1331 1486 1852 1252 1861 1105 1153 1169 1718 1629 1973 1015 1946 1766 1797 1050 1837 1899 1302 1698 1322 1975 1908 1349 1286 1824 1696 1224 1940 1851 1374 1865 1437 1900 1914 1901 1399 1713 1019 1933 1038 1565 1596 1376 1780 1272 1127 1365 1901 1302 1861 1050 1078 1567 1825 1405 1256 1598 1760 1387 1199 1694 1797 1891 1323 1511 1397 1444 1324 1574 1511 1012 1949 1620 1583 1247 1667 1110 1000 1160 1194 1508 1233 1066 1964 1707 1619 1242 1329 1275 1869 1696 1464 1999 1807 1788 1831 1591 1247 สรุปสถานการณ์ปี 2560: ปีที่ 4 ของคสช.เราอยากพาสังคมไทยไปทางไหน ? | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สรุปสถานการณ์ปี 2560: ปีที่ 4 ของคสช.เราอยากพาสังคมไทยไปทางไหน ?

และแล้วอีกปีหนึ่งก็ผ่านพ้นไป   ..

ปฏิเสธไม่ได้ว่าภายใต้การปกครองของคสช. เสรีภาพของวันที่หนึ่งหรือวันที่ 1,320 ไม่มีความแตกต่างกันนัก ในขวบปีที่สามของรัฐบาลคสช. ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญ 2560 จะประกาศใช้เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งประกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกในหลายด้าน แต่ปรากฏว่า รัฐคงใช้กฎหมาย,ประกาศและคำสั่งคสช.และมาตรา 44 ที่มีเนื้อหาจำกัดเสรีภาพมาใช้เป็นอาวุธหลักในการปราบปรามเสรีภาพของประชาชน อย่างไรก็ดีสถิติของคดีเสรีภาพในปี 2560 เท่าที่ไอลอว์ทราบมีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับสามปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวที่คสช.ได้สร้างขึ้นมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้

แม้หลายฝ่ายจะคาดการณ์กันว่า คสช. ไม่น่าจะปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการทหารได้นานนัก ไม่ว่าด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ด้วยความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน หรือด้วย “คำสัญญา” ที่ คสช. เคยประกาศไว้เอง แต่จนถึงปี 2561 คสช. ก็อยู่ในอำนาจอย่างแน่นิ่งได้โดยไม่มีกระแสต่อต้านที่แข็งแรงพอ และกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของการปกครองที่รวบอำนาจตัดสินใจแบบเบ็ดเสร็จ


ไม่ใช่แค่ประเด็นการเมือง: ภาพรวมการใช้อำนาจปิดกั้นการแสดงออกในพื้นที่สาธารณะปี 2560

ในภาพรวมสถานการณ์การแสดงออกของประชาชนในปี 2560 ยังไม่ต่างจากปีก่อนๆมากนัก เพราะประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์คสช. หรือแสดงออกในประเด็นสาธารณะต่างๆยังคงต้องแบกรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการแสดงออกของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นการถูกดำเนินคดีในข้อหาต่างๆ การถูกเรียกตัวไปปรับทัศนะคติในค่ายทหาร ไปจนถึงการถูกทหารตามไปเยี่ยมบ้านซึ่งเท่าที่มีข้อมูลมีประชาชนทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่อย่างน้อย 100 ราย ถูกเรียกเข้าค่ายปรับทัศนะคติหรือมีเจ้าหน้าที่ทหารมาหาที่บ้าน ขณะที่การจัดกิจกรรมในที่สาธารณะในประเด็นเกี่ยวกับการเมืองหรือสิทธิมนุษยชนก็ยังคงเป็นสิ่งที่ถูกปิดกั้น ทั้งที่บางกิจกรรมอาจจะไม่เกี่ยวกับคสช.โดยในปีนี้มีการชุมนุมและกิจกรรมสาธารณะที่ถูกปิดกั้นอย่างน้อย 21 ครั้ง

บางครั้งแม้จะจัดงานได้แต่ก็ถูกแทรกแซงเช่นให้ย้ายสถานที่หรือให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบกิจกรรม เช่น ให้เดินขบวนได้แต่ห้ามถือป้าย เป็นต้น โดยในปีนี้มีงานกิจกรรมอย่างน้อย 6 งานที่ถูกแทรกแซงในลักษณะดังกล่าว ที่สำคัญในงานกิจกรรมทุกงานก็จะมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจคอยถ่ายภาพและวิดีโอผู้จัดงานและผู้ร่วมงานทุกคน ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าภาพและวิดีโอเหล่านั้นสุดท้ายแล้วจะไปอยู่ที่ไหนและถูกนำไปใช้อะไรบ้าง

ในปีนี้การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสิทธิชุมชน กลายเป็นความเคลื่อนไหวหลักของภาคประชาชนขณะที่กิจกรรมต่อต้านการรัฐประหารหรือต่อต้านทหารมีการจัดไม่บ่อยนัก แต่เนื่องจากการใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การปิดกั้นการแสดงออกทางการเมืองหากแต่ครอบคลุมถึงการใช้ออกนโยบายรัฐโดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย การเคลื่อนไหวในประเด็นทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการบริหารของคสช.จึงอาจถูกเจ้าหน้าที่มองว่าเป็นการต่อต้านคสช.โดยตรงทำให้การเคลื่อนไหวในประเด็นเหล่านั้นถูกจำกัดหรือปิดกั้นในรูปแบบต่างๆกัน

คุมเข้มการชุมนุมประเด็นทรัพยากรและปากท้อง คุมแกนนำเข้าค่าย + ตั้งข้อหา

ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2560 ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและกลุ่มประชาชนจากจังหวัดกระบี่รวมตัวกันชุมนุมที่ลานปูดำในอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่เพื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่อำเภอเหนือคลอง หลังจากนั้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ทางกลุ่มก็ได้เดินทางมาชุมนุมที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล  ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2560  แกนนำผู้ชุมนุมห้าคนได้ถูกนำตัวไปที่ค่ายมทบ.11 เพื่อปรับทัศนะคติ  ทั้งห้าได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560 โดยไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหาซึ่ีงเมื่อได้รับการปล่อยตัวก็มีการประกาศยุติการชุมนุมโดยระบุว่าทางรัฐบาลยินยอมชะลอโครงการออกไปเพื่อศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EHIA)ใหม่ 

ความน่าสนใจของกรณีการชุมนุมคัดค้านโรงไฟฟ้ากระบี่อยู่ที่ การใช้อำนาจที่มีความทับซ้อนกันระหว่างกฎหมายสองฉบับ ได้แก่พ.ร.บ.ชุมนุมและคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 กล่าวคือในวันที่ 17 กุมภาพันธ์เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ร้องขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม ซึ่งศาลแพ่งนัดผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจไต่สวนในวันที่ 20 กุมภาพันธ์แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่กลับใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เข้าควบคุมตัวแกนนำผู้ชุมนุมตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ก่อนที่ศาลจะไต่สวน

ในช่วงปลายปี 2560 มีการชุมนุมในประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งได้แก่กิจกรรม #เทใจให้เทพา ซึ่งเป็นกิจกรรมเดินเท้าของชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน จากบ้านบางหลิง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ไปที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในอำเภอเทพา ชาวบ้านเริ่มออกเดินในวันที่ 24 พฤศจิกายน โดยมีเจ้าหน้าที่ติดตามสังเกตการณ์และบันทึกภาพอย่างใกล้ชิด ก่อนที่ในวันที่ 27 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้ กำลังเพื่อยุติการชุมนุมโดยอ้างเหตุว่าการชุมนุมครัิ้งนี้ไม่ชอบเพราะไม่ได้แจ้งการชุมนุมล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด จนเเกิดเหตุปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุม และมีการตั้งข้อกล่าวหาตามพ.ร.บ.จราจรฯ และพ.ร.บ.ทางหลวงกับผู้ชุมนุม 16 คน 

งัดสารพัดเทคนิคสกัดชาวบ้านเข้ากรุง

หนึ่งในปรากฎการณ์การจำกัดเสรีภาพที่น่าสนใจในปีนี้ได้แก่ความพยายามของเจ้าหน้าที่ที่จะสกัดกั้นไม่ให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายของรัฐโครงการหรือปัญหาปากท้องอื่นๆเดินทางเข้ากรุงเทพเพื่อร้องเรียนหรือประท้วง นอกจากนี้ในช่วงที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะอ่านคำพิพากษาคดีจำนำข้าวของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เจ้าหน้าที่ก็ไปพูดคุยและ 'ขอร้อง'แกนนำคนเสื้อแดงบางส่วนไม่ให้นำมวลชนมาให้กำลังใจในกรุงเทพ

ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่อนท่าแซะในจังหวัดชุมพรราว 200 คนเตรียมเดินทางมายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมที่กรุงเทพ หลังไม่ได้เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะถึงวันเดินทางก็มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาในพื้นที่และเชิญตัวแกนนำ 15 คนไปพูดคุยที่มณฑลทหารบกที่ 44 เพื่อหว่านล้อมให้ชาวบ้านยินยอมให้สร้างเขื่อนแต่การเจรจาก็จบลงโดยไม่มีข้อยุติอะไร ต่อมาเมื่อชาวบ้านว่าจ้างรถบัสสามคันมาเพื่อเตรียมเดินทางเข้ากรุงเทพปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ทหารได้พาคนขับรถบัสทั้งสามคนไปควบคุมที่ค่ายทหาร ชาวบ้านจึงต้องเปลี่ยนแผนเป็นให้ตัวแทน 30 คนใช้รถตู้และรถส่วนตัวเดินทางเข้ากรุงเทพเพื่อร้องเรียนแทน


ในเดือนมีนาคมระหว่างที่ชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกของเครือข่ายปฎิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัดประมาณ 100 คน กำลังรวมตัวกันที่ศูนย์ประสานงานของเครือข่ายในอำเภอเมือง จังหวัดตรังเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ามาร่วมชุมนุมกับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P Move) ก็มีชายฉกรรจ์สี่คนอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาในพื้นที่สอบถามชาวบ้านเรื่องการเดินทางเข้ากรุงเทพก่อนจะนำถุงบรรจุยาเม็ดมาแสดงพร้อมกับกล่าวหาทำนองมีชาวบ้านมียาเสพติดในพื้นที่ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านจนมีการโต้เถียงก่อนที่ชายฉกรรจ์กลุ่มดังกล่าวจะออกจากพื้นที่และชาวบ้านได้ไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน   ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันหนึ่งในสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.)ก็ให้ข้อมูลว่าในช่วงที่P Move มีนัดชุมนุมในกรุงเทพก็มีเจ้าหน้าที่แวะเวียนมากินกาแฟที่บ้านเขาหลายวันติดกินพร้อมทั้งสอบถามว่าจะเดินทางไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มP-Move หรือไม่

ในช่วงเดือนสิงหาคม สถานการณ์ทางการเมืองถือว่าอยู่ในสภาวะตึงเครียดอีกครั้งเนื่องจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนัดอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรฟังคำพิพากษาคดีทุจริตโครงการจำนำข้าว แม้ว่าทั้งฝ่ายตำรวจ และหัวหน้าคสช. จะประกาศว่าจะไม่ห้ามการเดินทางมาให้กำลังใจอดีตนายกรัฐมนตรี แต่ก็มีปรากฎการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นหลายอย่าง เช่น แกนนำเกษตรกรภาคเหนือระบุว่ามีเจ้าหน้าที่'ขอร้อง'ให้เซ็นข้อยินยอมว่าจะไม่นำมวลชนมาให้กำลังใจยิ่งลักษณ์ นอกจากนี้ก็มีกรณีที่เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีกับคนขับรถตู้ที่รับจ้างพามวลชนมาให้กำลังใจยิ่งลักษณ์ในวันแถลงปิดคดีจำนำข้าวฐานใช้รถออกนอกเส้นทางที่ได้รับอนุญาต  และมีกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดลำปางเข้าไป 'ขอความร่วมมือ'ไม่ให้คนขับรถตู้รับจ้างพาคนเสื้อแดงเข้ากรุงเทพเป็นต้น

ในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่เกษตรกรสวนยางจังหวัดพัทลุงและจังหวัดตรังเตรียมเดินทางมาชุมนุมที่กระทรวงเกษตรเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ก็มีเจ้าหน้าที่ทหารนำกำลังไป'เชิญตัว'แกนนำของกลุ่มสองคนในช่วงกลางดึกวันที่ 11 พฤศจิกายนไปพูดคุยที่ค่ายอภัยบริรักษ์ จังหวัดพัทลุง ไม่มีการเปิดเผยว่ารายละเอียดการพูดคุยในค่ายคืออะไรแต่การเชิญตัวครั้งนี้ก็ส่งผลให้ทางกลุ่มเกษตรกรไม่สามารถเดินทางเข้ากรุงเทพตามที่ตั้งใจไว้



จากพาเข้าค่ายถึง'พาไปเที่ยว' เทคนิครับมือปฏิบัติการบินเดี่ยวของ "เอกชัย หงส์กังวาน"

ในปีนี้ เอกชัย หงส์กังวาน น่าจะเป็นนักกิจกรรมที่สร้างความ "ปวดหัว" ให้ฝ่ายความมั่นคงและคสช. ได้ในอันดับต้นๆ เอกชัยใช้เฟซบุ๊กส่วนซึ่งตั้งค่าเป็นสาธารณะโพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์คสช.อย่างต่อเนื่อง นอกจากการวิพากษ์วิจารณ์คสช.บนโลกออนไลน์แล้วเอกชัยยังไปร่วมกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่จัดโดยกลุ่มต่างๆ รวมทั้งทำกิจกรรมเชิญสัญลักษณ์ในที่สาธารณะด้วยตนเองด้วย โดยการเคลื่อนไหวของเอกชัยมักจะเป็นปฏิบัติการแบบบินเดี่ยวคือไปทำกิจกรรมคนเดียวไม่ใช่การเชิญชวนคนอื่นมาร่วมทำ แต่เนื่องจากประเด็นที่เอกชัยประกาศว่าจะไปทำกิจกรรมมักเป็นประเด็นที่อ่อนไหวเขาจึงต้องเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่อยู่บ่อยครั้ง โดยการแสดงออกที่ทำให้เอกชัยถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวด้วยอำนาจพิเศษในปีนี้มีอย่างน้อยสองครั้ง ได้แก่การแสดงออกในประเด็นหมุดคระราษฎร และการโพสต์ข้อความว่าจะทำกิจกรรมบางอย่างในวันถวายพระเพลิงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า

หลังเกิดกรณีหมุดที่ระลึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง(หมุดคณะราษฎร)หายไปอย่างลึกลับและถูกแทนที่ด้วยหมุดใหม่ (หมุดหน้าใส) เอกชัยประกาศบนเฟซบุ๊กว่าในวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เขาจะไปทุบผิวถนนรื้อหมุดอันใหม่ออกแล้วนำหมุดคณะราษฎรจำลองเปลี่ยนแทนที่ เจ้าหน้าที่จึงวางกำลังรอเอกชัยในเช้าวันที่ 24 มิถุนาซึ่งเมื่อเขามาถึงที่ลานพระบรมรูปทรงม้าอันเป็นจุดที่หมุดคณะราษฎรเคยถูกติดตั้ง เขาก็ถูกควบคุมตัวไปที่ค่ายมทบ 11 โดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆและถูกคุมตัวไว้ทั้งวันก่อนที่เจ้าหน้าที่จะพาเขาไปส่งบ้านในช่วงเย็นพร้อมทำการตรวจค้นบ้าน


ในช่วงปลายเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงที่กำลังจะมีการจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า เอกชัยโพสต์เฟซบุ๊กว่าเขาจะทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์บางอย่างในวันที่ 26 ตุลาคมซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิง การโพสต์ข้อความดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่มาคุมตัวเอกชัยที่บ้านในวันที่ 24 ตุลาคม สิ่งที่แปลกไปคือครั้งนี้เจ้าหน้าที่พาเขาไป'เที่ยว'ที่จังหวัดกาญจนบุรีแทนการพาเข้าค่ายทหารและให้เงินติดกระเป๋ากับเขา 5000 บาท โดยมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบติดตามเขาตลอดเวลาและยึดโทรศัพท์มือถือของเขาไว้พร้อมทั้งถอดแบตเตอรีออกตลอดการเดินทางก่อนจะพาเขากลับมาที่กรุงเทพในวันที่ 28 ตุลาคม ซึ่งผ่านพ้นวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพไปแล้วโดยเขาไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหาใดๆ  

การปิดกั้นการจัดกิจกรรมต่างของประชาชนในปีนี้ถือว่าทางคสช.พยายามนำวิธีการใหม่ๆเข้ามาใช้ เช่นพยายามลดการใช้อำนาจกับผู้จัดกิจกรรมหรือนักเคลื่อนไหวโดยตรง แต่ไปใช้อำนาจผ่านผู้ประกอบการเอกชนที่เกี่ยวข้องแทน เช่น กรณีงานแสดงหมอรำของกลุ่ม  FAIRLY TELL เพื่อระดมทุนฟื้นฟูศักยภาพชีวิตของอดีตนักโทษการเมือง  และงานปีใหม่ของคนเสื้อแดงที่จัดเพื่อระดมทุนช่วยเหลือนักโทษการเมือง  ที่เจ้าหน้าที่ไปกดดันเจ้าของร้านให้ไปยกเลิกการให้ใช้สถานที่ หรือกรณีที่เจ้าหน้าที่ไปพูดคุยกับคนขับรถตู้ในจังหวัดลำปางไม่ให้รับงานจากกลุ่มคนที่จะมาให้กำลังใจยิ่งลักษณ์ช่วงวันพิพากษาคดีจำนำข้าว ขณะเดียวกันในกรณีของเอกชัยเจ้าหน้าที่ก็มีการปรับกลยุทธใหม่พาเอกชัย'ไปเที่ยว'ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่แทนการพาไปกักตัวปรับทัศนคติในค่ายทหาร

การใช้อำนาจลักษณะนี้ทางหนึ่งอาจเป็นความพยายามของเจ้าหน้าที่ทำจะลดภาพความรุนแรงของการใช้อำนาจกับผู้ทำกิจกรรมโดยตรง แต่ในอีกหลายๆกรณีเช่นกรณีของผู้ชุมนุมสวนยาง กรณีผู้ชุมนุมคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินหระบี่และโรงไฟฟ้าเทพา เจ้าหน้าที่ก็ยังเลือกที่จะใช้อำนาจจำกัดการเคลื่อนไหวโดยตรง ทั้งผ่านการเรียกปรับทัศนคติในค่ายทหารและการตั้งข้อกล่าวหาดำเนินคดี แสดงให้เห็นว่าคสช.และเจ้าหน้าที่ยังไม่มีแนวคิดที่จะผ่อนคลายสถานการณ์ให้ประชาชนสามารถแสดงออกโดยสันติได้อย่างอิสระ นอกจากนี้การใช้อำนาจระงับการแสดงออกในประเด็นที่ไม่ใช่การต่อต้านรัฐประหารหรือต่อต้านทหารโดย อย่างประเด็นทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมยังสะท้อนความเป็นจริงที่น่าตกใจว่าพื้นที่และประเด็นที่ประชาชนสามารถแสดงออกหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้หดหายลงไปมาก    



ว่าด้วยเรื่อง FOE คดีเสรีภาพในภาพรวม

ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา
คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญามีผู้ถูกกล่าวหารวม 18 คน ในเดือนเมษายน 2560 ถือเป็นการจับกุมผู้ถูกกล่าวหาคดี 112 ครั้งใหญ่ โดยทหารได้เข้าควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหา 6 คนโดยมิชอบไปที่มทบ.11 ก่อนจะแจ้งข้อกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา 4 จาก 6 คนถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 จากการแชร์สถานะเฟซบุ๊กของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในบุคลลต้องห้ามตามประกาศของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


อีกครั้งในเดือนพฤษภาคมคือ การควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหา 8 คนโดยมิชอบไปที่มทบ.11 โดยหนึ่งในนั้นเป็นเยาวชนอายุ 14 ปี โดยภายหลังทั้งหมดถูกกล่าวหาว่า หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, อั้งยี่ ซ่องโจรและวางเพลิงจากการร่วมกันเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ และอีกคดีที่ดูเหมือนจะเป็นมาตรวัดเพดานของเสรีภาพทางวิชาการคือ คดีมาตรา 112 ของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม เขาถูกฟ้องร้องคดีมาตรา 112 จากการกล่าวในทำนองที่ว่า การยุทธหัตถีของพระนเรศวรมหาราชไม่มีอยู่จริงและพาดพิงรัชกาลที่ 4 ในงานเสวนาประวัติศาสตร์  “ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการชำระและการสร้าง” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2557 คดีนี้อัยการทหารมีคำสั่งไม่ฟ้อง

 

ขณะที่กระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นหมุดหมายสำคัญของเสรีภาพการแสดงออกคือ การพิจารณาคดีมาตรา 112 ของจตุภัทร์ หรือ ไผ่ ดาวดิน ที่หลังจากถูกศาลจังหวัดขอนแก่นเพิกถอนการประกันตัวไปเมื่อปลายปี 2559 แล้ว ไม่ว่าจะพยายามขอประกันตัวอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ทั้งการพิจารณาคดียังถูกปิดลับ นำไปสู่การรับสารภาพระหว่างการสืบพยานในที่สุด ศาลพิพากษาจำคุก 5 ปี ให้การรับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง

ตลอดกว่าสามปีที่ผ่านมามีผู้ถูกกล่าวหาคดีมาตรา 112 จากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกรวม  94 คน และพิพากษาแล้ว 43 คน โทษจำคุกสูงสุดคือ 70 ปี

 

ความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา
คดียุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญามีผู้ถูกกล่าวหารวม 10 คน แนวโน้มล้อไปตามห้วงเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง เช่น มกราคม 2560 การล้อมค้นวัดพระธรรมกาย รัฐฟ้องร้องคดีมาตรา 116 สองคดีคือ คดีของพระสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารของวัดพระธรรมกาย โดยเหตุแห่งคดีเกิดขึ้นจากการโพสต์เฟซบุ๊กเรื่องคนตายในวัด และองอาจ โฆษกวัดพระธรรมกาย ที่อ่านแถลงการณ์จุดยืนของศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก ต่อมาในเดือนเมษายน อีกสองคดีคือ คดีของประเวศ ทนายความสิทธิมนุษยชนและดนัย สองผู้ถูกคุมขังโดยมิชอบและถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 ครั้งใหญ่เพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2560 ที่มีการพิพากษาคดีจำนำข้าวของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยคดีมาตรา 116 พุ่งพรวดภายในเดือนเดียวหกคดีคือ คดีของวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย สองคดี,คดีของประวิตร โรจนพฤกษ์ นักข่าวอาวุโสข่าวสดอิงลิช สองคดี และคดีของออด,ถนอมศรีและสุขสยาม สามจำเลยป้ายผ้าแยกประเทศล้านนาอีกสองคดี มูลเหตุเกี่ยวข้องกับโพสต์ความเห็นส่วนตัวลงบนเฟซบุ๊กถึงเหตุการณ์การพิพากษาคดีจำนำข้าว, การวิพากษ์การบริหารงานของคสช. และกรณีหมุดคณะราษฎรที่หายไปอย่างลึกลับในเดือนเมษายน 2560

ส่วนคดีของออดและพวก เหตุแห่งคดีคือการติดตั้งป้ายผ้าแยกประเทศล้านนาตามที่เคยฟ้องร้องและพิพากษาไปแล้วที่ศาลจังหวัดเชียงรายในปี 2557 แต่ฟ้องใหม่ครั้งนี้เพียงเกิดขึ้นในต่างสถานที่  และอีกครั้งเดือนธันวาคม 2560 ที่เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการวิ่งของตูน บอดี้แสลม นักร้องชื่อดัง ครั้งนี้ผู้ที่ตกเป็นจำเลยคือ ร.ท.หญิงสุนิสา ทิวากรดำรง หรือ หมวดเจี๊ยบ นักการเมืองพรรคเพื่อไทย ที่วิจารณ์การบริหารนโยบายการคลังที่ผิดพลาดของคสช.ผ่านเฟซบุ๊ก เธอถูกฟ้องร้องคดีมาตรา 116 รวมสองคดี
ตลอดกว่าสามปีที่ผ่านมามีผู้ถูกกล่าวหาคดีมาตรา 112 จากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกรวม  67 คน และพิพากษาแล้ว 6 คน

 

คดีความผิดอื่นๆ

คดีความผิดหมิ่นประมาทและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีทั้งสิ้น 7 คดี โดย 4 คดีจากทั้งหมดเป็นคดีที่รัฐหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ฟ้องร้องต่อประชาชนเองคือ คดีที่แพทยสภาฟ้องร้องปรียานันท์จากการวิจารณ์แพทยสภา คดีโพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์เรื่องการใช้อำนาจมาตรา 44 ของบริบูรณ์ คดีโพสต์เฟซบุ๊กเรื่องคนตายในวัดพระธรรมกายของพระสนิทวงศ์ คดีที่กฟผ.ฟ้องร้องประสิทธิ์ชัย นักเคลื่อนไหวเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินและ 2 คดีจากทั้งหมดเป็นการฟ้องร้องต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน คือ คดีเผยแพร่ข่าวเรื่องการฉ้อโกงที่ดินของโจนาธาน เฮด นักข่าวบีบีซีและคดีเผยแพร่ข่าวเรื่องเหมืองแร่ดีบุกของปรัชญ์ นักข่าวเนชั่น ตลอดกว่าสามปีที่ผ่านมามีการกล่าวหาคดีความผิดหมิ่นประมาทและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯทั้งหมด 72 คดี


คดีความผิดเกี่ยวตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ มีทั้งหมด 5 คดี โดย 2 คดีจากทั้งหมดเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมที่ดูจะรุนแรงขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา คือ คดีการปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นท่าเรือปากบารา และคดีการเดินเท้าเทใจให้เทพา  ตลอดกว่าสามปีที่ผ่านมามีการกล่าวหาคดีความผิดตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯทั้งหมด 12 คดี

2561 ก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช.

แนวโน้มการคืนอำนาจให้ประชาชน ตาม “โรดแมป” ที่ คสช. เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 และตามที่พล.อ.ประยุทธ์เคยเปิดเผยออกมาแล้วสอดคล้องตรงกัน คือ การเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 เท่านั้น เว้นเสียแต่ว่า คสช. ใช้อำนาจพิเศษนอกรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขเงื่อนเวลาอีก ช่องทางที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น คือ การให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ถ่วงเวลาการออกกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ช้าไปเรื่อยๆ อย่างที่ทำมาตลอดปี 2560 แต่ไม่ว่าจะใช้ข้ออ้างใดก็จะยิ่งสร้างปัญหาด้านความชอบธรรมให้กับ คสช. เอง
แนวโน้มการออกกฎหมาย ความกระตือรือร้นของ สนช. มีแนวโน้มลดลง ในปี 2560 สนช. ผ่านกฎหมายได้ 55 ฉบับ น้อยกว่าปี 2559 และ 2558 ซึ่งอยู่ที่ 74 และ 92 ฉบับ ตามลำดับ ขณะที่การใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ก็ใช้ไป 54 ครั้งน้อยกว่าปี 2559 ที่ใช้ไป 78 ครั้ง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเรื่องเร่งด่วนที่ฝ่ายราชการและ คสช. ต้องการรีบทำได้ถูกผลักออกไปมากแล้ว
ในปี 2561 แนวโน้มการออกกฎหมายอย่างรวดเร็วจึงอาจลดจำนนลง แต่ หากกำหนดวันเลือกตั้งได้ภายในปี 2561 ในช่วงเวลาก่อน สนช. หมดอายุอาจมีกฎหมายล็อตใหญ่อีกจำนวนหนึ่งที่ถูกเร่งให้ผ่าน ส่วนกฎหมายที่ออกไปแล้วก็เป็นช่วงที่ดอกผลจากการบังคับใช้กำลังเติบโตและผลิบาน จึงเป็นภารกิจขนาดใหญ่สำหรับภาคประชาชนสังคมที่ต้องเรียนรู้เพื่อการเสนอให้แก้ไขยกเลิกในวันข้างหน้า
แนวโน้มการทำงานของรัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพที่ถูกรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญจะยังไม่ค่อยมีที่ใช้มากนัก เพราะยังมีมาตรา 25 ที่เปิดช่องให้จำกัดเสรีภาพได้ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ขณะที่มาตรา 279 ก็ยังรับรองให้ประกาศและคำสั่งของ คสช. ทั้งหมดมีผลบังคับใช้ได้ และชอบด้วยรัฐธรรมนูญตลอดไป การละเมิดสิทธิของประชาชนจึงยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนี้

กลไกที่รัฐธรรมนูญสร้างเอาไว้ก็จะเดินหน้าอย่างเต็มที่ในปี 2561 โดยไม่ได้เปิดกว้างให้สาธารณะได้ติดตามรับรู้และมีส่วนร่วมได้อย่างจริงจัง หรือมีส่วนร่วมกันแค่ในกลุ่มคนของ คสช. เอง เช่น การเขียนแผนปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน การเขียนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การเขียนมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับนักการเมือง ฯลฯ ซึ่งกลไกเหล่านี้น่าจะเสร็จเป็นรูปธรรมออกมาภายในปลายปี 2561 และอาจเป็นกลไกในการคงไว้ซึ่งอำนาจของ คสช. หลังการเลือกตั้ง

แนวโน้มคดีความทางการเมือง การจับกุมและดำเนินคดีทางการเมืองมีแนวโน้มลดลงในแง่ปริมาณ สาเหตุหนึ่งเพราะ คสช. ควบคุมความเคลื่อนไหวในสังคมไว้ได้เกือบทั้งหมด กิจกรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับ คสช. มีน้อยลงมาก ขณะที่เมื่อใช้ศาลพลเรือนพิจารณาคดีทางการเมือง คสช. ก็ไม่อาจควบคุมกระบวนการยุติธรรมให้อยู่ในมือได้ง่ายดังที่ผ่านมา หากกำหนดวันเลือกตั้งได้ภายในปีนี้ เมื่อพรรคการเมืองเริ่มทำกิจกรรม หาเสียงเลือกตั้ง รณรงค์ทางการเมือง รวมทั้งวิจารณ์ คสช. กระแสของคดีความทางการเมืองอาจจะกลับมาได้อีกระลอกหนึ่ง
คดีความอีกจำนวนมาก เช่น คดีตามมาตรา 112 หรือคดีข้อหาชุมนุมทางการเมืองของนักกิจกรรม ที่จำเลยให้การปฏิเสธและยังต่อสู้คดีกันอยู่ในศาลทหารจะยังเดินหน้าต่อไปโดยไม่มีแนวโน้มที่จะคดีจะสิ้นสุดได้ในปี 2561 คดีส่วนใหญ่อาจยังต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2-3 ปี ขณะที่คดีความที่ขึ้นศาลพลเรือน เช่น คดีข้อหาตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ ที่เกิดขึ้นในปี 2559 มีแนวโน้มจะทยอยรู้ผลกันในปี 2561

แนวโน้มการปิดกั้นการแสดงออก เข้าสู่ปี 2561 คสช. เรียนรู้มากขึ้นว่าการใช้กำลังทหารหรือตำรวจเข้าปะทะทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อ คสช. เองและเลือกจะใช้วิธีการกดดันทางอ้อมมากกว่า กิจกรรมในประเด็นทางสังคมหรือการคัดค้านนโยบายหรือการออกกฎหมายจึงมีแนวโน้มผ่อนคลายขึ้นบ้าง เว้นแต่เป็นกิจกรรมที่ต่อต้าน คสช. โดยตรง หรือกิจกรรมของกลุ่มการเมืองจากพรรคเพื่อไทยก็จะยังถูกกดดันและปิดกั้นด้วยวิธีการต่างๆ อย่างเต็มที่

 

Report type: