1904 1089 1227 1441 1816 1969 1264 1807 1611 1163 1775 1472 1497 1767 1971 1010 1578 1718 1499 1042 1123 1747 1300 1986 1453 2000 1779 1279 1438 1939 1708 1282 1048 1090 1158 1864 1144 1670 1163 1355 1805 1845 1827 1858 1170 1674 1745 1163 1956 1342 1386 1394 1816 1975 1720 1596 1685 1107 1565 1777 1761 1613 1407 1299 1030 1475 1847 1947 1934 1641 1250 1177 1677 1446 1249 1977 1674 1515 1367 1443 1456 1813 1788 1965 1680 1375 1842 1865 1836 1760 1533 1094 1327 1288 1424 1090 1650 1182 1663 มหากาพย์คดีเหมืองทองคำพิจิตร-สมลักษณ์ นักเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อม เจ้าของห้าคดีหมิ่นประมาทฯ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

มหากาพย์คดีเหมืองทองคำพิจิตร-สมลักษณ์ นักเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อม เจ้าของห้าคดีหมิ่นประมาทฯ

 
สมลักษณ์ หุตานุวัตร เป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นกรรมการเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นอดีตพยานผู้เชี่ยวชาญกรณีเหมืองทองพิจิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ปัญหาข้อขัดแย้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสุขภาพ โดยสมลักษณ์มีบทบาทอย่างมากในการเคลื่อนไหวคัดค้านการดำเนินการของเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตร ที่ผู้รับประทานบัตรคือ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) จนนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีหมิ่นประมาทและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในปี 2559 รวมสี่คดีด้วยกัน
 
 
บริษัท อัคราฯ เจ้าของเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดพิจิตร ฟ้องสมลักษณ์ร่วมกับธัญญารัศมิ์ ชาวบ้านจากจังหวัดพิจิตร ที่อยู่อาศัยในพื้นที่การทำเหมืองแร่และแกนนำเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำเหมืองแร่ทองคำพิจิตรและเพชรบูรณ์ว่า กระทำความผิดตามมาตรา 14(1) และ (5) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จากการโพสต์เฟซบุ๊กกล่าวหาว่า บริษัท อัคราฯ ไม่จ่ายภาษีให้แก่ประเทศไทยรวม 11 ข้อความ
 
ในปี 2560 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้อง เช่นเดียวกับตามศาลชั้นต้น โดยศาลระบุว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำไปโดยสุจริต และเป็นการตำหนิเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองเพื่อให้รักษาประโยชน์ของชาติ อันมีความชอบธรรมที่จะกระทำได้ เพื่อป้องกันส่วนได้ส่วนเสียของประเทศชาติ อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น และศาลไม่อนุญาตให้ยื่นฎีกาต่อ คดีถึงที่สุดแล้ว
 
 
บริษัท อัคราฯ เจ้าของเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดพิจิตร ฟ้องสมลักษณ์ร่วมกับสมิทธิ์ ตุงคะสมิต อาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิตว่า กระทำความผิดตามมาตรา 14(1) และ (5) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จากการโพสต์เฟซบุ๊กเผยแพร่ผลตรวจสุขภาพของประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตร ซึ่งยังไม่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคณะกรรมการอยู่ด้วย
 
ในปี 2561 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษายกฟ้อง ระบุว่า ข้อมูลที่สมลักษณ์โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวเป็นข้อเท็จจริงที่สมลักษณ์ได้จากรายงานทางการแพทย์และเพียงต้องการเปิดเผยข้อเท็จจริงที่ได้รับมา ถือไม่ได้ว่า มีเจตนาใส่ความให้โจทก์น่าจะเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง และข้อมูลที่สมลักษณ์โพสต์ไม่ใช่ความเท็จ ดังนั้นจึงไม่ใช่ความผิดฐานนำเข้าข้อมูลเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14(1) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เมื่อไม่ใช้ข้อมูลเท็จ การแชร์โพสต์ดังกล่าวของสมิทธิ์จึงไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 14(5) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ด้วยเช่นกัน คู่ความไม่อุทธรณ์ตามระยะเวลาที่กำหนด คดีถึงที่สุดแล้ว
 
 
บริษัท อัคราฯ เจ้าของเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดพิจิตร ฟ้องสมลักษณ์ว่า กระทำความผิดตามมาตรา 14(1),14(2) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และมาตรา 101 วรรคหนึ่งและสองของของพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ จากการโพสข้อความพาดพิงบริษัท อัคราฯ ประกอบรูปภาพทำนองว่า “อันตรายมากที่เร่งทำอย่างกอบโกย คันเขื่อนบ่อไซยาไนด์ ขนาด 1,400 ไร่ ไม่มีแกนเขื่อนเปราะบางมาก อันตรายมาก ห่างวัด ห่างโรงเรียนแค่ 400-500 เมตร”
 
ปี 2560 ศาลจังหวัดพิจิตรพิพากษาว่า สมลักษณ์มีความผิดฐานนำเข้าข้อมูลเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ฯ และหมิ่นประมาท ลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด คือ มาตรา 14(2) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โทษจำคุกหนึ่งปี ปรับ 80,000 บาท แต่ให้รอลงอาญาโทษจำคุกไว้เป็นเวลาสองปี โดยศาลกำหนดเงื่อนไขการคุมประพฤติ ไม่ให้สมลักษณ์โพสต์ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ที่อาจนำไปสู่การกระทำความผิดในลักษณะเดียวกันภายในระยะหนึ่งปี คดีนี้อยู่ในชั้นฎีกา
 
 
บริษัท อัคราฯ เจ้าของเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดพิจิตร ฟ้องสมลักษณ์ว่า กระทำความผิดตามมาตรา 14(1) และของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จากการแชร์ข่าวเรื่อง การแถลงข่าวของโจทก์ที่เตรียมดำเนินการยื่นขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการของบริษัท อัคราฯ ประกอบข้อความว่า “ความเลวร้ายของทุนสามานย์ คือ “ความไร้สำนึกชาติ ศาสน์ กษัตริย์”
 
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ต่อมาในปี 2561 ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นว่า สมลักษณ์มีความผิด ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด จำคุกสองเดือนและปรับ 20,000 บาท จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้สองปี และให้จำเลยลงโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อในหนังสือพิมพ์รายวันไทยรัฐเป็นเวลาสามวัน ติดต่อกันโดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาข้อหา คดีนี้อยู่ในชั้นฎีกา
 
ล่าสุดเดือนพฤศจิกายน 2562 สมลักษณ์ถูกบริษัท 99 ธุวานนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ขอสัมปทานเหมืองถ่านหินในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ฟ้องในคดีหมิ่นประมาทจากการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับเหมืองแร่ดังกล่าวบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งนับเป็นคดีที่ห้าของเธอ โดยคดีนี้ยังอยู่ในชั้นสอบสวนของตำรวจ

 

Article type: