1191 1980 1805 1400 1810 1770 1692 1419 1114 1144 1958 1053 1616 1126 1826 1409 1184 1090 1465 1651 1660 1190 1267 1497 1845 1649 1689 1911 1824 1646 1443 1665 1443 1617 1245 1183 1688 1256 1984 1337 1396 1630 1689 1389 1578 1161 1089 1649 1582 1441 1534 1733 1998 1177 1744 1808 1500 1224 1979 1703 1649 1577 1691 1271 1492 1100 1335 1247 1824 1314 1938 1707 1560 1628 1544 1094 1193 1932 1897 1157 1914 1414 1091 1583 1084 1482 1018 1460 1120 1116 1418 1858 1882 1496 1991 1166 1911 1153 1241 บันทึกเหตุ: กุมภาพันธ์เดือนเดียว ปิดกั้น-แทรกแซง 5 กิจกรรม เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ 'มีชัย' | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

บันทึกเหตุ: กุมภาพันธ์เดือนเดียว ปิดกั้น-แทรกแซง 5 กิจกรรม เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ 'มีชัย'

กุมภาพันธ์ 2559 หลังเห็นร่างแรกรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย หลายฝ่ายพยายามจัดเสวนาและกิจกรรมเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่เเล้วก็มีอย่างน้อย 5 กิจกรรม ที่ถูกรบกวนจากเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจและทหาร  เช่นงานของนักวิชาการกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์, กลุ่มวีมูฟ และเว็บไซต์ประชามติ ทั้งที่รัฐบาลและคสช. ก็ออกมาเรียกร้องหลายฝ่ายให้แสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญในมุมต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ ภายใต้วิธีการที่เหมาะสม 
 
 
หลังร่างแรกของรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) นำโดย มีชัย ฤชุพันธ์ ปรากฎโฉมต่อสาธารณชน เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2559 ก็เกิดทั้งข้อถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงเนื้อหา โดยเฉพาะขั้วการเมืองฝ่ายต่างๆ ที่ออกมาแสดงความเห็น ทั้งคนที่สนับสนุน และคนที่ไม่เห็นด้วยในทันที่เมื่อเห็นเนื้อหาของร่างฯ
 
โดยพรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์เชิงคัดค้าน  ระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยตามหลักสากล เพราะอำนาจประชาชนถูกลอรอน และถูกควบคุมโดยองค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ฟากพรรคประชาธิปัตย์ถึงแม้จะออกแถลงการณ์คล้อยหลังวันแถลงเปิดตัวร่างรัฐธรรมนูญไปหลายวัน ฝังลิงก์ด้วย แต่กลับสวนทางกับความเห็นของพรรคเพื่อไทย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรค เห็นด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีดีหลายอย่างโดยเฉพาะการเน้นในการปราบทุจริตคอร์รัปชัน
 
ส่วนอดีตนักการเมือง เช่น จาตุรนต์ ฉายแสง ให้ความเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้อำนาจอธิปไตยไม่เป็นของปวงชนชาวไทยและไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชน ด้านวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ฝังลิงก์ด้วย  เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นฉบับยาแรง ต่อต้านการทุจริต และพยายามขจัดคนไม่ได้ออกจากเวทีการเมือง ขณะที่ รศ. นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ   ออกมาสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะมีมาตรการที่ระบุไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทุจริต
 
ส่วนภาคประชาชนและกลุ่มนักวิชาการ ก็มีหลายฝ่ายออกมารณรงค์ในประเด็นต่างๆเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่หลายๆกิจกรรมถูกจับตาจากเจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตำรวจอย่างเข้มงวด ประเด็น คือ เจ้าหน้าที่มองว่าการพูดคุยเรื่องร่างรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นอ่อนไหวล่อแหลม และอาจเข้าข่ายชุมนุมทางการเมือง ขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เช่น กลุ่มนักวิชาการที่ถูกให้ยกเลิกจัดงานวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ, กลุ่มสิทธิสตรีที่ถูกสั่งให้เลิกพูดเรื่องร่างรัฐธรรมนูญกลางงาน กระทั่งส่งเจ้าหน้าที่ไปกดดันให้เจ้าของสถานที่ไม่อนุญาตให้จัดงานเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันทางตัวแทนคสช.เองก็ออกมากล่าวว่า ประชาชนสามารถวิจารณ์ร่างฯ ได้แต่ขอให้เหมาะสมและสร้างสรรค์ ไม่งั้นอาจถูกเรียกมาปรับทัศนคติ
 
โดยหลังร่างแรกของรัฐธรรมนูญฉบับ 'มีชัย' ออกมา มีสถานการณ์ปิดกั้นกิจกรรมพูดคุยเรื่องรัฐธรรมนูญ และเข้าแทรกแซงกิจกรรมรณรงค์โดยเจ้าหน้าที่ เท่าทีไอลอว์บันทึกเหตุการณ์ได้ ดังต่อไปนี้ 
 
'สยามประชาภิวัฒน์' โอด เริ่มต้นก็วิจารณ์ทางวิชาการไม่ได้ซะแล้ว 
 
4 กุมภาพันธ์ 2559 มติชนรายงานว่า นักวิชาการที่แสดงจุดยืนในนาม "กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์” โดยคมสัน โพธิ์คง อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยถึงกรณี การจัดเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ กรธ. … ปฎิรูปได้จริงหรือ?" ซึ่งมีนักวิชาการร่วมเสวนา เช่น ศ.ดร.บรรเจิด สิงคเนติ, ศ.ดร.อุดม ทุมโฆสิต, รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, ผศ.ดร.สุวิชา เป้าอารีย์, สุริยะใส กตะศิลา และสุนี ไชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คมสันเเสดงความเห็นว่า “ประกาศยกเลิกการจัดสัมมนา เนื่องจาก คสช.ไม่อนุญาตให้จัด เริ่มต้นก็วิจารณ์ทางวิชาการไม่ได้ซะแล้ว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับอะไรดี” ทั้งนี้นักวิชาการ”กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์” เคยเเสดงจุดยืนทางการเมืองวิจารณ์การทำงาน และเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ้นสภาพ  
 
407 ภาพจากเฟซบุ๊ก Komson Pokong
 
กลุ่ม'วีมูฟ' พยายามทำให้ขบวนผู้หญิงทั่วประเทศรับรู้ร่างรธน.ถูกให้เลิกกลางคัน
13 กุมภาพันธ์ 2559  ที่โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย หรือวีมูฟ จัดเวทีเสวนาวิพากษ์ “ร่างรัฐธรรมนูญ และการมีส่วนร่วมของประชาชน” ในงานเสวนามีเจ้าหน้าที่ทหารแต่งชุดลายพราง 4 นายเข้ามารับฟัง ถ่ายรูป และสังเกตการณ์ 
 
กระทั่งเวลา 13.30 น. กลุ่มทหารดังกล่าวแจ้งให้ผู้จัดงานยุติการจัดงานในทันที และให้เวลาเก็บของภายใน 5 นาที อ้างคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญสั่งห้ามจัดงาน คณะผู้จัดงานจึงย้ายเวทีอย่างเร่งด่วนมาจัดเสวนาต่อที่โรงแรมรูท 202 ในจังหวัดอำนาจเจริญ แต่กลุ่มนายทหารยังคงติดตามและสั่งยุติการจัดงานโดยอ้างคำสั่งเดิม หนึ่งในทางผู้จัด สุนี ไชยรส คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ออกไปเจรจาขอให้กลุ่มทหารดังกล่าวนำเอกสารคำสั่งดังกล่าวมายืนยัน
 
สุนี ไชยรส หนึ่งในวิทยากร กล่าวภายหลังเจรจาว่า กรธ.ต้องรับฟังการเคลื่อนไหวของประชาชน เราพยายามทำให้ขบวนผู้หญิงทั่วประเทศรับรู้เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ มิได้ขัดต่อกฎหมายอย่างไร อย่างไรก็ตาม อยากถาม คสช. ผู้ว่าฯทุกจังหวัด จะให้เราทำอย่างไร จะให้จัดแบบลับๆล่อๆ หรือเปิดเผย แต่เราก็ยืนยันจะเดินหน้าต่อไปตามกำหนดเดิม เวทีภาคอีสานระหว่างวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2559 และเวทีภาคใต้ที่จังหวัดพัทลุง ระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2559
 
ด้าน สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน เป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชนมากเกินไป ร่างรัฐธรรมนูญต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ขณะที่เราก็จัดงานโดยเปิดเผย เราพยายามประสานหลายฝ่าย แต่สุดท้ายโดนห้ามจัด ในฐานะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 
 
 
วอนกลุ่มเส้นทางสีแดงยุติกิจกรรม ‘Vote No’ อ้างคำสั่ง หน.คสช.ห้ามชุมนุมฯ
14 กุมภาพันธ์ 2559  กลุ่มเส้นทางสีแดงจัดกิจกรรม ‘Valentine Vote No’  เชิญชวนผู้รักประชาธิปไตย ใส่เสื้อ ‘Vote No’ รับสติ๊กเกอร์รณรงค์ ‘ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ’ ที่ร้านแมคโดนัลด์ สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตั้งแต่เวลา 13.00 น.
 
เวลา 13.10 น. ขณะสมาชิกกลุ่มประมาณ 7 คน อยู่ในร้านแมคโดนัลด์ โดยใส่เสื้อเขียนว่า ‘Vote No’ พร้อมสติ๊กเกอร์ที่เตรียมมาสำหรับแจก มีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบประมาณ 5 นาย และนอกเครื่องแบบประมาณ 7 นาย เข้ามาเจรจาขอให้ทางกลุ่มผู้จัด ยุติกิจกรรม โดยอ้างคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมทางการเมือง
 
ด้านผู้จัดกิจกรรมกล่าวว่า ทางกลุ่มออกมาจัดกิจกรรมรณรงค์ภายใต้ขอบเขตของกฏหมาย และทำตามที่ รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ออกมาให้สัมภาษณ์เมื่อ 2 วันก่อนว่า การรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ตามกฎหมาย โดยในระหว่างการพูดคุย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดกิจกรรม โดยอ้าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน กระทั่งเวลา 13.30 น. กลุ่มเส้นทางสีแดงยอมยุติกิจกรรม และขอให้สื่อมวลชนช่วยเป็นพยานว่า พวกเขาทำตามกรอบของกฎหมาย 
 
408 ภาพจากเว็บไซต์ประชาไท
 
21 กุมภาพันธ์ 2559 ฟ้ารุ่ง ศรีขาว รายงานว่า เวลา 10.00 น. อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ หรือ "ฟอร์ด เส้นทางสีแดง" นักกิจกรรม ยืนถือสติ๊กเกอร์ Vote No เอามือปิดปาก ที่แยกราชประสงค์ เขาบอกว่า ต้องการสื่อถึงการที่ประชาชนถูกริดรอนสิทธิไม่สามารรณรงค์ รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ ทั้งที่รองนายกฯ เคยบอกว่าการรณรงค์รับหรือไม่รับทำได้ภายใต้กฎหมาย จึงอยากขอให้ฝ่ายความมั่นคง เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเต็มที่ เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วถูกเจ้าหน้าที่ขัดขวางไม่ให้ทำกิจกรรมที่แมคโดนัลด์ สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
โดยไม่ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว แต่ รปภ. ได้ดึงสติ๊กเกอร์ของเขาออกหลังทำกิจกรรม 
 
28 กุมภาพันธ์ 2559 'ฟอร์ด เส้นทางสีแดง' รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 2 โดยติดสติ๊กเกอร์ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเดินรณรงค์แจกสติ๊กเกอร์ที่ถนนข้าวสาร ตำรวจขอตรวจค้นและบันทึกภาพไว้ มีรายงานข่าวแจ้งว่าระหว่างที่กำลังติดสติ๊กเกอร์บริเวณหน้าแมคโดนัลด์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีตำรวจเข้ามาตรวจสอบถามชื่อ ขอตรวจค้นและบันทึกภาพไว้ ก่อนฟอร์ดจะดำเนินกิจกรรมต่อจนเสร็จสิ้น 
 
ทั้งนี้ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง เป็นที่รู้จักในหมู่นักกิจกรรมว่า มักทำเสื้อรณรงค์ทางการเมือง แล้วนำเงินรายได้ส่วนหนึ่งบริจาคช่วยเหลือนักโทษการเมืองมาโดยตลอด หลังรัฐประหาร ฟอร์ดถูกจับครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2557 จากการโพสต์เฟซบุ๊กเชิญชวนคนออกไปชุมนุมต้านรัฐประหาร เขาถูกศาลทหารตัดสินว่ามีความผิดฐานชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน พิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท ให้รอลงอาญา 2 ปี  ก่อนหน้านี้ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2558 เขาถูกตำรวจเข้าจับกุมที่ร้านแมคโดนัลด์ แยกราชประสงค์ ขณะนัดพบเพื่อนชาวต่างชาติเพื่อมอบเสื้อรณรงค์ พร้อมทั้งถูกเจ้าหน้าที่บุกค้นที่พัก และยึดเสื้อยืดรณรงค์เพื่อการช่วยเหลือนักโทษการเมืองไป 200 ตัว (ได้รับคืนในภายหลัง) 4 กันยายน 2558 เขาถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าตรวจค้นบ้านพัก เนื่องจากทำแคมเปญ ‘Vote No’ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยอยู่ในขั้นตอนเตรียมนำโลโก้ดังกล่าวไปทำเป็นเสื้อรณรงค์ 
 
เว็บไซต์ประชามติ ปั่นป่วน เหตุจนท.บีบย้ายสถานที่จัดเสวนารัฐธรรมนูญ
 
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 เครือข่ายเว็บไซต์ประชามติ มีกำหนดจัดกิจกรรมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญสองกิจกรรม คือ งานเสวนาสาธารณะหัวข้อ "รัฐธรรมนูญใหม่ เอาไงดีจ๊ะ?" และ งานประกวดการนำเสนอ PetchaKucha 20x20 หัวข้อ "รัฐธรรมนูญ" ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกดดันหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครให้ยกเลิกการใช้สถานที่ อ้างว่าการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเข้าข่ายการชุมนุมทางการเมือง ขัดต่อคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558 
 
ในวันเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตัวแทนเครือข่ายเว็บไซต์ประชามติ ได้แก่ จอน อึ๊งภากรณ์, ยิ่งชีพ อัชฌานนท์, จีรนุช เปรมชัยพร, สฤณี อาชวานันทกุล และ ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ร่วมกันแถลงข่าวและอ่านแถลงการณ์ต่อกรณีแทรกแซงกิจกรรมของเว็บไซต์ประชามติ ฝังลิงก์ที่ฮาร์ทกำลังขึ้นเว็บอยู่ด้วย
 
แถลงการณ์มีใจความว่า ความพยายามปิดกั้นหรือต้องขออนุญาตในการแสดงความเห็นเรื่องที่เป็นประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่วิธีการหาคำตอบให้สังคมอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะในบรรยากาศการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ หลักเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิรูปสังคมที่เว็บไซต์ประชามติยึดถือจึงยิ่งทวีความสำคัญ การขัดขวางการพูดคุยในประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญจะยิ่งทำให้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ขาดความชอบธรรมอยู่แล้วตั้งแต่ต้น สูญเสียความชอบธรรมมากขึ้นไปอีก และอาจไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมเมื่อถูกนำไปบังคับใช้ แต่เว็บไซต์ประชามติยังยืนยันที่จะทำกิจกรรมเพื่อสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดกว้างสำหรับทุกฝ่ายต่อไป
 
409 ภาพจากเฟซบุ๊ก เพจ Prachamati
 
นอกจากนี้ ตัวแทนจากเว็บไซต์ประชามติยังกล่าวอีกว่า กิจกรรมเสวนาเรื่องรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง เพราะไม่ใช่กิจกรรมที่คนรวมตัวเพื่อแสดงออกโดยมีข้อเรียกร้องร่วมกัน แต่เป็นกิจกรรมที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หลากหลาย แต่ปัจจุบันมีการกล่าวอ้าง และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม สามฉบับ คือ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ประกาศ คสช.ฉบับที่ 7/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 อย่างสับสนและผิดเพี้ยน โดยเจตนาเพื่อข่มขู่ ปิดกั้น และลงโทษการแสดงออกของประชาชนทุกรูปแบบ 
 
ทั้งนี้กรณีแทรกแซงกิจกรรมดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 พ.ต.อ.จารุต ศรุตยาพร ผกก.สน.ปทุมวัน ภายใต้การพิจารณาร่วมกับกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ทำหนังสือส่งถึงผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครว่า กิจกรรม PechaKucha 20×20 ที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมพูดถึงรัฐธรรมนูญในมุมมองของตนเอง ซึ่งจะจัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครนั้น เข้าข่ายการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งขัดต่อคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12 ที่ระบุว่า ผู้ใดมั่วสุมชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะเป็นการชุมนุมที่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 จึงขอให้ทางหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครแจ้งผู้จัดกิจกรรม เพื่อดำเนินการขออนุญาตก่อน
 
โดยงานเสวนาสาธารณะหัวข้อ "รัฐธรรมนูญใหม่ เอาไงดีจ๊ะ?" ทางรายการเวทีสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ได้ติดต่อมาบันทึกรายการด้วยตั้งแต่แรก หลังจากใช้สถานที่เดิมไม่ได้ จึงเดินหน้าบันทึกเทปรายการเวทีสาธารณะต่อไป เพื่อให้ประเด็นการพูดคุยเรื่องร่างรัฐธรรมนูญยังคงอยู่ โดยวิทยากรทั้งหมดเดินทางไปอัดรายการที่ห้องคอนเวนชั่น อาคารดี ชั้นสอง สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ในเวลาตามกำหนดเดิม คือเวลา 10.00-13.00 น. สำหรับกิจกรรม PetchaKucha 20x20 หัวข้อ "รัฐธรรมนูญ" ได้ย้ายไปจัดที่ห้องบรรยายโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตามกำหนดการเดิม คือ เวลา 16.00-19.00 น.
 
 
“คสช.” วอนวิจารณ์แบบ”เหมาะสม” ไม่งั้นอาจถูกเรียกฯ ใช้ รด.จิตอาสาร่วมรณรงค์ร่างฯ
 
9 กุมภาพันธ์ 2559 พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช.ว่า กล่าวถึงการแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ต้องขอขอบคุณและเรียกร้องหลายฝ่ายให้แสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญในมุมต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ ภายใต้วิธีการที่เหมาะสม สอดคล้องกับแนวทางสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศของการเดินหน้าประเทศอย่างแท้จริง และยังคงอยากเชิญชวนให้ประชาชนที่ยังไม่ได้ศึกษาในเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ ได้มาศึกษาร่วมกัน ซึ่งทุกๆ ความเห็นที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) คงจะได้เก็บเป็นข้อมูลนำเพื่อนำไปพิจารณาต่อไป
 
“ในขณะเดียวกันในระหว่างนี้หากพบว่ามีประเด็นใดที่เป็นข้อสงสัยของประชาชน คสช.จะรวบรวมส่งต่อไปยังรัฐบาลและ กรธ. เพื่อชี้แจงไขข้อข้องใจผ่านช่องทางสาธารณะ โดยเฉพาะใน “รายการแกะกล่อง…รัฐธรรมนูญใหม่” เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชนยิ่งขึ้น” พ.อ.วินธัยกล่าว และว่า เพื่อป้องกันการนำไปบิดเบือนให้เกิดความเข้าใจผิด
 
ด้าน พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ รองหัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ส่วนงานรักษาความสงบ สำนักงานเลขาธิการ คสช. กล่าวถึงกรณีที่ยังมีผู้บิดเบือนรายละเอียดร่างรัฐธรรมนูญว่า สำนักงานเลขาธิการ คสช.จะเชิญผู้ที่กระทำการดังกล่าวมาพูดคุยทำความเข้าใจ เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการปรองดอง  
 
ในวันเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.กังวลกรณีมีกลุ่มรณรงค์ต่อต้านทางโซเชียลมีเดียให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ วิษณุกล่าวว่า ก็ต้องถามมีชัยว่าจะให้รัฐบาลทำอย่างไรก็ช่วยบอกมา เมื่อถามย้ำว่า ขณะนี้เมื่อยังไม่มีกฎหมายเอาผิดหากรณรงค์คว่ำร่างจะมีกฎหมายใดมาเอาผิดการกระทำลักษณะนี้หรือไม่ วิษณุตอบว่า เรื่องการโพสต์สิ่งที่ไม่ถูกต้องก็มีกฎหมายรับรองอยู่ อย่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ประเทศไทยจะอยู่โดยไม่มีกฎหมายเหล่านี้คงไม่ได้ อย่าว่าแต่บิดเบือนเรื่องนี้เลย บิดเบือนข่าวดาราหรืออะไรก็ตามก็อาจถูกฟ้องร้องได้ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

Article type: