1210 1854 1143 1413 1942 1043 1197 1580 1772 1107 1370 1183 1980 1564 1936 1390 1839 1252 1006 1619 1612 1133 1996 1232 1334 1932 1920 1266 1208 1491 1462 1289 1125 1282 1205 1079 1564 1626 1925 1327 1197 1965 1374 1016 1060 1725 1388 1823 1556 1645 1006 1579 1936 1129 1062 1120 1715 1376 1315 1670 1900 1899 1410 1802 1826 1727 1170 1402 1510 1968 1988 1832 1172 1791 1601 1864 1857 1790 1483 1231 1037 1140 1263 1314 1072 1345 1369 1763 1385 1029 1015 1487 1655 1137 1868 1446 1327 1113 1127 เลือกตั้ง 62: เช็คชี่อสื่อมวลชน ใครถูก “ทำโทษ” ไปแล้วบ้างในศึกเลือกตั้ง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เลือกตั้ง 62: เช็คชี่อสื่อมวลชน ใครถูก “ทำโทษ” ไปแล้วบ้างในศึกเลือกตั้ง



ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 8 ปีของไทย ช่วงโค้งสุดท้ายสื่อมวลชนต่างมุ่งนำเสนอข่าวมาที่เรื่องการเมือง เรียกได้ว่า เปิดทีวี กางหนังสือพิมพ์ หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ใดก็หนีไม่พ้นหัวข้อข่าวนโยบายทางการเมือง, การดีเบตระหว่างพรรคการเมืองและวิเคราะห์ข่าวทางการเมือง อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลอดเกือบห้าปีที่ผ่านมาสื่อมวลชนไม่ได้ทำงานอย่างอิสระ ยังคงผูกติดด้วยข้อจำกัดตามประกาศคสช.ที่ 97 และ 103/2557 , การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มข้น และข้อกำหนดภายในองค์กรสื่อ ซึ่งในช่วงเลือกตั้ง 2562 ข้อจำกัดเหล่านี้ยังคงอยู่และกลายเป็นอุปสรรคของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารต่อสาธารณชน ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง


ปิดวอยซ์ ทีวี หลังวิจารณ์การเลือกตั้งภายใต้คสช.


วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.) พิจารณาเนื้อหารายการ 5 เทปคือ รายการ Tonight Thailand 1 เทป คือเทปออกอากาศวันที่ 16 ธันวาคม 2561 และรายการ Wake up news 4 เทปคือ เทปออกอากาศวันที่ 21, 28 และ 29 มกราคม และ 4 กุมภาพันธ์ 2562 เห็นว่า เนื้อหาทำให้เกิดความสับสน และยั่วยุให้เกิดความแตกแยกตามประกาศคสช.ที่ 97 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ รวมทั้งยังกระทำความผิดซ้ำซาก สั่งระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ – 27 กุมภาพันธ์ 2562

 

1072 รายงานข่าวที่เป็นเหตุให้กสทช.ลงโทษวอยซ์ ทีวี ออกอากาศเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561


ทั้งนี้เนื้อหารายการที่กสทช.เห็นว่า สร้างความสับสนเช่น รายการ Wake up news วันที่ 21 มกราคม 2562 ผู้ดำเนินรายการมีการวิพากษ์วิจารณ์ให้ความเห็นในทำนองที่ว่า ผู้มีอำนาจไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง หน่วยงานของรัฐไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง มีการร่วมมือกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์ในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ประชาชนที่รับชมอาจเข้าใจได้ว่า พรรคพลังประชารัฐมีข้อได้เปรียบและการเลือกตั้งอาจไม่เสรีและเป็นธรรม


และรายการ Tonight Thailand วันที่ 16 ธันวาคม 2562 มีการปล่อยเสียงสัมภาษณ์ของสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย ซึ่งในเนื้อหามีเสียงสัมภาษณ์ สุดารัตน์กล่าวว่า มีทหารตำรวจติดตาม คาดหวังให้กตต.ทำงานอย่างอิสระ ปราศจากข้อมูลที่ผู้ดำเนินรายการกล่าวเพิ่มเติมว่า มีการใช้อำนาจรัฐไม่ให้ชาวบ้านเข้าร่วมพูดคุยกับตัวแทนพรรคเพื่อไทย ส่งผลให้ประชาชนเกิดความสับสนในการทำงานของทหารและตำรวจ


ต่อมา 14 กุมภาพันธ์ 2562 วอยซ์ ทีวี ยื่นฟ้องกสทช.ต่อศาลปกครองกลาง โดยขอให้เพิกถอนคำสั่งระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 15 วันของกสทช. ระหว่างการพิจารณาศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองให้วอยซ์ ทีวีสามารถออกอากาศได้ก่อน กระทั่งมีคำพิพากษาออกมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562  ระบุว่า การนำเสนอเนื้อหาของวอยซ์ ทีวี ถึงขนาดที่จะทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยก


และกรณีกสทช.กล่าวว่า การกระทำของวอยซ์ ทีวีเป็นการกระทำความผิดซ้ำซาก ปรากฏในหลักฐานเอกสารว่า รายละเอียดการเรียกวอยซ์ ทีวีเข้าชี้แจงในรายการดังกล่าว ไม่ได้มีประเด็นให้ชี้แจงเรื่องการกระทำความผิดซ้ำแต่อย่างใด เห็นว่า กสทช.ไม่ได้ประสงค์จะพิจารณาเรื่องการกระทำความผิดซ้ำ ไม่ให้โอกาสวอยซ์ ทีวีในการพิสูจน์ การอ้างว่า วอยซ์ ทีวีเสนอเนื้อหาสร้างความสับสนซ้ำซาก เป็นเหตุให้ระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 15 วันจึงมีน้ำหนักไม่เพียงพอ สั่งเพิกถอนมติที่ประชุมกสทช.ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562


ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี 2557 กสทช. ลงโทษสื่อการเมืองไม่น้อยกว่า 59 ครั้งเช่น เช่น วอยซ์ ทีวี, พีซ ทีวี, สปริงนิวส์ และทีนิวส์ มาตรการลงโทษเช่น ตักเตือนให้ปรับปรุงรายการ, ปรับเป็นเงิน และระงับการออกอากาศทั้งสถานี เฉพาะวอยซ์ ทีวีแล้ว กสทช. ลงโทษไม่น้อยกว่า 24 ครั้ง

 

งดขาย ดิ อีโคโนมิสต์ เนื้อหาแคนดิเดตนายกฯไทยรักษาชาติ


16 กุมภาพันธ์ 2562 ณัฏฐา มหัทธนา นักกิจกรรมทางการเมืองแจ้งทางทวิตเตอร์ว่า นิตยสารดิ อีโคโนมิสต์ ส่งอีเมล์แจ้งต่อสมาชิกว่า นิตยสารดิ อีโคโนมิสต์ ปก “The Rise of millennial socialism”  ฉบับตีพิมพ์วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 จะไม่วางขายเป็นรูปเล่มในประเทศไทย แต่สมาชิกสามารถเข้าไปอ่านบนเว็บไซต์ได้ปกติ เมื่อสืบค้นบนเว็บไซต์พบว่า มีเนื้อหาเรื่อง The military junta’s scheme for Thailand’s election is back on track  โดยสรุปว่า วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 พรรคไทยรักษาชาติยื่นชื่อของ “ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ” ในบัญชีนายกรัฐมนตรีของพรรค หลังจากนั้นรัชกาลที่ 10 จะทรงมีพระบรมราชโองการยืนยันสถานะสมาชิกราชวงศ์จักรีของ“ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ” ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ถอดถอนบัญชีนายกรัฐมนตรีของพรรคไทยรักษาชาติในเวลาต่อมา และมีการอ้างการวิเคราะห์ของผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ได้ระบุชื่อถึงความเป็นมาของการยื่นบัญชีนายกรัฐมนตรี


หลังจากวันดังกล่าวก็มีข่าวลือเกี่ยวกับการรัฐประหาร สถานการณ์เช่นนี้บรรดานักการเมืองและนักวิเคราะห์ ต่างไม่สามารถออกมาพูดถึงบัญชีนายกรัฐมนตรีของพรรคไทยรักษาชาติได้อย่างชัดเจน ซึ่งบทความอ้างว่า เป็นผลมาจากความหวาดกลัวในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และในเวลาเดียวกันนั้นรัฐยังได้โอกาสในการสั่งระงับการออกอากาศวอยซ์ ทีวีทั้งสถานีเป็นเวลา 15 วัน ซึ่งมีพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายของอดีตนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าของสถานี ต่อมากกต.ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า การที่พรรคไทยรักษาชาติยื่นชื่อของ “ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ” ในบัญชีนายกรัฐมนตรีถือเป็นการละเมิดพ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ ที่จะนำไปสู่การยุบพรรคหรือไม่ ซึ่งการยุบพรรคไทยรักษาชาติจะส่งผลกระทบต่อแผนการเลือกตั้งของทักษิณที่กระจายพรรคหลักออกไปเป็นพรรคย่อยเพื่อแก้เกมระบบการเลือกตั้งของคสช. [ในกรณีที่พรรคไทยรักษาชาติถูกยุบ] สัดส่วน ส.ส.ที่พรรคหลักและพรรคย่อยที่ถูกมองว่า อยู่ในเครือข่ายทักษิณนั้นจะน้อยลงไป ซึ่งทำให้เป็นเรื่องยากในการป้องกันไม่ให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรี กลับมานั่งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

 

1073 รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยในดิ อีโคโนมิสต์ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562


ด้านคสช.แต่งตั้ง ส.ว. จำนวน 250 คน และต้องการส.ส. เพิ่มอีก 126 คนเพื่อสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก หลายเดือนที่ผ่านมาพลเอกประยุทธ์ใช้นัดหมายราชการในการลงพื้นที่ทั่วประเทศ ขณะที่นักการเมืองพลเรือนถูกสกัดกั้นในการหาเสียงด้วยคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมทางการเมือง [ภายหลังถูกยกเลิกด้วยคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 22/2561 ในเดือนธันวาคม 2561] นอกจากนี้ยังมีพรรคพลังประชารัฐ พรรคการเมืองที่จัดตั้งเพื่อสนับสนุนคสช.ในการเลือกตั้งที่คาดว่าจะชนะที่นั่งจำนวนหนึ่ง


ก่อนหน้านี้ข่าวสดอิงลิชรายงานว่า ในเดือนกรกฎาคม 2559 ดิ อีโคโนมิสต์ ส่งอีเมล์ให้แก่สมาชิกว่า นิตยสารฉบับวันที่ 23 กรกฎาคม 2559 จะไม่วางขายเป็นรูปเล่มในประเทศไทย โดยไม่ได้ระบุถึงเหตุผลที่ชัดเจน แต่บนเว็บไซต์ปรากฏสองบทความที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์  นอกจากดิ อีโคโนมิสต์แล้วในเดือนเมษายน 2559 สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังออกคำสั่งห้ามนำเข้านิตยสารมารี แคลร์ ฉบับภาษาฝรั่งเศส  เดือนพฤศจิกายน  2558 ของฝรั่งเศส  เนื่องจากเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯหรือจะกระทบต่อความมั่นคง


ปลดพิธีกรรายการดีเบตเลือกตั้ง เหตุตั้งคำถามชี้นำให้โจมตีรัฐบาล


1 มีนาคม 2562 คณะกรรมการและผู้บริหารบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) มีคำสั่งให้อรวรรณ ชูดี ผู้จัดการส่วนสร้างสรรค์รายการข่าว สำนักข่าวไทย อสมท และผู้ดำเนินรายการ “ศึกเลือกตั้ง 62” ยุติบทบาททำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ “ศึกเลือกตั้ง 62” เหตุผลของคำสั่งคือ "มีการทำหน้าที่ในลักษณะชี้นำให้โจมตีรัฐบาล" อรวรรณโพสต์เฟซบุ๊กว่า สาเหตุอาจเป็นการถามความเห็นนักศึกษาจำนวน 100 คนที่มาร่วมฟังการดีเบตครั้งนี้ 4 คำถามและให้นักศึกษาออกเสียงคือ


๐ เห็นด้วยหรือไม่ที่ พลเอกประยุทธ์ ตัดสินใจไม่ร่วมดีเบต

๐ เห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐธรรมนูญ 2560 ในบทเฉพาะกาล 5 ปีแรกให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คนร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี

๐ เห็นด้วยหรือไม่ว่ายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จำเป็นสำหรับประเทศไทย

๐ เห็นด้วยหรือไม่ว่าประเทศไทยจะมีการปกครองแบบประชาธิปไตยเต็มใบหรือครึ่งใบก็ได้ ถ้าทำให้ปากท้องประชาชนดีขึ้น


นักศึกษาส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจาก 100 คน ล้วนแล้วแต่ไม่เห็นด้วยทั้งสิ้นในทั้ง 4 คำถามนี้ จึงอาจทำให้ผู้มีอำนาจรู้สึกไม่พอใจและถูกขย่มขวัญจากคนรุ่นใหม่และอาจเป็นที่มาของมติในครั้งนี้ ให้ปลดตนจากการทำหน้าที่ ซึ่งยอมรับมติแต่ไม่ยอมรับการตราหน้าว่า ทำหน้าที่ลำเอียง


ประเด็นดังกล่าวกลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในโลกออนไลน์ โดยส่วนใหญ่กล่าวชื่นชมรายการ “ศึกเลือกตั้ง 62” และตั้งคำถามถึงการปลดผู้ดำเนินรายการ ขณะที่ชาวเน็ตบางส่วนยังค้นหารายชื่อของบอร์ดบริหาร อสมท จนพบว่า มีทหารนั่งอยู่ในบอร์ดบริหาร อสมท และมีการเปรียบเทียบจำนวนทหารที่นั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจก่อนการรัฐประหารและหลังการรัฐประหาร นอกจากนี้บรรดาพรรคการเมืองต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของบอร์ด อสมท และให้กำลังใจอรวรรณ

 

ต่อมาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ อสมท มทบทวนมติดังกล่าว อย่างไรก็ตามวันที่ 3 มีนาคม 2562 เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ชี้แจงว่า ไม่เคยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ปลดผู้ดำเนินรายการและแทรกแซงสื่อตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด ผู้ดำเนินรายการทั้งสองยังคงดำเนินการจัดรายการได้ตามปกติใน อสมท ทั้งจัดรายการวิทยุ และรายการข่าวโทรทัศน์เช่นเดิม


ในรายละเอียดชี้แจงว่า อาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากการที่ทีมงานได้มีการประชุมหารือ ประเมินผล และวิเคราะห์การจัดรายการเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของรายการ ซึ่งในสองครั้งแรก การจัดรายการอาจมีบางจุดที่ไม่ค่อยไหลลื่น ซึ่งเป็นเรื่องปกติของพิธีกรรายการสด และเสนอว่า ในรายการดีเบตที่ต้องพูดถึงเรื่องสวัสดิการสังคมแห่งรัฐ ซึ่งเกี่ยวพันกับด้านเศรษฐกิจและการเงินการคลังของชาติ อาจจะให้พิธีกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านข่าวเศรษฐกิจมาสลับกับพิธีกรเดิมบ้าง เพื่อสร้างความหลากหลายของรายการให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ชม


การปลดหรือไม่ปลดบุคลากรสื่อที่รายงานหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปี 2561 ก่อนหน้านี้วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายข่าวสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี ลาออกจากตำแหน่งโดยไม่ได้ระบุเหตุผลที่ชัดเจนต่อสาธารณะ ท่ามกลางข่าวว่า ก่อนหน้านั้นคสช.ได้เชิญผู้บริหารระดับสูงของช่องไปพบ พร้อมให้ดูเอกสารซึ่งบันทึกจากหน้าเฟซบุ๊กของวันชัย ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหลายกรณีอย่างรุนแรง พร้อมกับสร้างเงื่อนไขบางอย่างกับผู้บริหารคนดังกล่าว



 

Article type: