1028 1101 1751 1371 1001 1791 1413 1172 1762 1207 1744 1187 1568 1998 1212 1729 1322 1539 1466 1827 1067 1521 1238 1788 1676 1650 1869 1658 1798 1358 1915 1251 1918 1309 1701 1851 1753 1249 1065 1992 1032 1160 1478 1337 1474 1285 1783 1624 1327 1082 1068 1797 1304 1812 1081 1110 1445 1014 1088 1198 1046 1951 1020 1529 1508 1376 1544 1397 1217 1217 1013 1413 1598 1380 1779 1249 1062 1655 1776 1430 1796 1860 1979 1187 1466 1496 1733 1937 1336 1016 1896 1942 1467 1040 1781 1526 1277 1916 1642 บิ๊ก เกียรติชัย: สังคมที่อำนาจเท่าเทียมคือฝันอันสูงสุด | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

บิ๊ก เกียรติชัย: สังคมที่อำนาจเท่าเทียมคือฝันอันสูงสุด

 
“เรียนศาลที่เท่าเทียม...”
 
ชายหนุ่มในชุดเสื้อวอร์มสีเทาลุกขึ้นพูดกับศาลด้วยข้อความที่ไม่คุ้นหู ต่างจากที่คนทั่วไปมักกล่าวว่า 'ศาลที่เคารพ'
 
1880
 
เกียรติชัยหรือ "บิ๊ก" นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมปรากฎตัวที่ศาลหลังกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขอให้ศาลสั่งให้ลบภาพและข้อความบนทวิตเตอร์ที่เขาวิจารณ์การแต่งตัวของพระมหากษัตริย์
 
แม้การปรากฏตัวต่อศาลจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดี 112 เพราะเท่ากับว่าเขายอมรับว่าเป็นคนทวิตข้อความจริงแต่บิ๊กก็เลือกที่จะมาแถลงยืนยันว่าสิ่งที่เขาพยายามสื่อสารทำไปด้วยเจตนาดี คนที่อยู่ในห้องพิจารณาคดีอาจมองว่าเขามีท่าทางและคำพูดที่ก้าวร้าว แต่หากได้ลองพูดคุยกับเขานอกห้องพิจารณาคดีบิ๊กก็เป็นเพียงนักศึกษาคนหนึ่งที่มีความใฝ่ฝันจะเห็นสังคมไทยพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
 
บทสนทนาร่วมชั่วโมงในรั้วแม่โดม ทุ่งรังสิต เป็นสถานที่ที่ ‘บิ๊ก เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ’ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คุ้นเคยเป็นอย่างดี เมื่อถามว่าเหตุใดเขาจึงเลือกใช้คำว่า ‘ศาลที่เท่าเทียม’ ระหว่างที่อยู่ในห้องพิจารณาคดีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 บิ๊กให้เหตุผลว่า สถาบันตุลาการสมควรเทียบเท่ากับอำนาจอธิปไตยในแขนงอื่นๆ หากเราสามารถวิจารณ์นายกรัฐมนตรีเมื่อทำหน้าที่บกพร่องได้ เราก็ควรมีสิทธิ์วิพากษ์ศาลในกรณีที่ทำหน้าที่บกพร่องเช่นกัน
 
“..ในสังคมเรามีปัญหาเรื่องการมองสถาบันต่างๆสูงส่งเป็นพิเศษ เช่น มองว่าสถาบันตุลาการสูงส่ง เป็นกลางทางการเมือง แต่พอมาดูในความเป็นจริงแล้ว ถ้าพูดตรงๆสถาบันตุลาการมีความอิงแอบกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างการตัดสินหลายๆคดีที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในหลายครั้งสถาบันตุลาการไม่ได้ทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน เราก็เลยอยากจะเปลี่ยนมาตรฐานใหม่ที่เรียกว่า ‘ศาลที่เท่าเทียม’ เพราะเราไม่จำเป็นต้องเคารพเขาก็ได้ ถ้าจะเคารพ ก็เคารพเขาในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เขาไม่ได้สูงส่ง ไม่ได้พิเศษไปกว่าใคร..”
 
ตื่นตัวทางการเมือง
 
1882
 
ก่อนเข้าเรียนที่ธรรมศาสตร์ บิ๊กเริ่มต้นชีวิตนักศึกษาของเขาที่คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ควบคู่ไปกับการเป็น ‘ครูสอนพิเศษ’ ในโรงเรียนมัธยมต่างจังหวัดที่เขาเคยทำมาตั้งแต่สมัยอยู่ม.ปลาย ก่อนการรัฐประหาร 2557 บิ๊กไม่ได้สนใจการเมืองและหวังเพียงว่าเขาจะได้ทำงานดีๆมีฐานะมั่นคงเท่านั้น แต่การยึดอำนาจของพล.อ.ประยุทธ์ได้เปลี่ยนความคิดและตัวตนของเขาไปอย่างสิ้นเชิง บิ๊กเริ่มต้นตั้งคำถามเกี่ยวกับสังคมและการเมืองหลังได้เห็นการบริหารประเทศที่ย่ำแย่ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
 
“จริงๆแล้วเราสอนพิเศษเพราะว่าสนิทกับครูใหญ่ อรรถพล เราเคยเรียนกับเขาแล้วสนิทกัน ก็ช่วยเรื่องงานกัน เขาก็เป็นคนหนึ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ แล้วเราก็เอาบ้าง”
 
“ถ้าพูดตามตรงเลย การบริหารที่ห่วยแตกของคสช. วงเล็บว่าแต่ก่อนก็เคยเชียร์เหมือนกัน ตั้งแต่สมัยกปปส.คิดว่าเขาอาจจะมาช่วยเปลี่ยนแปลง เพราะบ้านเมืองมันวุ่นวายตอนนั้นไง เราก็รู้สึกว่ากปปส.น่าจะเข้ามาช่วยนะ แล้วการรัฐประหารก็น่าจะมีผลเหมือนกัน สมัยนั้นก็เลยคิดว่า เชียร์กปปส.น่าจะเวิร์ค แต่วงเล็บว่าหลังที่ยิ่งลักษณ์ออกแล้ว ตอนนั้นก็ไม่ได้เชียร์ต่อ”
 
“จุดพลิกผันคือ เขาอยู่มานานเกินไป เขาไม่ทำเหมือนตอนปี 2549 ที่ปีเดียวแล้วออก อันนี้ก็น่าจะเป็นความผิดคาดของคสช.ที่ต้องการจะสืบทอดอำนาจ พอเขาอยากสืบทอดอำนาจ การบริหารของเขาไม่ได้มีประสิทธิภาพ น่าจะห่วยที่สุดในรัฐบาลรัฐประหารที่เคยมีมาด้วยซ้ำ ก็เลยทำให้เราสนใจการเมืองมากขึ้น”
 
ปี 2562 มีปัจจัย 3 อย่างที่ทำให้บิ๊กตัดสินใจ ‘เปลี่ยนเส้นทางเดิน’ จากสายภาษามาสู่โลกของนักรัฐศาสตร์อย่างเต็มตัว คือการสั่งสมองค์ความรู้จากการสอนพิเศษในวิชาสังคม ความต้องการหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมอำนาจนิยมในมหาวิทยาลัย และการเกิดพรรคอนาคตใหม่ในการเลือกตั้งครั้งแรกของเขา
 
“แต่ก่อน จะว่ายังไงดี เราอาจจะเป็นคนที่โดนเสรีนิยมใหม่กินหัวมากๆ แบบแนวคิดผู้ประกอบการ เราแม่งโคตรอยากรวยอะ เราแม่งอยากเป็นวัยรุ่นพันล้าน อยากเป็นแบบต๊อบ เราโคตรอยากรวย เราก็พยายามหาลงทุนด้วย แล้วเราก็เคยพลาดไปทำขายตรงด้วย”
 
“เราย้ายออกจากที่นั่น (มข.) เพราะมันมีความอำนาจนิยมในตัว อาจารย์เองก็อำนาจนิยมด้วย คณะมนุษยศาสตร์ที่ควรมีความเสรีชนสูงหน่อย แต่กลับเลือกใช้วิธีแบบอำนาจนิยม เช่น การรับน้อง เราก็เลยไม่ไหว หันมาธรรมศาสตร์ดีกว่า”
 
“เราเป็นคนสอนพิเศษวิชาสังคม ก็ต้องอ่านพวกสังคมอะไรอยู่แล้ว ก็รู้สึกชอบมาตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว แต่ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ เรายังคิดว่าเรียนภาษาญี่ปุ่นสำคัญกว่าเพราะจะเปิดโอกาสหน้าที่การงานที่ดีให้เรา แล้วตอนนั้นที่มข.เองก็ไม่ได้มีคณะที่ตอบโจทย์ ทีนี้ตอนหลังพอความคิดเราเริ่มเปลี่ยนก็เลยเลือกออกมาเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เพราะว่ามันค่อนข้างตอบโจทย์ อีกอย่างหนึ่งเราชอบอะไรที่เป็นการบริหาร การบริหารคน ซึ่งจริงๆแล้วเราสนใจทั้งบริหารเอกชนเอง แล้วก็บริหารภาครัฐด้วย”
 
“ต้องยอมรับว่าการเข้ามาของอนาคตใหม่มีผลต่อความคิดทางการเมืองในหลายๆด้าน โดยเฉพาะช่วงนั้น เพราะว่ามีธนาธรกับหลายๆคนที่เขามีความสามารถในด้านนั้นจริงๆ เลยคิดว่าถ้าเปลี่ยนการคิดเป็นแบบคนรุ่นใหม่ วิธีคิดแบบใหม่ มันก็อาจจะทำให้การเมืองที่เป็นอยู่มันดีขึ้น”
 
นักกิจกรรม-นักรัฐศาสตร์
 
1883
 
เมื่อชัดเจนแล้วว่าสนใจทำงานด้านการเมือง บิ๊กจึงก้าวเท้าเข้ามาเป็นสมาชิก ‘พรรคโดมปฏิวัติ’ ตั้งแต่เป็นเข้าปีหนึ่งที่ธรรมศาสตร์ รวมทั้งเริ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งแรกในฐานะกลุ่มผู้จัดแฟลชม็อบลานพญานาคในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ภายหลังมีคำสั่งให้ยุบพรรคอนาคตใหม่
 
“พรรคโดมปฏิวัติมันเป็นพรรคที่ต่อสู้ เราจะเห็นพรรคอื่นค่อนข้างมีความประนีประนอม (compromise) มากกว่า แต่โดมปฏิวัติค่อนข้างเรียกได้ว่าเป็นพรรคที่ผู้บริหารไม่ถูกใจเท่าไหร่ พรรคโดมปฏิวัติก็เลยเป็นพรรคที่น่าสนใจในตอนนั้น เพราะว่าเพื่อนเราเองก็อยู่ด้วย แล้ววันนั้นเพนกวินก็มากินข้าวด้วย มาพูดด้วย เราก็ว่าเออน่าสนใจดี ก็เลยลองเข้าไป”
 
นอกจากตัวตนในฐานะ "สายบู๊" บิ๊กยังมีตัวตนอีกด้านหนึ่งคือความสนใจในหลักวิชาและทฤษฎีด้านรัฐศาสตร์ บิ๊กเล่าว่าการเรียนในคณะรัฐศาสตร์ทำให้เขามองภาพปรากฏการณ์ในสังคมได้ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งมีมุมมองต่อผู้คนหลากหลายมิติมากขึ้น
 
“สาเหตุหนึ่งที่เรามาเลือกเคลื่อนไหว เพราะว่าเราเป็นนักศึกษารัฐศาสตร์ด้วย ขอนิยามตัวเองเป็นนักรัฐศาสตร์เลยก็ได้ สภาพที่เราเรียน เราเรียนการบริหารเศรษฐกิจ เราเรียนการบริหารรัฐกิจให้มันมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล แต่ว่าสิ่งที่เป็นขั้นพื้นฐานพวกนี้ รัฐไทยไม่มี รัฐไทยไม่เคยตอบโจทย์พวกนี้ได้เลย”
 
“มันเลยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ว่า เราเรียนทฤษฎี เราเรียนการพัฒนาแทบตาย เรียนเพื่อให้บ้านเมืองมันดีขึ้น เรียนเพื่อจะทำให้ความขัดแย้งในสังคมมันน้อยลง หรือเราจะจัดการกับความขัดแย้งยังไง เราจะทำยังไงให้นโยบายต่างๆมันออกมาแฟร์กับทุกคนให้ได้มากที่สุด มันอาจจะไม่ได้อุดมคติว่าทุกคนเท่าเทียมกัน แต่มันก็ต้องพยายามให้ทุกๆคนได้โอกาสเท่าเทียมมากที่สุด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม มันห่างไกลจากสิ่งที่เราเรียน”
 
หมายแรกของชีวิต
 
24 กันยายน 2563 มีกลุ่มประชาชนนัดรวมตัวที่รัฐสภาเพื่อติดตามการประชุมรัฐสภาในวาระการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ บิ๊กไปร่วมการชุมนุมครั้งนั้นและได้ขึ้นปราศรัยด้วย ในเวลาต่อมาเขาได้รับ "หมายเรียก" ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 หลังได้รับหมายเรียกฉบับแรกบิ๊กยังคงเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อไปแต่เขาเริ่มปรับวิธีการเคลื่อนไหวของตัวเอง เขาเริ่มเคลื่อนไหวด้วยความสุขุมให้หลักการและเหตุผลเป็นธงนำในการเคลื่อนไหวและลดการใช้อารมณ์ในการเคลื่อนไหว
 
“การโดนคดีมันไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องโตขึ้นเท่าไหร่ แต่ว่าการโดนคดีมันก็ทำให้เราต้องมองแนวทางการเคลื่อนไหวอีกแนวหนึ่งแล้วว่า ถ้าสมมติว่าเราจะใช้คำด่าเอาสะใจอย่างเดียว ด่าเอามันส์ บางทีมันก็ทำให้สามารถประคอง (hold) มวลชนได้ แต่การด่าเอาสะใจ นัยหนึ่งมันก็ขัดกับหลักการที่เราพยายามพูด ก็เลยพยายามจะพูดเชิงหลักการให้มากขึ้น อย่างการที่เราจะวิพากษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เราก็คงจะไม่ไปด่าตัวบุคคล แต่เราจะพูดว่า เราจะแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไงให้เป็นในทางที่พระราชอำนาจเขาโอเค หรือเราจะวางกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ ยังไง จะสร้างความเข้าใจกับคนยังไงให้เข้าใจว่า สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ไม่ใช่อะไรพิเศษไปกว่าเรา เขาก็เป็นคนเหมือนกับเรา และเขาใช้ภาษีเราด้วย"
 
“เน้นยกตัวอย่างให้ชัดเจน ไม่ใช่ไปพูดชื่อตรงๆ ไปด่าเขาตรงๆ ถึงแม้เขาจะวางตัวไม่เหมาะสมก็ตามที แต่เราพูดในเชิงสถาบันมันก็อาจจะปลอดภัยกับเรามากกว่าด้วยเหมือนกัน.. มั้ง” เขาทิ้งท้ายแบบไม่มั่นใจเท่าไรนัก
 
ลูกชายคนเล็กที่พ่อไม่ปลื้ม
 
1884
 
บิ๊กเป็นลูกคนที่เจ็ดและเป็นลูกคนเล็กในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน เนื่องจากครอบครัวของเขาทำธุรกิจ สมาชิกในครอบครัวหลายคนๆคนจึงเลือกที่จะไม่ออกความเห็นทางการเมือง และแน่นอนมุมมองทางการเมืองของบิ๊กดูจะเป็นไปคนละทางกับคนในครอบครัวของเขา
 
“ระบุยากนะว่าเราเป็นคนจังหวัดไหน เพราะเราอยู่หลายที่ เป็นคนอุดร คือบ้านยาย หลักๆอยู่นี่ โตที่นี่ตั้งแต่ป.1 แล้วก็ โคราช เกิดที่นี่ มีบ้านที่โคราช แล้วก็เป็นคนขอนแก่นชั่วคราวเพราะไปเรียนมข.”
 
“ที่บ้านก็มีหลายก๊กหลายฝ่าย ฝั่งหนึ่งเองก็เชียร์ กปปส. ฝั่งของพ่อนะ แล้วพ่อมีบ้านหลายหลัง ลูกแกเกือบทั้งหมดเลยเป็นฝั่ง กปปส. คือยังเชียร์รัฐบาลอยู่ แต่ก็มีอีกฝั่งหนึ่ง คือบ้านฝั่งยาย แล้วก็ลูกของพ่อ 1 คน ที่สนับสนุนม็อบ แต่ว่าอาชีพการงานเขาทำให้เขาไม่สามารถออกหน้าได้ ลึกๆเขาก็สนับสนุนนะ เขามีอะไรก็ซัพพอร์ทเรา.. บ้าง”
 
“อีกฝั่งหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยก็ไม่ค่อยคุยกัน ไม่ค่อยอยากคุยด้วย เราเองก็ไม่อยากคุยด้วย เพราะว่าจริงๆแล้วเราก็เหนื่อย พยายามจะอธิบาย พยายามจะหาหลักฐาน ข้อมูล อะไรมาส่งให้เขา ให้ตายเขาก็ตอบกลับแค่จำนำข้าว”
 
“เขา (พี่ชาย) รู้ว่าปัญหามีอะไรหมดเลย เช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ที่งบประมาณสูงมากเกินไป หรือพระราชอำนาจที่มากเกินไป เขาก็รับรู้นะ แต่เขาบอก แล้วไงอะ? ถ้าพูดตามตรงก็คือ เขามีตัง เขาก็ชิวๆ”
 
“แต่ 2 คนนี้มองไม่เหมือนกัน คนหนึ่ง (พี่ชาย) รู้ว่ามีปัญหาแต่ปล่อย แต่อีกคน (1 ในพี่น้องที่สนับสนุนม็อบ) ก็วิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างๆ เช่น ชิมช็อปใช้ เขาเป็นผู้บริหารธนาคาร เขาก็เห็นว่า นโยบายแบบนี้มันไม่เวิร์คหรอก โดยส่วนตัวเขาก็พูดกับเราได้ แต่ถ้าจะไป take action อะไร มันก็อาจจะกระทบหน้าที่การงาน เขาก็เลยเลือกแอบอยู่ข้างหลัง”
 
เมื่อเป็นเช่นนี้ การเปิดหน้าออกไปเคลื่อนไหวกับผู้ชุมนุมอย่างโจ่งแจ้ง จึงไม่น่าจะเป็นที่พึงพอใจของครอบครัวเขา โดยเฉพาะคุณพ่อของบิ๊กที่ไม่พอใจมากเมื่อทราบว่าลูกชายคนเล็กถูกตั้งข้อหาในคดีมาตรา 112
 
“เอาจริง ทางฝั่งที่เห็นด้วยมันก็ไปด้วยกันดีนะ แต่ว่าฝั่งที่ไม่เห็นด้วยเอาจริงๆมันก็ส่งผลเยอะเลย อย่างเช่นพ่อ คุยกันน้อยลง จริงๆไม่ค่อยคุยกันอยู่แล้ว ก็คุยน้อยลงกว่าเดิม แล้วการที่จะขอค่าใช้จ่ายที่มันมีความจำเป็น เช่น ขอค่าหนังสือ หรือช่วงนี้เรียนออนไลน์ เราก็อยากจะได้อุปกรณ์ที่มันมาช่วยเรียนออนไลน์เราให้มันง่ายขึ้น.. เขาก็จะพูดทำนองว่า ไม่ต้องมาขอ กับอีกอย่างคือ เอะอะอะไรเขาก็จะโทรมาด่าว่า มึงอย่าไปม็อบนะ มึงอย่าไปร่วมกับพวกนั้นนะ พวกนั้นมันจะติดคุกหมดแล้ว พวกนั้นมันได้ตัง มึงได้ตังรึเปล่า? เขาก็ยังเข้าใจอยู่ว่าคนที่ไปเคลื่อนไหวเขาโดนจ้างมาจากนักการเมือง”
 
“ช่วงหลังตั้งแต่เขาไล่ออกจากทะเบียนบ้าน เขาบอกให้ย้ายออก ตอนแรกจะย้ายมาธรรมศาสตร์ แต่ธรรมศาสตร์ไม่ให้ย้ายเพราะไม่ใช่คนหอใน ก็เลยต้องย้ายกลับไปบ้านยาย..”
 
“ไม่เชิงตัดพ่อตัดลูก แต่ในความรู้สึกเรา มันก็เสียความรู้สึก แล้วก็เสียใจ แต่ว่าตัดไหม เขาก็คงไม่ตัด เขาก็ยังส่งค่ากินค่าอยู่อะไรให้เรา เดี๋ยวนี้ก็เลยเป็นยายรับรู้แทนว่าโดนคดีอะไรบ้าง ยายก็มีตกใจนะ โทรมาบอก แต่ยายรับทราบดี รู้ตั้งแต่แรกเลย มันเรียนธรรมศาสตร์ มันต้องอย่างนี้แน่นอน”
 
“ตอนแรกๆเขา (ยาย) ก็บอกว่าอย่าไปม็อบนะ หลังจากนั้นเขาก็ปลง เขารู้ว่ายังไงก็ไปอยู่ดี เขาก็บอกว่าถ้าไปก็ระวังตัวนะ จะพูดอะไร”
 
งานการเมืองคือเป้าหมายใหม่
 
บิ๊กเล่าว่า ในตอนนี้ความฝันหนึ่งเดียวของเขาคือการเป็น ‘นักการเมือง’ เพื่อไปเปลี่ยนแปลงสังคม โดยอาจเริ่มต้นจากการเล่นการเมืองท้องถิ่น ซึ่งเขาให้เหตุผลว่า ต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ของการเมืองขั้นพื้นฐาน เฉกเช่นเดียวกันกับต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว
 
“เราอยากไปเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้มันดีขึ้น เราอยากเป็นคนหนึ่งที่กล้าเหมือนกับโรมที่กล้าพูดในสภา ไม่ใช่เอาแต่หดหัวแบบสภาปัจจุบัน คนกล้ามันน้อย อย่างเช่นงบกษัตริย์ เขาก็ไม่กล้าพูดกัน มันก็มีพูดไม่กี่คน อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำขั้นพื้นฐานให้ได้ อย่างเรื่องความโปร่งใส งบประมาณ.. หลักบริหารรัฐกิจ ‘ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด’ เอาจริงอันนี้เป็นทฤษฎีจุดแรกเลย เรื่องง่ายๆ รัฐไทยยังไม่มีปัญญาทำเลย”
 
“งบกองทัพ งบอะไรอย่างนี้ มันขาดคนกล้าเข้าไปในสภา เราก็อยากเป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปเปลี่ยนแปลงจุดนี้ให้การเมืองมันดีขึ้น ให้การเมืองมันหยุดเป็นการเมืองกระจอก เช่น บางพรรคการเมืองหาเสียงด้วยการบอกว่าจะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ หน้าที่การเมืองของมึงคือแข่งกันเพื่อให้ประเทศแม่งดีที่สุด อันนี้คืออุดมคติ แต่สิ่งที่เป็นอยู่แม่งคือปกป้องอะไรที่แม่งนามธรรมชิบหายเลย นโยบายไม่ได้แข่งกันเพื่อพัฒนา”
 
อย่างไรก็ตาม ‘คดีทางการเมือง’ ซึ่งติดตัวบิ๊กจำนวน 6 คดีที่อาจพังทลายความฝันการเป็นส.ส. ยังคงตามหลอกหลอนและสร้างความกังวลใจให้เขาอยู่เป็นระยะ
 
“ถ้าติดคุก ก็โดนตัดสิทธิ์ ยังไม่รู้ว่าจะติดคุกไหม ถ้าการเมืองกระแสไม่เปลี่ยน ไม่ปฏิรูปตุลาการ ไม่ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็คงติดคุกแหละ แต่อย่างน้อยถ้าได้ประกันรอบนี้ กว่าคดีพวกนี้มันจะเสร็จก็ 4-5 ปี อย่างน้อยก็ได้เรียนจบ อาจจะต้องไปทำงาน iLaw ด้วยซ้ำมั้ง ไม่รู้จะทำงานอะไร” บิ๊กกล่าวพร้อมหัวเราะเล็กน้อย
 
เป้าหมายสุดท้ายคือ ‘มุ่งสู่สังคมที่อำนาจเท่าเทียม’
 
เมื่อถามบิ๊กว่า ‘หากถึงวันที่เป้าหมายสำเร็จลุล่วงแล้ว เขามีแผนอยากทำอะไรต่อนอกเหนือจากงานทางการเมือง’ คำตอบของบิ๊กทั้งหมดดูจะบอกเล่าตัวตน อุดมการณ์ ของเขาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
 
“สำเร็จแบบสำเร็จทุกอย่างเลยหรอ? มันค่อนข้างอุดมคตินะ แต่คิดว่าคงจะทำสายนี้ไปตลอดชีวิต เพราะส.ส.มันก็เป็นได้หลายสมัยอยู่แล้ว อย่างตำแหน่งบริหารก็ไม่เคยฝันไกลถึงนายกนะ ฝันได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงหนึ่งที่เรารู้สึกว่าอนาคตเราจะเชี่ยวชาญ แต่เรายังไม่รู้ว่าเราจะเชี่ยวชาญด้านไหนไง แต่อาจจะเป็นกระทรวงแรงงาน ของพวกนี้มันต้องพัฒนา อย่างเช่น เรามองภาพ จะทำยังไงให้สังคมมันเท่าเทียมกันได้มากขึ้นเรื่อยๆ จะมีนโยบายอะไรที่ทำให้สังคมมันเท่าเทียมกันมากขึ้นเรื่อยๆ มันไม่จบหรอกของพวกนี้”
 
“แต่ตอนนี้ เราต้องการขั้นพื้นฐานก่อน จุดเบื้องต้นว่าอำนาจมันแฟร์ขึ้น อย่างเช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ไม่ได้มีพระราชอำนาจที่มากเกินไป การเมืองทุกอย่างไม่ต้องไปผูกโยงกับกษัตริย์ ตอนนี้ธุรกิจจะรวยได้ก็ต้องผ่านสัมปทาน ต้องบริจาคให้กษัตริย์”
 
“ถ้าไอเป้าหมายสั้นๆก็คือพวกนี้ อย่างน้อยคนมองคนได้เท่าเทียมกันมากขึ้น ไม่ว่าเพศไหน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มันจะไม่มีคนได้เป็นอภิสิทธิ์ชน ได้ความพิเศษ”
 
“พอแตะถึงรัฐไทย ปัญหามันมีเต็มไปหมดเลย ก็เลยพูดเลยว่าถ้าได้เป็นนักการเมือง ก็คงต้องอยู่ไปทั้งชีวิต เราไม่รู้เลยว่ามันจะสำเร็จได้เมื่อไหร่ แต่เราก็คาดหวังแหละว่าให้มันค่อยๆเปลี่ยนแปลงๆ ไปเรื่อยๆ พลิกหน้ามือคงยากเพราะถ้าพลิกหน้ามืออาจจะเกิดการสู้ครั้งใหญ่เลย”
 
รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง
 
เมื่อถูกย้อนถามถึงการตัดสินใจไปปรากฎตัวที่ศาลในฐานะ ‘ผู้คัดค้าน’ คำร้องของกระทรวงดีอีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งลบภาพและข้อความบนทวิตเตอร์ที่บิ๊กวิพากษ์วิจารณ์การแต่งตัวของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเท่ากับว่าเขายอมรับว่าตัวเองเป็นผู้ทวิตข้อความดังกล่าว หากศาลชี้ว่าเนื้อหาดังกล่าวขัดต่อกฎหมายตัวเขาก็สุ่มเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 บิ๊กตอบคำถามด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นว่า
 
“เอาจริงๆก็ไม่คาดหวังว่าเขาจะไม่ลบหรอก แต่ถ้าเขาไม่ลบ ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีเลย แสดงว่าสถาบันพระมหากษัตริย์สามารถถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้มากขึ้น ศาลเองก็ทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน มากกว่าไปปกป้องสิ่งที่มันไม่ได้มีอยู่จริง ความสูงศักดิ์พิเศษของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ศาลพยายามจะปกป้องอยู่ มันได้ลดกำแพงลงแล้ว”
Article type: