1812 1095 1663 1730 1672 1954 1572 1698 1802 1034 1173 1391 1998 1589 1950 1119 1836 1613 1815 1039 1232 1930 1604 1289 1602 1401 1929 1895 1299 1769 1723 1009 1103 1056 1966 1404 1089 1001 1962 1099 1614 1339 1292 1470 1717 1841 1125 1998 1472 1146 1150 1635 1884 1934 1927 1410 1533 1084 1983 1418 1792 1138 1108 1146 1189 1018 1843 1579 1289 1573 1545 1758 1732 1904 1396 1414 1579 1105 1688 1267 1545 1216 1939 1114 1307 1444 1670 1930 1044 1115 1154 1629 1081 1421 1987 1647 1975 1920 1659 การไต่ระดับความโกรธและการเผชิญหน้าของผู้ชุมนุมราษฎรและรัฐ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

การไต่ระดับความโกรธและการเผชิญหน้าของผู้ชุมนุมราษฎรและรัฐ

 
การชุมนุมปี 2564 เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบหลังจากวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เมื่อแกนนำราษฎร 4 คน ประกอบด้วยอานนท์ นำภา, พริษฐ์ ชิวารักษ์, สมยศ พฤกษาเกษมสุข และปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีมาตรา 112 จากการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร แม้ในช่วงตั้งแต่ปลายปี 2563 ถึงต้นปี 2564 การชุมนุมจะลดลง แต่ในทางตรงข้ามรัฐยังคงเดินหน้าดำเนินคดีมาตรา 112 ต่อผู้ใช้เสรีภาพการแสดงออกอยู่เรื่อยๆ ทั้งยังมีวิธีการจับกุมแบบนอกกฎหมายและไม่ตรงไปตรงมา เช่น การจับกุมสิริชัย แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ในคดีมาตรา 112 โดยไม่ให้ติดต่อผู้ไว้ใจและทนายความ หรือการออกหมายจับผิดคน
 
 
ราษฎรเริ่มต้นด้วยเป็นฝ่ายตั้งรับจากทั้งคดีความและการต้องรวบรวมผู้ชุมนุมหลังจากห่างหายไปเกือบสองเดือน ขณะที่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 กลายเป็นเดือนที่มีการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจจนจนนำไปสู่การปะทะกันเพิ่มมากขึ้น คือ เมื่อวันที่ 10, 13 และ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ความโกรธล้วนมีที่มาที่ไป เสียงที่ปรากฏในแต่ละครั้งคือ ความโกรธที่แม้พวกเขาจะชุมนุมมาเกือบปีแล้ว แต่ไม่สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ประจักษ์ชัด ทั้งการไม่ปล่อยตัวนักกิจกรรม 4 คนเป็นตัวเร่งเร้าให้ผู้ชุมนุมบางส่วนที่เลือกที่จะปะทะกับตำรวจมากยิ่งขึ้น 
 
1679
 
 
การปะทะกันในระยะหลังมีแนวโน้มที่ตำรวจจะมีน้ำอดน้ำทนต่อการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมน้อยลง พวกเขาใช้ทั้งวิธีการตามกฎหมายและนอกกฎหมาย เห็นได้จากการชุมนุมวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 ระหว่างการเผชิญหน้ากับแนวตำรวจที่หน้าศาลฎีกา ผู้ชุมนุมมีการขว้างปาสิ่งของใส่เข้าไปที่แนวตำรวจ หลังจากนั้นแกนนำได้ประกาศให้หยุดและมีทีมงานคอยเดินห้ามปราม หลังประกาศยุติการชุมนุม ผู้ชุมนุมคงค้างบริเวณสนามหลวงขว้างปาสิ่งของ เช่น วัตถุติดไฟและก้อนหิน เข้าไปในแนวตำรวจ ตัวแทนประกาศให้หยุดและขอกลับบ้านไม่น้อยกว่า 3 ครั้งแต่ไม่ได้ผล ตำรวจประกาศว่า วันนี้จะไม่สลายการชุมนุม จนกระทั่งเวลา 20.55 น. ตำรวจประกาศให้เวลา 30 นาทีจะเข้าจับกุม จากนั้น 15 นาทีถัดมาเริ่มต้นการจับกุม มีรายงานการทำร้ายร่างกายทีมแพทย์อาสา
 
 
หรือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ราบ 1 ผู้เปิดฉากความรุนแรงคือ ตำรวจ จากนั้นเมื่อฝ่ายผู้ชุมนุมบางส่วนตั้งตัวได้ก็เริ่มที่จะสะท้อนกลับความรุนแรงใส่ตำรวจด้วยการขว้างปาก้อนหินและสิ่งของที่พอจะหาได้ใส่ตำรวจ แต่ท้ายสุดตำรวจก็สามารถยึดคืนพื้นที่ราบ 1 ได้ 
 
 
ในสถานการณ์เช่นนี้ เราได้พยายามรวบรวมที่มาที่ไปแห่งความโกรธและการตอบโต้ที่เกิดขึ้นในการชุมนุม
 
 
 

+++มกราคม : สลายการชุมนุม ปะทะคารมตำรวจประปราย+++

 
 
ต้นปี 2564 การชุมนุมขนาดเล็กของกลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทานที่หน้าทำเนียบรัฐบาลถูกเจ้าหน้าที่จับกุมหลังมีการเจรจาและปล่อยให้ปักหลักอยู่ข้ามปีเป็นอันยุติการชุมนุมไปโดยสภาพ การกระทำเช่นนี้สะท้อนแนวโน้มของรัฐที่จะไม่ยินยอมให้เกิดการรวมตัวของประชาชน ขณะที่ประชาชนหันไปแสดงออกด้วยการแขวนป้ายหรือการพ่นสีตามสถานที่ต่างๆ นำไปสู่การจับกุม มีข้อหาหนักเบาตั้งแต่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไปจนถึงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ 
 
 
วันที่ 13 มกราคม 2563 ตำรวจ สภ.คลองหลวง จับกุมตัวสิริชัย นาถึง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ตามหมายจับคดีมาตรา 112 จากการพ่นสีที่ป้ายมหาวิทยาลัยและบริเวณพระบรมฉายาลักษณ์ โดยหลังการจับกุมตำรวจไม่ให้ติดต่อบุคคลที่ไว้ใจและทนายความ ทำให้เพื่อนๆ จากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ต่างตามหากัน ตำรวจพาสิริชัยไปที่ สภ.คลองหลวง, กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 และหอพัก ท้ายที่สุดเพื่อนๆ พบตัวบนรถตำรวจที่หน้าหอพัก รวมแล้วเป็นระยะเวลากว่า 3 ชั่วโมงที่สิริชัยหายไป นำไปสู่การชุมนุมที่หน้า สภ.คลองหลวง การแสดงออกซึ่งความโกรธของการจับกุมโดยไม่ออกหมายเรียกและพาตัวไปโดยไม่ให้เข้าถึงผู้ไว้วางใจและทนายความ นำไปสู่การชุมนุมที่แสดงออกด้วยการเขียนป้ายข้อความ พ่นสีและเทอาหารสุนัข
 
1682
 
ต่อมาวันที่ 15 มกราคม 2564 ชยพล ดโนทัย แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ อีกคนหนึ่งที่ปรากฏชื่อว่าถูกหมายจับในคดีเดียวกับสิริชัย ทั้งที่ในวันเกิดเหตุเขาอยู่บ้านที่ต่างจังหวัด ดังนั้นเข้าแสดงตัวกับพนักงานสอบสวน สภ.คลองหลวงเพื่อชี้แจงเรื่องดังกล่าว ความรู้สึกไม่เป็นธรรมถูกแสดงผ่านแพะ 2 ตัวที่ห่มผ้าแดงขนาดประมาณธงมีข้อความ 112 ทับอยู่ซึ่งมีนัยสื่อถึงการยกเลิกมาตรา 112 ที่ถูกนำมาใช้กล่าวหาเพื่อปราบปรามผู้ชุมนุมในปี 2563 จากนั้นมีการนำผ้าแดงดังกล่าวขึ้นแทนธงชาติที่ สภ.คลองหลวง นำไปสู่คำกล่าวของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ที่ระบุว่า “หากจำเป็นต้องใช้กำลังหรือบังคับใช้กฎหมายก็ต้องทำ อย่าลังเล”
 
 
1683
 
 
1684
 
 
การสลายการชุมนุมเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2564 ในการชุมนุมรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 ของการ์ดปลดแอกที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยให้ประชาชนร่วมกันเขียนข้อความลงป้ายผ้า จากนั้นตำรวจเข้ามาในพื้นที่ประกาศให้เลิกการชุมนุม พร้อมใช้กำลังเข้าจับกุมผู้ชุมุนม 2 คนในเวลาใกล้เคียงกัน การชุมนุมจบลงและมาเริ่มต้นใหม่ที่ สน.พญาไทและสามย่านเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวเพื่อนของเขา ทั้งนี้วันดังกล่าวมีเหตุระเบิดที่หน้าจามจุรีสแควร์เป็นเหตุให้ทั้งประชาชน ผู้สื่อข่าว และตำรวจได้รับบาดเจ็บ ต่อมาตำรวจจับกุมตัวสมาชิกภาคีเพื่อประชาชนและกล่าวหาว่า ขว้างระเบิด ทั้งยังระบุว่า ระเบิดดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกับที่พบในการชุมนุมเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งจนถึงวันนี้ยังไม่ทราบความคืบหน้าการสืบสวนของกรณีเดือนธันวาคม 2563
 
 
 
หลังจากวันดังกล่าวมีการจัดชุมนุมไม่มากแต่มีการปะทะคารมระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจยังเกิดขึ้นอยู่เนื่องๆ ดังนี้
 
 
๐ 22 มกราคม 2564 ที่ สน.พญาไท ระหว่าง ศศลักษณ์ เยาวชนวัย 17 ปี พร้อมบรรดาผู้ติดตามไปให้กำลังใจ ธัชพงศ์ แกดำ นักกิจกรรมที่ถูกคุมตัวจากการติดป้าย #Saveบางกลอย แต่ตำรวจไม่ให้เขา สน. จึงมีการโต้เถียงกับเยาวชนรายดังกล่าวกับ พ.ต.อ.อรรถวิทย์ สายสืบ รองผบก.น.1 จนนำไปสู่การสั่งจับกุมศศลักษณ์ หลังจากนั้นเกิดการยื้อยุดของมวลชนและมีคนล้มลงจนหัวฟาดพื้นและได้รับบาดเจ็บไม่น้อยกว่า 2 คน 
 
 
ต่อมาผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์ แต่ตำรวจวางเงื่อนไขว่า หากผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์จะไม่เอาผิดศศลักษณ์ที่มีเหตุโต้คารมกับตำรวจและจะชดใช้ค่ารักษาพยาบาลให้ ด้วยเงื่อนไขและพยานหลักฐานที่ไม่มากพอ ทำให้ผู้เสียหายยินยอมตามเงื่อนไขของตำรวจ
 
 
๐ 24 มกราคม 2564 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตำรวจพยายามเข้าคุมตัวนักกิจกรรมรายหนึ่งที่พยายามจะติดสติกเกอร์มาตรา 112 เขาระบุว่า ตำรวจพยายามถูกล็อคคอ ระหว่างนั้นมีการผลักดันกันจนกระทั่งเขาร้องบอกว่าจะเป็นลม หลังจากนั้นตำรวจกล่าวขอโทษและระบุว่า อาจจะเป็นยุทธวิธี และสั่งปรับกรณีติดสติ๊กเกอร์เป็นเงิน 2,000 บาท
 
 
นอกจากนี้ยังพบว่า วันที่ 29 มกราคม 2564 มีการเผชิญหน้าระหว่างทีมภาคีเพื่อประชาชนและกลุ่มปกป้องสถาบันฯ อีกหนึ่งครั้งที่บริเวณสนามหลวง
 
 
หมายเหตุ : ปัจจุบันทวิตเตอร์ภาคีเพื่อประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้แล้ว
 

 

+++กุมภาพันธ์ : ปล่อยเพื่อนเรา สันติวิธีและม็อบไร้แกนนำ+++

 
เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นเดือนที่มีการเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจบ่อยครั้งขึ้น โดยมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น อาจด้วยจำนวนการชุมนุมที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ชุมนุมใช้วิธีการที่ถกเถียงกันว่า การกระทำเช่นนี้ข้ามเส้นแห่งสันติแล้วหรือไม่และขบวนการยังคงไปต่อได้หรือไม่ ทั้งยังเต็มไปด้วยการถกเถียงแนวทางการต่อสู้ในอนาคตที่เข้มข้นขึ้น
 
 

#1 สลายการชุมนุม ปล่อยเพื่อนเราและการเผชิญหน้า

 
 
1685
 
 
1 กุมภาพันธ์ 2564  กลุ่ม We Volunteer นำโดยปิยรัฐ จงเทพ หรือโตโต้ นัดชุมนุมที่หน้าสถานทูตเมียนมา มีการรวมตัวกันทั้งชาวไทยและเมียนมา หลังการอ่านแถลงการณ์เสร็จสิ้น ยังมีผู้เข้าร่วมอยู่เรื่อยๆ ปิยรัฐจึงตัดสินใจทิ้งเครื่องเสียงและทีมงานดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ชุมนุมที่ตามมาเรื่อยๆพฤติการณ์ของการชุมนุมคงเป็นการใช้เสียงและกีดขวางทางจราจรบางส่วนเท่านั้น ตำรวจมีการประกาศเตือนข้อกฎหมายไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ทั้งนี้ในกรณีที่สร้างความเดือดร้อนจนเกินสมควร โดยหากตำรวจต้องการให้ยุติการชุมนุมแนวปฏิบัติที่เคยเป็นมาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ คือ จะต้องไปขออำนาจศาลสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุม แต่ไม่ปรากฏขั้นตอนดังกล่าว 
 
1686
 
 
สุดท้ายตำรวจตัดสินใจสลายการชุมนุม โดยตั้งแถวเดินหน้าเข้าหาผู้ชุมนุมจากบริเวณถนนปั้น ผู้ชุมนุมอย่างทีม We Volunteer ระบุว่า มีการใช้ประทัดหรือพลุควันสีในการชะลอการเดินหน้าของตำรวจ ขณะที่ผู้ชุมนุมบางส่วนก็นำสิ่งของที่คาดว่า มาจากบริเวณก่อสร้างรถไฟฟ้า เช่น กรวยยาง ก้อนหิน แผงเหล็ก ปาเข้าใส่ตำรวจ นอกจากนี้ยังมีการใช้เหล็กขนาดยาวทิ่มไปที่โล่ตำรวจ  ตำรวจเดินหน้าต่อมีการจับกุมผู้ชุมนุมในที่เกิดเหตุไม่น้อยกว่า 3 คน  ในระหว่างการสลายการชุมนุมมีทั้งประชาชนและตำรวจได้รับบาดเจ็บ
 
 
เหตุการณ์ดังกล่าวผู้ชุมนุมมองว่า การกระทำของตำรวจเกินกว่าเหตุ  ขณะที่ตำรวจนายหนึ่งถามว่า การใช้ก้อนหินปาเข้าใส่ตำรวจเกินไปหรือไม่เพราะตำรวจก็มาทำงานเช่นกัน สำหรับการสลายการชุมนุมที่มุ่งหมายชะลอแนวให้มวลชนออกจากพื้นที่ครั้งนี้ไม่เป็นระบบระเบียบนัก โดยหลังจากที่ตำรวจยุติการเดินหน้าไล่มวลชนและตั้งแถวกั้นพื้นที่ยังมีผู้ชุมนุมยังอยู่ในพื้นที่เพื่อรอให้รถเสบียงออกมา และบางส่วนไปที่ สน.ยานนาวาเพื่อติดตามผู้ที่ถูกจับกุม
 
 
การเผชิญหน้าเกิดขึ้นอีกครั้งและเริ่มมีความถี่มากขึ้น เริ่มจากวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ราษฎรประกาศรวมตัวกันที่สกายวอล์คปทุมวันเพื่อเรียกร้องให้ #ปล่อยเพื่อนเรา หลังศาลฝากขังระหว่างรอการพิจารณาของ 4 นักกิจกรรมอย่างอานนท์ นำภา, พริษฐ์ ชิวารักษ์, สมยศ พฤกษาเกษมสุข และปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ตำรวจ สน.ปทุมวัน ประกาศข้อกฎหมายเรื่องห้ามการรวมตัว มวลชนพุ่งเข้าไปและมีการขว้างปาสิ่งของเพื่อผลักดันตำรวจให้ออกนอกพื้นที่ เมื่อตำรวจถอยเข้าไปในห้องมาบุญครองแล้ว อารมณ์มวลชนยังคุกรุ่นส่วนหนึ่งพยายามจะติดตามเข้าไปในห้าง แต่มีทีมงานขวางและขอให้ รปภ.ปิดประตูชั่วคราว ขณะที่แกนนำราษฎรอย่างปนัสยาก็กล่าวย้ำให้มวลชนกลับเข้าที่ตั้งไม่ปะทะกับตำรวจ
 
 
วันถัดมาราษฎรนัดรวมตัวกันทำกิจกรรม #รวมพลคนไม่มีจะกิน ที่สกายวอล์คปทุมวัน ซึ่งเป็นนัดหมายเดิมก่อนการคุมตัวนักกิจกรรมทั้ง 4 คน ก่อนเริ่มกิจกรรมพบว่า มีการจับกุมตัวผู้ที่พ่นสีข้อความว่า " "No Ju...." บนป้ายโฆษณาของบีทีเอสบนสกายวอล์ค ปทุมวัน แต่ยังพ่นไม่ทันเสร็จตำรวจได้คุมตัวไปที่สน.ปทุมวัน และการจับกุมตัวบุคคลอีกไม่น้อยกว่า 7 คนตามด่านก่อนเข้าพื้นที่การชุมนุม นำไปสู่การเดินขบวนไปที่ สน.ปทุมวันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวบุคคลทั้ง 8 คน เมื่อไปถึง สน.ปทุมวัน มีการ์ดที่คอยดูแลความปลอดภัยสั่งการให้ลูกทีมคอยดูความเรียบร้อย 
 
 
สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นเมื่อเกิดการปะทะในเวลา 20.15 น. ที่บริเวณสวนหลวงสแควร์ที่ตั้งอยู่ห่างจาก สน.ปทุมวัน ราว 500 เมตร ผู้ชุมนุมทั้งหน้า สน.ปทุมวันและสวนหลวงสแควร์มีอาการระคายเคืองตาและทางเดินหายใจ  ต่อมาเวลา 20.29 น. แกนนำประกาศให้มวลชนกลับมาที่หน้า สน.ปทุมวัน แต่ยังมีมวลชนจำนวนหนึ่งอยู่ที่แนวปะทะ แม้สถานการณ์สงบลงแล้ว พบเห็นผู้ชุมนุมอย่างน้อย 1 คนที่เดินเข้าหาแนวตำรวจ เพื่อนๆ ห้ามปรามและพาตัวออกมา หลังจากนั้นสถานการณ์เริ่มชุลมุนขึ้นเมื่อชาวบ้านที่สวนหลวงสแควร์ที่ได้รับผลกระทบจากแก๊สน้ำตาและเชื่อว่าตำรวจเป็นผู้กระทำ และเริ่มออกมาต่อว่าตำรวจร่วมกับผู้ชุมนุม
 
1687
 
ต่อมาศศลักษณ์ เยาวชนวัย 17 ปีที่ถูกจับกุมได้รับการปล่อยตัวเป็นคนสุดท้ายจาก สน.ปทุมวัน เข้าเจรจากับตำรวจว่า ขอให้ตำรวจไปขอโทษชาวบ้าน เมื่อไปถึงบ้านของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบตำรวจปฏิเสธที่จะขอโทษและเดินกลับเข้าแนวของตนเอง เมื่อชาวบ้านตามเข้าไปถามตำรวจปฏิเสธความเป็นเจ้าของแก๊สน้ำตา สร้างความโกรธให้แก่ทั้งชาวบ้านและผู้ชุมนุม 
 

 

#2  ความโกรธ สันติวิธีและม็อบไร้แกนนำ

 
 
13 กุมภาพันธ์ 2564 อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ราษฎรนัดรวมตัวก่อนจะเคลื่อนขบวนไปที่ศาลหลักเมือง เมื่อไปถึงที่หมายมวลชนขว้างปาสิ่งของ เช่น วัตถุที่มีประกายไฟ บ้างเกิดเสียงดังคล้ายระเบิดบ้างไม่มีเสียง รวมถึงปาขวดน้ำเข้าไปที่แนวของตำรวจ จากนั้นแกนนำประกาศให้หยุด มีทีมงาน We Volunteer คอยควบคุมให้หยุด หลังเลิกการชุมนุมยังมีมวลชนคงค้างประมาณ 100 คน ไม่ยินยอมที่จะกลับบ้าน โดยกล่าวว่า การจัดม็อบในลักษณะมาแล้วเลิกแบบนี้เสียเวลา บางคนบอกว่า พวกเขาต้องเสียค่ารถหลายร้อยมาที่การชุมนุม รวมๆ ปีที่แล้วก็เป็นหลักหมื่นแล้ว
 
 
แม้แกนนำจะประกาศให้เลิกการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง แต่มวลชนกลุ่มดังกล่าวไม่ยินยอม ขว้างปาสิ่งของเข้าไปในแนวตำรวจต่อเนื่อง ทั้งยังกล่าวปฏิเสธว่า แกนนำไม่ใช่บุคคลที่มาสั่งเขาได้ การชุมนุมเป็นลักษณะทุกคนคือแกนนำไม่ใช่หรือ ต่อมาตำรวจตัดสินใจสลายการชุมนุมและจับกุมผู้ชุมุนมไปไม่น้อยกว่า 11 คน มีการทำร้ายร่างกายแพทย์อาสาแม้จะใส่เสื้อกั๊กสะท้อนแสงก็ตาม หลังจากสถานการณ์เริ่มสงบมีรายงานการยิงการ์ดอาสา ต่อมามีการไปรวมตัวกันที่หน้า สน.นางเลิ้ง ตำรวจได้ใช้ปืนพกยิงขึ้นฟ้าหลายนัดเพื่อให้ผู้ชุมนุมล่าถอยออกจากพื้นที่ ทำให้ผู้ชุมนุมเรียกร้องให้ตำรวจขอโทษ
 
 
หลังเกิดเหตุดังกล่าวได้มีการชี้แจงจากแกนนำอย่างปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ว่า ขบวนการยืนยันที่จะใช้สันติวิธีในการเคลื่อนไหว หลังจากนี้อาจพิจารณาเรื่องทีมสันติวิธี ด้านทีมงาน We Volunteer ก็มีการยืนยันการใช้สันติวิธีเช่นกัน
 
 
สถานการณ์การปะทะเริ่มดีขึ้นในการชุมนุมครั้งต่อๆ มา โดยการชุมนุมที่หน้ารัฐสภาระหว่างวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2564 ของ Mobfest และแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม แม้จะมีเจ้าหน้าควบคุมฝูงชนจำนวนมากและรถฉีดน้ำแรงดันสูงตั้งแนว แต่ทั้งสองฝ่ายต่างเว้นระยะและเปิดพื้นที่ให้แสดงออก และต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ราษฎรจัดม็อบ #ตั๋วช้าง สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรตำรวจ รวมทั้งการโอนย้ายข้าราชการตำรวจไปเป็นข้าราชการในสังกัดอื่นและการเลื่อนขั้นอย่างรวดเร็วอันเป็นผลจากการยกเว้นหลักเกณฑ์ของ พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ สุขวิมลและพล.ต.จิรภพ ภูริเดช
 
1681
 
 
ต่อมาวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 REDEM ที่ริเริ่มโดยเยาวชนปลดแอกได้นัดรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเดินขบวนไปที่ราบ 1 ตำรวจได้วางแนวคอนเทนเนอร์และลวดหนามหีบเพลงกั้นเป็นแนวยาวที่ด้านหน้าราบ 1 เมื่อผู้ชุมุนมเดินขบวนมาถึงเวลา 17.40 น. จึงเริ่มตัดลวดหนามหีบเพลงและเลื่อนตู้คอนเทนเนอร์ พฤติการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นในการชุมนุมวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ที่หน้าราบ 11 เช่นกัน ต่อมาเวลา 18.02 น. ตำรวจตั้งแถวเดินมาจากสโมสรทหารบกและเริ่มต้นสลายการชุมนุมในเวลา 18.13 น. มีการจับกุมพร้อมทั้งทำร้ายร่างกายผู้ชุมนุม เช่น การผลักและการกระทืบ ผู้ชุมนุมที่อยู่หน้าแนวตำรวจไม่ได้รับมืออย่างเป็นระบบระเบียบนัก มีการปาสิ่งของเช่น สีและขวดน้ำใส่ตำรวจ
 
 
นอกจากนี้ยังมีผู้ชุมนุมบางรายนำไม้ออกมาจากกระเป๋ายาวประมาณ 60 เซนติเมตรปาเข้าใส่ตำรวจจากการตรวจสอบภาพและปากคำจากผู้อยู่ในเหตุการณ์พบว่า ผู้ชุมนุมและตำรวจมีการขว้างก้อนหินใส่กัน ขณะที่เวลา 18.39 น. เริ่มมีผู้ได้รับผลกระทบจากแก๊สน้ำตา และไม่นานนักเวลา 18.52 น. พบปลอกกระสุนยาง ต่อมาเวลาประมาณ 21.00 น. ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมเข้มข้นขึ้นด้วยการฉีดน้ำและยิงกระสุนยางในระดับศีรษะไปทางผู้ชุมนุม ระหว่างการจับกุมมีการทำร้ายร่างกายผู้ชุมนุม ทั้งยังมีการลากผู้ชุมนุมออกไปจากเต๊นท์พยาบาลที่อยู่ภายในปั๊มเชลล์ 
 
1680
 
 
การปะทะบานปลายไปถึงหน้า สน.ดินแดง มีการขว้างปาสิ่งของกันที่หน้า สน. และเผารถตำรวจ ขณะที่ตำรวจเองก็ใส่กระสุนยางยิงในระดับศีรษะเข้าใส่ผู้ชุมนุม ล่วงไปถึงเวลาประมาณ 01.00 น. การปะทะจึงจะจบ
 
 
 
 

ตัวอย่างการตอบโต้อย่างสันติวิธีของมวลชนในปี 2564 โดยนับจากฐานที่มีบริบทสร้างความโกรธหรือความขัดแย้งระหว่างผู้ชุมนุมและฝ่ายรัฐ



วันที่

เหตุ/บริบทแวดล้อม

การโต้กลับ

การดำเนินคดี

14 มกราคม 2564

การจับกุมสิริชัย (สภ.คลองหลวง)

จัดชุมนุม, โปรยอาหารสุนัข, จุดธูปและวางน้ำแดง, ร้องเพลงธรณีกันแสง

ดำเนินคดีทั้งหมด

14 มกราคม 2564

การจับกุมสิริชัย (ศาลธัญบุรี)

นั่งเฉยๆกลางแดดหน้าศาลธัญบุรี

/

15 มกราคม 2564

การออกหมายจับผิดตัวของชยพล

จูงแพะ, ขึ้นธงแดง 112,ป้ายไวนิลตื่นเถิดตำรวจกล้าปวงประชาจะคุ้มภัย

ดำเนินคดีเรื่องป้ายไวนิล

25 มกราคม 2564

การยกเลิกความผิดฐานทำแท้ง

วางหรีดไว้อาลัยและแสดงสีดาลุยไฟ

/

13 กุมภาพันธ์ 2564

การปิดพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

การรื้อต้นไม้ที่ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ดำเนินคดี

15 กุมภาพันธ์ 2564

การผลักดันชาวบางกลอยออกจากใจแผ่นดิน

การเผากระท่อมไม้ไผ่

/

16 กุมภาพันธ์ 2564 

การดำเนินคดีย้อนหลังของ 37 ผู้ชุมนุมท่าแพ

Performance Art และการเขียนข้อความ

/

19 กุมภาพันธ์ 2564

การชุมนุมอภิปรายไม่ไว้วางใจ

อภิปรายคู่ขนาน/วางพวงหรีดหน้าภาพรัฐมนตรี

/

20 กุมภาพันธ์ 2564

การชุมนุมอภิปรายไม่ไว้วางใจ

การเขียนข้อความลงบนฟิวเจอร์บอร์ด/ชอล์คสีเขียนลงบนถนน

/

23 กุมภาพันธ์ 2564

ม็อบตั๋วช้าง

เปลี่ยนชื่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นสำนักงานตั๋วช้าง / การเขียนข้อความลงบนโพสต์อิท

/

27 กุมภาพันธ์ 2564

การเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 

การเผาพระบรมฉายาลักษณ์

ดำเนินคดี

28 กุมภาพันธ์ 2564

การสลายการชุมนุม REDEM

การนอนขวางบนพื้นถนน

/

6 มีนาคม 2564

การชุมนุม REDEM หลังการจับกุมแอมมี่

การเผาพระบรมฉายาลักษณ์

/

9 มีนาคม 2564

การฝากขังระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติมของไผ่, ไมค์, รุ้งและโตโต้

การจุดเทียน/การผูกโบสีขาวและสีดำ/การเขียนข้อความแสดงออก/ 

ตำรวจแจ้งว่า เข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล

10 มีนาคม 2564

การฝากขังระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติมของไผ่, ไมค์, รุ้งและโตโต้

การจุดเทียนและการเผาประมวลวิธีพิจารณาความอาญา

/

 
 

+++2563 : การชุมนุมขยายตัว ขนสารพัดสันติวิธีโต้ตำรวจ+++

 
 
การชุมนุมของเยาวชนปลดแอกในเดือนกรกฎาคม 2563 นับเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่นการชุมนุมที่เปลี่ยนโฉมสายพานอำนาจระหว่างรัฐบาล คสช.2 และประชาชนไปโดยสิ้นเชิง เริ่มต้นด้วยข้อเรียกร้องสามัญอย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยุบสภาและหยุดคุกคามประชาชน ในการชุมนุมครั้งนั้นเราได้เห็นความต้องการในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ฯ ของมวลชนผ่านป้ายข้อความและการปราศรัยของตัวแทนบางคน ต่อมาวันที่ สิงหาคม 2563 อานนท์ นำภา เปิดเพดานการปฏิรูปสถาบันฯ ในเวทีการชุมนุมสาธารณะ จากนั้นเขาถูกจับกุมในอีกวันให้หลังโดยพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 การจับกุมและปฏิเสธให้ประกันตัวของศาลตามมาด้วยการชุมนุมอย่างทันทีทันใด นี่คือการตอบโต้ที่เห็นถึงมวลความเกรี้ยวกราดที่ประชาชนแสดงต่อรัฐ 
 
 
ไม่กี่วันถัดมาอานนท์ได้รับการปล่อยตัวและเพดานการกล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ก็ถูกดันขึ้นสูงอีกครั้งในการชุมนุมของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 หลังจากนั้นแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ อย่างพริษฐ์ ชิวารักษ์และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ถูกคุกคามถึงที่พักบริเวณใกล้มหาวิทยาลัย การจับกุมและการคุกคามนักศึกษาก่อร่างสร้างความโกรธอีกครั้ง ตัวละครสำคัญ คือ 'องค์กรตำรวจ' ต่อมาวันที่ 14 สิงหาคม 2563 ก่อนหน้าการชุมนุมของคณะประชาชนปลดแอกเพียงสองวันพริษฐ์ถูกจับกุมในคดีเยาวชนปลดแอก 
 
 
การไล่จับกุมแกนนำทีละคนสร้างคำถามและความไม่พอใจต่อประชาชน มาตรวัดความโกรธคงเห็นได้จากวันที่ 18 สิงหาคม 2563 มีม็อบตะโกนต่อว่าตำรวจที่ลานคนเมือง บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่รวมตัวของตำรวจจำนวนมากที่เข้ามาดูแลการชุมนุม จำนวนที่มากมายเช่นนี้เตะตาประชาชนที่ผ่านไปมาจนต้องหยุดถ่ายภาพและตะโกนสอบถามถึงความสมเหตุสมผลในการมาในดังกล่าว
 
 
ความเกรี้ยวกราดเข้มข้นขึ้นในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ที่แยกปทุมวัน หลังจากผู้ชุมนุม ซึ่งรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำราษฎรที่ถูกจับกุมไปตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2563 ย้ายที่ชุมนุมมาจากแยกราชประสงค์เนื่องจากการปิดล้อมพื้นที่ของตำรวจ การชุมนุมดำเนินไปไม่ถึงชั่วโมงดี ตำรวจนำกำลังเข้าสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวันด้วยการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงผสมแก๊สน้ำตา การชุมนุมดังกล่าวจบท้ายด้วยการจับกุม ผู้ชุมนุมต่างแยกย้ายจากแยกปทุมวันพร้อมเก็บความโกรธเกรี้ยว โดยผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งย้ายมารวมตัวกันบริเวณแยกสามย่านท่ามกลางฝนที่ตกลงมา ผู้ชุมนุมยังคงยืนอยู่บริเวณดังกล่าวประกอบกับขบวนรถตำรวจที่วิ่งเข้ามา พวกเขาต่างกรูมายืนรวมกันที่ริมฟุตบาทและทำได้มากที่สุดคือ การยืนร่ำไห้และกล่าวใส่ขบวนรถตำรวจว่า ขี้ข้าเผด็จการ และนายที่แท้จริงของตำรวจคือประชาชน
 
 
ต่อมาในการชุมนุม เพราะทุกคนคือแกนนำ การปะทะคารมระหว่างตำรวจและผู้ชุมนุมดูจะลดน้อยลง ภาพที่เด่นชัดกลายเป็นการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมฝ่ายปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ฯ และฝ่ายปกป้องสถาบันฯ เช่น ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ที่เดอะมอลล์บางแค และหนักหน่วงที่สุดในการชุมนุมที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563  ครั้งหลังสุดนี้ไม่ใช่แค่เผชิญหน้ากับฝ่ายปกป้องสถาบันกษัตริย์ฯ เท่านั้นแต่ยังเผชิญหน้ากับตำรวจอีกด้วย แม้ว่าจะเผชิญกับความรุนแรงทางกายภาพทั้งการฉีดน้ำและแก๊สน้ำตา แต่ผู้ชุมนุมไม่ได้ตอบโต้ตำรวจในลักษณะเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล เห็นได้จากการผลักดันแนวรั้วจนประกบตำรวจได้ พวกเขาไม่ได้ตอบโต้ตำรวจที่เป็นผู้ปฏิบัติการ ในทางตรงกันข้ามพวกเขาเดินไปส่งตำรวจให้ออกไปจากพื้นที่ชุมนุมกลับไปยังพื้นที่พักรอ
 
 
จากนั้นจึงมีการนัดชุมนุมตอบโต้การกระทำของ 'องค์กรตำรวจ' ด้วยการนัดไปปาสีและพ่นข้อความที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ วันดังกล่าวการชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีบุคคลที่อยู่ในแนวการ์ดหน้าประตูสถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ ที่พยายามจะดันแนวการ์ดเข้าไปภายในโรงพยาบาลและเสี่ยงต่อการเผชิญหน้ากับตำรวจ ประโยคที่มวลชนอยู่บริเวณนั้นตะโกนเตือนคือ "อย่าทำนะ อย่าทำพวกเราจะแพ้" และประโยคดังกล่าวก็หยุดอารมณ์ของบุคคลที่จะเข้าไปในโรงพยาบาลได้
 
 
เดือนพฤศจิกายน 2563 ตำรวจก็มีแนวโน้มจะยืดหยุ่นลงหลังการสลายการชุมนุมเดือนตุลาคม 2563 สร้างพื้นที่ปลอดภัยระหว่างการชุมนุมปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ฯ และขบวนเสด็จ, ยืดหยุ่นให้มีการจัดการชุมนุมที่หน้าศาลหลักเมืองและราบ 11 ได้ แม้ผู้ชุมนุมจะเปิดแนวกั้น (รถเมล์และลวดหนามหีบเพลง) ออกก็ตาม ทั้งในการปะทะคารมเล็กๆ น้อยๆ ก็มีแนวโน้มจะผ่อนปรน
 
 
เดือนธันวาคม 2563 เป็นช่วงที่การชุมนุมเริ่มซาลงด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 รอบที่ 2 และเข้าสู่ช่วงเทศกาลปีใหม่ ราษฎรซึ่งเป็นขบวนการเคลื่อนไหวหลักในขณะนั้นไม่ประกาศการชุมนุมใหญ่และเปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนไหวเป็นกิจกรรมเล็กๆ เช่น การใส่ครอปท็อปเดินสยามพารากอน ขณะที่มวลชนกลุ่มอื่นอย่าง We Volunteer ก็จัดกิจกรรมขายกุ้งช่วยผู้ประกอบการที่สนามหลวงในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งนำไปสู่การจับกุมและเมื่อมวลชนย้ายมารวมตัวกันที่อนุสรณ์สถานฯ แล้ว ตำรวจก็ยังเดินหน้าเข้าจับกุมและสลายการชุมนุมอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงย้ายไปทำกิจกรรมในพื้นที่ที่ตำรวจจัดให้
 
 
ภาพรวมแล้วในปี 2563 การตอบโต้ของผูุ้ชุมนุมที่มีต่อรัฐหรือ 'องค์กรตำรวจ' อยู่ในเส้นของสันติวิธี ไม่ก้าวล่วงสร้างความรุนแรงทางกายภาพต่อฝ่ายตรงข้าม ขณะที่ช่วงปลายปี 2563 ตำรวจมีแนวโน้มยืดหยุ่นอาจด้วยการขยายตัวของการชุมนุมทั่วประเทศ ส่วนข้อเรียกร้องข้อผู้ชุมนุมถูกปัดตกเรียบ ตั้งแต่การรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ถูกสภาปัดตกเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563, การยุบสภาที่เสียงของฝ่ายรัฐบาลและส.ว. 250 คนยังคงทรงพลัง ไม่มีเหตุให้ต้องยุบสภาก่อนครบวาระ, หยุดคุกคามประชาชนที่รัฐยังคงเดินหน้าดำเนินคดีต่อประชาชนที่ใช้เสรีภาพการแสดงออก รวมทั้งข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ฯ ที่การปัดฝุ่นมาตรา 112 กลับมาใช้กับผู้ชุมนุมอย่างเข้มข้นกลายเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้รับการตอบรับ
 
 

ตัวอย่างการตอบโต้อย่างสันติวิธีของมวลชนในปี 2563 โดยนับจากฐานที่มีบริบทสร้างความโกรธหรือความขัดแย้งระหว่างผู้ชุมนุมและฝ่ายรัฐ

 

วันที่

เหตุ/บริบทแวดล้อม

การโต้กลับ

การดำเนินคดี

7 สิงหาคม 2563

การจับกุมอานนท์ นำภา

ชุมนุมที่หน้าศาลอาญาและสกายวอล์ค ปทุมวัน

ดำเนินคดี

18 สิงหาคม 2563

การจับกุมแกนนำและความสมเหตุสมผลของกำลังตำรวจ

ม็อบแซวตำรวจ

/
 

28 สิงหาคม 2563

การดำเนินคดีประชาชนจากการชุมนุมเยาวชนปลดแอก / ตำรวจตั้งแนวขวางไม่ให้เข้าสน. สำราญราษฎร์

การปาสีน้ำเงินใส่ตำรวจ

ดำเนินคดี

13 ตุลาคม 2563

การสลายการชุมนุมราษฎรอีสาน

การสาดสีใส่สตช.

ดำเนินคดี

14 ตุลาคม 2563

การสลายการชุมนุมราษฎรอีสานและการปิดพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

รื้อต้นไม้ที่ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ดำเนินคดี

17 ตุลาคม 2563

การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน

การชุมนุมเพราะทุกคนคือแกนนำ/ การ ‘แกง’ ตำรวจบอกว่า จะชุมนุมแต่ไม่จัด /กราฟฟิตี/การวางอาหารสุนัข/จัดงานศพให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา/ เผาพริกเผาเกลือ/ ไม่เช่าป้ายโฆษณา MRT

ดำเนินคดี (การชุมนุมเพราะทุกคนคือแกนนำ)

22 กันยายน 2563

ทหารล็อคคอประชาชนจากการถ่ายภาพป้ายกองพันทหารม้าฯ

ติดสติ๊กเกอร์หมุดคณะราษฎรที่หน้าป้าย/ ปาไข่ใส่กองพันทหารม้าฯ 

ดำเนินคดี

24 กันยายน 2563

การตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาร่างรัฐธรรมนูญหรือคณะกรรมาธิการชุดถ่วงเวลา

ตะโกนว่า ไอ้เหี้ย ใส่ฝ่ายรัฐบาลและส.ว. และชูสามนิ้วให้ฝ่ายค้าน

/

8 พฤศจิกายน 2563

การฉีดน้ำใส่ประชาชนที่หน้าศาลฎีกา

ยืนยันการเข้าไปพื้นที่สาธารณะ/ การปล่อยยางและทุบกระจกรถตำรวจ

ดำเนินคดี

1

 

4 พฤศจิกายน 2563

เหตุการณ์ขบวนเสด็จฝ่าแนวม็อบ

ชูสามนิ้วและหันหลังให้ขบวนเสด็จ

/

17 พฤศจิกายน 2563

การสลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา

เติมน้ำตาลและปล่อยยางรถฉีดน้ำ / การพ่นสีและทุบกระจกรถตำรวจ / การสาดสีและพ่นสเปรย์ที่หน้าสตช.

ดำเนินคดี (การพ่นสีและทุบกระจกรถตำรวจ / การสาดสีและพ่นสเปรย์ที่หน้าสตช.)

28 พฤศจิกายน 2563

การวางตู้คอนเทนเนอร์ขวางเส้นทางการชุมนุม

การเปลี่ยนชื่อ ราบ 11 / การใช้กระจกส่องตำรวจขณะทำหน้าที่

/

 

Article type: