1324 1000 1772 1823 1175 1300 1615 1582 1069 1853 1634 1181 1372 1943 1745 1102 1573 1516 1188 1926 1736 1272 1962 1681 1666 1096 1071 1898 1281 1723 1634 1095 1928 1551 1950 1480 1703 1035 1606 1695 1249 1572 1069 1764 1309 1377 1312 1149 1083 1355 1176 1718 1588 1542 1470 1465 1027 1039 1505 1448 1290 1757 1297 1842 1606 1413 1032 1661 1885 1813 1440 1073 1313 1565 1916 1633 1838 1808 1295 1516 1846 1684 1060 1497 1549 1299 1587 1457 1484 1720 1034 1606 1742 1008 1062 1940 1453 1786 1969 หนังสือ ‘ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า’ กับปฏิบัติการ ‘ปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ’ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

หนังสือ ‘ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า’ กับปฏิบัติการ ‘ปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ’

ในภาพรวมต้องถือว่าการชุมนุม #19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563 ผ่านไปด้วยดี ไม่มีเหตุรุนแรงใดๆ ดังที่หลายฝ่ายกังวล แต่หากดูในรายละเอียดจะพบกรณีเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจจำกัดเสรีภาพของประชาชนอยู่บ้าง หนึ่งในเหตุการณ์ที่น่าสนใจคือ การยึดหนังสือ ‘ปรากฎการณ์สะท้านฟ้า 10 สิงหา ข้อเรียกร้องว่าด้วยสถาบันกษัตริย์’ ไม่ต่ำกว่า 40,000 เล่ม

นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าเมื่อมีประชาชนบางส่วนนำไฟล์หนังสือเล่มนี้ไปแชร์ก็ถูกเจ้าหน้าที่ติดตามคุกคาม แถมการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามวันที่ 4 ตุลาคม หนังสือเล่มนี้ก็ถูกเจ้าหน้าที่ยึดไปอีก 2 เล่ม ขณะที่กรุงเทพฯ มีการจัดงาน 44 ปี 6 ตุลา ผู้อภิปราย 3 คนที่คำปราศรัยของพวกเขาถูกถอดความมาอยู่ในหนังสือ และมีกำหนดขึ้นพูดในงาน 6 ตุลาก็ถูกแบนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เจ้าของพื้นที่
 
เล่มแรกถอดคำปราศรัย 'แฮรี พ็อตเตอร์' แจกฉลุย
 
หนังสือเล่มนี้นับเป็น ‘เล่มที่ 2’ ก่อนหน้านี้คำปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์เคยถูกนำมาทำเป็นหนังสือแจกเล่มหนึ่งแล้ว โดยกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยถอดเทปคำปราศรัยของอานนท์ นำภา จากการชุมนุม ‘เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย’ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 มาจัดพิมพ์เป็นเล่มเล็กๆ (วันดังกล่าวอานนท์แต่งกายคล้ายแฮรี พ็อตเตอร์มาพร้อมไม้กายสิทธิ์) พร้อมทั้งเติมบทความ 4 ประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคำปราศรัยซึ่งเผยแพร่บนเฟซบุ๊กของ iLaw ก่อนหน้านี้มาเป็นภาคผนวกของหนังสือ 

1505
โดยวันที่ 9 สิงหาคม 2563 เฟซบุ๊กเพจ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เผยแพร่ภาพปกหนังสือ ‘สถาบันพระกษัตริย์กับสังคมไทย’ พร้อมข้อความประกอบว่า การชุมนุม 10 สิงหาที่ มธ.รังสิต จะมีการแจกหนังสือเล่มนี้ให้ผู้มาชุมนุม 1,000 เล่ม  
 
เมื่อถึงวันชุมนุม หนังสือ 1,000 เล่มถูกแจกจ่ายในพื้นที่การชุมนุมอย่างเปิดเผยตั้งแต่บริเวณทางเข้าพื้นที่ ไม่มีรายงานว่ามีการยึดหนังสือในวันนั้น และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีรายงานว่ามีการยึดหนังสือเล่มนี้แต่อย่างใด แม้ว่าต่อมาในวันที่ 19 สิงหาคม อานนท์ นำภา จะถูกนำตัวไปรับทราบข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 จากการปราศรัยซึ่งเป็นเนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้ก็ตาม
 
สาระสำคัญตอนหนึ่งในหนังสือระบุว่า เหตุที่มีการชุมนุมเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีคนต้องการตั้งคำถามกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และที่ผ่านมาในการชุมนุมก็มีการกล่าวถึงบุคคลที่ตีความได้ว่าหมายถึงพระมหากษัตริย์ แต่การพูดในลักษณะดังกล่าวจะไม่มีน้ำหนักหากไม่มีการหยิบยกประเด็นนี้มาพูดอย่างตรงไปตรงมาตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
 
ชุมนุมใหญ่รอบสอง จัดใหญ่ 100,000 เล่ม ถูกยึดไปเกือบครึ่ง
 
19 กันยายน 2563 แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมประกาศจัดการชุมนุมใหญ่ครั้งที่ 2 โดยข้ามมาจัดที่มธ.ท่าพระจันทร์ ก่อนหน้านั้นในวันที่ 1 กันยายน 2563 อานนท์ นำภา โพสต์ภาพปกหนังสือ ‘ปรากฎการณ์สะท้านฟ้า 10 สิงหา ข้อเรียกร้องว่าด้วยสถาบันกษัตริย์’ พร้อมข้อความว่า 
 
"วัดใจ พิมพ์ 100,000 เล่ม แจกวันที่ 19 กันยายน ที่ธรรมศาสตร์ คำปราศรัยของ 4 ผู้ปราศรัยว่าด้วยการขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ไม่พิมพ์เพิ่ม !!!" 
 
วันที่ 18 กันยายน 2563 หรือ 1 วันก่อนวันนัดชุมนุม อานนท์โพสต์ข้อความอีกครั้งว่า
 
"ออกจากโรงพิมพ์เรียบร้อย 50,000 เล่ม สำหรับ 50,000 คนแรกของพรุ่งนี้ 19 กันยายน ที่ธรรมศาสตร์ เข้าใจว่าจะขายเล่มละ 10 บาท เพื่อนำไปพิมพ์ล็อตต่อไปสำหรับเผยแพร่ทั่วประเทศ"
 
หนังสือ ‘ปรากฎการณ์สะท้านฟ้า 10 สิงหา ข้อเรียกร้องว่าด้วยสถาบันกษัตริย์’ เป็นการถอดความการปราศรัยแบบคำต่อคำของผู้ปราศรัย 4 คนที่ขึ้นเวที 10 สิงหาคม ได้แก่ อานนท์, รุ้ง ปนัสยา, ไมค์ ภาณุพงศ์ และเพนกวิ้น พริษฐ์ (คำปราศรัยของพริษฐ์มาจากเวทีของกลุ่มขอนแก่นพอกันที 25 สิงหาคม 2563) และมีการนำประกาศของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ฉบับที่ 1 ซึ่งมีข้อเรียกร้อง 10 ข้อ เพื่อการปฏิรูปสถาบันฯ มาตีพิมพ์เป็นภาคผนวก
 
จากนั้นวันที่ 19 กันยายน 2563 เวลาประมาณ 10.00 น. ก่อนถึงเวลานัดหมายการชุมนุม มีรายงานว่าตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบนำกำลังไปที่บ้านพักแห่งหนึ่งย่านรังสิตซึ่งเป็นบ้านของหนึ่งในนักกิจกรรมเพื่อทำการตรวจยึดหนังสือ โดยตำรวจไม่ได้แสดงหมายหรือเอกสารใดในการตรวจค้น เพียงอ้างว่าเนื้อหาในหนังสือมีลักษณะเป็นการล้มล้างการปกครองและไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าเนื้อหาส่วนใด และเป็นความผิดตามกฎหมายใด ท้ายที่สุดหนังสือกว่า 40,000 เล่มก็ถูกยึดไปโดยที่จนถึงบัดนี้ (5 ตุลาคม 2563) ยังไม่มีการระบุความผิดหรือข้อกล่าวหาอันเป็นเหตุแห่งการยึดที่แน่ชัด 
 
ด้านเพจ ประชาชนปลดแอกหรือ Free People ที่แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของเอกสารได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กในวันที่ 19 กันยายน 2563 ในเวลา 15.16 น. ว่า  
 
“นี่มันยุคไหนแล้วคะคุณพรี่!!
พบกับหนังสือปกแดง “ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า ๑๐ สิงหา ๑๐ ข้อเรียกร้องว่าด้วยสถาบันกษัตริย์” ที่ตั้งใจจะแจก 50,000 คนแรกใน #19กันยาทวงอํานาจคืนราษฎร (แต่ดันถูกยึดไปเสียก่อน...) ในรูปแบบไฟล์ PDF พร้อมให้ดาวน์โหลดแล้วตอนนี้”
 
ทั้งนี้ ปรากฏว่าต่อมามีหนังสือบางส่วนที่ไม่โดนยึดถูกนำมาแจกจ่ายในพื้นที่การชุมนุมและพื้นที่อื่นๆ เช่นในการชุมนุมที่มหาสารคามเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม หรือ 16 วันหลังการยึดหนังสือ มีการนำหนังสือปรากฏการณ์สะท้านฟ้าไปแจกในพื้นที่การชุมนุมด้วย โดยเพจแนวร่วมนิสิต มมส.เพื่อประชาธิปไตยโพสต์ข้อความในเช้าวันนั้นว่า  
 
"เล่มไหนกันนะ ! แล้วพบกันที่ เวทีต้านเผด็จการ #อีสานลั่นกลองรบ
เวลา 16.00 ณ เป็นต้นไป
ณ สนามฟ้า มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"
 
ภาพประกอบข้อความข้างต้นเป็นกราฟฟิกเขียนข้อความ "เตรียมพบกับหนังสือที่ทุกคนต้องมี ชุดเดียวกันกับที่พี่ตำรวจขอไปอ่านให้นายฟัง แจกฟรีในงาน มีจำนวนจำกัด"
 
หลังโพสต์ข้อความได้ไม่นาน ในช่วงใกล้เที่ยงเฟซบุ๊กแนวร่วมนิสิตมมส.เพื่อประชาธิปไตยก็โพสต์ข้อความพร้อมภาพชาย 3 คน คนกลางถือหนังสือ ‘ปรากฏการณ์สะท้านฟ้าฯ’ ปกสีแดง 1 เล่มพร้อมข้อความว่า
 
"เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนสอบสวน ตรวจยึดหนังสือเล่มแดง และ หนังสือรวมบทกวีประชาชนปลดแอก แต่ทางเราเตรียมแจกผ่าน ลิงก์ Download ครับ"  
 
1507
 
เจ้าหน้าที่ตรวจยึดหนังสือ "ปรากฎการณ์สะท้านฟ้าฯ" ในพื้นที่การชุมนุม ภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคามก่อนถึงเวลาเริ่มชุมนุม (ภาพของเฟซบุ๊กแนวร่วมนิสิตมมส เพื่อประชาธิปไตย)
 
จากการสอบถามนิสิตมมส.ที่ไปร่วมชุมนุม เธอระบุว่าหนังสือถูกยึดไปเพียง 2 เล่มเพราะเจ้าหน้าที่บังเอิญเห็นแล้วขอยึดไปโดยอ้างเหตุว่าหนังสือดังกล่าวเป็น "ภัยต่อความมั่นคง"  และหลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการตรวจค้นโดยละเอียดแต่อย่างใด ในตอนท้ายของการชุมนุม ผู้ปราศรัยบนเวทีนำหนังสือบางส่วนมาถือเป็นอุปกรณ์ประกอบระหว่างอ่านแถลงการณ์และยังมีการนำหนังสือมาเดินแจกด้วย การกระทำทั้งหมดเป็นไปโดยเปิดเผยและคาดว่าจะอยู่ภายใต้การจับตาของเจ้าหน้าที่แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการยึดหนังสือเพิ่มเติม 
 
จะขอปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ?
 
นอกจากการยึดหนังสือปรากฏการณ์สะท้านฟ้าฯ มากกว่า 40,000 เล่มที่กรุงเทพฯ และอีก 2 เล่มที่มหาสารคามแล้ว ความพยายามในการสกัดกั้นเนื้อหาที่มีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ยังมีวิธีการอื่นด้วย เช่น
 
Ø วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เวลา 22.46 น. ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Tewarit Bus Maneechai ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวประชาไทโพสต์ลิงก์การปราศรัยของอานนท์ นำภา ในเวทีธรรมศาสตร์จะไม่ทนซึ่งเผยแพร่ในช่องยูทูปของประชาไท พร้อมสอบถามผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่นว่าสามารถเข้าถึงลิงค์ดังกล่าวได้หรือไม่ ปรากฏว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทยตอบว่าเข้าถึงไม่ได้ แต่คนที่อยู่ต่างประเทศเข้าถึงได้ ขณะที่ข้อความบนวิดีโอก็ระบุว่า 
 
1506

ภาพบันทึกหน้าจอ หน้ายูทูปเผยแพร่คำปราศรัย อานนท์ นำภา ที่เข้าถึงไม่ได้ บันทึกเมื่อ 6 ตุลาคม 2563
 
Video unavailable
This content is not available on this country domain due to a legal complaint from the government.
 
แปลโดยสรุปได้ว่า วิดีโอไม่สามารถใช้งานได้  เนื้อหานี้ไม่สามารถใช้งานในโดเมนของประเทศนี้ได้เพราะถุกรัฐบาลร้องเรียนด้วยข้อกฎหมาย
 
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่าลิงก์วิดีโอการปราศรัยอื่นๆ อาทิ การปราศรัยของ รุ้ง  ปนัสยา จากเวทีวันที่ 19 กันยายนที่เผยแพร่บนช่องยูทูบของกลุ่มดาวดิน ยังสามารถเข้าถึงได้หรือคลิปปราศรัยของอานนท์ในวันที่ 3 สิงหาคม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เขาปราศรัยวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ในที่ชุมนุมก็ยังคงเข้าถึงได้ในยูทูป
 
Ø วันที่ 3 ตุลาคม 2563 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งสัญญาณมายังคณะจัดงานกรรมการจัดงานครบรอบ 44 ปี 6 ตุลา19 ว่าขอให้ถอดทนายอานนท์ รุ้ง ปนัสยา และ เพนกวิ้น พริษฐ์ ออกจากการเป็นผู้ร่วมเสวนา ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบทบาทของทั้งสามในฐานะผู้เปิดประเด็นปัญหาสถาบันฯ และพูดถึงการปฏิรูปสถาบันฯ อย่างต่อเนื่อง มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารธรรมศาสตร์
Article type: