1283 1860 1441 1418 1309 1320 1409 1827 1187 1189 1925 1127 1696 1448 1529 1012 1122 1672 1423 1355 1788 1472 1002 1308 1857 1727 1987 1554 1766 1987 1095 1108 1872 1782 1869 1026 1813 1854 1797 1005 1660 1436 1587 1329 1992 1648 1315 1305 1535 1482 1224 1059 1006 1852 1075 1458 1590 1382 1883 1529 1026 1961 1932 1529 1352 1871 1519 1613 1844 1328 1321 1655 1679 1087 1748 1435 1793 1116 1661 1191 1656 1589 1992 1700 1667 1755 1814 1899 1445 1054 1602 1968 1885 1119 1730 1559 1373 1561 1350 ศาลทยอยยกฟ้อง คดี "ชุมนุมเกินห้าคน" หลัง คสช. ยกเลิกคำสั่งห้าม "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" ต้องสู้คดีข้อหาอื่นต่อไป | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลทยอยยกฟ้อง คดี "ชุมนุมเกินห้าคน" หลัง คสช. ยกเลิกคำสั่งห้าม "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" ต้องสู้คดีข้อหาอื่นต่อไป

การชุมนุมทางการเมืองซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน กลายเป็นความผิดทางอาญาตั้งแต่ คสช. เข้ายึดอำนาจ ผ่านการออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 กำหนดให้ผู้ที่ฝ่าฝืนไปชุมนุมมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 20000 บาทด้วย และเกือบหนึ่งปีต่อมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 กำหนดห้ามการชุมนุมทางการเมืองเช่นเดียวกัน แต่กำหนดโทษทั้งจำคุกและปรับต่ำลงมาครึ่งหนึ่ง รวมทั้งเปิดช่องไว้ด้วยว่าหากเป็นการชุมนุมจะทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจาก คสช. ต่อมาในวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เมื่อมีการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 22/2561 มายกเลิกข้อห้ามชุมนุมทางการเมือง เพื่อเปิดทางไปสู่การเลือกตั้ง
 
ตลอดระยะเวลา 4 ปี 6 เดือน 20 วัน หรือ 1,665 วัน ที่ประกาศและคำสั่งห้ามชุมนุมถูกบังคับใช้ มีประชาชนผู้ยืนยันจะใช้เสรีภาพในการชุมนุมของพวกเขาถูกดำเนินคดีไปอย่างน้อย 421 คน เท่าที่ไอลอว์ยืนยันได้ครั้งสุดท้ายที่คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 ถูกนำมาใช้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม ได้แก่ กรณีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ซึ่งครั้งนั้นมีผู้ชุมนุมถูกตั้งข้อกล่าวหารวม 62 คน 
 
เมื่อคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ถูกยกเลิก ในทางกฎหมายมีความหมายว่า เป็นการออกกฎหมายใหม่เพื่อกำหนดให้การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ผู้ที่ได้กระทำการซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นความผิดก็ต้องถือว่าพ้นจากความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง ในกรณีที่ผู้ชุมนุมถูกฟ้องด้วยความผิดตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 เพียงข้อหาเดียว หากเป็นผู้ต้องคำพิพากษาที่เป็นที่สุดก็ต้องถือว่าเป็นผู้ไม่มีความผิด หากอยู่ระหว่างรับโทษจำคุกด้วยข้อหานี้ต้องได้รับการปล่อยตัวทันที และหากอยู่ระหว่างการดำเนินคดีในชั้นศาล ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง เว้นแต่ผู้ชุมนุมจะถูกฟ้องข้อหาอื่นด้วย คดีก็จะยุติเฉพาะส่วนคำสั่งฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เท่านั้น 
 
เท่าที่ไอลอว์มีข้อมูล วันที่คำสั่ง "ห้ามชุมนุมเกินห้าคน" ถูกยกเลิก มีคดีที่ยังอยู่ในชั้นพิจารณาของทั้งศาลทหารและศาลยุติธรรมอย่างน้อย 16 คดี เป็นคดีที่อยู่ในชั้นฎีกา 1 คดี คือ คดีของอภิชาต เป็นคดีที่อยู่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้น 15 คดี เช่น คดีชูป้ายต้านรัฐประหารที่จังหวัดขอนแก่นของจตุภัทร์และภานุพงศ์ซึ่งถูกแยกฟ้องเป็นสองสำนวนคดี  คดีเวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหารที่จังหวัดเชียงใหม่ และคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่มีทั้งหมด 10 คดี และมีคดีที่อยู่ในขั้นตอนอื่นๆ อีก 10 คดี ได้แก่ คดีเปิดศูนย์ปราบโกงที่อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรีซึ่งอยู่ในชั้นอัยการ คดีพรรคเพื่อไทยจัดแถลงข่าวในโอกาสครบรอบสี่ปีการรัฐประหาร ซึ่งอยู่ในชั้นสอบสวนและคดีของกลุ่มนักศึกษาที่จัดชุมนุมในโอกาสครบรอบ 1 ปีการรัฐประหารที่หอศิลป์กรุงเทพ ซึ่งมีจำเลย 4 คน จากผู้ต้องหาทั้งหมด 9 คนที่ถูกอัยการทหารสั่งฟ้องคดีไปแล้ว 
 
สำหรับสถานะของคดีตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 จากการตรวจสอบในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 มีคดีที่เข้าสู่ชั้นศาลแล้วอย่างน้อย 19 คดี ในจำนวนดังกล่าวเป็นคดีที่สิ้นสุดแล้ว 6 คดี ได้แก่ คดีจตุภัทร์หรือ "ไผ่ ดาวดิน" ชูป้ายคัดค้านรัฐประหาร คดี ภาณุพงศ์หรือ "ไนซ์ ดาวดิน" ชูป้ายคัดค้านรัฐประหาร คดีกิจกรรมปัดฝุ่นประชาธิปไตย คดีกิจกรรมเสวนาพูดเพื่อเสรีภาพ คดีเวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร และคดีแกนนำนปช.เปิดศูนย์ปราบโกง มีข้อน่าสังเกตด้วยว่ามีอยู่สองคดีที่อัยการฟ้องคดีหลังคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ถูกยกเลิกคือคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่พัทยา และคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ อัยการการเจ้าของสำนวนกับมีแนวทางที่แตกต่างกัน คดีที่พัทยาอัยการฟ้องผู้ต้องหาทั้งเจ็ดในข้อหาไม่แจ้งการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯแต่สั่งไม่ฟ้องข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง 3/2558 ส่วนที่จังหวัดเชียงใหม่อัยการฟ้องผู้ต้องหาหกคนทั้งในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งฉบับที่ 3/2558 และข้อหาใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับคดีที่เหลืออีกเจ็ดคดี มีห้าคดีที่อยู่ในชั้นอัยการแต่ยังไม่มีการฟ้องต่อศาลคือ คดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หอศิลป์กรุงเทพ (คดีผู้ร่วมการชุมนุม) คดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ราชดำเนิน ที่หน้ากองทัพบก และที่หน้าองค์การสหประชาชาติ คดีเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ส่วนอีกสองคดีคือคดีนักศึกษาดาวดินชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารในส่วนของผู้ต้องหาที่เหลืออีกห้าคนและคดีนักกิจกรรมชูป้ายคัดค้านรัฐประหารที่หอศิลป์กรุงเทพในวันครบรอบหนึ่งปีการรัฐประหาร     
 

ลำดับที่

คดี

สถานะ

1

อภิชาต ชูป้ายต้านรัฐประหาร

ชั้นฎีกา

2

ขอนแก่นโมเดล

อยู่ระหว่างการพิจารณา (มีข้อหาอื่นด้วย)

3

สมบัติ พรรณมณี ชุมนุม พ่นสีใส่รถทหาร

อยู่ระหว่างการพิจารณา (มีข้อหาอื่นด้วย)

4

พลเมืองโต้กลับ ทำกิจกรรม เลือกตั้งที่(รัก)ลัก

นัดฟังคำสั่งศาลวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562

5

จตุภัทร์ ชุมนุมต้านรัฐประหารที่ขอนแก่น

จำหน่ายคดี

6

ภาณุพงษ์ ชุมนุมต้านรัฐประหารที่ขอนแก่น

จำหน่ายคดี

7

นักกิจกรรมดาวดินชูป้ายต้านรัฐประหาร

นอกจากบุคคลในคดีลำดับที่ 5 และ 6 คดีของผู้ต้องหาคนอื่นยังอยู่ในชั้นสอบสวน

8

ธัชพงษ์ ณัชชชา พรชัย และ รังสิมันต์

ฟังคำสั่งวันที่ 5 มีนาคม 2562

9

นักกิจกรรมชุมนุมคัดค้านรัฐประหารที่หน้าหอศิลป์กรุงเทพ

นอกจากบุคคลในคดีลำดับที่ 7 คดีของผู้ต้องหาคนอื่นยังอยู่ในชั้นสอบสวน

10

นั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์

ฟังคำสั่งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562

11

เปิดศูนย์ปราบโกงประชามติที่อ.บ้านโป่ง

นัดฟังคำสั่งอัยการวันที่ 29 มีนาคม 2562

12

แจกเอกสารโหวตโนประชามติที่บางพลี

จำหน่ายคดี และรอฟังคำสั่งเรื่องเขตอำนาจศาล

13

กิจกรรมปัดฝุ่นประชาธิปไตย

จำหน่ายคดี

14

งานเสวนา พูดเพื่อเสรีภาพ รัฐธรรมนูญกับคนอีสาน

จำหน่ายคดี

15

นักกิจกรรมถือป้าย เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร

ยกฟ้อง

16

การชุมนุมของคนกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หอศิลป์กรุงเทพ #MBK39 (คดีแกนนำ)

นัดสืบพยานเดือนมิถุนายน 2562 (มีข้อหาอื่นด้วย)

17

การชุมนุมของคนกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หอศิลป์กรุงเทพ #MBK39 (คดีผู้เข้าร่วม)

นัดฟังคำสั่งคดีวันที่ 30 เมษายน 2562

18

การชุมนุมของคนกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ราชดำเนิน #RDN50 (คดีแกนนำ)

นัดสืบพยานเดือนสิงหาคม 2562 (มีข้อหาอื่นด้วย)

19

การชุมนุมของคนกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ราชดำเนิน #RDN50 (คดีผู้เข้าร่วม)

นัดฟังผลคดี 12 กุมภาพันธ์ 2562

20

การชุมนุมของคนกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หน้ากองทัพบก #Army57 (คดีแกนนำ)

นัดฟังคำสั่งอัยการ 28 กุมภาพันธ์ 2562 (มีข้อหาอื่นด้วย)

21

การชุมนุมของคนกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หน้ากองทัพบก #Army57 (คดีผู้เข้าร่วม)

นัดตรวจพยานหลักฐานวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 (มีข้อหาอื่นด้วย)

22

การชุมนุมของคนกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หน้าสหประชาชาติ #UN62 (คดีผู้จัดชุมนุม)

นัดฟังคำสั่งอัยการ 28 กุมภาพันธ์ 2562 (มีข้อหาอื่นด้วย)

23

การชุมนุมของคนกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หน้าสหประชาชาติ #UN62 (คดีผู้เข้าร่วม)

นัดตรวจพยานหลักฐาน 17 เมษายน 2562 (มีข้อหาอื่นด้วย)

24

การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่พัทยา #PTY7

อัยการสั่งไม่ฟ้องในข้อหา 3/2558 แต่ดำเนินคดีในข้อหาไม่แจ้งการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ

25

การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่เชียงใหม่ #CMU6

อัยการสั่งฟ้องคดีในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 (มีข้อหาอื่นด้วย)

26

แกนนำพรรคเพื่อไทยแถลงข่าวครบรอบ 4 ปี การรัฐประหาร

ยังอยู่ในชั้นสอบสวน


หลังมีการยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 ศาลยุติธรรมและศาลทหารมีพิพากษายกฟ้องและจำหน่ายคดีไปแล้วจำนวนหนึ่ง ได้แก่ 
 
1. วันที่ 25 ธันวาคม 2561 ศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษายกฟ้องห้าจำเลยคดีเวทีวิชาการไม่ใช่ต่ายทหาร จากกรณีที่จำเลยในคดีนี้ 3 คน ชูป้ายเขียนข้อความ "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" ระหว่างการประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษาที่จังหวัดเชียงใหม่ 
 
2. วันที่ 16 มกราคม 2562 ศาลทหารกรุงเทพมีคำสั่งจำหน่ายคดีที่ แกนนำกลุ่มนปช. 19 คน ถูกฟ้องจากการจัดกิจกรรมเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ที่ห้างบิ้กซีลาดพร้าว
 
3. วันที่ 17 มกราคม 2561 ศาลทหารกรุงเทพมีคำสั่งจำหน่ายคดี "ปัดฝุ่นประชาธิปไตย" ที่นักกิจกรรมเจ็ดคนเดินเท้าไปทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่อนุสาวรีย์ปราบกบฎ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2559
 
4-5. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ศาลทหารขอนแก่นมีคำสั่งจำหน่ายคดี ของนักกิจกรรมกลุ่มดาวดินสองคนที่ชูป้ายคัดค้านการรัฐประหาร ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2558 ซึ่งมีการฟ้องแยกเป็นสองสำนวนคดีในคดีที่จำเลย คือ จตุภัทร์ หรือ "ไผ่ ดาวดิน" และคดีของภาณุพงษ์ หรือ "ไนซ์ ดาวดิน"
 
6. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ศาลทหารขอนแก่นมีคำสั่งจำหน่ายคดี ของนักกิจกรรมที่จัดเสวนา "พูดเพื่อเสรีภาพ รัฐธรรมนูญกับคนอีสาน" ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดในช่วงใกล้กับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในปี 2559 
 
นับถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 มีคดีที่ยุติไปจากชั้นศาลแล้วอย่างน้อย 6 คดี โดยมีข้อน่าสังเกตว่า แม้ศาลพลเรือนและศาลทหารจะใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง มาเป็นฐานในการยุติคดีเหมือนกัน แต่ในกรณีของศาลพลเรือนจะมีการออกเป็นคำพิพากษายกฟ้อง ส่วนกรณีของศาลทหารจะใช้เป็นการจำหน่ายคดี 
 
สำหรับคดีอื่นๆ ที่ยังอยู่ในชั้นพิจารณาและจะมีนัดพิจารณาคดีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ได้แก่ คดีนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ และคดีจากการจัดกิจกรรมเลือกตั้งที่(รัก)ลัก ของกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ซึ่งศาลทหารกรุงเทพนัดพิจารณาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 โดยทั้งสองคดีจำเลยถูกฟ้องในความผิดฐานชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคนเพียงข้อหาเดียว จึงมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะมีการสั่งจำหน่ายคดีเช่นเดียวกับคดีที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ 
 
ส่วนคดีแจกเอกสารรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ที่ชุมชนเคหะบางพลี ซึ่งศาลทหารกรุงเทพนัดพิจารณาคดีในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ จำเลยยังถูกตั้งข้อหาชุมนุมพ่วงกับข้อหาตามพ.ร.บ.ประชามติฯ ด้วย คดีในส่วนของพ.ร.บ.ประชามติจึงยังคงจะดำเนินต่อไป แต่ก็มีข้อน่าสนใจว่า คดีพ.ร.บ.ประชามติฯ เป็นข้อหาที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลทหาร เมื่อข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ซึ่งเป็นข้อหาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหารถูกยกเลิกไปแล้ว คดีนี้จะยังคงอยู่ในอำนาจของศาลทหารหรือจะมีการย้ายไปพิจารณาในศาลพลเรือน    
 
สำหรับคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่มีทั้งหมด 10 คดี มีเพียงคดีการชุมนุมที่ราชดำเนิน #RDN50 (คดีของผู้ร่วมชุมนุม) คดีเดียวที่จำเลยถูกตั้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 เพียงข้อหาเดียว ส่วนคดีที่เหลือจำเลยจะถูกตั้งข้อกล่าวหาอื่นเพิ่มเติมด้วย เช่น ข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 หรือข้อกล่าวหาตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ เป็นต้น โดยศาลแขวงดุสิตนัดฟังคำสั่งคดีวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าคดีนี้อาจจะยุติ ส่วนคดีอื่นๆ ที่มีการตั้งข้อกล่าวหาอื่นเพิ่มเติมศาลอาจดำเนินคดีต่อไป แล้วไปยกฟ้องความผิดตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ในขั้นตอนของการทำคำพิพากษา  
 
ทั้งนี้ คดีชุมนุมอีกหลายคดีที่ยังอยู่ในชั้นการพิจารณาของอัยการ อย่าง คดีเปิดศูนย์ปราบโกงที่อ.บ้านโป่ง ซึ่งผู้ต้องหาถูกตั้งข้อกล่าวหาในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 เพียงข้อหาเดียว อัยการกลับยังไม่มีคำสั่งคดีทั้งๆ คดีดังกล่าวมีนัดในวันที่ 25 มกราคม 2562 โดยอัยการเลื่อนนัดฟังคำสั่งคดีออกไปเป็นวันที่ 29 มีนาคม 2562 โดยให้เหตุผลว่า เคยสั่งให้พนักงานสอบสวนสอบพยานเพิ่มเติมและยังไม่ได้รับสำนวนคดีกลับมา จึงยังสั่งคดีไม่ได้ ทั้งที่ข้อหาก็ถูกยกเลิกไปแล้ว ทำให้แม้ว่า สถานะทางกฎหมายของผู้ต้องหาคดีนี้น่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์ไปแล้วแต่เมื่ออัยการยังไม่มีคำสั่งคดีพวกเขาก็ยังมีภาระต้องมาตามนัดอัยการในนัดถัดไป  
 
Article type: