1384 1445 1849 1623 1501 1807 1419 1328 1263 1904 1892 1833 1617 1817 1024 1726 1139 1967 1041 1873 1781 1982 1020 1504 1776 1564 1709 1428 1453 1743 1923 1887 1641 1050 1443 1223 1602 1423 1515 1905 1335 1958 1867 1369 1630 1797 1581 1614 1536 1904 1587 1202 1333 1811 1554 1138 1185 1933 1480 1371 1414 1662 1850 1218 1941 1365 1249 1716 1193 1430 1243 1636 1663 1481 1871 1253 1019 1281 1191 1255 1621 1659 1188 1453 1903 1129 1450 1575 1334 1257 1908 1490 1426 1797 1270 1750 1672 1762 1784 112 ความเชื่อ ชีวิต ความคิด เรื่องราว | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

112 ความเชื่อ ชีวิต ความคิด เรื่องราว

ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน กับความฝันที่ยังไม่มีคำแปลภาษาไทย

1833

คำในภาษาเยอรมันที่ยาวที่สุด คือ Rindfleischetikettierungsüberwachungsaufgabenübertragungsgesetz ซึ่งหมายถึง ‘กฎหมายการตรวจสอบฉลากเนื้อ’ คำๆนี้แสดงให้เห็นถึงเสน่ห์อันน่ารักน่าชังของภาษาเยอรมันที่สามารถนำคำมาต่อกันให้ยืดยาวออกไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นความหมายใหม่ได้อย่างน่าอัศจรรย์ 
 
สำหรับเดียร์-รวิสรา เอกสกุล และฟ้า-สุธินี จ่างพิพัฒน์นวกิจ ข้อความภาษาเยอรมันในแถลงการณ์ที่ทั้งสองร่วมกันอ่านต่อหน้าผู้ชุมนุมหลายพันคนหน้าสถานทูตเยอรมนีเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 เป็นถ้อยคำที่ไม่ยืดยาวเท่าคำข้างต้น แต่มีความหมายหนักแน่นมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของทั้งคู่ให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป 

อ่านต่อ >>> ที่นี่
 
ฟรานซิส บุญเกื้อหนุน เด็กเรียนจากเมืองปากน้ำโพกับบททดสอบที่ 110
 
1834
 
วันที่ 14 ตุลาคม 2563 คณะราษฎร 63 จัดการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและมีกำหนดเคลื่อนขบวนไปที่ทำเนียบรัฐบาล ระหว่างที่การชุมนุมดำเนินไปรถยนต์พระที่นั่งของสมเด็จพระราชินีเคลื่อนผ่านมาบนถนนที่เต็มไปด้วยผู้ชุมนุมโดยไม่มีการประกาศเตือนล่วงหน้า ผ่านทางแยกนางเลิ้งและทำเนียบรัฐบาลไปอย่างช้าๆ เนื่องจากมีผู้ชุมนุมอยู่บนถนน ระหว่างผู้ชุมนุมกับขบวนรถพระที่นั่งมีแถวของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนยืนกั้นกลางถวายความปลอดภัย ผู้ชุมนุมบางส่วนตะโกน "ประชาธิปไตยจงเจริญ" บางส่วนชูสัญลักษณ์สามนิ้วขณะที่ขบวนเคลือนผ่าน
 
ต่อมาในช่วงเช้ามืดวันที่ 15 ตุลาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยอ้างว่ามีคนพยายามขัดขวางขบวนเสด็จและเข้าสลายการผู้ชุมนุมที่ปักหลักค้างคืนบริเวณทำเนียบรัฐบาล  
 
หลังจากนั้นมีประชาชนอย่างน้อยสามคนที่น่าจะถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวที่แฝงตัวอยู่กับผู้ชุมนุมถ่ายภาพได้ว่าอยู่ในบริเวณที่รถยนต์พระที่นั่งวิ่งผ่านถูกออกหมายจับ บุญเกื้อหนุน หรือฟรานซิส นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และอดีตนักกิจกรรมกลุ่มภาคีนักศึกษาศาลายาจากมหาวิทยาลัยมหิดลคือหนึ่งในนั้น 
 
อ่านต่อ >>> ที่นี่

ชนินทร์ วงษ์ศรี: ท้ายที่สุดเราอาจไม่ชนะ แต่อย่างน้อยก็ได้สู้
 
1835
 
 

 

ชนินทร์ วงษ์ศรี หรือ "บอล" นักศึกษาจากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อายุ 20 ปี คือ หนึ่งในนักกิจกรรมที่ร่วมอ่านแถลงการณ์ที่หน้าสถานทูตเยอรมนีเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมันตรวจสอบว่า พระมหากษัตริย์ไทยได้ใช้อำนาจระหว่างทรงประทับที่ประเทศเยอรมันหรือไม่ สำหรับชนินทร์การอ่านแถลงการณ์ครั้งนั้นเป็นเพียงการแสดงออกอย่างสันติซึ่งทำได้ในสังคมประชาธิปไตย ทว่าสำหรับผู้มีอำนาจ การแสดงออกในประเด็นพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องใหญ่โตกว่านั้น

ชนินทร์กับเพื่อนๆ อีก 13 คนที่ร่วมอ่านแถลงการณ์หรือกล่าวคำปราศรัยในวันนั้นต่างถูกดำเนินคดีด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ข้อหาร้ายแรงแห่งยุคสมัย ที่ทำให้นักกิจกรรมส่วนหนึ่งต้องสูญเสียอิสรภาพ แม้ศาลจะยังไม่มีคำพิพากษาว่าพวกเขามีความผิด

อ่านต่อ >>> ที่นี่
ชุดไทย น้ำปลาร้า มาตรา 112 และชีวิตพลิกผันของ นิว จตุพร
 
1836
 
29 ตุลาคม 2563 ผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎรเนรมิตถนนสีลมให้กลายเป็นถนนสายแฟชั่น ด้วยกิจกรรม "รันเวย์ของประชาชน" เดินแฟชั่นสะท้อนการเมือง ในวันนั้นมีผู้ร่วมกิจกรรมสวมเสื้อผ้าแฟนซีสอดคล้องการเมืองมาประชันกัน 
 
นิว หรือจตุพร การ์ดอาสา We Volunteer - Wevo ที่เราคงคุ้นตาในภาพผู้ร่วมกิจกรรมร่างเล็ก ไว้ผมตัดสั้นในชุดไทยสีชมพู พร้อมด้วยร่มสีแดงและเสียงตะโกนทรงพระเจริญ เธอคือหนึ่งในคนที่ไปร่วมกิจกรรมในวันนั้น ส่วนสาเหตุที่เลือกใส่ชุดไทยสีชมพูไปวาดลวดลายบนพรมแดง เพราะคิดว่าชุดไทยคือเสื้อผ้าที่ใครๆก็สวมใส่ได้ 
 
หลังเข้าร่วมกิจกรรมเดินแฟชั่นสะท้อนการเมือง นิวยังคงใช้ชีวิตปกติ ไปร่วมชุมนุมและทำหน้าที่การ์ดอาสาจนกระทั่งในวันที่ 10 ธันวาคม 2563 พี่ที่รู้จักบอกเธอว่า ‘มีคนแต่งตัวเลียนแบบบุคคลสำคัญในงานเดินแฟชั่น แล้วโดนคดีมาตรา 112’ นิวคิดว่าเธอไม่ได้แต่งตัวเลียนแบบใคร คงไม่น่าจะมีอะไร แต่เมื่อดูชื่อในข่าวเธอกลับพบว่าเป็นชื่อของเธอ แม้จะเผชิญข้อหาที่หนักหน่วงทั้งที่ชีวิตเพิ่งผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่ถึง 25 ขวบปี แต่นิวก็ยังมีพลังใจที่เข้มแข็งยังคงมาร่วมการชุมนุมต่างๆในฐานะการ์ดอาสา และหากจะต้องถูกคุมขังในเรือนจำเมื่ออัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดี นิวคิดว่าเธอได้เตรียมตัวไว้พร้อมรับสถานการณ์ระดับหนึ่งแล้ว 

 

 

ฟรานซิส บุญเกื้อหนุน เด็กเรียนจากเมืองปากน้ำโพกับบททดสอบที่ 110


อ่านต่อ >>> ที่นี่

ลูกเกด ชลธิชา : จดหมายถึงกษัตริย์และการตอบกลับด้วยมาตรา 112

1837

หากพูดถึงนักกิจกรรมที่มีบทบาทในการต่อต้านรัฐประหาร 2557 ชลธิชา แจ้งเร็ว หรือลูกเกด น่าจะเป็นหนึ่งรายชื่ออันดับต้นๆที่ฝ่ายความมั่นคงจับตามองด้วยความระแวดระวัง ในวันที่ 6 มิถุนายน 2557 หรือประมาณ 2 สัปดาห์หลังการรัฐประหาร ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (ศนปท.) จัดกิจกรรม "ปิคนิค อ่านกวี ดูหนังรัฐประหาร" ที่ลานหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งนั้นลูกเกดก็ได้เข้าไปร่วมกิจกรรมด้วยเมื่อถูกบังคับให้ยุติกิจกรรมลูกเกดจึงพยายามต่อรองกับเจ้าหน้าที่ว่า ถ้าไม่ให้จัดอย่างน้อยๆก็ขอให้เธอกับเพื่อนๆได้แจกจ่ายขนมที่เตรียมมาให้กับคนที่มาร่วมกิจกรรมเสียก่อนจนเกิดกรณีที่มีเจ้าหน้าที่เข้ามายื้อแย่งแซนด์วิชไปจากเธอ 

ลูกเกดเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นระยะตลอดเวลาที่คสช.อยู่ในอำนาจ เช่น เคลื่อนยไหวในโอกาสครบรอบ 1 ปี การรัฐประหาร เคลื่อนไหวรณรงค์คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญของคสช.และเคลื่อนไหวเรียกร้องการเลือกตั้งร่วมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้งในปี 2561 แม้จะเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องแต่ลูกเกดก็ไม่เคยถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 จนกระทั่งมาถึงปี 2563 เธอเป็นหนึ่งในคนที่เขียนจดหมายน้อยถึงพระมหากษัตริย์เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันจนเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ในที่สุด

อ่านต่อ >>> ที่นี่

ซัน วัชรากรไชยแก้ว: หลังบ้านแนวร่วมธรรมศาสตร์กับความหวังที่ไม่เคยเหือดแห้ง

 

1838

 

"ซัน" วัชรากร ไชยแก้ว คือหนึ่งในสมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่สาธารณะอาจไม่ค่อยได้ยินชื่อหรือไม่รู้จักหน้าตาของเขา ทว่าเขาคือหนึ่งในตัวจักรสำคัญที่ร่วมขับเคลื่อนแนวร่วมฯ กับเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานประสานงานต่างๆ ซันเปิดเผยว่าเขาชอบทำงานอยู่เบื้องหลังมากกว่าจะออกไปยืนอยู่ท่ามกลางสปอตไลท์ แต่เมื่อเพื่อนของเขาทั้งเพนกวิ้นและรุ้งถูกจองจำ เขาก็ตัดสินใจออกมาอยู่บนเวทีในการชุมนุมที่หน้าสถานทูตเยอรมนีเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ในฐานะผู้อ่านแถลงการณ์ฉบับภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมนีตรวจสอบการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยในเขตอธิปไตยของตน

ครั้งนั้นซันแค่คิดว่าเพื่อนเขาหลายคนถูกคุมขัง เขาอยากทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยเพื่อนและการไปชุมนุมที่หน้าสถานทูตเยอรมันก็น่าจะเป็นการนำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยไปบอกให้โลกได้รับรู้ ทว่าการอ่านแถลงการณ์เพียงไม่กี่นาทีในวันนั้นก็ทำให้ซันต้องถูกตั้งข้อหาด้วยมาตรา 112 และสุ่มเสี่ยงที่จะต้องสูญเสียอิสรภาพ แต่นั่นก็ไม่อาจพราก "ความหวัง" ที่จะเห็นสังคมไทยที่ดีขึ้นไปจากมโนสำนึกของเขาได้ และคำๆ นี้ก็ถูกพูดซ้ำๆ ตลอดบทสนทนากับเขา 

อ่านต่อ >>> ที่นี่

ป้ายผ้าลำปาง กับความฝันที่อยากเห็นประเทศดีขึ้น

1839


ปลายปี 2563 ปรากฏประโยคนี้บนป้ายผ้าดิบ ตัวอักษรที่เขียนด้วยสีดำและแดงบนผ้าที่แขวนบนสะพานรัษฏาภิเษก จังหวัดลำปาง แต่ไม่นานหลังจากนั้น หมายเรียกตามกฏหมายอาญา มาตรา112 ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ก็ถูกส่งถึงกลุ่มนักกิจกรรมในจังหวัดลำปางทั้งห้าคน

ช่วงเช้าของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 อากาศที่ลำปางค่อนข้างเย็น ‘จอร์จ’ หรือพินิจ ทองคำ แกนนำกลุ่มพิราบขาว และ ‘โม’ หรือภัทรกันย์ แข็งขัน สองผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 มารับผู้เดินทางจากไอลอว์ เพื่อพาพักผ่อนยามเช้า ก่อนจะต้อนรับในฐานะเจ้าบ้านโดยการพาไปรู้จักกับเมืองลำปาง คดีมาตรา 112 และเรื่องราวของพวกเขากันมากขึ้น

 นักกิจกรรมลำปางที่โดนคดีมาตรากฏหมายอาญา 112 นั้นมีทั้งหมดห้าคน แต่หนึ่งในนั้นไม่ประสงค์จะเปิดเผยตัวตน เราจึงรวบรวมเรื่องราวการพูดคุยกับทั้งสี่คนเอาไว้ ก่อนวันที่ 21 เมษายน 2564 ทั้งห้าคนจะเดินทางเข้าพบอัยการที่จังหวัดลำปาง ในสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่อาจคาดเดาได้เลยว่า คดีที่มีข้อหาเช่นนนี้จะเกิดอะไรขึ้นในกระบวนการบ้าง

อ่านต่อ >>> ที่นี่

จาก 112 - 110 ชีวิตติดเลขท้ายของเอกชัย หงส์กังวาน

1841


หากจะพูดถึงอดีตนักโทษ 112 ที่ถูกดำเนินคดีในช่วงทศวรรษที่ 2550 แล้วยังคงโลดแล่นอยู่ในแวดวงการเมืองยุคปัจจุบันเชื่อว่าชื่อของเอกชัย หงส์กังวานน่าจะเป็นหนึ่งในชื่อที่หลายๆคนได้ยินหรือเคยเห็นผ่านข่าว หลังพ้นโทษจำคุก 2 ปี 8 เดือน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เอกชัยก็กลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง บุคลิกโผงผางและความดื้อดึงของเขากลายเป็นภาพจำที่สังคมมีต่อชายคนนี้ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เขาเอาเพลง "ประเทศกูมี" ไปเปิดให้ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นอย่าง อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ฟังที่หน้ากองทัพบกช่วงก่อนการเลือกตั้ง 2562 หรือตอนที่เขาพยายามจะนำนาฬิกาไปมอบให้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ช่วงที่กระแสข่าว"นาฬิกายืมเพื่อน" กำลังเป็นที่สนใจของสังคม

ด้วยการเคลื่อนไหวเกาะกระแสแบบกัดไม่ปล่อยนี้ก็อาจทำให้หลายคนมองว่า เอกชัยเป็นคนบ้าการเมือง แต่ก็คงจะมีน้อยคนที่จะรู้ว่าความ"บ้าการเมือง"ของเอกชัยเกิดขึ้นจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีสาเหตุจากการรัฐประหารอย่างการยกเลิก "หวยบนดิน" ถึงวันนี้เอกชัยในวัย 46 ปียังคงต้องวนเวียนขึ้นโรงขึ้นศาลด้วยข้อหาใหม่อย่าง ประทุษร้ายต่อเสรีภาพของพระราชินีจากกรณี "ขบวนเสด็จ" ที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุมคณะราษฎร 14 ตุลาคม 2563

แม้จะเผชิญกับข้อหาหนักกว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เขาเคยเจอ  แต่เอกชัยก็ยังคงใช้ชีวิตไปตามปกติโดยไม่คิดหลบหนีพร้อมทั้งยังเริ่มทำงานอดิเรกใหม่ที่หลายคนคงจะคาดไม่ถึง วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 อัยการนัดเอกชัยพร้อมผู้ต้องหาคนอื่นๆอีกห้าคนฟังคำสั่งว่าจะฟ้องคดีหรือไม่ "กังวลไปมันก็ไม่ได้ประโยชน์ อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด"

อ่านต่อ >>> ที่นี่

ชีวิตสายบู๊บนถนนที่อยากทำเพื่อ “ช่วยคน” ของ “ตี้ พะเยา”

1842

“ตี้ พะเยา” เป็นฉายาของนักศึกษามหาวิทยาลัยพะเยาคนหนึ่งที่ปรากฎตัวขึ้นมาบนเวทีการเมืองเมื่อปี 2563 ท่ามกลางกระแสการลุกฮือของคนรุ่นใหม่ และตัวละครหนุ่มๆ สาวๆ มากหน้าหลายตา ชื่อจริงของเธอ คือ วรรณวลี ธรรมสัตยา เธอได้รับโอกาสสัมผัสประสบการณ์ในฐานะเป็นผู้ต้องขังทางการเมืองในคดีมาตรา 112 เพราะศาลไม่ให้ประกันตัว และต้องอยู่ในเรือนจำ 11 วัน ระหว่างวันที่ 27 เมษยน 2564 ก่อนได้ประกันตัวในวันที่ 7 พฤษภาคม 2564

นับถึงวันที่เข้าเรือนจำเป็นครั้งแรก เธออายุ 21 ปี เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ สาขาอาชีวอนามัย ซึ่งเธอสมัครเข้าโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัยที่จะได้เรียน “คู่ขนาน” สองวิชาไปพร้อมกัน และเธอเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ ไปด้วย หากเรียนจบได้ตามตารางที่วางไว้ก็จะได้ปริญญาตรีสองใบพร้อมกัน นอกจากนี้เท่าที่มีเวลาว่างเธอยังไปสมัครเรียนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงไว้อีกด้วย

 ตี้เป็นคนรูปร่างผอมบาง แต่งตัวทะมัดทะแมง พูดจาเสียงดังโผงผางตรงไปตรงมา เธอนิยามตัวเองว่า เป็นคนชอบ “สายบู๊” มีบุคลิกเป็น “พี่ใหญ่” ที่คอยดูแลคนอื่น โดยทำงานร่วมกันกับน้องๆ ในทีมที่ตั้งขึ้นในนามกลุ่ม “ราษฎรเอ้ย” ซึ่งตั้งขึ้นโดยเธอและน้องๆ 3-4 คน มีที่มาจากคำพูดติดปากเวลาปราศรัย เป็นกลุ่มเล็กๆ ที่จัดชุมนุมโดยไม่เน้นคนเข้าร่วมจำนวนมาก แต่จะทำในเวลาที่กระแสไม่ดี หรือในจังหวะที่คนอื่นไม่ได้ทำอะไร

อ่านต่อ >>> ที่นี่
 
หน้ากากขาว กูKult และชีวิตที่ยากจะถึงฝันของนรินทร์

1858
 
นรินทร์ ชายหนุ่มผู้อยู่เบื้องหลังหน้ากากขาวมักแบกเสื้อสกรีนข้อความ กูKult ไปขายในพื้นที่การชุมนุมซึ่งตัวเขาเองก็ใส่เสื้อลายเดียวกันนั้นไปในพื้นที่การชุมนุมด้วย บางคนที่อยู่ในแวดวงการเมืองมานานก็รู้ความเป็นมาเป็นไปของเสื้อของเขาและซื้อมาใส่ แต่คนที่ตามการเมืองรุ่นใหม่ๆ หรือคนมีอายุที่นิยมเสพย์ข่าวการเมืองจากช่องทางอื่นที่ไม่ใช่เฟซบุ๊กก็อดถามนรินทร์ไม่ได้ว่าไอ้คำว่า กูKult นี่มันคืออะไร ทว่าในขณะที่ใครหลายคนงงว่า กูKul คืออะไร คนที่รู้จักมันดีคงหนีไม่พ้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่จับตาดูความเคลื่อนไหวของเพจดังกล่าวด้วยความไม่สบายใจ กระทั่งในเดือนกันยายน 2563 หลังการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ได้ไม่กี่วันเจ้าหน้าที่ก็นำกำลังเข้าจับกุมนรินทร์ถึงที่บ้าน หลังปรากฎภาพบุคคลที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าน่าจะเป็นนรินทร์นำสติกเกอร์โลโก กูkult ไปติดบนพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่สิบซึ่งติดตั้งอยู่หน้าศาลฏีกาใกล้พื้นที่การชุมนุม 
 
จนถึงบัดนี้นรินทร์ถูกตั้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 ไปแล้วสามคดี ดูเหมือนว่าเจ้าหน้าที่จะเชื่อว่าเขาเป็นแอดมินเพจเสียดสีการเมืองชื่อดัง ทว่านรินทร์ติวเตอร์อิสระผู้มีความฝันจะเป็นนักวิชาการด้านคณิตศาสตร์ยืนยันว่าเขาไม่ได้เป็นแอดมินของเพจ กูKult เขาเพียงแต่เป็นแฟนคลับของเพจคนหนึ่ง ที่นำโลโกของเพจไปทำเป็นของที่ระลึกมาขายให้คนที่สนใจเพื่อหารายได้ และเขาก็เชื่อว่าปรัชญาของเพจ กูKult คือ "ทุกคนเป็นแอดมิน" เหมือนที่ครั้งหนึ่งผู้ชุมนุมเคยใช้สโลแกน "ทุกคนคือแกนนำ" ก่อนหน้านี้นรินทร์เลือกที่จะเก็บเรื่องคดีของเขาไว้เงียบๆ แต่ด้วยพัฒนาการที่น่ากังวลบางอย่างนรินทร์ตัดสินใจตอบรับคำเชิญของไอลอว์มาเล่าเรื่องราวของเขาให้ฟัง
 
อ่านต่อ >>> ที่นี่

 

Article type: