1650 1611 1044 1523 1957 1810 1020 1532 1887 1337 1277 1387 1691 1441 1454 1230 1360 1770 1169 1948 1179 1760 1580 1821 1563 1754 1953 1209 1934 1136 1290 1491 1207 1055 1553 1502 1760 1932 1554 1807 1910 1959 1701 1505 1819 1022 1008 1760 1775 1592 1818 1060 1356 1918 1745 1028 1284 1517 1154 1620 1665 1081 1156 1889 1656 1259 1575 1050 1312 1843 1692 1712 1857 1962 1251 1984 1223 1589 1906 1310 1959 1034 1888 1465 1052 1256 1178 1720 1197 1045 1262 1364 1093 1864 1431 1561 1742 1923 1680 ตุลาคม 2559 : โจษจันล่าแม่มด ยกฟ้องวัฒนา พิพากษาใหม่คดีต้านรัฐประหาร  | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ตุลาคม 2559 : โจษจันล่าแม่มด ยกฟ้องวัฒนา พิพากษาใหม่คดีต้านรัฐประหาร 

เดิมทีเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นเดือนที่มีการจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์ทั้งเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 แต่ปีนี้กิจกรรมหลายกิจกรรมถูกยกเลิกเพราะประเทศเข้าสู่บรรยากาศการไว้อาลัยถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 หลังการสวรรคตนอกจากบรรยากาศการถวายความอาลัยของประชาชนแล้ว ยังมีอีกปรากฏการณ์ความขัดแย้งระหว่างประชาชนด้วยกันเองในประเด็นการแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ ความขัดแย้งดังกล่าวนำไปสู่ “การไล่ล่าแม่มด” ผู้ที่แสดงความเห็นในลักษณะที่คนในสังคมมองว่าไม่เหมาะสม บางกรณีมีร้องทุกข์ดำเนินคดีส่วนบางกรณีมีการทำร้ายร่างกาย
 
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่รัฐเองก็จับกุมดำเนินคดีบุคคลด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มากขึ้น  ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติแถลงเป็นระยะถึงจำนวนคดีมาตรา 112 และจับกุมผู้ต้องหา โดยก่อนหน้านี้ไม่เคยมีการแถลงตัวเลขคดีในลักษณะนี้ ขณะเดียวกันก็มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ติดตามการแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ อย่างเช่นศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก รวมทั้งประเด็นผู้ลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศก็กลับมาเป็นที่จับตาอีกครั้ง โดยรัฐบาลพยายามประสานประเทศต่างๆ เพื่อหาทางติดตามตัวบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศกลับมาดำเนินคดี
 
 

ความเคลื่อนไหวคดี 112 

 
วันที่ 5 ตุลาคม 2559 ศาลทหารกรุงเทพนัดสืบพยานคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯของบัณฑิตนักเขียนวัย 76 ปี นายประกันของบัณฑิตไม่เดินทางมาด้วยเพราะป่วย ทนายของบัณฑิตแถลงต่อศาลว่า จะทำใบมอบฉันทะแทนนายประกันส่งมาให้ ขณะที่อัยการทหารก็แถลงว่าพยานโจทก์เดินทางมาไม่ได้เช่นกันเพราะพยานย้ายที่อยู่ต้องส่งหมายอีกครั้ง ศาลจึงสั่งให้เลื่อนวันนัดสืบพยานเป็นวันที่ 20 มกราคม 2560 แทน 
 
วันที่ 10 ตุลาคม  2559 ศาลอาญาพิพากษาจำคุกปิยะ อดีตโบรกเกอร์ซื้อขายหุ้น จำเลยคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ 8 ปี โดยอ่านคำพิพากษาแบบปิดลับและไม่ให้ทนายจำเลยคัดถ่ายคำพิพากษา แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะอนุญาตให้จำเลยคัดสำเนาเอกสารที่เป็นการพิจารณาของศาล และให้อ่านคำพิพากษาโดยเปิดเผยก็ตาม
 
19 ตุลาคม 2559 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แถลงข่าวถึงตัวเลขการดำเนินคดีมาตรา 112 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ว่ามี “ผู้กระทำความผิด” ตามมาตรานี้แล้ว 12 ราย ต่อมาในวันที่ 31 ตุลาคม 2559 ระบุว่ามีผู้กระทำความผิดแล้ว 25 ราย
 

ปรากฎการณ์ ล่าแม่มด

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า การดำเนินคดีหลายกรณีช่วงเดือนตุลาคม 2559  เกิดจากแรงผลักดันมวลชนจำนวนหนึ่ง ที่เข้าดำเนินการแจ้งความหรือกดดันให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการกับบุคคลที่ถูกมองว่ากระทำการหรือแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายผิดมาตรา 112 โดยหลายกรณีมีใช้ความรุนแรง เช่น การเข้าปิดล้อมบ้าน, การบังคับให้ขอขมาต่อเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์, การเข้าจับกุมด้วยตัวเอง กระทั่งการเข้าทำร้ายร่างกาย ซึ่งนับเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายด้วย
 
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่จังหวัดภูเก็ต ที่ชาวบ้านหลายร้อยคนไปรวมตัวกันปิดล้อมบริเวณหน้าร้านน้ำเต้าหู้แห่งหนึ่ง เนื่องจากไม่พอใจข้อความที่บุตรชายของเจ้าของร้านดังกล่าวโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก ผู้ชุมนุมได้มีการเขียนป้ายข้อความด่าทอติดไว้หน้าร้าน มีการเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินคดี จนต่อมามีการเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ทำให้มีการจับกุมดำเนินคดีมาตรา 112 กับบุตรชายของเจ้าของร้านดังกล่าว
 
เช่นเดียวที่จังหวัดพังงา ที่มีชาวบ้านกว่าร้อยคนไปรวมตัวกันที่หน้าร้านโรตีชาชักแห่งหนึ่ง เพื่อตามหาพลทหารเรือนายหนึ่ง ที่ระบุว่าเป็นลูกชายของเจ้าของร้านดังกล่าว โดยมีการกล่าวหาว่าเขาได้โพสต์ข้อความเข้าข่ายมาตรา 112  ผู้ชุมนุมมีการเร่งเร้าให้บิดานำตัวลูกชายมาขอขมาต่อชาวบ้าน สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และปลัดจังหวัดต้องเข้ามาเจรจา พร้อมกับยืนยันว่าจะมีการดำเนินคดีและดำเนินการลงโทษทางวินัย จึงทำให้ชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวสลายตัวไป ก่อนที่ต่อมาจะมีรายงานว่ามีการจับกุมตัวพลทหารคนดังกล่าวดำเนินคดี
 
ภาคตะวันออกมีเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันที่จังหวัดระยอง ชายเจ้าของร้านขายของชำ อายุ 48 ปี ที่อยู่ระหว่างการรักษาอาการทางจิต ถูกชาวบ้านจำนวนหนึ่งปิดล้อมร้านขายของชำและตะโกนต่อว่า ก่อนตำรวจจะเข้ามาไกล่เกลี่ยจนเจ้าของร้านที่ถูกกล่าวหายอมรับผิดและกราบพระบรมฉายาลักษณ์ แต่ชาวบ้านบางส่วนยังพยายามจะเข้ามาทำร้ายร่างกาย แต่เจ้าหน้าที่ระงับเหตุได้ ต่อมา ศาลจังหวัดระยองได้อนุมัติหมายจับชายคนดังกล่าวในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
 
ในกรณีจังหวัดชลบุรี หนุ่มโรงงานวัย 19 ปี ได้โพสต์ขายเหรียญเก่าในกรุ๊ปเฟซบุ๊กหนึ่ง แต่ได้เกิดการโต้เถียงกับผู้ที่เข้ามาแสดงความเห็น ก่อนที่คู่โต้เถียงจะแคปชั่นคอมเมนต์หนึ่งของเขามาเป็นประเด็นในการแจ้งความดำเนินคดีมาตรา 112  โดยหนุ่มคนดังกล่าวได้ถูกประชาชนประมาณ 20 คน บุกเข้ามาหาถึงห้องพัก มีการเตะหน้าและเข้าทำร้ายร่างกาย ก่อนจับตัวมาให้กราบขอขมาต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ จนเจ้าหน้าที่ต้องเข้ามาระงับเหตุ พร้อมกับจับกุมหนุ่มโรงงานคนดังกล่าวดำเนินคดี
 
เช่นเดียวกับกรณีจังหวัดจันทบุรี ที่ชาวบ้านมีการกล่าวหาหญิงวัยกลางคนคนหนึ่งว่าได้เขียนข้อความเข้าข่ายมาตรา 112 ลงในสมุดลงนามถวายความอาลัยในหลวงที่ตั้งไว้ในชุมชน โดยกรณีนี้ประธานชุมชนได้ให้ชาวบ้านช่วยกันเข้าจับกุม ก่อนแจ้งให้ตำรวจมานำตัวหญิงคนดังกล่าวไปดำเนินคดี
 
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่จังหวัดบึงกาฬที่รายงานข่าวระบุว่าศูนย์ดำรงธรรมของจังหวัดได้ตรวจพบข้อความในเฟซบุ๊กของหญิงวัย 19 ปี รายหนึ่ง โพสต์ในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ต่อการให้ระงับงานกิจกรรมต่างๆ ทุกงานภายหลังการสวรรคต แต่กลับถูกระบุว่าเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครองเข้าจับกุมดำเนินคดี
 
หรือกรณีพลทหารเรือที่จังหวัดพังงาข้างต้น สำนักข่าวประชาไทได้รายงานว่าเมื่อตรวจสอบข้อความที่มีการเผยแพร่ พบว่าเป็นข้อความในทำนองที่สอบถามชาวบ้านว่าเคยบอกรักพ่อของตัวเองแบบนี้กันบ้างหรือไม่ โดยยังไม่พบข้อความอื่นที่โพสต์เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง
 
รวมทั้งกรณีหนุ่มโรงงานจังหวัดชลบุรีที่ถูกเข้าทำร้ายร่างกายข้างต้น ข้อความที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าข่ายมาตรา 112 นั้น ก็มีลักษณะเป็นการแสดงความคิดเห็นต่อบุคคลที่เข้ามาโต้ตอบในโพสต์ข้อความ ไม่ได้เป็นการแสดงความคิดเห็นต่อบุคคลตามมาตรา 112 โดยตรง
 

ความเคลื่อนไหวคดีเสรีภาพอื่นๆ 

วันที่ 4 ตุลาคม 2559 ผู้ต้องหาคดีพูดเพื่อเสรีภาพเดินทางเข้ารับทราบข้อหาเพิ่มรวมเป็น 10 ราย พร้อมยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษร ขณะที่ ‘โรม’ ปฏิเสธเข้าร่วมกระบวนการ ตำรวจนัดส่งตัวผู้ที่มาให้การทั้งแปดคนในวันนี้ส่งตัวให้อัยการ วันที่ 16 พ.ย. 2559 ‘ไผ่ จตุภัทร์, ณรงฤทธิ์ , ฉัตรมงคล, ณัฐพร, ดวงทิพย์ , และนีรนุช  ผู้ต้องหาคดีพูดเพื่อเสรีภาพ จากการจัดกิจกรรมและสังเกตการณ์กิจกรรม “พูดเพื่อเสรีภาพ รัฐธรรมนูญกับคนอีสาน?” ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 31 กรกรกฎาคม  2559 เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ แต่ถูกแจ้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เดินทางมายื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรต่อพนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่นวันเดียวกันนี้ภานุพงศ์และ “เอ”  ผู้ถูกหมายเรียกให้มาพบพนักงานสอบสวนเพิ่มเติมจาก 6 คนแรก เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา พร้อมให้การปฏิเสธ
 
574

ผู้ต้องหาคดี พูดเพื่อเสรีภาพ เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่สภ.เมืองขอนแก่น
 
วันที่ 10 ตุลาคม 2559 ศาลจังหวัดเชียงใหม่นัดพร้อมคู่ความในคดีระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่กับสามารถ ขวัญชัย จำเลยในคดีความผิดตามพ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง จากกรณีการเสียบใบปลิวโหวตโนบริเวณที่จอดรถของห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จำเลยได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ก่อนศาลจังหวัดเชียงใหม่จะกำหนดวันนัดสืบพยานในวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2560
 
ในวันเดียวกัน นักกิจกรรมเลือกตั้งที่(รัก)ลัก เดินทางไปศาลทหารกรุงเทพ เพื่อฟังคำสั่งศาลทหารเนื่องจากจำเลยจึงยื่นคำร้องให้ศาลทหารเพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บังคับกับคดีนี้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่ ด้านศาลทหารยกคำร้อง ชี้รัฐธรรมนูญไม่ได้เปิดช่องให้ศาลทหารส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
 
วันที่ 11 ตุลาคม 2559 ที่ห้องพิจารณาคดี 2 ศาลแขวงปทุมวัน ศาลนัดอภิชาตฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร คดีนี้เดิมศาลแขวงปทุมวันซึ่งเป็นศาลชั้นต้นยกฟ้อง ให้เหตุผลว่าพนักงานสอบสวนกองปราบฯ ไม่มีอำนาจสอบสวนในคดี โดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาของคดี เกี่ยวกับความชอบธรรมของประกาศ คสช. และความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของ คสช. วันนี้ศาลอุทธรณ์ตีความใหม่ว่า พนักงานสอบสวนกองปราบปรามมีอำนาจสอบสวนและสั่งฟ้องในคดีอาญาทั่วประเทศ รวมถึงคดีนี้ ฉะนั้นจึงขอยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใหม่ นัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นใหม่ 19 ธันวาคม 2559
 
วันที่ 22 ตุลาคม 2559 ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน หรือ "ทนายจูน" เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.สำราญราษฏร์ ในข้อหาชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 และข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 โดยศิริกาญจน์ถูกกล่าวหาว่า เข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านรัฐประหารกับ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) การดำเนินคดีครั้งนี้ เริ่มจากที่มีนายทหารเป็นผู้กล่าวหา เข้าร้องทุกข์ต่อตำรวจไว้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2558 โดยนายทหารเห็นว่า ศิริกาญจน์มีพฤติการณ์ “กระทำผิด” ร่วมกับนักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ เพราะเป็นผู้นำสิ่งของของนักกิจกรรมที่ถูกจับกุมไปเก็บในรถยนต์
 
วันที่ 26 ตุลาคม 2559 ศาลจังหวัดภูเขียวเลื่อนรอความเห็นอัยการ คดีจตุภัทร์ หรือ ‘ไผ่ ดาวดิน’ และวศิน ผิดพ.ร.บ.ประชามติฯ จากการแจกเอกสารวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากจำเลยยื่นคำร้องขอให้อัยการสูงสุดพิจารณาถอนฟ้อง ศาลนัดอีกครั้งวันที่ 20 มกราคม 2560 อานนท์ นำภา ทนายความให้ข้อมูลเพิ่มว่า เหตุที่นัดนี้ทิ้งช่วงนานเนื่องจากจำเลยติดสอบเดือนธันวาคม 2559
 
วันที่ 27 ตุลาคม 2559  ศาลทหารกรุงเทพ นัดสืบพยานโจทก์ลำดับที่สามคดีธารา เผยแพร่คลิปบรรพตจำนวน 6 คลิป อัยการทหารแถลงต่อศาลว่า พยานที่มีนัดสืบในวันนี้ติดภารกิจไม่สามารถมาให้การต่อศาลได้ จึงขอให้ศาลสั่งเลื่อนการสืบพยาน ศาลจึงอนุญาตแล้วให้เลื่อนสืบพยานโจกท์ลำดับดังกล่าวเป็นวันที่ 3 มีนาคม 2560 
 
573

วัฒนา เมืองสุข หลังฟังคำพิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้
 
วันที่ 31 ตุลาคม 2559  ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้องวัฒนา เมืองสุข ผู้ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความเป็นเท็จทำให้ผู้อื่นเสียหาย ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ศาลระบุว่าการแสดงความเห็นของจำเลยเป็นการใช้เสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 4 และมีคำพิพากษาที่สรุปได้ว่าประเด็นที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า ข้อความที่จำเลยโพสต์ในทำนองว่า คสช.จะไม่ยอมคืนอำนาจเป็นข้อความเท็จเพราะมีการกำหนดโรดแมปไปสู่การเลือกตั้งอันเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชนนั้น ศาลเห็นว่าโรดแมปเป็นเพียงการกำหนดแผนแต่อาจเกิดขึ้นจริงหรือไม่จริงหรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ ข้อความของจำเลยจึงไม่ถือเป็นข้อความเท็จ พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น ไม่จำเป็นต้องพิเคราะห์พยานหลักฐานจำเลย พิพากษายกฟ้อง
 

 

Report type: