1204 1208 1587 1085 1054 1114 1898 1729 1785 1823 1472 1465 1786 1626 1172 1764 1597 1935 1042 1482 1337 1691 1093 1248 1425 1259 1767 1177 1937 1698 1942 1487 1434 1723 1441 1575 1800 1012 1684 1772 1332 1007 1756 1651 1988 1802 1811 1468 1710 1722 1394 1929 1562 1088 1202 1356 1891 1633 1548 1338 1632 1464 1428 1688 1122 1288 1707 1712 1158 1515 1659 1895 1233 1195 1811 1316 1673 1886 1713 1238 1984 1352 1744 1960 1865 1263 1344 1072 1685 1358 1801 1938 1454 1574 1397 1001 1338 1071 1418 3 อันดับศิลปินเสรีภาพที่เจอข้อหามากที่สุดยุค คสช. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

3 อันดับศิลปินเสรีภาพที่เจอข้อหามากที่สุดยุค คสช.

 

 

737

 

อันดับที่ 1 วัฒนา เมืองสุข

 

738


เดือนสิงหาคม 2560 วัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทยได้ขยับพรวดเดียวขึ้นมาเป็นบุคคลที่ถูกตั้งข้อหาจากการใช้เสรีภาพการแสดงออกมากที่สุดในยุค คสช. คือ 6 คดีได้แก่

1.        วันที่ 2 มีนาคม 2559 คดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์วิจารณ์พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี (ศาลยกฟ้อง)
2.        วันที่ 20 เมษายน 2559 คดีฝ่าฝืนข้อตกลงการปล่อยตัว (อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี)
3.       วันที่ 20 เมษายน 2560 คดีความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญาและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์ว่า หมุดคณะราษฎรเป็นโบราณวัตถุและวิจารณ์การทำงานของตำรวจ (ยังไม่มีคำสั่งฟ้อง)
4.        วันที่ 29 กรกฎาคม 2560 คดีความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และดูหมิ่นศาลจ ากการโพสต์ให้กำลังใจยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (ยังไม่มีคำสั่งฟ้อง)
5.        วันที่ 21 สิงหาคม 2560 คดีละเมิดอำนาจศาลจากการที่เฟซบุ๊กไลฟ์ภายในบริเวณศาลอาญา ถ.รัชดา (จำคุก 1 เดือน ปรับ 500 บาท โทษจำคุกรอลงอาญาไว้ 1 ปี)
6.        วันที่ 28 สิงหาคม 2560 คดีละเมิดอำนาจศาลจากการนัดผู้สื่อข่าวให้สัมภาษณ์บริเวณบันไดศาลอาญา ถ.รัชดา (จำคุก 1 เดือน ปรับ 500บาท โทษจำคุกรอลงอาญาไว้ 2 ปี)

คดีของวัฒนา ถือเป็นคดีเกี่ยวกับการเมืองแทบจะทั้งสิ้น เห็นได้ชัดจากคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์วิจารณ์พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี คดีนี้เริ่มจากทหารอาศัยอำนาจพิเศษตามคำสั่งที่ 3/2558 ควบคุมตัววัฒนาไปที่ มทบ.11 และพูดคุยกันถึงข้อความที่วัฒนา วิจารณ์พล.อ.ประวิตร พร้อมทั้งยังขอร้องให้เขาหยุดวิจารณ์ คสช. ต่อมานายทหารพระธรรมนูญได้แจ้งความดำเนินคดีต่อวัฒนา ในข้อหานำเข้าข้อมูลเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14(1) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 

ขณะที่เนื้อหาของโพสต์ที่ถูกกล่าวหาว่า "เป็นเท็จ" ในคดีนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับส่วนที่วิจารณ์พล.อ.ประวิตร โดยตรง แต่เป็นเนื้อหาส่วนอื่นในโพสต์เดียวกันที่วิจารณ์การทำงานของ คสช. คือ ส่วนที่กล่าวว่า คสช. ยึดอำนาจไปจากประชาชนและใช้รัฐธรรมนูญนิรโทษกรรมตนเอง คดีนี้ส่งฟ้องไปทั้งที่กระบวนการรวบรวมชั้นสอบสวนไม่ได้มีการสอบสวนว่า ข้อความที่ถูกกล่าวหาว่า "เป็นเท็จ" ดังกล่าวเป็นเท็จอย่างไร เนื่องจากพนักงานสอบสวนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัฐศาสตร์

การฟ้องร้องคดีต่อวัฒนา สะท้อนให้เห็นแนวโน้มของการนำกฎหมายมาใช้ "ปิดปาก" เพื่อสร้างบรรยากาศความกลัวขึ้นตามห้วงเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง โดยจากคำเบิกความของวัฒนา ในคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ระบุว่า ที่ผ่านมาแสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กมาโดยตลอด แต่ไม่เคยถูกฟ้องร้องจนกระทั่งวิพากษ์วิจารณ์พล.อ.ประวิตร และร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ในช่วงก่อนการออกเสียงประชามติ จากนั้นช่วงที่หมุดคณะราษฎรถูกรื้อถอนไปอย่างลึกลับ และอีกครั้งในตอนที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีกำหนดตัดสินชี้ขาด กรณีทุจริตโครงการจำนำข้าว
 
ทั้งในช่วงการพิพากษาคดีทุจริตโครงการจำนำข้าวยังสะท้อนให้เห็นภาพใหญ่ของแนวโน้มการใช้กฎหมายมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญามาใช้ในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวด้วย 
 

อันดับที่ 2 จตุภัทร์ (ไผ่ ดาวดิน)

 

742


จตุภัทร์ หรือ "ไผ่ ดาวดิน" นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยเป็นคนที่ถูกฟ้องร้องจากการใช้เสรีภาพการแสดงออกรองเป็นอันดับ 2 คือ 5 คดี ได้แก่

1.       วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 คดีฝ่าฝืนคำสั่งคสช.ที่ 3/2558 จากการชูป้ายผ้าคัดค้านการรัฐประหารที่ จ.ขอนแก่น (อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี)
2.        วันที่ 26 มิถุนายน 2558  คดีความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา และฝ่าฝืนคำสั่งคสช.ที่ 3/2558 จากการชุมนุมคัดค้านรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพฯ (อยู่ในชั้นสอบสวน)
3.        วันที่ 6 สิงหาคม 2559 คดีพ.ร.บ.ประชามติฯ จากการแจกเอกสารเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ที่ตลาดภูเขียว จ.ชัยภูมิ (ศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว)
4.        วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 คดีฝ่าฝืนคำสั่งคสช.ที่ 3/2558 จากการจัดและร่วมงานเวทีพูดเพื่อเสรีภาพ รัฐธรรมนูญกับคนอีสาน ที่ม.ขอนแก่น จ.ขอนแก่น (อยู่ในชั้นอัยการ)
5.        วันที่ 3 ตุลาคม 2559 คดีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์บทความของบีบีซีไทย มาลงบนหน้าเฟซบุ๊กของตนเอง (ศาลตัดสินจำคุก 5 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่งคงโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน)

ก่อนหน้าที่จตุภัทร์ จะถูกฟ้องร้องใน 5 คดีนี้ เขาเป็นที่รู้จักจากการไปชู 3 นิ้วหน้าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระหว่างการลงพื้นที่จ.ขอนแก่น ผลจากการกระทำดังกล่าว ทำให้เขาต้องเข้าปรับทัศนคติในค่ายทหาร อย่างไรก็ดีจตุภัทร์ ยังคงเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อไปและถูกจับกุมดำเนินคดีเรื่อยมา จตุภัทร์ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของอาการบาดเจ็บของเสรีภาพหลังรัฐประหารที่การแสดงออกอย่างสงบสันติถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และสกั้ดกั้นด้วยข้อบัญญัติทั้งในและนอกกฎหมายของคสช.

คดีของจตุภัทร์ยังแสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์ร่วมในระดับประเทศคือการใช้กฎหมายปิดปากการแสดงออกอย่างสุจริตในช่วงการออกเสียงประชามติเพราะนอกจากจตุภัทร์ที่ถูกตั้งข้อหาจากการแสดงออกเรื่องร่างรัฐธรรมนูญถึง 2 คดีแล้ว ยังมีประชาชนที่ถูกฟ้องร้องในเรื่องทำนองเดียวกันอีกไม่น้อยกว่า 203 คน และกิจกรรมสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับประชามติถูกปิดกั้นและแทรกแซงไม่น้อยกว่า 20 กิจกรรม

คดีของจตุภัทร์ที่ทำให้สังคมตั้งคำถามมากที่สุด คือ คดีมาตรา 112 เขาไม่ได้ทำอะไรไปมากกว่าการแชร์ข้อมูลและคัดลอกข้อเท็จจริงจากบทความบางส่วนมา โดยภายหลังจากการแจ้งข้อกล่าวหาเขาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวและถูกถอนประกันตั้งแต่ตอนที่ศาลยังไม่ได้เริ่มพิจารณาคดี จากการที่เขาโพสต์ข้อความที่ศาลพิจารณาแล้วว่า มีลักษณะ "เย้ยหยันอำนาจรัฐ" และหลังจากปล่อยตัวชั่วคราวแล้วยังไม่มีการลบโพสต์ที่เป็นเหตุแห่งคดี แสดงถึงการขาดความสำนึกผิดในสิ่งที่กระทำลงไป หลังจากเริ่มสืบพยานไปไม่นานเขาตัดสินใจรับสารภาพอันเป็นผลจากบรรยากาศกดดันและการพิจารณาคดีที่ปิดลับ
 

อันดับที่ 2 สิรวิชญ์  (จ่านิว)

 

743

 

อันดับ 2 ร่วมอีกคนหนึ่งคือ สิรวิชญ์  หรือ "จ่านิว" นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย สิรวิชญ์ เป็นอีกคนหนึ่งที่เคลื่อนไหวมาตลอดนับแต่รัฐประหาร 2557 โดยเขาถูกฟ้องร้องจากการใช้เสรีภาพการแสดงออกรวม 5 คดี ได้แก่

1.        วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 คดีฝ่าฝืนประกาศคสช.ที่ 7/2557 จากการจัดกิจกรรมเลือกตั้งที่ (รัก) ลัก ที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ (อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี)
2.        วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 คดีฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญตามมาตรา 370 ของประมวลกฎหมายอาญา จากการจัดกิจกรรมเลือกตั้งที่ (รัก) ลักที่หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ (ตำรวจสั่งปรับ 100 บาท)
3.        วันที่ 7 ธันวาคม 2558 คดีฝ่าฝืนคำสั่งคสช.ที่ 3/2558 จากการจัดกิจกรรม “นั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ ส่องแสงหากลโกง” (อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี)
4.        วันที่ 8 มีนาคม 2559 คดีฝ่าฝืนเงื่อนไขการปล่อยตัวของคสช. ตามประกาศคสช.ที่ 40/2557 จากการจัดกิจกรรมเลือกตั้งที่(รัก)ลักที่หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ (อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี)
5.        วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 คดีขัดพ.ร.บ.ความสะอาดฯ จากการโปรยโพสต์อิทในงานกิจกรรม “โพสต์-สิทธิ” สกายวอล์ค สถานีบีทีเอสช่องนนทรี กรุงเทพฯ (ศาลสั่งปรับ 1,000 บาท)

คดีของสิรวิชญ์เป็นการปิดกั้นการเสรีภาพแสดงออกด้วยกฎหมายที่หลากหลายขึ้นไม่ว่าจะเป็นกฎหมายการห้ามชุมนุมที่ คสช. เป็นผู้ประกาศใช้เอง และคดีตามกฎหมายปลีกย่อยอื่นๆ เช่น พ.ร.บ.ความสะอาดฯ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการสร้างความรำคาญตามประมวลกฎหมายอาญา โดยคดีที่น่าสนใจที่สุดของสิรวิชญ์เห็นจะเป็นคดีนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ เป้าหมายของกิจกรรมเป็นการตรวจสอบการคอร์รัปชั่นที่ประชาชนควรจะกระทำได้  แต่กิจกรรมดังกล่าวถูกเจ้าหน้าที่สกัดกั้นการเดินทางระหว่างไปทำกิจกรรมและกลายเป็นคดีความในที่สุด
 

อันดับที่ 3 สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด)

 

741


สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด เป็นนักเคลื่อนไหวที่มีจุดยืนคัดค้านการรัฐประหารตั้ง แต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มาจนถึงการรัฐประหารของคสช. โดยที่ผ่านมาเขาถูกฟ้องร้องดำเนินคดี 3 คดี ได้แก่

1.       5 มิถุนายน 2557 คดีความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา (อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี)
2.      1 กรกฎาคม 2557 คดีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์ภาพล้อเลียนในเฟซบุ๊ก (ยังไม่มีคำสั่งฟ้อง)
3.       10 กรกฎาคม 2557 คดีฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวตามคำสั่งเรียกของคสช. (ศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุก 2 เดือน ปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกรอลงอาญาไว้ 1 ปี)

คดีฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวตามคำสั่งเรียกของ คสช. มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่รับรองการยึดอำนาจของ คสช. โดยสมบัติต่อสู้ว่า การยึดอำนาจของ คสช. ยังไม่สำเร็จและการไม่ไปรายงานตัวเป็นการต่อต้านโดยสันติวิธีตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ศาลเห็นว่า หลังรัฐประหาร  คสช. ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และออกคำสั่งคสช.เกี่ยวกับการบริหาร จึงสะท้อนให้เห็นว่า คสช. สามารถยึดอำนาจได้สำเร็จแล้ว เพราะหากยังยึดอำนาจไม่สำเร็จคสช.คงไม่สามารถออกคำสั่งใช้อำนาจบริหารดังกล่าวได้ ดังนั้นสมบัติจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญ 2550 ได้อีกต่อไป

ส่วนคดีความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญานั้นกำลังอยู่ในชั้นสืบพยาน คดีนี้ศาลทหารอนุมัติหมายจับวันที่ 11 มิถุนายน 2557 มาจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว แต่คดียังคงไม่เสร็จสิ้น ซึ่งความล่าช้าเช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในศาลทหาร สาเหตุจากการพิจารณาคดีแบบไม่ต่อเนื่อง เช่น มีนัดสืบพยานวันที่ 17 มกราคม 2560 และนัดหมายอีกครั้งวันที่ 24 เมษายน 2560 หรือนัดหมายสืบพยานวันที่ 5 กันยายน 2560 แต่พยานไม่มาศาล จึงต้องนัดหมายใหม่อีกครั้งวันที่ 7 มีนาคม 2561 ทิ้งระยะห่างไปมาก 
Article type: