย่ เราจึงหวังว่าเราจะพ้นจากข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมและกฎหมายที่ไม่ควรจะเป็น

[It is just as a matter of principle. I'm horrified that the Navy brough this charge, it was unreasonable. If I had to get a jail in protest of the invasion of media freedom then that is something I need to do it. It was alarming to have a big organization sues the small organization in the way that the navy had for no good reason. It feels frustrating because we want to sue them back but, of course, we don’t want to use this law because it is a bad law. So we really wish we will free of this unjust charge and a law that should not be.]  

ชุติมา : ที่ไม่ประกันตัวเอง ไม่ได้หมายความว่าเราปฏิเสธหน่วยงานอื่นๆ ที่จะมาประกันตัวเรา แต่ถ้าไม่มีใครมาประกันตัว เราก็โอเค เราก็อยู่ในคุก เพราะตรงนี้เรามองว่าเป็นเรื่องของหลักการมากกว่า และเราก็ไม่ยอมรับกับการที่กองทัพเรือใช้กฎหมายที่ไม่มีความสมบูรณ์มาจัดการกับผู้สื่อข่าว แทนที่เขาจะโทรมา สอบถามข้อเท็จจริงกับเราว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่เขากลับใช้กฎหมายมาดำเนินคดีซึ่งเป็นการคุกคามเสรีภาพ และสิ่งที่เรานำเสนอไป ก็ทำในฐานะสื่อมวลชนซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทั่วไป ตามระบอบประชาธิปไตยเรามีสิทธิและเสรีภาพที่จะพูดหรือสื่อสารอะไรออกไป

 

“กฎหมายที่แย่” หรือ “กฎหมายที่ไม่มีความสมบูรณ์” สำหรับอลันและชุติมา หมายถึง มาตรา 14 (1) ของพ.ร.บ.คอมฯ ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่ง “ข้อมูลปลอม” หรือ “ข้อมูลอันเป็นเท็จ” มีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา 14 (1) บัญญัติขึ้นโดยมีเจตนารมณ์มุ่งเอาผิดกับกรณีไฟล์ปลอม เช่น ไวรัส ที่จะเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์ หรือ กรณีปลอมหน้าเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงผู้บริโภค หรือ ที่เรียกกันว่า ฟิชชิ่ง (Phishing) แต่ปัจจุบันถูกตีความเพื่อเอาผิดกับ “ข้อความอันเป็นเท็จ” การโกหก การโพสต์สิ่งที่ถูกต้องไม่ทั้งหมด การด่าทอ การแสดงความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์ และที่สำคัญคือถูกตีความเพื่อเอาผิดกับการรายงานข่าวของสื่อมวลชน

เมื่อต้นปี 2556 Andy Hall นักวิจัยด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติถูกบริษัทผลไม้กระป๋องฟ้องด้วยมาตรา 14(1) หลังเปิดเผยผลวิจัยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในโรงงานและมีผู้สื่อข่าวนำไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ต่อมาช่วงปลายปี สำนักข่าว Thaipublica ก็ถูกสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นฟ้องด้วยมาตรา 14(1) เช่นกัน หลังเผยแพร่รายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเงินที่ย่ำแย่ของสหกรณ์ และก่อนหน้านี้ก็มีคดีอีกนับไม่ถ้วนที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ต้องตกเป็นจำเลยเพราะเนื้อหาที่นำเสนอไปแตะต้องผู้มีอำนาจในสังคม

คดี “ภูเก็ตหวาน” กำลังได้รับความสนใจจากนานาชาติในฐานะการปิดกั้นเสรีภาพสื่อด้วยกฎหมายที่ยังมีปัญหาในการตีความ อลัน ชุติมา และทีมทนายความตั้งความหวังไว้ว่าจะต่อสู้คดีเพื่อสร้างบรรทัดฐานการตีความมาตรา 14(1) ให้กลับมาเข้ารูปเข้ารอยให้ได้ โดยพร้อมจะต่อสู้ไปจนถึงชั้นศาลฎีกาแม้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีก็ตาม แต่กว่าจะถึงวันนั้น หวังว่าอิสรภาพจะยังคงอยู่กับผู้สื่อข่าวทุกคนต่อไป  

 

[อ่านรายละเอียดคดีกองทัพเรือ ฟ้อง สำนักข่าวภูเก็ตหวาน คลิก]

 

 

 

Article type: