1519 1323 1987 1658 1549 1927 1082 1182 1827 1891 1654 1274 1233 1350 1164 1443 1700 1496 1041 1304 1876 1402 1929 1945 1085 1053 1210 1672 1343 1521 1977 1190 1731 1362 1841 1362 1898 1674 1348 1581 1455 1171 1963 1108 1867 1814 1594 1520 1691 1096 1548 1247 1223 1271 1541 1004 1487 1661 1020 1756 1399 1731 1574 1317 1131 1797 1873 1125 1965 1667 1248 1501 1849 1185 1931 1756 1511 1323 1737 1351 1053 1548 1190 1021 1069 1661 1359 1052 1323 1076 1179 1584 1319 1776 1548 1924 1274 1528 1144 หนังสือ 842+ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

หนังสือ 842+

 

 

630

 

ศาลทหารที่เราเคยกลัว ต้องเป็นศาลทหารที่เป็นบทเรียน
 
ในภาวะที่ทุกคนกำลังสับสน หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ายึดอำนาจและประกาศให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหารความสับสนและความหวาดกลัวก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ 
 
ตอนแรกเราสับสนและกลัว กลัวความไม่เป็นธรรม กลัวมีผู้ถูกกระทำและกลัวการปิดหูปิดตา ในวันที่ไม่รู้จะเริ่มต้นจากจุดไหน เราก็ยังต้องพยายามเดินหน้าสื่อสารความรู้ให้สังคมพอมีข้อมูลและเท่าทันความเป็นไป
 
แม้ตอนแรกเราจะเปิดอ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาลทหารแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจนัก แต่เราก็เรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ผ่านคดีจริงที่ทยอยตามมา
 
ครั้งแรกที่ไปศาลทหาร เราต้องเปิด google map นำทาง เดินผ่านปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหม ผ่านทหารยามรักษาการณ์ที่ถือปืนอยู่หน้าถนน ผ่านการตรวจกระเป๋า แลกบัตร ต้องพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ใส่ชุดทหาร ทั้งสีเขียว สีกากี สีน้ำเงิน บรรยากาศแบบนี้อย่างไรเสียก็ต้องเรียกว่า "ไม่เป็นมิตร" คนที่ไปครั้งแรกถ้าจิตไม่แข็งเป็นหินก็คงมีสั่นกันบ้าง ไม่นับรวมความรู้สึกของจำเลยที่ต้องเผชิญหน้ากับตุลาการในชุดทหารออกนั่งบัลลังก์ ทับด้วยครุยยาวแถบพาดบ่าสีทอง 
 
เมื่อคดีมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องไปศาลทหารเพื่อสังเกตการณ์คดีบ่อยเข้า เราเริ่มคุ้นเคยหรืออาจจะชินชาต่อปืนในมือของพลทหารยาม เจ้าหน้าที่แลกบัตรเริ่มยิ้มให้ เจ้าหน้าที่รับคำร้องก็เริ่มเข้าใจ แม้กระทั่งทหารนอกเครื่องแบบที่คุมการปิดถนนเวลามีคดีใหญ่ก็เริ่มคุ้นหน้าคุ้นตากัน
 
กว่า 2 ปีในยุค คสช. มีพลเรือนหลายพันหรืออาจจะถึงหลักหมื่นคนต้องเดินเข้าออกศาลทหาร ในฐานะจำเลย ญาติ เพื่อน ทนายความ นายประกัน และผู้ไปสังเกตการณ์
 
ระหว่างที่พลเรือนพยายามทำตัวให้ชินศาลทหารเองก็ต้องดิ้นรนปรับตัวเพื่อรองรับสายตาที่เพ่งมองจากสังคมไทยและนานาชาติ
 
คดีการเมืองหลายคดีศาลทหารออกคำสั่งหรือคำพิพากษาที่ค้านสายตาค้านความรู้สึกมีทั้งลงโทษหนัก มีทั้งที่ตีความกฎหมายแบบน่าประหลาดใจ ขณะที่หลายคดีศาลทหารก็ผ่อนปรน สั่งปล่อยผู้ต้องหา สั่งให้ประกันตัว หรือสั่งไม่รับฟ้องเอาเสียก็ได้ ซึ่งอาจจะเพื่อลดแรงกดดันต่อศาลทหารและ คสช. เอง
 
จนวันหนึ่งในเดือนกันยายน 2559 คสช. สั่งยุติการเอาคดีพลเรือนมาเพิ่มที่ศาลทหาร บางคนอาจเข้าใจไปว่า ยกเลิกการเอาพลเรือนขึ้นศาลทหารไปหมดแล้ว และอาจลืมเลือนประเด็นเหล่านี้ไปทีละน้อย แต่อันที่จริงแล้วคดีเก่าที่ค้างอยู่อีกเพียบก็ยังเดินหน้าพิจารณากันที่ศาลทหารต่ออย่างไม่เร่งรีบตามวันเวลาและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
 
จากประสบการณ์ติดตามสังเกตการณ์คดีในศาลทหารกว่า 2 ปี เราพยายามจะเล่าออกมาในหลากหลายรูปแบบ แม้จะยังมีหลายคนไม่ค่อยอยากได้ยินในช่วงนี้ แต่หวังว่าในระยะยาวสังคมไทยจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากประสบการณ์ที่เอาความยุติธรรมไปฝากไว้ในมือของนักรบ
 
 
 
.......................................................................................
 
842 วัน เป็นจำนวนวันนับตั้งแต่ คสช. ประกาศให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร เมื่อ 25 พฤษภาคม 2557 เรื่อยมาจนถึงวันที่ออกคำสั่งยุติ เมื่อ 12 กันยายน 2559 แต่คดีที่ยังคงตกค้างอยู่ในศาลทหารก็ยังเดินหน้าพิจารณาต่อไปจนถึงวันไหนก็ไม่อาจทราบได้ 
 
หนังสือ 842+ จึงรวบรวมบทเรียน เรื่องราว ความรู้ ประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในอีกหลายวันข้างหน้า จากการเอาคดีทางการเมืองของพลเรือนขึ้นศาลทหาร
 
 
 
 
 
 
 
Article type: