1562 1989 1380 1785 1586 1779 1412 1856 1534 1961 1556 1282 1352 1685 1392 1036 1297 1990 1587 1181 1839 1242 1874 1051 1843 1525 1007 1963 1937 1392 1626 1281 1453 1601 1044 1213 1743 1135 1554 1024 1199 1797 1356 1566 1407 1620 1386 1957 1171 1881 1340 1099 1550 1700 1421 1502 1273 1827 1058 1922 1350 1498 1443 1577 1011 1831 1551 1435 1164 1206 1860 1205 1006 1763 1424 1530 1226 1511 1482 1283 1545 1845 1043 1197 1415 1794 1111 1407 1031 1182 1854 1230 1741 1748 1830 1716 1145 1471 1841 แอบติด GPS นักกิจกรรม ทำไม่ได้ ไม่มีกฎหมายรองรับ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

แอบติด GPS นักกิจกรรม ทำไม่ได้ ไม่มีกฎหมายรองรับ

 

ระหว่างช่วงเวลาที่การชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองเข้มข้น ฝ่ายรัฐย่อมต้องการอยากรู้อยากเห็นความเคลื่อนไหวของนักกิจกรรมที่จะแสดงออกในแนวทางที่ต่อต้านรัฐบาล เพื่อจะได้เตรียมการรับมือ ขณะเดียวกันการติดตามความเคลื่อนไหวก็อาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของนักเคลื่อนไหวด้วย ซึ่งการจะละเมิดสิทธิของประชาชนได้ต้องทำไปภายใต้กรอบที่กฎหมายให้อำนาจไว้ กฎหมายนั้นต้องออกโดยตัวแทนของประชาชนที่ชอบธรรม ต้องใช้มาตรการที่กระทบสิทธิให้น้อยที่สุด และวัตถุประสงค์ต้องทำเพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เพื่อปกป้องความมั่นคงของรัฐบาล

 
ศรีไพร นนทรี - ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 ว่า ขณะที่ตนจะไปร่วมชุมนุมที่หน้าสถานทูตเยอรมัน #ม็อบ26ตุลา ก็ได้พบเข้ากับถุงพลาสติกใสติดอยู่กับเหล็กใต้ท้องรถฝั่งผู้โดยสารด้านหลังเยื้องกับคนขับโดยบังเอิญ จึงออกแรงดึงและพบว่ามีกล่องเล็กๆ พันด้วยเทปสีดำ 2 กล่องหล่นลงมา แกะดูแล้วเป็นกล่องติดตาม (GPS) ทำหน้าที่บอกตำแหน่งและดักฟังเสียง ด้านในมีซิมดีแท็คใส่ไว้ อีกกล่องเป็นกล่องใส่แม่หล็กเพื่อยึดกับใต้ท้องรถและพันห่อด้วยถุงพลาสติกเพื่อกันน้ำ เจ้าตัวคาดว่าอาจเป็นตำรวจที่เคยที่ติดตามตนตั้งแต่คดีคนอยากเลือกตั้งที่เป็นผู้นำมาติดตั้งไว้
 
โตโต้ ปิยรัฐ - แกนนำกลุ่ม We Volunteer โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ว่า ในขณะที่นำรถยนต์ที่จอดไว้ที่ศูนย์ประสานงานของ wevo บริเวณย่านวงเวียนใหญ่เข้าศูนย์เพื่อตรวจสอบสมรรถนะ ทีมช่างตรวจพบเครื่องติดตามจีพีเอสที่ยึดด้วยแรงแม่เหล็กติดอยู่ที่บริเวณใต้ท้องรถ ซึ่งคาดว่าใช้เพื่อติดตามตัวและบันทึกการเดินทางของตน โดยโตโต้คาดว่าเป็นเรื่องในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รัฐที่อาจมีเจตนาไม่ดีต่อตน หรือผู้ใกล้ชิดที่ใช้รถยนต์คันดังกล่าว
 
ช่อ พรรณิการ์ - อดีตส.ส.พรรคอนาคตใหม่ เปิดเผยผ่านทวิตเตอร์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564 หลังมีประชาชนแสดงความเป็นห่วงกรณีที่มีรายชื่อของตนอยู่ใน Watchlist ว่า เมื่อหลายเดือนก่อนในขณะที่เอารถไปซ่อม ช่างได้ตรวจพบอุปกรณ์ติดตามตัว ข้างหลังเป็นแถบแม่เหล็กติดอยู่ที่ใต้ท้องรถ ด้านในมีซิมการ์ด และมีลักษณะของวิธีการติดอย่างมืออาชีพ ไม่ทราบถึงระยะเวลาที่อุปกรณ์นี้ถูกติดไว้ แต่เบื้องต้นได้ทำการตรวจสอบเบอร์โทรของซิมการ์ดนั้นแล้ว พร้อมระบุว่า นี่เป็นราคาที่ต้องจ่ายสำหรับการพูดความจริงในประเทศนี้ 
 
ทะลุฟ้า - กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ว่า ทีมงานทะลุฟ้าตรวจพบเครื่องติดตามและดักฟังใต้ท้องรถยนต์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ลักษณะเดียวกันกับที่ ช่อ พรรณิการ์เจอ โดยคาดว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกเจ้าหน้าที่นำมาติดตั้ง เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 หลังกลุ่มทะลุฟ้าโดนจับกุมและถูกยึดรถจากหน้าสโมสรตำรวจไว้ที่สน.ทุ่งสองห้อง ทีมทะลุฟ้าระบุว่า การกระทำนี้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของตำรวจตามมาตรา 157 เป็นการทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารจากการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และยังชี้ให้เห็นถึงความหวาดกลัวที่มีต่อประชาชนอีกด้วย 
 
 
 
1896
 
 
ข้อมูลอย่างเป็นทางการของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่าด้วยระบบจีพีเอสระบุว่า การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญอเมริกาฉบับที่ 4 ได้ให้สิทธิแก่พลเมืองชาวอเมริกันโดยปกป้องจากการเข้าตรวจค้นหรือการจับกุมที่ไม่สมเหตุสมผล และยังกำหนดให้หมายค้นนั้นต้องอาศัยสาเหตุที่เป็นไปได้อีกด้วย 
 
ในเดือนมกราคม 2555 ศาลฎีกาสหรัฐกำหนดให้ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องมีหมายค้นก่อนการติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสที่รถยนต์ของผู้ต้องสงสัย โดยการตัดสินนี้อิงจากสิทธิตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ฉบับแก้ไขครั้งที่ 4 เนื่องจากการติดตั้งอุปกรณ์นี้เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิทางกายภาพของรถยนต์ผู้ต้องสงสัยโดยตรง  
 
 
ตามหลักการสืบสวนและสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ซึ่งเป็นเหมือนคู่มือชิ้นหลักในการทำงานของตำรวจ ไม่ได้มีส่วนใดเลยที่ให้อำนาจตำรวจในการติดตาม หรือใช้อุปกรณ์ติดตามตัวหรือติดตามรถของผู้ต้องสงสัย ไม่ว่าจะสงสัยในการกระทำความผิดใด ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว
 
ขณะเดียวกันพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลลก็ถูกสั่ง “เลื่อน” การบังคับใช้ออกไปเป็นครั้งที่สอง เข้าสู่ปีที่สาม ไม่สามารถนำมาใช้กับการเก็บข้อมูลโดยหน่วยงานใดๆ ของรัฐได้ จึงยังไม่สามารถนำมาพิจารณาด้วย
 
แม้จะไม่มีกฎหมายใดที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐใช้เครื่องติดตามแบบ GPS ติดไว้ที่รถของผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมืองได้ แต่กฎหมายพิเศษที่ใกล้เคียงกับการให้เจ้าหน้าที่รัฐแสวงหาข้อมูลข่าวสารได้ด้วยเครื่องมือพิเศษ คือ พ.ร.บ.ข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ.2562 
 
พ.ร.บ.ข่าวกรองแห่งชาติ ผ่านการพิจารณาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในช่วง “โค้งสุดท้าย” ก่อนสภาแห่งนี้จะหมดอายุ และประเทศใช้เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562 กำหนดนิยามของ “การข่าวกรอง” ไว้ในมาตรา 4 หมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้ทราบถึงความมุ่งหมาย กำลังความสามารถ และความเคลื่อนไหว รวมทั้งวิถีทางของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์การใด ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่อาจกระทำการอันเป็นพฤติการณ์เป็นภัยคุกคาม ทั้งนี้ เพื่อรักษาความมั่นคงหรือประโยชน์แห่งรัฐและให้รัฐบาลนำมาประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบายแห่งชาติ
 
และมาตรา 6 วรรคสอง ให้อำนาจการปฏิบัติภารกิจด้านข่าวกรองโดยใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีที่ทันสมัยไว้อย่างกว้างขวางมาก ดังนี้
 
“ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งข้อมูลหรือเอกสารอันเกี่ยวกับการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง การข่าวกรองทางการสื่อสาร หรือการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน สำนักข่าวกรองแห่งชาติ อาจดำเนินการด้วยวิธีการใดๆ รวมทั้งอาจใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องโทรคมนาคม หรือเทคโนโลยีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือเอกสารดังกล่าวได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี โดยระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องกำหนดให้มีการบันทึกรายละเอียดขั้นตอน การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เหตุผล ความจำเป็น วิธีการ บุคคลที่ได้รับผลกระทบหรืออาจได้รับผลกระทบ และระยะเวลาในการดำเนินการ รวมทั้งวิธีการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบต่อบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง”
 
ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563 ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ออกระเบียบสำนักข่าวกรรองแห่งชาติ ว่าด้วยการได้มาซึ่งข้อมูลหรือเอกสารอันเกี่ยวกับการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง การข่าวกรองทางการเสื่อสาร หรือการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2563 (ดูตามไฟล์แนบ) ระเบียบนี้ตีกรอบการทำงานของผู้ปฏิบัติงานข่าวกรอง ให้คำนึงถึงผลกระทบ และสิทธิของประชาชนด้วย
 
ข้อ 8 ของระเบียบฉบับดังกล่าว กำหนดว่า เมื่อมีเหตุต้องปฏิบัติการข่าวกรอง ให้ขออนุญาตต่อผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองทุกครั้ง โดยหนังสือขออนุญาตต้องระบุการปฏิบัติ ระยะเวลา เป้าหมาย เหตจำเป็นและแนวโน้มที่จะได้ข้อมูล รวมทั้งบุคคลที่จะได้รับผลกระทบ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติจะอนุญาตได้เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปฏิบัตินั้นเป็นไปเพื่อทราบถึงข้อมูลที่อาจกระทำการเป็นภัยคุกคาม หรือทำลายความมั่นคงแห่งชาติ และผู้บังคับบัญชาต้องรายงานความคืบหน้าเพื่อยืนยันถึงความจำเป็นทุก 30 วัน
 
สำหรับกลุ่มผู้ชุมนุมที่แสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น ศรีไพร นนทรี, ปิยรัฐ จงเทพ, พรรณิการ์ วานิช รวมทั้งกลุ่มทะลุฟ้า ล้วนมีแนวคิดและแนวทางต่อต้านรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ใช้การเคลื่อนไหวแบบสันติ ไม่ได้ใช้กำลังหรือความรุนแรงให้ได้มาซึ่งเป้าหมายทางการเมือง ยังอยู่ในกรอบเสรีภาพการชุมนุมและเสรีภาพการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่กลุ่มบุคคลที่อาจกระทำการเป็นภัยคุกคาม หรือทำลายความมั่นคงแห่งชาติ ไม่อยู่ในลักษณะที่ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองจะอนุญาตให้ใช้เครื่องติดตามแบบ GPS ได้
 
และการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองก็ไม่ใช่การกระทำที่ “อาจกระทำการอันเป็นพฤติการณ์เป็นภัยคุกคาม” ที่เจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองจะต้องหาข้อมูลข่าวสาร “เพื่อรักษาความมั่นคงหรือประโยชน์แห่งรัฐ” ตามคำนิยามในมาตรา 4 
 
ดังนั้น การติดเครื่องติดตาม GPS ไว้ที่รถของนักกิจกรรมทางการเมือง จึงไม่มีกฎหมายรองรับให้สามารถทำได้ หากเป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐก็ย่อมเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ และตามระเบียบสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ข้อ 22 ก็เขียนไว้ชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่ที่กระทำโดยจงใจนอกวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข่าวกรอง ย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
 
 
 
 
 
AttachmentSize
ระเบียบสำนักข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ.2563.pdf1.42 MB
Article type: