1746 1991 1325 1402 1770 1877 1154 1469 1299 1027 1353 1377 1670 1243 1115 1468 1254 1733 1182 1911 1800 1404 1214 1853 1510 1215 1258 1164 1508 1284 1625 1484 1211 1458 1351 1346 1155 1104 1623 1883 1837 1998 1692 1022 1569 1822 1059 1072 1523 1664 1900 1025 1760 1425 1085 1516 1406 1016 1674 1296 1346 1437 1424 1676 1041 1822 1348 1997 1977 1490 1729 1985 1518 1232 1040 1436 1647 1792 1383 1018 1806 1365 1688 1262 1782 1727 1757 1644 1713 1468 1404 1140 1778 1121 1399 1584 1982 1359 1310 Change.NCPO จิรวัฒน์ "ตั้ม" คดีความ โรคซึมเศร้า การตกผลึก และสภาวะตาสว่าง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Change.NCPO จิรวัฒน์ "ตั้ม" คดีความ โรคซึมเศร้า การตกผลึก และสภาวะตาสว่าง

ผมเป็นคนกรุงเทพโดยกำเนิด ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ตั้งแต่เด็กๆ คุณแม่ผมรับราชการส่วนคุณพ่อเปิดร้านซ่อมเครื่องไฟฟ้าเล็กๆ ถ้าจะให้นิยามชีวิตวัยเด็กก็คงต้องบอกว่าผมก็เป็นคนในครอบครัวคนชั้นกลางในเมืองทั่วไป
 
ผมเริ่มมีคำถามกับสถาบันทางสังคมอย่างสถาบันศาสนาตั้งแต่เด็กๆ ตอนที่เรียนอยู่ชั้นประถมมีครั้งหนึ่งที่ญาติผู้ใหญ่เสียชีวิต จำได้ว่าวันที่จะเผาศพผมมีสอบช่วงกลางวัน พอสอบเสร็จก็รีบกลับมาบวชหน้าไฟโดยไม่ได้กินข้าว พอบวชเณรเสร็จคุณแม่เอาข้าวมาให้ผมกิน พระรูปหนึ่งมาเห็นก็ตำหนิทำนองว่าผมทำผิดศีลและว่าถ้าไม่พร้อมก็ไม่ควรบวช ผมก็ยอมรับนะว่าตอนนั้นผมก็คงทำผิดพระวินัยจริงๆแต่เชื่อหรือไม่ว่าวันรุ่งขึ้น ผมเห็นพระรูปเดิมไปลุ้นหวยอยู่
 
ประสบการณ์ตรงครั้งนั้นทำให้เริ่มเกิดคำถามต่อโครงสร้างหรือสถาบันทางสังคมอย่างสถาบันศาสนาว่าที่เห็นและเป็นอยู่มันคืออะไร พอเริ่มเรียนชั้นมัธยมห้องสมุดมันก็ใหญ่กว่าตอนเรียนประถม ผมเริ่มศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนาอย่างจริงจัง เริ่มหาหนังสือของพระที่เป็นนักคิดนักเขียนอย่างพระพุทธทาสหรือพระปัญญานันทภิกขุมาอ่าน ผมก็เริ่มเห็นว่าศาสนามันก็มีความเทาๆอยู่ มีเรื่องแก่นมีเรื่องกระพี้ และบางครั้งผมก็รู้สึกว่าเรื่องที่คนเอามาต่อว่า เอามาประณามกันมันก็เป็นแค่กระพี้ไม่ใช่แก่นจริงๆของศาสนา
 
 
1213
 
ช่วงปี 2545 - 2549 ผมเรียนอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถึงแม้จะเรียนวิชาเกี่ยวกับการเมืองและช่วงนั้นก็มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรที่ขับไล่รัฐบาลของทักษิณ แต่ตอนนั้นผมเองก็ยังไม่ค่อยสนใจประเด็นการเมืองเท่าไหร่ ไปสนใจหาความรู้เรื่องปรัชญาและศาสนามากกว่า
 
ผมมาเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นโครงสร้างทางการเมืองครั้งแรกน่าจะเป็นช่วงอายุ 20 ปีเศษๆ จำได้ว่ามีอยู่วันหนึ่งผมคุยกับน้องชาย คุยกันเรื่องอะไรก็ไม่รู้แล้วน้องผมก็ถามขึ้นว่า โครงสร้างที่สังคมที่เป็นอยู่ทุกวันนี้มันควรจะเป็นแบบนี้จริงๆหรือ แล้วถ้าโครงสร้างบางอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปสังคมเราจะพังทลายลงไปเลยหรือ คำถามของน้องคำถามนั้นน่าจะกลายเป็นคำถามที่เปลี่ยนชีวิตผมไปเลย
 
คำถามของน้องทำให้ผมหวนกลับไปศึกษาเรื่องสังคมการเมืองอย่างหนักขึ้น ผมไปค้นตำราทั้งรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อมาหาคำตอบให้น้องชาย จริงๆแล้วคำถามของน้องชายผมบางคนอาจจะมองว่ามันการตั้งคำถามที่ไม่เข้าท่า หรือเป็นคำถามที่ไม่ควรถาม แต่ตัวผมเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับศาสนามาตั้งแต่ตอนเด็กๆแล้วตัวผมจึงค่อนข้างเปิดรับกับคำถามและคิดว่าอยากจะหาคำตอบ
 
ที่ผ่านมาผมก็อยู่แต่กรุงเทพ ถ้าเป็นแบบนี้ผมคงหาคำตอบให้น้องชายไม่ได้ เลยเริ่มมองหาลู่ทางที่จะออกไปดูโลก ไปดูว่าคนที่อยู่ที่อื่นๆของประเทศเขาอยู่กันอย่างไร สังคมของเขาเหมือนหรือต่างจากผมอย่างไร ผมเลยเลือกประกอบอาชีพตัวแทนขายเพราะผมจะมีโอกาสเดินทางไปต่างจังหวัด และก็มีรายได้มาเลี้ยงตัวเอง ผมมีโอกาสเดินทางไปหลายๆจังหวัดในภาคใต้ ภาคเหนือ รวมทั้งภาคกลาง น่าจะมีแต่ภาคอีสานที่ผมไม่มีโอกาสเดินทางไป  
 
ช่วงที่ผมเดินทางไปต่างจังหวัดบ่อยๆก็น่าจะประมาณ 10 ปีก่อน ผมได้เห็นภาพที่สะเทือนใจผมมาทุกวันนี้คือภาพเด็กตัวเล็กที่จังหวัดกาญจนบุรีไปโรงเรียนโดยเบียดเสียดกันไปบนรถสองแถวและมีบางคนต้องขึ้นไปอยู่บนหลังคารถ ผมได้แต่เฝ้าถามตัวเองจากวันนั้นว่าผมกับเขาอยู่ประเทศเดียวกันแต่ทำไมคุณภาพชีวิตเราถึงได้ต่างกันมากขนาดนั้นและก็ถามตัวเองต่อไปว่าในโครงสร้างของสังคมไทย อะไรคือสิ่งที่กดทับทำให้คุณภาพชีวิตของคนไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทหรือความเหลื่อมล้ำของคนรวยกับคนจนในเมือง
 
1214
 
ผมมาเริ่มติดตามการเมืองอย่างจริงจังน่าจะเป็นช่วงตั้งแต่การรัฐประหารปี 2557 แต่ช่วงหลังการรัฐประหารใหม่ๆผมก็ยังไม่ได้ทำกิจกรรมแบบจริงจังนะ ได้แต่ติดตามข่าวจากหน้าสื่อหรือเขียนวิจารณ์การเมืองบนเฟซบุ๊ก ตัวผมมาเริ่มทำกิจกรรมทางการเมืองด้วยตัวเองก็เมื่อครั้งที่มีนักกิจกรรมคนหนึ่งที่ชื่อธเนตร (นักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116) ถูกจับตัวไปจากโรงพยาบาล ครั้งนั้นผมรู้สึกไม่โอเคมากๆ สำหรับผมมันเป็นเรื่องที่แย่นะ ที่เจ้าหน้าที่จะมาเอาตัวคนที่ป่วยไปจากโรงพยาบาลเพียงเพราะเขาแสดงความเห็นต่่างจากรัฐ จำได้ว่าครั้งนั้นผมร่วมทำกิจกรรมและร่วมตามกับเพื่อนจนไปเจอว่าเขาถูกควบคุมตัวไปที่ไหน หลังเริ่มทำกิจกรรมครั้งนั้นผมก็ทำกิจกรรมชุมนุมบ้าง ไปฟังการเสวนาทางการเมืองบ้าง ตามแต่เงื่อนไขในอาชีพของผมจะเอื้ออำนวย
 
ผมมาถูกดำเนินคดีเองก็คือในวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 สิงหาคม 2559 วันนั้นผมนัดกับเพื่อนอีกสองคนที่สำนักงานเขตบางนาซึ่งเป็นที่ที่เพื่อนของผมสองคนจะไปใช้สิทธิ วันนั้นตั้งใจกันว่าเพื่อนใช้สิทธิเสร็จก็จะไปหาที่นั่งคุยเรื่องธุรกิจกับเรื่องเหตุบ้านการเมืองกัน  เพื่อนผมคนหนึ่งบอกผมว่าเขาตั้งใจจะไปทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ด้วยการเอาปากกาไปเขียนที่ชื่อของเขาตรงบอร์ดติดบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิทำนองว่า "เมื่อไม่มีสิทธิร่างก็จะไม่ขอร่วม"
 
เพื่อนผมขอผมว่าให้ช่วยถ่ายและโพสต์ภาพของเขาตอนทำกิจกรรมในเฟซบุ๊กของผมเพราะเฟซบุ๊กของผมมีผู้ติดตามเยอะ เพื่อนผมตั้งใจจะสื่อกับสังคมว่าร่างรัฐธรรมนูญมันมีปัญหา และคนที่รณรงค์ให้ข้อมูลต่างจากรัฐก็ถูกปิดปาก เขาหวังที่จะสื่อสารกับสังคมว่าหากร่างรัฐธรรมนูญผ่านและถูกประกาศใช้ก็จะมีปัญหาตามมาซึ่งตอนนี้เราก็เห็นกันอยู่ว่ามันมีปัญหา
 
ตอนแรกเพื่อนผมบอกว่าหลังจากเขียนกระดานแล้วเขาจะไม่เข้าไปใช้สิทธิแต่สุดท้ายเขาก็เปลี่ยนใจและบอกผมว่าเขาจะเข้าไปใช้สิทธิ ผมกับเพื่อนอีกคนเลยถ่ายคลิปวิดีโอตอนที่เพื่อนเข้าไปใช้สิทธิ ตอนนั้นผมก็บอกเจ้าหน้าที่นะว่าจะขอใช้ถ่ายรูปเพื่อนใช้สิทธิซึ่งเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยก็บอกผมว่าถ้ายืนถ่ายข้างนอกก็ทำได้ แต่อย่าถ่ายในหน่วยออกเสียงซึ่งผมก็ทำตาม พอเพื่อนผมเดินเข้าไปในหน่วยผมก็ถ่ายคลิปไปเรื่อยจนกระทั่งเพื่อนผมฉีกบัตรประชามติในหน่วย จากนั้นเขาก็ถูกควบคุมตัว
 
ตอนที่เกิดเหตุน่าจะเป็นช่วงเที่ยงๆ พอเพื่อนคนที่ฉีกบัตรถูกเจ้าหน้าที่คุมตัวผมกับเพื่อนอีกคนที่อยู่ด้านนอกก็เข้าไปร่ำลาเพื่อจะกลับบ้าน จากนั้นผมกับเพื่อนอีกคนก็เดินมาที่รถแต่ปรากฎว่ามีตำรวจนอกเครื่องแบบเดินตามถามคำถามพวกผม ตอนนั้นก็รู้แล้วว่าน่าจะมีปัญหาแน่ ผมกับเพื่อนของผมพยายามถามย้ำเจ้าหน้าที่ว่าเราสองคนทำอะไรผิด ถ้าทำอะไรก็ให้แจ้งข้อหามาเลย
 
ตำรวจคนนั้นก็ไม่ได้แจ้งข้อหาผม บอกแค่ว่า "กลับไม่ได้ นายอยากคุยด้วย" ผมกับเพื่อนอีกคนก็ตัดสินใจปฏิบัติตามและคิดกันว่าก็ดีจะได้ติดตามเพื่อนไปที่สถานีตำรวจด้วย จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ขอติดรถของผมไปที่สถานีตำรวจบางนาด้วย ผมไม่แน่ใจว่ามีเจ้าหน้าที่ขึ้นรถไปกี่คนแต่มากกว่าหนึ่งคนแน่นอน พอไปถึงสน.โทรศัพท์ของผมถูกยึดไปตรวจ ส่วนผมกับเพื่อนอีกคนที่นั่งรถไปด้วยกันก็ถูกเจ้าหน้าที่กักตัวไว้ในห้อง
 
เราสองคนถูกกักตัวกระทั่งช่วงเย็นก็มีตำรวจมาบอกว่าจะไม่ตั้งข้อหาแล้วให้กลับบ้านได้ แต่พอผมกับเพื่อนอีกคนเดินไปที่รถก็มีตำรวจมาตามบอกว่ากลับไม่ได้แล้ว ผมกับเพื่อนจะถูกตั้งข้อหาร่วมกับเพื่อนคนที่ฉีกบัตร ท้ายที่สุดผมกับเพื่ออีกสองคนก็ถูกตั้งข้อหาร่วมกันก่อความวุ่นวายในที่ออกเสียงประชามติ ส่วนเพื่อนที่เป็นคนฉีกบัตรก็โดนเรื่องฉีกบัตรเพิ่มเติม นับจากวินาทีนั้นชีวิตของผมก็ถึงจุดเปลี่ยนแบบที่ไม่มีทางกลับไปเป็นเหมือนเดิม
 
คดีของผมเป็นข่าวที่มีคนสนใจ ผมคิดว่าผู้หลักผู้ใหญ่ที่บริษัทหลายคนคงไม่สบายใจเรื่องที่ผมถูกดำเนินคดีที่เป็นคดีการเมือง หบัวถูกตั้งข้อหาได้ประมาณอาทิตย์เดียวผมก็ลาออกจากงานประจำเลยซึ่งงานนั้นผมมีรายได้ประมาณสองเกือบสามหมื่นบาท
 
หลังออกจากงาน ผมก็พยายามหาสมัครงานใหม่แต่กลายเป็นว่าแทบไม่มีบริษัทไหนยอมรับผมทำงาน บางที่ระหว่างสัมภาษณ์เขาถามว่าผมเป็นคนที่ถูกดำเนินคดีแล้วออกข่าวหรือเปล่า พอผมบอกว่าใช่ผมก็ไม่ถูกเรียกไปทำงาน บางที่ๆผมไปสมัครเค้าไม่ได้ถามผมเรื่องคดีแต่สุดท้ายเค้าก็ไม่เรียกผมไปทำงาน เป็นไปได้ว่าเค้าอาจไปได้ข้อมูลมาจากบางที่ สุดท้ายผมว่างงานไปหกเดือน ซึ่งเป็นเวลาที่ผมว่างงานนานที่สุดในชีวิต
 
หกเดือนที่ว่างงานเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก แน่นอนครอบครัวอาจช่วยผมเรื่องค่าใช้จ่ายแต่สภาพจิตใจผมก็เริ่มแย่ ผมคิดว่าตัวเองถูกมองว่าเป็นพวก "ตัวปัญหา" เป็นพวกหัวแข็งที่ไม่มีใครอยากรับเข้าทำงาน การเสียโอกาสในชีวิตทำให้ผมรู้สึกกดดัน
 
ผมเริ่มเบื่อสิ่งที่ผมรักคือการอ่านหนังสือโดยไม่มีเหตุผลทั้งที่ปกติผมเป็นคยรักการอ่านแล้วก็พาลไปรู้สึกเบื่อไม่อยากทำอะไร อยากหายไปจากสังคม แม้ผมจะโพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์การเมืองอยู่บ้างแต่ก็ไม่บ่อยเหมือนเดิมและบางทีผมก็รู้สึกเบื่อเฟซบุ๊ก ผมรู้ว่าน่าจะต้องมีอะไรผิดปกติกับตัวเอง ผมลองไปทำแบบทดสอบตามเว็บต่างๆ ซึ่งผลออกมาตรงกันว่าผมอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคซึมเศร้า
 
ในเดือนธันวาคมปี 2559 อัยการฟ้องคดีผมต่อศาล ตอนแรกพวกผมสามคนตั้งใจจะใช้ตำแหน่งของอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นหลักประกันเลยไม่ได้เตรียมเงินประกันมาเพราะเข้าใจว่าจะได้แต่สุดท้ายศาลไม่อนุญาต ผมกับเพื่อนเลยต้องไปนอนเรือนจำกันคืนนึง มองย้อนกลับไปหนึ่งคืนในเรือนจำมันก็เป็นประสบการณ์ชีวิตนแต่อีกมุมนึงผมรู้สึกแย่มากนะ
 
ผมได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำที่แย่ อาหาร ห้องน้ำมันไม่ถูกสุขลักษณะ สภาพความเป็นอยู่ก็แออัดและง่ายต่อการแพร่กระตายของเชื้อโรค คนที่อยู่ในนั้นไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรสิ่งหนึ่งที่เขายังเป็นคือเป็นคนที่ควรจะต้องอยู่อย่างมีศักดิศรีกว่าสภาพที่เป็นอยู่ในเรือนจำ นึกย้อนไปตัวผมเองต้องถือว่าโชคดีเพราะอยู่ในนั้นแค่คืนเดียว ไม่งั้นผมคงจะรู้สึกแย่กว่านี้
 
ในทางคดีไม่มีพยานหลักฐานข้อไหนเลยที่ชีว่าพวกผมก่อความวุ่นวายแม้แต่พยานโจทก์เองก็ยอมรับว่าวันเกิดเหตุไม่มีความวุ่นวาย คนไปใช้สิทธิก็ทำได้ตามปกติแม้แต่ตอนที่เพื่อนผมฉีกบัตรก็ยังมีคนใช้สิทธิตามปกติ สุดท้ายศาลชั้นต้นก็ยกฟ้องพวกผมซึ่งก็ไม่ผิดคาด ผมเคารพผลคำตัดสินที่ศาลยกฟ้องแต่ถ้าถามว่ามันคือความยุติธรรมหรือไม่ ผมไม่แน่ใจเพราะจากพยานหลักฐานมันไม่ควรเป็นคดีแต่แรกและการยกฟ้องก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตของผมที่พังไปแล้วกลับคืนมา
 
ช่วงปี 2560 ผมตัดสินใจไปพบหมอเพื่อเช็คเรื่องอาการซึมเศร้า หมอวินิจฉัยว่าผมเป็นโรคซึมเศร้าจริงๆ ผมทำตามคำแนะนำของหมอเพื่อรักษาตัวเอง ทั้งกินยา ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ แต่คำแนะนำหนึ่งที่ผมไม่เห็นด้วยกับหมอคือให้ยุติการแสดงความเห็นทางการเมือง คุณหมอให้เหตุผลทำนองว่าการเมืองเหมือนเป็นสิ่งปฏิกูล การที่ผมติดตามและไปเอามาลงเฟซบุ๊กมันก็เหมือนผมไปเอาของสกปรกมาขยี้ซ้ำจนมือเลอะ ซึ่งผมคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิตของผมทั้งทางตรงทางอ้อม ไม่ว่าผมจะสนใจมันหรือไม่ ผมจึงต้องสนใจความเป็นมาเป็นไปของการเมืองในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคม ข้อนี้จึงเป็นสิ่งที่ผมไม่อาจทำตามคำแนะนำของหมอได้
 
หลังตกงานได้หกเดือนผมก็ไปสมัครงานบริษัทแห่งหนึ่งย่านนครปฐม แต่การกลับไปทำงานในระบบไม่ได้ทำให้ชีวิตผมดีขึ้น สิ่งที่ผมตกตะกอนในชีวิตตั้งแต่การเริ่มตั้งคำถามถึงโครงสร้างของสังคม การถูกดำเนินคดี การตกงานและการเป็นโรคซึมเศร้ามันทำให้ผมมองสังคมการทำงานในระบบทั้งระบบราชการและเอกชนว่ามันมีความไม่เป็นธรรมและการเอารัดเอาเปรียบ ผมเห็นนายจ้างในบริษัทผมเอาเปรียบลูกจ้าง ผมเริ่มมองสิ่งที่คนทั่วไปมองว่าเป็น "ธรรมดาของโลก" ว่าเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ การเห็นคนในที่ทำงานถูกกดทับมันกระตุ้นผมให้อยู่ในสภาวะ "ดิ่ง" ของโรคซึมเศร้า
 
หลังผมกลับไปทำงานในระบบเป็นพนักงานบริษัทอีกครั้งผมเปลี่ยนงานสี่ครั้งในรอบสองปี จนกระทั่งเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา (2562) ผมก็ตัดสินใจออกจากงานอีกครั้งเพื่อไปประกอบอาขีพอิสระ ทึ่แม้รายได้จะไม่แน่นอนเหมือนงานประจำของผม แต่ชีวิตของผมก็เริ่มดีขึ้นโดยเฉพาะจิตใจ ที่สำคัญผมรู้สึกเป็นไทแก่ตัวได้ทำสิ่งที่ตัวเองรัก ได้พูดสิ่งที่ตัวเองคดิมากขึ้น ตัวอย่างแรกเลยคือบทสนทนานี้ (บทสัมภาษณ์นี้) ถ้าผมยังเป็นพนักงานบริษัทเหมือนเมื่อก่อนผมก็คงต้องตอบปฏิเสธไป
 
ผมคิดว่าชีวิตของผมมันคล้ายๆกับหนังเรื่อง The Matrix ภาคแรก สิ่งที่ผมพบเจอเมื่อครั้งบวชหน้าไฟ คำถามของน้องชาย การอ่านและการหาความรู้ด้วยตัวเองของผมไปจนถึงการถูกดำเนินคดีมันทำให้ผมตกผลึกเกี่ยวกับการกดทับเชิงโครงสร้างของสังคมได้ในระดับหนึ่ง ในระดับทีี่ผมไม่สามารถกลับไปอยู่แบบเดิมได้แล้ว ในอดีตก่อนที่ผมจะถูกดำเนินคดีผมก็พอรู้อยู่ว่าการทำงานในระบบไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัทมันต่างก็มีความไม่เป็นธรรมและการกดทับระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย นายจ้างกับลูกจ้าง สมัยนั้นผมก็ปลอบตัวเองว่าทำไปอย่างน้อยก็เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของตัวเอง แต่หลังจากผ่านเรื่องราวหลายอย่างที่เล่าไป
 
แต่ในครั้งหลังที่ผมเริ่มกลับมาทำงานในระบบผมกลับรู้สึกว่าตัวเองทนอยู่ในระบบไม่ได้แล้ว เหมือนพระเอกในหนัง The Matrix ที่พอกินยาจนรู้ว่าโลกที่เขาเรื่องว่าสวยหรูแท้ที่จริงเขาก็เป็นเพียงทาสของเครื่องจักรเขาก็เลือกที่จะสู้กับเครื่องจักรแล้วไม่หันกลับไปอีก ตัวผมเองก็รู้สึกแบบนั้น ผมรู้สึกว่าผมคงไม่สามารถกลับไป "อยู่เป็น" ในการทำงานตามระบบที่มีการกดทับได้อีกต่อไปแม้ว่าคนที่ถูกกดทับจริงๆแล้วก็อาจจะไม่ใช่ตัวผม
 
ในเวลาไล่เลี่ยกับที่ผมลาออกจากงานมาทำอาชีพอิสระ ผมเริ่มทำเพจล้อการเมืองชื่อคนกลมคนเหลี่ยม ชื่อนี้ก็ไม่ได้สื่อถึงใครเป็นพิเศษหรอก แค่ตัวการ์ตูนในเรื่องเป็นตัวกลมกับตัวเหลี่ยม จริงๆเรื่องการทำเพจมันอยู่ในใจผมมานานแล้ว แต่ด้วยหน้าที่การงานในตอนนั้น (ก่อนลาออกจากงาน) มันไม่เอื้อทั้งเวลาที่มีจำกัดและบริษัทหรือนายจ้างที่อาจไม่ค่อยชอบใจกับการทำกิจกรรมการเมืองซักเท่าไร แต่ตอนนี้ผมไม่ต้องกังวลเรื่องเหล่านั้นแล้ว
 
นอกจากผมจะใช้เพจ "คนกลมคนเหลี่ยม" เป็นช่องทางในการสื่อสารประเด็นทางการเมืองแล้วผมยังใช้มันเป็นเครื่องมือในการเยียวยาตัวเองด้วย เพราะผมชอบวาดการ์ตูน แต่ผมก็ไม่สามารถวาดมันได้ในช่วงที่ทำงานประจำ ผมเชื่อว่าคงไม่ใช่แค่ผมคนเดียวที่ต้องวางมือจากสิ่งที่ตัวเองรักไปทำสิ่งที่อาจจะไม่ได้มีความสุขกับมันเท่าไหร่เพื่อปากท้องและความอยู่รอด
 
เพจ "คนกลมคนเหลี่ยม" ของผมจะหยิบเรื่องที่เกิดในสังคมไทยโดยเฉพาะประเด็นร้อนทางการเมืองมาแซวแบบขำๆ การเขียนความคิดเห็นเป็นสเตตัสยาวๆบางทีมันอาจแรงไปหรือหนักไป แต่พอมาทำเป็นการ์ตูนมันก็อาจจะเบาลงและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ตอนนี้ในเพจผมก็ยังไม่ค่อยมีคนมาแสดงความเห็นต่างซักเท่าไหร่อาจเป็นเพราะเพิ่งเริ่มทำมันเลยยังไม่ดังมาก ถ้าเพจผมมีคนติดตามมากขึ้นก็คงถูกด่าเป็นธรรมดา แต่ผมก็โอเคนะเพราะเพจผมเปิดกว้างและเสรีอย่างแท้จริงไม่ได้ดีแต่ชื่อ
 
ได้เห็นภาพนี้อีกครั้ง (ภาพปิยรัฐ จำเลยคดีประชามติอีกคนหนึ่งกำลังฉีกบัตร) ก็แอบภูมิใจเล็กๆนะ เหตุการณ์ในวันประชามติเราไม่ได้มีการติดต่อให้สื่อมารอทำข่าว ผมเชื่อว่าภาพข่าว ไม่ต่ำกว่า 80% ที่เผยแพร่บนโลกออนไลน์มันก็คงมาจากโทรศัพท์ของผมนี่แหละ ถามว่ามาถึงวันนี้ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ผมจะไปถ่ายรูปเพื่อนจนถูกดำเนินคดีจนชีวิตพลิกผันแบบนี้ไหม ผมตอบได้เลยว่าถ้าย้อนกลับไปได้ผมก็อาจจะทำอะไรมากกว่าแค่ไปถ่ายรูป
 
ตอนเดือนสิงหาคมปี 2561 ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาคดีของผม ตัดสินว่า ผมมีความผิดฐานก่อความวุ่นวายในหน่วยออกเสียงประชามติ ตัวผมยอมรับการตัดสินของศาลนะ แต่ผมก็ไม่สามารถบอกได้ว่าผมเห็นด้วยเพราะพยานหลักฐานในคดีมันไม่มีตรงไหนเลยที่ชี้ได้ว่าผมกับเพื่อนไปก่อความวุ่นวายอะไรเพราะคนที่มาใช้สิทธิก็ทำได้โดยไม่ถูกขัดขวาง แต่พอฉุกคิดอีกทีผมก็ไม่แปลกใจ เพราะในเมื่อผมเลือกที่จะสู้กับระบบโครงสร้างที่มันกดทับ การถูกดำเนินคดีและถูกตัดสินว่ามีความผิดมันก็คงเป็นบทลงโทษสำหรับคนที่บังอาจแข็งขืนต่อระบบโครงสร้างอันไม่เป็นธรรมอย่างผม
 
---------------------------------------------------
 
จิรวัฒน์หรือ ตั้ม ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันก่อความวุ่นวายในหน่วยออกเสียงประชามติตามพ.ร.บ.ประชามติมาตรา 60 (9) จากกรณีที่เขาถ่ายคลิปวิดีโอขณะที่ปิยรัฐหรือโตโต้ เพื่อนของเขาฉีกบัตรลงคะแนนประชามติ พร้อมพูดว่า "เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ" ที่หน่วยออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัดที่สำนักงานเขตบางนาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และเผยแพร่คลิปดังกล่าวบนเฟซบุ๊กของเขาระยะเวลาหนึ่งก่อนจะถูกลบไป นอกจากตัวเขากับปิยรัฐที่เป็นคนฉีกบัตรแล้ว ในคดีนี้ทรงธรรมเพื่อนของเขาอีกคนหนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ก็ถูกดำเนินคดีไปด้วย
 
ในเดือนกันยายน 2560 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจิรวัฒน์และเพื่อนของเขาอีกสองคนในข้อหาร่วมกันก่อความวุ่นวายในหน่วยออกเสียงประชามติเพราะเห็นว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่ได้มีเหตุวุ่นวายใดๆเกิดขึ้นและการออกเสียงในหน่วยยังคงดำเนินไปตามปกติ
 
ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2561 ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นพิพากษาว่าจิรวัฒน์และจำเลยอีกสองคนคือปิยรัฐและทรงธรรมมีความผิดฐานก่อความวุ่นวายในหน่วยออกเสียงประชามติเพราะเห็นว่า
 
จำเลยทั้งสามมีลักษณะแบ่งงานหรือนัดแนะกันมาก่อนโดยให้ปิยรัฐเป็นคนฉีกบัตรส่วนจิรวัฒน์และทรงธรรมเป็นคนถ่ายคลิปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตโดยหวังจะให้เกิดความวุ่นวาย ขณะที่ปิยรัฐศาลก็เห็นว่าหากไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญก็สามารถลงคะแนนไม่เห็นชอบได้แต่ปิยรัฐกลับเลือกใช้วิธีฉีกบัตรซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายจึงไม่ใช่การใช้สิทธิโดยชอบ ขณะนี้คดีของจิรวัฒน์กับเพื่อนยังอยู่ในการพิจารณาของศาลฎีกา
 
---------------------------------------------------
 
ในช่วงเวลากึ่งทศวรรษของการปกครองโดย คสช. เป็นเวลาที่นานพอจะให้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง เช่น เห็นอดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารผู้เคยปฏิเสธว่า ตัวเอง "ไม่ใช่นักการเมือง" กลายเป็นนักการเมืองแบบเต็มขั้น เห็นระบบการเมืองที่หวนคืนไปสู่ระบบการเมืองแบบวันวาน เช่น การมี ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง 100% หรือเห็นรัฐธรรมนูญที่ย้อนกลับไปกำหนดให้นายกไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นต้น
 
ขณะเดียวกันระยะเวลาที่เนิ่นนานในยุค คสช. ก็นานพอที่จะเปลี่ยนชีวิตของคนตัวเล็กตัวน้อยที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านการรัฐประหารหรือการปกครองโดย คสช. จนมีคดีการเมืองติดตัวเป็นของขวัญ ผลงานชุด Change.NCPO จึงคัดเลือกภาพและเสียงของนักเคลื่อนไหวบางส่วนที่ถูกดำเนินคดีการเมืองเป็นครั้งแรกในช่วงปี 2557 - 2559 ซึ่งถือเป็นครึ่งแรกของการบริหารประเทศโดย คสช. มาบอกเล่าไว้ ณ ที่นี้

 

Article type: