1211 1081 1909 1154 1639 1233 1150 1396 1215 1879 1807 1395 1080 1520 1950 1486 1359 1790 1556 1717 1259 1334 1667 1874 1945 1445 1742 1729 1200 1510 1288 1311 1563 1915 1045 1313 1582 1714 1377 1132 1340 1072 1417 1905 1049 1768 1411 1985 1179 1093 1531 1529 1054 1362 1831 1754 1072 1253 1628 1107 1573 1013 1954 1959 1898 1358 1460 1541 1130 1946 1399 1131 1526 1961 1542 1831 1944 1098 1843 1030 1110 1167 1276 1084 1612 1367 1730 1482 1883 1410 1511 1538 1084 1351 1695 1666 1772 1375 1542 คุยแบบ "แมนๆ" กับหนึ่งในผู้ต้องหา "พ.ร.บ.ประชามติฯ" | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

คุยแบบ "แมนๆ" กับหนึ่งในผู้ต้องหา "พ.ร.บ.ประชามติฯ"

"แมน" ปกรณ์ อารีกุล บัณฑิตสาขาพัฒนาชุมชนจากรั้วบูรพา นักกิจกรรมหนุ่มที่สื่อแทบทุกสำนักต้องรู้จักชื่อของเขาเป็นอย่างดี จากคนทำประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและมหาวิทยาลัยนอกระบบ บทบาทของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เมื่อเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มนักศึกษาที่ออกมาแสดงจุดยืนว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 
 
ในปีที่สามย่างปีที่สี่ของ คสช. ยิ่งคณะรัฐประหารอยู่ในอำนาจนานเท่าไร ก็ดูเหมือนคดีของแมนและเพื่อนก็จะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว หนึ่งในคดีที่จะเริ่มขึ้นเร็วๆ นี้ ก็คือ ความผิดตาม "พ.ร.บ.ประชามติ" มาตรา 61 วรรค 2 จากกรณีที่เขาและเพื่อนอีกห้าคนเดินทางไปให้กำลังใจชาวบ้านที่ถูกตั้งข้อหาจากการจับตากระบวนการลงประชามติที่จังหวัดราชบุรี โดยเหตุการณ์ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ได้กล่าวหาว่า แมนและเพื่อนของเขา 'แจกจ่ายสติ๊กเกอร์โหวตโน' 
 
แม้ว่าฉากและชีวิตของ "แมน ปกรณ์" ที่เห็นในสื่อจะดูจริงจัง สนุกสนาน แต่เมื่อเราได้พูดคุยกับเขาเกี่ยวกับการพิจารณาคดี สืบพยาน ที่จะเริ่มต้นในวันที่ 21-24 มีนาคม 2560 นี้ ท่าทีของเขากลับเคร่งเครียดขึ้นผิดหูผิดตา
 
แมน เล่าว่า ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีนี้ หน้าที่ของเขาคือทำงานเกี่ยวกับการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยเขาและทีมได้ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับที่จะให้มีการออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 กันทุกมาตรา จนได้ข้อสรุปกันว่า มันมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร โดยประเด็นที่เขาสนใจภายหลังการศึกษารัฐธรรมนูญก็คือ ระบบการเลือกตั้งและสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ชาวบ้านเคยใช้ในการเคลื่อนไหว และคิดว่ามันเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำให้คนรับรู้ข้อมูลในส่วนนี้ก่อนจะตัดสินใจ
 
เมื่อเราถามเขาว่า เพราะอะไรถึงเดินทางไปที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี แมนบอกกับเราว่า เขาเพียงต้องการไปให้กำลังใจชาวบ้านที่ถูกตั้งข้อหาจากการจัดตั้งศูนย์จับตาประชามติ ด้วยความคิดความเชื่อว่า "การออกเสียงประชามติ ต้องเป็นกระบวนการที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้ ไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตาม เมื่อชาวบ้านที่เขาอยากมีส่วนร่วมกลับมาถูกดำเนินคดี ก็น่าจะมาให้กำลังใจกัน"
 
"การลงประชามติ มันก็เหมือนการเลือกตั้ง เราอยากเห็นการลงประมามติที่มันบริสุทธิ์ โปร่งใส ยุติธรรม การที่คนกระตือรือร้นที่จะติดตามประเด็นนี้ เราคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ถูกต้อง"
 
"ในช่วงนั้นผมคิดว่าการลงประชามติมันค่อนข้างจะไม่ได้รับการกระตุ้น หรือไม่ได้รับความพยายามที่จะทำให้มันเป็นประเด็นที่คนเข้าใจได้ง่าย รัฐธรรมนูญก็ยังไม่ถูกแจก คนก็ยังไม่รู้ว่าจะมีการลงประชามติเรื่องอะไรแบบไหน ดังนั้น การที่มีคนกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมกับการลงประชามติมันไม่น่าใช่ความผิด" เขากล่าวย้ำในตอนหนึ่ง 
 
เราถามแมนต่อว่า ในมุมมองของรัฐการเปิดเสรีภาพให้คนแสดงออกมากเกินไปจะทำให้วุ่นวาย เป็นการชี้นำผลการออกเสียง แล้วเขามีความคิดอย่างไร แมนบอกเราว่า "เราต้องเชื่อโดยพื้นฐานก่อนว่าคนมันตัดสินใจเองได้ เพราะทุกครั้งที่เราไปแจกเอกสาร เราก็ไม่รู้หรอกว่าคนที่รับไปอ่านเขาคิดอย่างไร"
 
เขาเล่าให้ฟังด้วยว่า ไม่ใช่ทุกครั้งที่ไปแสดงจุดยืนและเหตุผลในการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วมีคนเห็นด้วย อย่างในหมวดที่ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ที่แมนพยายามจะบอกว่ามันมีความแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าอย่างไร แต่คนก็ไม่ได้เชื่อเขาอยู่ดี ซึ่งแมนเชื่อว่า พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเหล่านี้ต่างหากที่จะพิสูจน์ได้จริงๆ ว่า คนออกเสียงประชามติด้วยความเข้าใจจริงๆ
 
แมนบอกกับเราว่า เขาเป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับ 'พ.ร.บ.ประชามติ' แต่เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว เขาก็จะพยายามรณรงค์เท่าที่ทำได้ แม้จะรู้อยู่แก่ใจว่ามันไม่ยุติธรรม
 
สิ่งที่ทำให้แมนรู้สึกว่า 'พ.ร.บ.ประชามติ' ไม่เป็นธรรมเลยก็คือ ข้อห้ามในการรณรงค์บางอย่างค่อนข้างจะเข้มงวดเกินไป เช่นการกำหนดคำว่า บิดเบือน ก้าวร้าว หยาบคาย เป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ่งคำเหล่านี้เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ดุลยพินิจในการตีความอย่างกว้างขว้างและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน แถมโทษในคดีนี้ก็ยังสูงอีกด้วย
 
ในมุมมองของเขา ซึ่งเป็นฝ่ายแสดงตัวชัดเจนว่า 'รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ' เขารู้สึกไม่เท่าเทียมอย่างมาก เพราะเจ้าหน้าที่รัฐมีเครื่องมือที่จะเอาผิดประชาชนได้ง่าย แถม กกต. กลับไปรับรองอีกว่า ข้อมูลที่ กรธ. ทำมาเผยแพร่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งสภาวะแบบนี้มันบีบให้คนไม่สามารถแสดงออกหรือเห็นต่างจากรัฐได้เลย
 
พอพูดถึงคดีที่ของเขาที่อำเภอบ้านโป่งจากจังหวัดราชบุรี แมนก็หลุดขำออกมา เขาบอกกับเราว่ามันเป็นตลกร้ายครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะไม่เคยคิดเลยว่าจะโดนคดีนี้ เพราะมั่นใจว่าตัวเองพยายามจะรณรงค์อยู่ภายใต้กรอบมาตลอด
 
"เราคิดว่าวิธีการที่เราทำมันก็ไม่ใช่การปลุกระดม ไปชุมนุมรวมตัวอะไรให้เกิดความไม่สบายใจ เราไม่ได้ใช่ข้อความที่หยาบคาย เราอยู่ในมุมที่ต้องการเสนอความคิดอีกด้านหนึ่ง และก็ให้คนฟังเป็นคนเลือก"
 
"ผมไปพูดหลายเวทีก็ไม่ได้ผิดอะไร อย่างที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีเจ้าหน้าที่รัฐ ทหารตำรวจ ฝ่ายปกครอง แต่ก็ไม่ได้เอาผิดอะไร หรืออไปพูดในรายการของช่องไทยพีบีเอส มี กกต. สมชัย มีอาจารย์หลายท่าน ฝ่ายการเมืองต่างๆ หรือไปพูดในเวทีคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ก็มีเจ้าหน้าที่รัฐเหมือนกัน เขาก็ไม่ได้ว่าอะไร"
 
"ผมคิดว่า ผมน่าจะทำเท่ากับ พล.อ.ประยุทธ์ เลย ในแง่ของพฤติกรรม คือ พล.อ.ประยุทธ์ ออกมาพูดวันสุดท้ายว่า ผมโหวตเยส ผมก็เหมือนกัน ผมโหวตโน" แมนพูดแบบติดตลกในสิ่งที่เขาทำ
 
แมนเล่าถึงวันที่เขาต้องกลายเป็นผู้ต้องหาว่า วันนั้นเขาเดินทางไปราชบุรี โดยที่ท้ายรถมีเอกสารเกี่ยวกับการรณรงค์ประชามติอยู่ ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่เหลือมาจากการนำไปมอบให้ส่วนราชการต่างๆ ช่วยตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน หรือแม้แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งเองก็ตาม
 
แมนบอกว่า เขามั่นใจในความบริสุทธิ์ของตัวเองในคดีนี้มาก เพราะที่จอดรถของอยู่ในสถานีตำรวจ แถมเอกสารของเขาที่เจ้าหน้าที่ใช้เอาผิดก็อยู่ที่ท้ายกระบะ เขาบอกว่า หากสิ่งที่เขาขนมาเข้าข่ายผิดจริง เขาคงไม่ไว้ที่ท้ายรถอย่างนั้น แต่การที่เขาเลือกจะไว้ในที่เปิดเผยก็เพราะเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่ามันต้องไม่ผิดกฎหมาย
 
 บางถ้อยรำพันบอกว่าชีวิตของเขาค่อนข้างจะเปลี่ยนไปนับตั้งแต่ถูกดำเนินคดี หลายสิ่งหลายอย่างก็กระทบไปหมด อย่างแรกสุดคือมีภาระเพิ่มมากขึ้นจากการต้องเดินทางไปศาล ค่ารถ ค่าเดินทาง ต้องออกเองทั้งหมด อย่างที่สองก็คือ กระทบต่องาน เพราะเดิมที่เขาทำงานเป็นฟรีแลนซ์ แต่พอต้องไปศาล ไปคดี เขาก็ไม่สามารถทำงานเดิมของเขาได้ หรือเพราะจะเริ่มทำงานประจำ คดีที่ติดตัวพะรุงพะรังก็ทำให้องค์กรไม่กล้าที่จะรับเขาเข้าทำงาน 
 
แต่เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่เขากลัวมากที่สุดก็คือ "การตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี" หากคดีนี้ศาลตัดสินว่าเขาผิด นี่คือสิ่งที่เขาเกรงกลัวมากที่สุด
 
 วันที่ 21 ถึง 24 มีนาคมนี้ จะมีการสืบพยานห้านักกิจกรรมในข้อหาทำผิด พ.ร.บ.ประชามติฯ  เราถามแมนว่ามีอะไรอยากจะฝากถึงประชาชนคนอื่นๆ ไหม ซึ่งเขาบอกว่า ส่วนตัวเขาอยากให้คนมาร่วมฟังคดีกับเขา เพราะในคดีนี้จะมีพยานปากสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น กกต. สมชัย ซึ่งเคยให้สัมภาษณ์ว่าพฤติกรรมในคดีนี้ไม่น่าจะผิด แล้วก็มีคุณอังคณา นีละไพจิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่จะไปให้ความเห็นว่าการใช้สิทธิของประชาชนที่จะแสดงออกไม่ควรเป็นความผิดอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการด้านนิติศาสตร์อย่างอาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร และอาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ผู้เชี่ยวชาญทางรัฐศาสตร์ อีกด้วย
 
"ในคดีนี้เราจะสู้ว่า เราไม่ผิดอย่างไร สังคมจะได้เรียนรู้ว่า กฎหมายที่มาใช้ควบคุมการแสดงออกของประชาชนมันเป็นปัญหายังไง และมันส่งผลเสียต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างไร สิ่งที่รัฐทำไม่ถูกต้องอย่างไร"
 
"โดยส่วนตัวผมเอง ผมอยากจะบอกว่า เวลาเราออกกฎหมายมาแล้วให้อำนาจเจ้าพนักงานในการแจ้งความด้วยกฎหมายที่มันคลุมเครือ สุดท้ายมันโยนภาระไปให้กระบวนการยุติธรรม อย่างคดีบ้านโป่งมันชัดเลยว่า ยังไม่รู้เลยความผิดคืออะไร ตอนแรกเป็นเรื่องครอบครอง ตอนหลังเป็นแจกเอกสาร ตอนนี้ก็เป็นแจกสติกเกอร์ คือมันเป็นการให้อำนาจดุลยพินิจกับเจ้าหน้าที่มากเกินไป สังคมควรจะเรียนรู้ในการออกกฎหมายต่อไปว่า ควรเขียนกฎหมายให้ชัดเจน" แมนกล่าวข้อคิดทิ้งท้ายไว้ให้เรา ก่อนที่คดีของเขาจะเริ่มต้นในสัปดาห์หน้า วันแรก 21 มีนาคม 2560
Article type: