1618 1260 1587 1948 1658 1386 1503 1809 1839 1143 1041 1006 1315 1735 1439 1936 1444 1953 1040 1871 1657 1698 1047 1547 1588 1650 1508 1569 1755 1805 1362 1250 1937 1837 1102 1676 1964 1919 1882 1897 1155 1097 1202 1485 1970 1150 1031 1137 1603 1946 1681 1464 1996 1655 1849 1345 1098 1666 1108 1257 1442 1410 1807 1441 1521 1115 1007 1847 1963 1879 1053 1814 1667 1452 1632 1855 1116 1547 1812 1333 1374 1535 1027 1384 1883 1800 1487 1087 1094 1931 1248 1800 1048 1287 1334 1193 1068 1090 1109 แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง คดี #RDN50 เตรียมฟังคำพิพากษาคดีมาตรา 116 ที่ศาลอาญาพรุ่งนี้ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง คดี #RDN50 เตรียมฟังคำพิพากษาคดีมาตรา 116 ที่ศาลอาญาพรุ่งนี้

 
 
 
20 กันยายน 2562 เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดหกแกนนำคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ถนนราชดำเนินฟังคำพิพากษาคดียุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 คดีนี้มีจำเลยหกคนคือ สิรวิชญ์, กาณฑ์, อานนท์, ณัฏฐา, สุกฤษฏ์และชลธิชา เหตุแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย จัดการชุมนุมที่ถนนราชดำเนินเพื่อเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งภายในปี 2561 โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่า "หยุดยื้อเลือกตั้ง หยุดสืบทอดอำนาจ" โดยในวันเกิดเหตุมีผู้เข้าร่วมการชุมนุมที่บริเวณร้านแมคโดนัลด์ ถนนราชดำเนินประมาณ 300 ถึง 500 คน
 
 
หลังเสร็จสิ้นชุมนุม เจ้าหน้าที่ออกหมายเรียกผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวม 49 คนมารับทราบข้อกล่าวหาในความผิดฐานชุมนุมทางการเมืองฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 รวม 49 คน ในจำนวนนั้นมีผู้ต้องหาเจ็ดคนที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นแกนนำและมีพฤติการณ์ปราศรัยปลุกระดมประชาชนได้แก่ รังสิมันต์, สิรวิชญ์, กาณฑ์, อานนท์, ณัฏฐา, สุกฤษฏ์และชลธิชา ทั้งหมดถูกตั้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เพิ่มเติมจากข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. คดีของทั้งเจ็ดถูกแยกมาฟ้องที่ศาลอาญาในขณะที่ผู้เข้าร่วมการชุมนุม 42 คนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เพียงข้อหาเดียวถูกฟ้องต่อศาลแขวงดุสิต ในเวลาต่อมารังสิมันต์หนึ่งในเจ็ดจำเลยคดีแกนนำถูกแยกออกไปฟ้องเป็นอีกสำนวนคดีหนึ่งเนื่องจากเขาได้รับการเลือกตั้งเป็นส.ส.และคดีนี้มีการพิจารณาระหว่างที่สภาอยู่ในสมัยประชุม
 
 
1178
 
ในการสืบพยาน โจทก์นำพยานเข้าสืบแปดปากคือ ผู้กล่าวหา, เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่ร่วมทำงานสังเกตการณ์ในวันการชุมนุมและพนักงานสอบสวน พยานโจทก์หลายปากให้การไปในแนวทางเดียวกันว่า การชุมนุมดังกล่าวเป็นไปโดยสงบ ขณะที่ตำรวจที่เป็นผู้ตั้งด่านตรวจตราประชาชนก่อนเข้าการชุมนุมก็เบิกความต่อศาลว่า เท่าที่ทำการตรวจสอบไม่พบว่ามีผู้ชุมนุมพกพาอาวุธเข้าไปในพื้นที่การชุมนุม นอกจากนั้นหลังการชุมนุมแกนนำและผู้ชุมนุมต่างแยกย้ายกันกลับบ้านด้วยความเรียบร้อยดี และไม่ปรากฏว่า มีผู้ใดออกมากระทำความผิดกฎหมายโดยมีมูลเหตุจากการปราศรัยที่เป็นเหตุแห่งคดีนี้ด้วย
 

ฝ่ายจำเลยนำพยานเข้าสืบรวมเจ็ดปากโดยมีจำเลยทั้งหกอ้างตัวเองเป็นพยาน และมีชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ มีข้อน่าสังเกตว่า ก่อนการสืบพยานจำเลยปากแรก อัยการได้นำส่งเอกสารเพิ่มเติมเป็นบทความของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่เขียนในลักษณะว่า ระบอบเผด็จการอาจเหมาะสมกับสังคมไทยมากกว่าระบอบประชาธิปไตย ฝ่ายจำเลยไม่คัดค้านการส่งเอกสารเพิ่มเติมของอัยการ โดยระหว่างการสืบพยานจำเลย อัยการนำบทความดังกล่าวมาถามค้านพยานจำเลยบางปากเพื่อนำสืบให้จำเลยรับว่า มีบทความแบบนี้อยู่จริง
 
อานนท์ ซึ่งเป็นทนายและเป็นจำเลยในคดีนี้เบิกความตอนหนึ่งต่อศาลว่า ขออย่ารับฟังบทความที่อัยการส่งเข้าสำนวนเพิ่ม เนื่องจากเอกสารดังกล่าวอยู่นอกสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่ความคิดเห็นของพนักงานสอบสวน และบทความดังกล่าวก็เป็นของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่ปฏิปักษ์อย่างชัดแจ้งต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ขณะที่อัยการโต้แย้งว่าไม่มีกฎหมายใดห้ามให้อัยการนำเอกสารนอกสำนวนยื่นต่อศาล
 
 
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
อ่านรายละเอียดคดีเพิ่มเติมที่นี่ : https://freedom.ilaw.or.th/case/826

 

Article type: