1564 1104 1160 1743 1901 1100 1314 1402 1319 1220 1767 1444 1896 1753 1287 1270 1907 1903 1351 1562 1269 1426 1198 1423 1877 1190 1400 1584 1456 1410 1303 1595 1054 1276 1143 1658 1500 1997 1912 1216 1063 1431 1041 1759 1351 1240 1850 1863 1333 1310 1977 1891 1052 1175 1307 1752 1798 1834 1197 1337 1762 1202 1413 1515 1203 1223 1795 1657 1001 1811 1223 1679 1745 1862 1104 1490 1776 1477 1758 1935 1819 1141 1271 1460 1631 1581 1833 1876 1772 1519 1936 1743 1702 1899 1212 1420 1991 1644 1360 พฤศจิกายน 2559: ไม่รับฟ้อง ยกฟ้อง คำตัดสินศาลเป็นคุณกับนักปกป้องสิทธิหลายกรณี | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

พฤศจิกายน 2559: ไม่รับฟ้อง ยกฟ้อง คำตัดสินศาลเป็นคุณกับนักปกป้องสิทธิหลายกรณี

 
ช่วงเวลา ยอดรวมตั้งแต่รัฐประหาร 
30 พฤศจิกายน
2559
ยอดรวมเฉพาะเดือนพฤศจิกายน
2559
คนถูกเรียกรายงานตัว 922 4
คนถูกจับกุมคุมขัง
จากการชุมนุมโดยสงบ
588 -
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลทหาร 299 3
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลพลเรือน 88 20
คนถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาท
พระมหากษัตริย์ฯ (ม.112)
90  
จำนวนคนที่ถูกคุมขังด้วยคดีตามมาตรา 112 ทั้งที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว
และที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี 
ในเดือนพฤศจิกายน 2559
51
 
 
สถานการณ์เดือนพฤศจิกายนเริ่มต้นด้วยความตึงเครียดเมื่อมีการเปิดตัว “ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก” ซึ่งพัฒนามาจากศูนย์เทคโนโลยีทางทหารในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบกเผยว่า ศูนย์ฯ จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์และภัยคุกคามอื่น โดยมุ่งสร้างความเข้าใจอันดีกับคนในสังคมและสื่อ เพราะในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนจำนวนมาก ทั้งนี้ต้องทำงานควบคู่ไปกับการฝึกให้ประชาชนรู้จักแยกแยะข้อเท็จจริงก่อนส่งต่อข้อมูลในโลกออนไลน์
 
อย่างไรก็ตามสถานการณ์โดยรวมของเดือนนี้ถือว่ามีพัฒนาการในทางบวกบ้าง เมื่อศาลมีคำพิพากษายกฟ้องหรือไม่รับฟ้องคดีที่นักปกป้องสิทธิถูกฟ้องความผิดฐานหมิ่นประมาทและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯจากการแสดงความคิดเห็น รวมทั้งการที่ศาลให้ประกันตัวผู้ต้องหาคดี 112 รวมสี่คนในเดือนนี้
 

ศาลตัดสินเป็นคุณในหลายคดีที่พยายามเปิดโปงความไม่เป็นธรรม 

ในเดือนพฤศจิกายน มีคำพิพากษาหลายคดีที่ออกมาเป็นคุณกับประชาชนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกดำเนินคดีจากการเปิดเผยข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยนหรือการวิพากษ์วิจารณ์บริษัทเอกชนซึ่ง โดยคดีที่ไอลอว์ติดตามอย่างใกล้ชิดมีคำพิพากษาที่เป็นคุณกับจำเลย ได้แก่คดีของอานดี้ ฮอลล์กรณีให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอัลจาซีรา, คดี ปตท.ฟ้องแอดมินเพจ “พลังงานไทย” , คดีเหมืองทองอัครฟ้องสมลักษณ์-ธัญญารัศมิ์ และคดีบริษัททุ่งคำฟ้องไทยพีบีเอส
 

คดีของอานดี้ ฮอลล์


วันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 ศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องกรณีที่บริษัทเนเชอรัล ฟรุ๊ต จำกัด ฟ้องอานดี้ ฮอลล์ นักวิจัยด้านแรงงานข้ามชาติ ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จากการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอัลจาซีราเกี่ยวกับข้อค้นพบในงานวิจัย ซึ่งคดีนี้เป็นหนึ่งในคดีที่บริษัทฟ้องอานดี้เพื่อตอบโต้การทำวิจัยให้องค์กรฟินวอชในประเทศฟินแลนด์ โดยงานวิจัยของอานดี้พบว่าในโรงงานของบริษัทโจทก์มีการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวพม่า 
 

568

 
อานดี้ ฮอลล์ นักวิจัยชาวอังกฤษ
 
ก่อนหน้านี้ในวันที่ 20 กันยายน 2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกอานดี้เป็นเวลาสามปีและปรับเงิน 150,000 บาท ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการเผยแพร่รายงานที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทบริษัทโจทก์บนเว็บไซต์ของฟินวอทช์และจากการจัดแถลงข่าวเปิดตัวรายงานดังกล่าว สำหรับโทษจำคุกศาลมีคำสั่งให้รอการลงโทษไว้สองปี   
 
ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 อานดี้ตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศโดยเปิดเผยกับสำนักข่าวบีบีไทยว่า จากการทำงานกว่า 11 ปีในประเทศไทย ทำให้เขา “ต้องเผชิญความรุนแรงและความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น” จึงตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่มีกำหนดกลับ นอกจากคดีแพ่งและอาญารวมสี่คดีที่อานดี้ถูกบริษัทเนเชอรัล ฟรุ๊ตฟ้องแล้ว อานดี้ยังกังวลว่าการให้ความช่วยเหลือคดีเกี่ยวกับผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงไก่ในจังหวัดลพบุรีอาจทำให้เขาถูกดำเนินคดีเพิ่มอีกในอนาคต
 

คดีปิยะสวัสดิ์ อัมรนันท์ฟ้องแอดมินเพจทวงคืนพลังงานไทย 

 
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าศรัลย์ แอดมินเพจ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีความผิดฐานหมิ่นประมาทและความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะเห็นว่าพยานโจทก์ยืนยันตรงกันว่าโจทก์เป็นสุจริตชนและเชื่อว่าข้อความที่จำเลยโพสต์เป็นข้อมูลเท็จเพราะโจทก์เป็นประจักษ์พยานตัวจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเอง แต่แก้คำพิพากษาในส่วนของโทษจากให้จำคุกเก้าเดือนโดยไม่รอการลงโทษ เป็นให้รอการลงโทษจำคุกไว้สามปีเพราะจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนและการกระทำของจำเลยไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับโจทก์มากนัก นอกจากคดีนี้ ศรัลย์ยังถูกปตท.ฟ้องจากการโพสต์เฟซบุ๊กในเพจทวงคืนพลังงานไทยเป็นอีกคดีหนึ่ง ซึ่งคดีอยู่ในชั้นอุทธรณ์
 

คดีเหมืองทองฟ้องนักอนุรักษ์

 
ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งไม่รับฟ้องกรณีที่สมลักษณ์ หุตานุวัตรและธัญญารัศมิ์ สินทรธรรมชัยถูกเหมืองทองอัคราซึ่งอยู่ในจังหวัดพิจิตรฟ้องดำเนินคดีในความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯและความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า เหมืองของบริษัทได้รับการยกเว้นภาษีเพราะมีสิทธิพิเศษจากการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยศาลเห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นประชาชนมีหน้าที่เสียภาษีให้แก่รัฐ  จึงมีความชอบธรรมที่จะเปิดเผยให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียภาษีของบริษัท ทั้งมีมูลว่าข้อมูลของจำเลยเป็นความจริง ส่วนอีกคดีที่สมลักษณ์และสมิทธิ์ถูกเหมืองทองอัครฟ้องว่าทั้งสองโพสต์เฟซบุ๊กทำให้ประชาชนเข้าใจว่ากิจการเหมืองของบริษัทส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาให้ยกฟ้องเพราะเชื่อว่าเป็นการติชมตามวิสัยของประชาชนพึงกระทำ ไม่ได้มีเจตนาให้โจทก์ได้รับการดูหมิ่นหรือเกลียดชัง
 

คดีบริษัททุ่งคำฟ้องไทยพีบีเอส

 
ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ศาลอาญาสั่งยกฟ้องคดีที่บริษัททุ่งคำ เจ้าของเหมืองในอำเภอวังสะพุงจังหวัดเลยฟ้องสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ผู้บริหาร และผู้ประกาศข่าวรายการนักข่าวพลเมืองในความผิดฐานหมิ่นประมาจากการรายงานว่าลำน้ำฮวยมีสารพิษปนเปื้อนจากการทำเหมืองแร่ของบริษัท ศาลเห็นว่าหลายหน่วยงานระบุตรงกันถึงการตรวจพบสารไซยาไนด์ในแหล่งน้ำทำให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ไม่ได้ จำเลยได้ทำหน้าที่สื่อนำเสนอปัญหาซึ่งเป็นการวิจารณ์โดยสุจริต ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท 
 
569
 
กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มาให้กำลังใจรายการนักข่าวพลเมืองและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสแสดงความยินดีหลังฟังคำสั่งศาล
 

ผู้ต้องหาคดี 112 หลายรายได้รับการประกันตัว

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 ศาลทหารกรุงเทพมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราว บัณฑิต อานียา โดยใช้หลักประกันเป็นเงินสดสี่แสนบาท พร้อมเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรและห้ามเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ในกรณีนี้บัณฑิตถูกจับกุมที่บ้านพักเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 ตามคำร้องขอฝากขังระบุเหตุของการจับกุมว่าบัณฑิตเข้าร่วมเสวนาทางวิชาการของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 12 กันยายน 2558 โดยในงานบัณฑิตเสนอความเห็นที่อาจเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ คดีนี้เป็นคดีมาตรา 112 คดีที่สองของบัณฑิตที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร  
 
ในวันเดียวกันศาลทหารเชียงรายอนุญาตให้สราวุทธิ์ ช่างตัดแว่นในจังหวัดเชียงรายซึ่งถูกตั้งข้อหามาตรา 112ประกันตัวโดยวางเงินประกันหนึ่งแสนบาท สราวุธถูกนำตัวมาฝากขังตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2559 ก่อนหน้านี้เขาเคยขอประกันตัวสามครั้งแต่ไม่ได้รับอนุญาต
 
ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 ศาลทหารกรุงเทพอนุญาตให้ฤาชา ผู้ต้องหาคดี 112อีกคนหนึ่งซึ่งถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559ประกันตัวโดยวางหลักทรัพย์ 400,000 ฤาชาเป็นผู้ป่วยจิตเภทซึ่งถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความเชื่อมโยงสถาบันกษัตริย์กับสถานการณ์บ้านเมือง โดยฤาชาระบุว่าการกระทำของตนเป็นความต้องการของพระแม่ธรณี 
 
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 ศาลจังหวัดชลบุรีให้ประกันตัว ‘เค’ (นามสมมติ) ผู้ต้องหาคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯจากการโพสต์เฟซบุ๊กหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า ในวันที่ 18 ตุลาคม 2559 'เค'ถูกกลุ่มประชาชนที่ไม่พอใจไปตามตัวจากที่พักไปกราบพระบรมฉายาลักษณ์และนำตัวส่งเจ้าหน้าที่โดยระหว่างนั้นเคถูกทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ 

สำหรับความเคลื่อนไหวคดี 112 ที่สำคัญอื่นๆซึ่งเกิดขึ้นในเดือนนี้ได้แก่การนัดสอบคำให้การฐนกร จำเลยที่ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความเสียดสีสุนัขทรงเลี้ยงในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า  ก่อนการสอบคำให้การศาลทหารกรุงเทพอ่านความเห็นของศาลจังหวัดสมุทรปราการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตามประกาศ คสช.ที่ 37/2557  แต่มีความเห็นไม่ตรงกันกับศาลทหารในบางเรื่องจึงต้องให้คณะกรรมการวินิจฉัยเขตอำนาจศาลเป็นผู้ทำความเห็น ศาลทหารจึงให้ระงับการพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาลเป็นที่สุด 
 
570

พระฐนกรกลับวัดหลังศาลทหารมีคำสั่งให้ระงับการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวระหว่างรอคำวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาล


ความเคลื่อนไหวกรณีอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 อัยการจังหวัดพัทลุงมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคคีของกู้ชาติ อดีตสมาชิกสภาจังหวัดพัทลุง ในความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ จากการโพสต์ภาพและคลิปแสดงความเห็ยวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
 
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาจำคุกสิรภพใรความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของคสช. โดยศาลเห็นว่าคสช.เป็นรัฎฐาธิปัตย์ ประกาศคำสั่งต่างๆจึงถือเป็นกฎหมาย แม้จำเลยจะอ้างว่าที่ไม่เข้ารายงานตัวเป็นเพราะต้องการทำอารยขัดขืนแต่ก็ถือเป็นการทำผิดกฎหมาย พิพากษาจำคุกแปดเดือน ปรับ 12,000 บาท แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้สองปี อย่างไรก็ตามเนื่องจากสิรภพถุกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี 112 เขาจึงไม่ได้รับการปล่อยตัว
 
26 พฤศจิกายน 2559 ในเวลาประมาณ 22.00 น. ผู้จัดงานเวทีสาธารณะสิทธิเยาวชนครั้งที่สองซึ่งมีกำหนดจัดงานในวันที่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2559 ได้รับแจ้งจากสยามดิสคัฟเวอรี่เจ้าของสถานที่ที่จะใช้จัดงานว่า ขอยกเลิกการให้ใช้สถานที่ แม้ว่าก่อนหน้านี้ทั้งสองฝ่ายจะมีการทำสัญญาการใช้สถานที่ไว้แล้วก็ตาม
 
Report type: