1546 1115 1382 1923 1036 1889 1231 1768 1347 1821 1566 1996 1785 1993 1471 1548 1269 1017 1578 1236 1700 1751 1717 1426 1612 1588 2000 1961 1322 1389 1277 1810 1600 1198 1768 1793 1560 1399 1061 1340 1071 1851 1512 1857 1764 1627 1182 1589 1264 1962 1221 1499 1297 1058 1723 1031 1327 1867 1694 1674 1969 1500 1738 1935 1876 1033 1649 1879 1431 1304 1335 1949 1218 1502 1539 1371 1477 1659 1960 1216 1489 1932 1783 1083 1746 1367 1723 1744 1132 1854 1423 1178 1095 1115 1431 1889 1582 1057 1630 มิถุนายน 2560 : บีบงานรำลึกอภิวัฒน์ 2475 / 30 ปี 60 เดือน สถิติใหม่โทษจำคุกคดี 112 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

มิถุนายน 2560 : บีบงานรำลึกอภิวัฒน์ 2475 / 30 ปี 60 เดือน สถิติใหม่โทษจำคุกคดี 112

เมื่อหน้าปฏิทินล่วงเข้าเดือนมิถุนายน กิจกรรมทางการเมืองที่ถูกพูดถึงเสมอๆ คือการรำลึกถึงวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 แต่ในปีนี้สถานการณ์กลับแตกต่างจากปีที่ผ่านมา ช่วงก่อนวันที่ 24 มิถุนายน นักกิจกรรมหลายคนถูกเจ้าหน้าที่ติดตาม ขณะที่กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวก็ถูกจับตาอย่างใกล้ชิด สำหรับความเคลื่อนไหวอื่น ในเดือนมิถุนายนมีคำพิพากษาคดีมาตรา 112 ออกมาหนึ่งคดีซึ่งศาลทหารวางโทษจำคุกสูงที่สุดเท่าที่ไอลอว์เคยบันทึกมาคือ 30 ปี 60 เดือน นอกจากนี้ก็มีการสืบพยานคดีฉีกบัตรประชามติซึ่งศาลจังหวัดพระโขนงสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้วและนัดสืบพยานจำเลยต่อในเดือนกรกฎาคม

ความพยายามสกัดกั้นกิจกรรมรำลึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

ก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2560 มีผู้ตั้งกิจกรรม "วันชาติไทย ปีที่ 85 ณ บริเวณหมุดคณะราษฎร" บนเฟซบุ๊ก เชิญชวนให้คนร่วมวางดอกไม้ที่หมุดคณะราษฎร โดยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กเกือบๆ 200 คน กดเข้าร่วม หรือสนใจเข้าร่วมกิจกรรม แม้จะเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้ใช้เฟซบุ๊กว่าการกดเข้าร่วมหรือสนใจเข้าร่วมกิจกรรมไม่ได้หมายความว่าผู้กดจะไปเข้าร่วมกิจกรรมในวันจริง แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่กลับมีความหวั่นไหวกับกิจกรรมนี้มากถึงขนาดทำการติดต่อผู้ใช้เฟซบุ๊กที่กดเข้าร่วมหรือสนใจบนหน้ากิจกรรมดังกล่าวอย่างน้อยเก้าราย

23 มิถุนายน 2560  ระหว่างงานเสวนา 85 ปีปฏิวัติสยาม 2475 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ตำรวจห้ามไม่ให้พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถามว่า “ใครขโมยหมุดคณะราษฎร” ขณะที่งานเสวนา 85 ปี ประชาธิปไตยปักที่ไหนก็ได้ ของกลุ่ม YPD ซึ่งจัดที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แม้จะไม่มีการแทรกแซงใดๆโดยเจ้าหน้าที่แต่ก็ถูกจับตาและบันทึกภาพและเสียงโดยเจ้าหน้าที่

24 มิถุนายน 2560 กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์จัดกิจกรรม “ทำบุญกรวดน้ำคว่ำขัน ในวัน(ไม่มี)ประชาธิปไตย” ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน โดยกิจกรรมนี้เป็นการวางดอกไม้และทำบุญอัฐิของสมาชิกคณะราษฎรผู้ร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 85 ปีก่อน แม้จะเป็นเพียงกิจกรรมทำบุญแต่ก็ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่โดยมีกำลังตำรวจในเครื่องแบบอย่างน้อยห้านายและนอกเครื่องแบบอีกกว่า 30 นายมากระจายตัวในวัดพระศรีมหาธาตุตั้งแต่ก่อนเริ่มงานประมาณหนึ่งชั่วโมง

714

กิจกรรมกรวดน้ำคว่ำขันในวัน(ไม่มี)ประชาธิปไตยจัดได้ท่ามกลางการจับตาจากเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบ

25 มิถุนายน 2560  มีกิจกรรมที่มีความเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ในปี 2475 อีกหนึ่งงานได้แก่งาน Start Up People Start Up Talk ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ ในวันงานรังสิมันต์ โรม หนึ่งในนักกิจกรรมที่มีคิวขึ้นพูดบนเวทีถูกจับกุมตัวที่หอสมุดเมืองกรุงเทพโดยเจ้าหน้าที่แสดงหมายจับศาลทหารกรุงเทพซึ่งระบุข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 หมายจับฉบับนี้ออกเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2559 หลังรังสิมันต์ถูกดำเนินคดีจากการแจกใบปลิวรณรงค์โหวตโนประชามติที่เคหะบางพลีในวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ทำให้มีข้อสังเกตว่าเหตุใดเจ้าหน้าที่จึงเลือกจับกุมเขาก่อนร่วมกิจกรรมไม่นานทั้งๆที่หมายจับถูกออกมานานแล้

ปิดกั้นลิ้งค์หนังที่นัดฉายย่ำค่ำ 24 มิถุนาก่อนเข้าถึงได้ในอีกสองวันถัดมา

12 มิถุนายน 2560 เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) โพสต์เชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันฉายและแชร์ส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่อง “จอมเผด็จการผู้ยิ่งใหญ่” (The Great Dictator) และ “สัญญาของผู้มาก่อนกาล” (The Six Principles) ในช่วงเวลา 19.00 ของวันที่ 24 มิถุนายน2560 เพื่อรำลึก 85 ปี การอภิวัฒน์สยาม 2475 และได้นำลิงก์ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องดังกล่าวลงในโพสต์เชิญชวนด้วย

อย่างไรก็ตามในวันที่ 24 มิถุนายน มีรายงานว่ามีผู้เข้าถึงลิงค์ของภาพยนตร์ "จอมเผด็จการผู้ยิ่งใหญ่" แล้วไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยพบข้อความว่า “เนื้อหานี้ไม่สามารถรับชมได้บนโดเมนของประเทศนี้ เนื่องจากมีการร้องเรียนทางกฎหมายจากรัฐบาล”  อย่างไรก็ตามไม่มีรายงานว่าการปิดกั้นเกิดขึ้นในวันใด

ต่อมาในวันที่ 26 มิถุนายน 2560  มีผู้แจ้งมายังศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่าลิงก์ยูทูปที่ถูกบล็อกสามารถเข้าถึงได้แล้ว

การเรียกตัว/เยี่ยมบ้าน เหตุการณ์ต่อเนื่อง 24 มิถุนาฯ

ช่วงใกล้ถึงงานรำลึก 24 มิถุนา มีนักกิจกรรม นักวิชาการ หลายคนเปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กหรือคำบอกเล่าของเพื่อนว่าถูกเจ้าหน้าที่ติดตามอย่างใกล้ชิดคล้ายต้องการกดดันไม่ให้พวกเขาไปร่วมกิจกรรมในวันที่ 24 มิถุนา เช่นกรณีของธนพล นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรที่มีเจ้าหน้าที่สี่นายไปหาที่บ้านและสอบถามยายของเขาว่าเป็นคนอย่างไร เคยร่วมชุมนุมไหม หรือกรณีของชลธิชา แจ้งเร็ว นักกิจกรรมกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยที่ในวันที่ 22 มิถุนายน โพสต์เฟซบุ๊กว่ามีเจ้าหน้าที่ไปที่แฟลตทหารของพ่อเธอและพยายามจะเข้าไปข้างในโดยไม่มีหมาย

24 มิถุนายน 2560 เอกชัย หงส์กังวาน นักกิจกรรมและอดีตนักโทษการเมือง ถูกควบคุมตัวตั้งแต่เช้าหลังเขานำหมุดคณะราษฎรจำลองไปที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อเปลี่ยนแทนหมุดเดิม เจ้าหน้าที่ตำรวจนำเอกชัยมาส่งที่บ้านในช่วงค่ำแล้วทำการตรวจค้นบ้านโดยไม่มีหมายศาลแต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใดๆ

713

เอกชัยถ่ายภาพกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บ้านหลังการตรวจค้น 24 มิถุนายน 2560


นอกจากนี้วันที่ 24 มิถุนายน 2560 ก็มีรายงานว่า มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปเยี่ยมบ้านประชาชนอย่างน้อยสองคน คือ สงวน คุ้มรุ่งโรจน์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ซึ่งโพสต์เฟซบุ๊กว่า ในเวลา 9.00 น. เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบสองนายพร้อมรถกระบะได้เข้ามาหาที่บ้านและถามว่า ช่วงนี้ทำกิจกรรมที่ไหนหรือเปล่า อีกหนึ่งกรณีคือสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว นักกิจกรรมที่ระบุว่ามีเจ้าหน้าที่มาหาที่บ้านในเวลาประมาณ 10.00 น. และเมื่อออกจากบ้านมีเจ้าหน้าที่สองคนเข้ามาหาบอกว่า ขอติดตาม และจะขับรถไปส่ง แต่สิรวิชญ์ปฏิเสธ ตำรวจจึงขับรถตามรถเมล์ของเขามาเรื่อยๆ30 ปี 60 เดือน สถิติใหม่คดี

30 ปี 60 เดือน สถิติใหม่คดี 112 - ฎีกายืนจำคุกเฉลียว 2 ปี 6 เดือนฐานอัพโหลดคลิป 'บรรพต' - ความเคลื่อนไหวคดีมาตรา 112

9 มิถุนายน 2560  ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่เฉลียวถูกกล่าวหาว่าอัพโหลดคลิป'บรรพต' ขึ้นบนเว็บโฟร์แชร์ซึ่งเป็นเว็บฝากไฟล์เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าถึง โดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ลงโทษจำคุกเฉลียวห้าปีแต่ลดโทษเหลือสองปีหกเดือนเนื่องจากเฉลียวรับสารภาพ ศาลฎีกาให้เหตุผลว่าถ้อยคำในคลิปเป็นถ้อยคำหยาบคายและเป็นความเท็จที่ไม่สมควรเผยแพร่ให้บุคคลอื่นแม้เพียงคนเดียว แม้จำเลยจะอ้างว่าบุคคลที่อยู่ในเครือข่ายและเข้าถึงคลิปของจำเลยจะมีไม่มากแต่ก็อาจนำคลิปดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อได้โดยไม่จำกัดจำนวน จึงสมควรลงโทษสถานหนักและโทษจำคุกสองปีหกเดือนที่ศาลอุทธรณ์กำหนดก็เป็นประโยชน์ต่อจำเลยอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษจำคุกอีก

ในวันเดียวกัน ศาลทหารกรุงเทพ มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกวิชัยเป็นเวลาเจ็ดสิบปีจากการโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กที่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 รวมสิบข้อความ เป็นความผิดสิบกรรม ศาลทหารกำหนดโทษจำคุกที่กรรมละเจ็ดปี รวมสิบกรรมจำคุก 70 ปี วิชัยให้การรับสารภาพลดโทษเหลือจำคุกกรรมละสามปีหกเดือนรวมจำคุก 30 ปี 60 เดือน โทษจำคุกของวิชัยนับว่าเป็นโทษจำคุกคดี 112 ที่สูงที่สุดเท่าที่ไอลอว์บันทึกได้ นอกจากข้อหาตามมาตรา 112 วิชัยยังถูกฟ้องด้วยข้อหาตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14(1) จากการปลอมแปลงเฟซบุ๊กทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายแยกเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งด้วย แต่ความผิดกรรมนั้นศาลทหารพิพากษายกฟ้องเนื่องจากในขณะที่ศาลมีคำพิพากษามีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่บังคับใช้แล้วแต่โจทก์บรรยายฟ้องตามองค์ประกอบความผิดของกฎหมายเดิมซึ่งยกเลิกไปแล้วจึงให้ยกฟ้อง

12 มิถุนายน 2560 ศาลทหารเชียงรายนัดสืบพยาน คดีของสราวุทธิ์ โดยพยานวันนั้นคือ พ.ท.อิสระ เมาะราศี  นายทหารด้านการข่าวในจังหวัดเชียงราย มาเบิกความในฐานะผู้ร้องทุกข์ในคดีนี้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ  การสืบพยานปากนี้ยังไม่เสร็จสิ้น ศาลนัดสืบพยานปากนี้ต่อในวันที่ 13 กรกฎาคม 2560

22 มิถุนายน 2560 ทนายความและญาติของ"ต้อม" ผู้ต้องหาคดีวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติที่ อำเภอชนบท และ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นยื่นคำร้องขอประกันตัว "ต้อม" โดยใช้ตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีและโฉนดที่ดิน มูลค่า 1.6 แสนบาทเป็นหลักประกันต่อศาลจังหวัดพล อย่างไรก็ตามศาลมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่า ผู้ต้องหาต้องหากระทำความผิดในลักษณะเป็นขบวนการ และก่อเหตุในหลายพื้นที่ มีลักษณะเป็นภัยต่อความมั่นคง และผู้ต้องหาอาจหลบหนีหากได้รับการปล่อยตัว

27 มิถุนายน 2560 ศาลอาญาอนุญาตให้ฝากขังประเวศ อดีตทนายความที่ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 ต่ออีก 12 วัน ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน - 9 กรกฎาคม

30 มิถุนายน  2560 ทนายจำเลยและครอบครัวยื่นคำร้องขอประกันตัวจตุภัทรหรือ 'ไผ่ ดาวดิน' ต่อศาลจังหวัดขอนแก่นเป็นครั้งที่สิบโดยวางเงินสด 700,000 บาทเป็นหลักประกันและให้เหตุผลประกอบคำร้องว่าเพื่อให้จำเลยมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่เพราะใกล้เวลาที่จะสืบพยานคดีนี้แล้ว แต่ศาลยกคำร้องโดยให้เหตุผลว่าศาลอุทธรณ์ภาคสี่เคยให้ยกคำร้องประกันตัวจำเลยคดีนี้และไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าว

ความเคลื่อนไหวอื่นๆที่น่าสนใจ

ระหว่างวันที่ 13-16 มิถุนายน 2560 ศาลจังหวัดพระโขนงนัดสืบพยานคดี ปิยะรัฐ ฉีกบัตรลงคะแนนเสียงประชามติ เบื้องต้นศาลนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 13 - 14 มิถุนายน และนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 15 - 16 มิถุนายน 2560 แต่ปรากฎว่าทั้งอัยการและทนายจำเลยมีคำถามเป็นจำนวนมากทำให้การสืบพยานตามวันนัดเดิมแล้วเสร็จแต่เพียงพยานโจทก์ ศาลจึงนัดสืบพยานจำเลยใหม่ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2560

20 มิถุนายน 2560 ศาลทหารกรุงเทพนัดสืบพยาน คดี 'พลเมืองรุกเดิน' ของพันธ์ศักดิ์ ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์พฤษภา 53' ที่ถูกดำเนิดคดียุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และ ความผิดฐานชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคนตามประกาศคสช.ฉบับที่ 7/2557 จากการประกาศเดินเท้าไปศาลทหาร โดยอัยการนำพยานโจทก์ปากแรก พ.ต.อ.สถิตย์ สังข์ประไพ ผู้กล่าวหา เข้าเบิกความต่อศาลแล้วแต่การสืบยังไม่แล้วเสร็จ ศาลนัดสืบพยานปากนี้ต่อวันที่ 1 พฤษจิกายน 2560 โดยในนัดหน้าจะเป็นการถามค้านของทนายจำเลย

21 มิถุนายน 2560  เจ้าหน้าที่ทหารนำโดย พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี หัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษ มณฑลทหารบกที่ 23 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหารนอกเครื่องแบบ และเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.เมืองขอนแก่น ราว 30 นาย เข้าตรวจค้นบ้านของกลุ่มดาวดิน ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยไม่มีหมายค้นจากศาล การตรวจค้นดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเช้าก่อนที่นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการจะลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่นในวันเดียวกัน ในเวลาต่อมาพ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบกเปิดเผยว่า การตรวจค้นครั้งนี้อาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 13/2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสงบเรียบร้อยก่อนการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีพร้อมยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้อำนาจอย่างเกินเลย

715

เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจทำการตรวจค้นบ้านพักของนักกิจกรรมกลุ่มดาวดินโดยไม่แสดงหมายศาล จากเพจ ดาวดิน สามัญชน

22 มิถุนายน 2560 อัยการจังหวัดราชบุรีนัดฟังคำสั่งคดีที่บริบูรณ์ หนึ่งในจำเลยคดีเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ จ.ราชบุรี ถูกกล่าวหาทำความผิดฐานหมิ่นประมาท และ ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) จากการโพสต์ข้อความถึงกรณีที่พ.ต.ท.สรายุทธ บุรีวชิระเข้าค้นบ้านของบริบูรณ์ โดยอ้างอำนาจตาม มาตรา 44 แต่อัยการเลื่อนฟังคำสั่งคดีออกไปเป็นวันที่ 11 กรกฎาคม 2560
 



 

Report type: